Skip to main content

ผมตามสัมมนา ‘การละเมิดลิขสิทธิ์บนสื่อออนไลน์’ ของสมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์ ทางทวิตเตอร์ แท็ก #sonp วันนี้ คิดว่ามีจุดสับสนหลายจุด เลยขอโพสต์หน่อย

1) ทวิตเตอร์ @SONPThai รายงานว่า @chavarong (ชวรงค์ ลิมป์ปัทมปาณี นายกสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย) พูดว่า "pantip จะเพิกเฉยเมื่อมีคนมาโพสต์หัวข้อที่ละเมิดลิขสิทธิ์ไม่ได้ เจ้าของเว็บไซต์ต้องรับผิดชอบ ถือว่าผิดพ.ร.บ.คอมฯชัดเจน"

ผมงงๆ ว่าจะผิดมาตราไหนของพ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 ซึ่งใช้กันอยู่ในปัจจุบัน

(ถ้าในร่างฉบับใหม่ของเดือน ม.ค. 2556 อาจจะผิดได้ มีมาตราใหม่เพิ่มเข้ามา เกี่ยวกับการทำสำเนาโดยไม่ได้รับอนุญาต -- แต่จริงๆ มันควรจะเป็นเรื่องเฉพาะการจารกรรมข้อมูลมากกว่า)

2) @SONPThai รายงานว่า @paiboona (ไพบูลย์ อมรภิญโญเกียรติ นักกฎหมาย ผู้เชี่ยวชาญทางทรัพย์สินทางปัญญา) พูดว่า "เว็บไซต์ทุกเว็บย่อมแสวงหารายได้ ต้องการทราฟฟิคดังนั้นการแฟร์ยูสต้องขออนุญาตจากเจ้าของเท่านั้น"

ผมว่าอันนี้ก็สับสน คือหลักของ "แฟร์ยูส" (fair use - การใช้งานโดยชอบธรรม) มันต้องไม่ต้องขออนุญาต

เพราะ fair use เป็นข้อยกเว้นลิขสิทธิ์ที่ระบุว่า ในเงื่อนไขไหน ที่การเอางานไปใช้โดยไม่ต้องขออนุญาต จะไม่เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์

ผมขอยกคำอธิบายด้วยภาษาง่ายๆ จากวิกิพีเดียละกัน "Fair use is a doctrine that permits limited use of copyrighted material without acquiring permission from the rights holders." (การใช้งานโดยชอบธรรมคือหลักการที่อนุญาตให้ใช้งานงานอันมีลิขสิทธิ์ได้ในเงื่อนไขจำกัด โดยไม่ต้องขอคำอนุญาตจากผู้ทรงสิทธิ)

สิ่งที่จะถกเถียงกันได้คือ ไอ้ "limited use" เนี่ย แค่ไหนถึงจะเหมาะสม จะเอาอะไรไปใช้ได้บ้าง จำนวนแค่ไหน ลักษณะไหน อันนี้คุยกันได้ แต่ยังไงก็ตาม ก็ต้อง "without acquiring permission" ไม่ต้องขออนุญาต -- ถ้าต้องขออนุญาตเมื่อไหร่ มันไม่เรียกว่า fair use ละครับ

เห็นด้วยว่าเจ้าของงานควรได้รับการปกป้องบางอย่าง แต่ถ้าจะใช้คำว่า fair use ก็ต้องเคร่งครัดกับความหมายมันหน่อย

เว้นว่าจะไม่เอาเรื่องหลัก fair use ไม่เชื่อเรื่องนี้ อันนี้ก็โอเค เข้าใจได้ ก็ไปหาคำอื่นมาใช้ละกัน จะได้ไม่งง

** เป็นไปได้ว่าคนทวีตอาจจะตกหล่นบางคำไปนะครับ อันนี้ผมให้ความเห็นตามข้อความที่ปรากฏในทวีต **

อ่านรายงานงานสัมมนาจากสำนักข่าวอิศราที่ "ส.ผู้สื่อข่าวออนไลน์ เตรียมออกกฏซื้อขายข่าว แก้ละเมิดลิขสิทธิ์"

บล็อกของ bact

bact
18 กันยายน 2014 วันลงคะแนนประชามติ ว่าสกอตแลนด์จะเป็นประเทศอิสระหรือไม่
bact
เหลือเวลาอีกไม่กี่ชั่วโมง การลงประชามติเพื่อตัดสินใจอนาคตของสกอตแลนด์ก็จะเริ่มขึ้นแล้ว วันนี้ผมมาอยู่ที่เอดินบะระ เมืองหลวงของสกอตแลนด์
bact
ความโกลาหลหรืองานฉลองในระยะสั้น จะเสียโอกาสกันทั้งหมดหรือเป็นประตูสู่ความรุ่งโรจน์ของชาติต่างๆ ที่เคยอยู่ร่วมสหราชอาณาจักรด้วยกันในระยะยาว เป็นประเด็นถกเถียงไม่รู้จบทั้งบนหน้าหนังสือพิมพ์ รายการโทรทัศน์ และสื่อสังคมออนไลน์ แต่อย่างน้อยดูจะมีสิ่งหนึ่งที่ทุกฝ่ายยอมรับร่วมกันก็คือ คนสกอตแลนด์มีสิทธิ
bact
วันนี้ได้อ่านเกี่ยวกับบริการของบริษัท FullContact ซึ่งเพิ่งไปซื้อกิจการบริษัท Cobook ผู้ผลิตโปรแกรมสมุดโทรศัพท์บนระบบปฏิบัติการ (Mac) OS X มาเมื่อปลายปีก่อน
bact
คนซานฟรานทนไม่ไหว บริษัทเทคโนโลยีบุก ทำบ้านแพง ขนส่งมวลชนพัง ผู้เช่าเดิมถูกไล่ ธุรกิจท้องถิ่นต้องปิดตัวTech workers vs. The rest of the City
bact
ข่าวเมื่อสัปดาห์ที่แล้วจากหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นของกรุงลอนดอน "Man hugs driver of tipper truck that killed his cyclist girlfriend at King's Cross blackspot"&n
bact
ปีนี้เป็นปีแห่งความปวดหัวตึ๊บของผู้ใช้อินเทอร์เน็ตจริงๆ จากข่าวโครงการดักฟังดักรับข้อมูลต่างๆ ของหน่วยงานความมั่นคงของสหรัฐอเมริกา (NSA) ที่นายเอ็ดเวิร์ด สโนว์เดน เปิดโปงเมื่อกลางปี ตามมาด้วยกรณีละเมิดความเป็นส่วนตัวในการสื่อสารต่างๆ นานา จนทั้งองค์กรสิทธิทั่วโลก รวมทั้งสหประชาชาติต้องวิ่งวุ่น
bact
เมื่อวันอังคารที่ผ่านมา (3 ก.ย. 2556) ไปงาน แผนแม่บทไอซีที ระยะที่ 3 ซึ่งกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารกำลังจัดทำสำหรับ พ.ศ.
bact
นักข่าวยุคอินเทอร์เน็ต ไม่ใช่เพียงทำข่าวและส่งข่าวผ่านเน็ต แต่จำเป็นต้องรู้จักประเด็นปัญหาใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นในสภาพแวดล้อมใหม่นี้ด้วย เพื่อปกป้องทั้งตัวเองและแหล่งข่าวสัปดาห์ที่แล้วมีโอกาสแลกเปลี่ยนกับนักข่าวในกลุ่มอาเซียนจำนวนหนึ่งในงาน Fellowship ของ Southeast Asian Press Alliance (SEAPA) เรื่องความเป็นส่วนตัวในส่วนที่เกี่ยวกับงานข่าวประเด็นที่สำคัญตอนนี้ น่าจะเป็นเรื่อง metadata และข้อมูลที่เรามองไม่เห็นด้วยตาเปล่า ซึ่งถ้าหลุดหรือจัดการไม่ดี ก็จะเป็นอันตรายต่อแหล่งข่าวหรือตัวนักข่าวเอง หรือพูดในบริบทที่กว้างขึ้น ก็รวมทั้งคนทั่วไปอย่างเราๆ ท่านๆ ด้วยแหละ
bact
ความหมายของ “hate speech” หรือ “คำพูดแสดงความเกลียดชัง”/”คำชัง” นี่ ถ้าไม่จัดการมันให้แคบ จำกัด ชัดเจน และเคร่งครัด จะอันตรายมาก พูดอะไรไปสักอย่างนี่มันมีโอกาสไม่ถูกใจใครคนใดคนหนึ่งอยู่แล้ว ถ้าใครๆ ก็อ้าง “hate speech” ได้ จิตใจฉันหวั่นไหว แล้วโวยต่อไปด้วยว่า อะไรที่เป็น “hate speech” จะต้องแบน เ
bact
จะเขียนเรื่อง closed caption หลายรอบแล้วแต่ก็ยังไม่ได้เขียนเสียที (เหมือนกับอีกอื่นร้อยสิ่งอย่างที่ยังไม่ได้ทำ) วันนี้ขอเขียนเร็วๆ แบบเท่าที่นึกออก ไม่มีอ้างอิงอะไรใดๆ ทั้งสิ้น (ไม่งั้นจะไม่ได้เขียนซะที)