ยิ้มมุมปาก กับ 'หรอยกู'

เด็กแว้นกับสาวสก๊อย แบบ 'หรอยกู'

ในช่วงที่สถานการณ์ทางการเมืองเริ่มจะร้อนผ่าวๆ ขึ้นมาอีกรอบ ลองไปอ่านการ์ตูนลายเส้นดิบๆ ที่เข้ากันดีกับอารมณ์ขันแบบแสบๆ คันๆ ที่ไม่ได้หาง่ายๆ ตามท้องถนนทั่วไป

บล็อก หรอยกู (http://www.roigoo.com/) เป็นผลงานสร้างสรรค์ Gag Cartoon ของนักคิดนักเขียนการ์ตูนผู้มีความคันอยู่ในหัวใจ ที่สังเกตเรื่องราวความเป็นไปต่างๆ ที่เกิดขึ้นในสังคม แล้วนำมาวิพากษ์ในรูปแบบของการ์ตูนได้อย่างน่ารักน่าชัง จากนั้นก็นำมาอัพโหลดลงในพื้นที่ออนไลน์และแจกจ่ายให้ใครๆ ได้อ่านกันฟรีๆ

แต่สิ่งที่น่าสนใจของหรอยกูไม่ได้อยู่ที่มีการ์ตูนฟรีให้อ่าน เราสามารถตามไปดูจรรยาบรรณของ 'เด็กแว้น-เด็กสก๊อย' ผ่านมุมมองที่เต็มไปด้วยความเข้าใจ หมั่นไส้ และเอ็นดู บรรดาสิงห์นักบิดรุ่นกระเตาะ ซึ่งมีการหยอกล้อแต่พองาม ทำให้คนอ่านได้ยิ้มและอิ่มใจไปด้วย

นอกจากนี้ยังมีการ์ตูน 'ลูกพร้าวกับพุดดิ้ง' ปรากฏการณ์ 'โปรดเอื้อเฟื้อแก่เด็ก สตรี และคนชรา' ซึ่งกำลังหายสาบสูญ รวมถึงการต่อสู้ของเด็กยุคใหม่ที่ถูกปลูกฝังให้คิดถึงการ 'เอาชนะ' ไว้ก่อน อย่าง 'เดนนิส' ซึ่งหักมุมจบด้วยรอยยิ้มรวมอยู่ด้วยกัน

ชะตากรรมของตัวการ์ตูน (หรือตัวละคร?) ในหรอยกูยังไม่จบและไม่มีสูตรสำเร็จตายตัว แต่อ่านดูแล้วจะรู้ว่า 'หรอยจริงๆ'

 

ความเห็น

Submitted by ฝรน on

อ่านแล้ว อย่าหยุด กรุณาอ่านต่อ เพราะคุนได้โดนคำสาปนี้ไปแล้ว.... อ่านต่อเลย
เป็นเรื่องจริงที่เกิดขึ้นกับเด็กคนนึงในเทศบาล.ท่าเรือ
เด็กคนนี้ชื่อนิ้งเป็นเด็กนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ สาม วันนั้นเป็นวันสอบซ่อม นิ้งได้มาที่ รร
เพื่อที่จะสอบซ่อม ระหว่างที่รอเพื่อน ๆ อยู่นั้น นิ้ง ก้อเหลือบไปเห็นสิ่ง ๆ หนี่ง เขาเดินเข้ไปใกล้ ๆ
กับสิ่ง ๆ นั้น มันคือกล่องใส่กระดาษกล่องหนึ่ง นิ้งนั้นไม่รู้ว่าในนั้นมีอะไร
แต่เขาก้อได้เก็บกล่องนั้นไป หลังจากที่เขาสอบซ่อมเสร็จแล้ว นิ้งและเพื่อน ๆ ก้อกลับบ้านทันที
พวกเขาอยากรู้ว่าในกล่องนั้นมีอะไรซ่อนอยู่ ตกกลางคืนนิ้งและเพื่อน ๆ ก้อไปสนาม เดะเล่นและเปิดกล่อง ๆ
นั้น ข้างในกล่องมีกระดาษสีดำเขียนอยู่หนึ่งแผ่น ในกระดาษแผ่นนั้นเขียนไว้ว่า * สวัสดี
เราชื่อ"เปลวเทียน"เป็นเด็กนักเรียนคนนึง เราถูกฆาตกรโรคจิด
ข่มขืนและค่าหมกอยู่ในป่าแห่งหนี่ง ที่นั่นหนาวเหน็บไม่มีแม้แต่เสียงหายใจของมนุษย์
เราพยายามร้องให้คนมาช่วยแต่ก้อไม่มีคายมา ตอนนี้เราเหงาเหลือเกิน จะมีใครมาอยู่เป็นเพื่อนเราบ้างไหม
ถ้าเทอไม่อยากให้เราลากเทอมาอยู่เป็นเพื่อนกันเรา จากนี้ไปเป็นเวลา 7 ชั่วโมง

Submitted by TOOM on

สุดยอดเลยรูปการ์ตูนวันนี้ บอกได้คำเดียวเลยว่า สุดยอดค้าบเพ่

เมื่อ "เคนชิโร่" เล่าเรื่อง "เจ้าตายแล้ว" และการกำเนิดของอะไรต่อมิอะไรในกาลต่อมา (มัง?)

นอกเหนือจากการได้คบพบปะกับเพื่อนที่เป็นมนุษย์จริงๆ ที่เล่นเฟซบุ๊คเป็นแล้วเกิดปฏิสัมพันธ์กันในกาลต่อมา (จีบกัน คบกัน จนถึงขั้นทำให้ท้อง) "เพจอวตาร" ก็ยังถือว่าเป็นเพื่อนยามยากตัวใหม่ที่คอยให้คำปรึกษา หารูปเจ๋งๆ หาวลีเด็ดๆ ให้เราไว้คลายเหงายามอยู่หน้าจอคอม

ยิ้มมุมปาก กับ 'หรอยกู'

เด็กแว้นกับสาวสก๊อย แบบ 'หรอยกู'

ในช่วงที่สถานการณ์ทางการเมืองเริ่มจะร้อนผ่าวๆ ขึ้นมาอีกรอบ ลองไปอ่านการ์ตูนลายเส้นดิบๆ ที่เข้ากันดีกับอารมณ์ขันแบบแสบๆ คันๆ ที่ไม่ได้หาง่ายๆ ตามท้องถนนทั่วไป

บล็อก หรอยกู (http://www.roigoo.com/) เป็นผลงานสร้างสรรค์ Gag Cartoon ของนักคิดนักเขียนการ์ตูนผู้มีความคันอยู่ในหัวใจ ที่สังเกตเรื่องราวความเป็นไปต่างๆ ที่เกิดขึ้นในสังคม แล้วนำมาวิพากษ์ในรูปแบบของการ์ตูนได้อย่างน่ารักน่าชัง จากนั้นก็นำมาอัพโหลดลงในพื้นที่ออนไลน์และแจกจ่ายให้ใครๆ ได้อ่านกันฟรีๆ

แต่สิ่งที่น่าสนใจของหรอยกูไม่ได้อยู่ที่มีการ์ตูนฟรีให้อ่าน เราสามารถตามไปดูจรรยาบรรณของ 'เด็กแว้น-เด็กสก๊อย' ผ่านมุมมองที่เต็มไปด้วยความเข้าใจ หมั่นไส้ และเอ็นดู บรรดาสิงห์นักบิดรุ่นกระเตาะ ซึ่งมีการหยอกล้อแต่พองาม ทำให้คนอ่านได้ยิ้มและอิ่มใจไปด้วย

นอกจากนี้ยังมีการ์ตูน 'ลูกพร้าวกับพุดดิ้ง' ปรากฏการณ์ 'โปรดเอื้อเฟื้อแก่เด็ก สตรี และคนชรา' ซึ่งกำลังหายสาบสูญ รวมถึงการต่อสู้ของเด็กยุคใหม่ที่ถูกปลูกฝังให้คิดถึงการ 'เอาชนะ' ไว้ก่อน อย่าง 'เดนนิส' ซึ่งหักมุมจบด้วยรอยยิ้มรวมอยู่ด้วยกัน

ชะตากรรมของตัวการ์ตูน (หรือตัวละคร?) ในหรอยกูยังไม่จบและไม่มีสูตรสำเร็จตายตัว แต่อ่านดูแล้วจะรู้ว่า 'หรอยจริงๆ'

 

พลังเงียบของผู้ดื่มด่ำกับดนตรี

 เท่าที่สังเกตโดยอาศัยประสบการณ์ส่วนตัวและคนรอบข้าง ดูเหมือนว่า นักจัดรายการวิทยุ' หรือ DJ ในยุคมิลเลนเนียม จะต้องมีคุณสมบัติคล้ายๆ กัน คือ พูดเก่ง ยิงมุขฮากระจาย ชวนคนฟังเล่นเกม และท่องจำรายชื่อสปอนเซอร์ได้อย่างชัดเจนไม่มีตกหล่น

หรือกรณีที่คนฟังวิทยุไม่นิยมดีเจพูดมาก ก็จะมีรายการอีกประเภทไว้คอยท่า คือรายการวิทยุที่ ไม่มีดีเจ' แต่จะมีเพลงเปิดให้ฟังสลับกับโฆษณา และรายการทั้ง 2 ประเภทที่ว่ามาก็ได้รับความนิยมสูงเสียด้วย ส่วนเรื่องที่ว่า-ดีเจแต่ละคนมีภูมิรู้เรื่องดนตรีแน่นแค่ไหน หรือมีวิธีพูดคุยถึงเรื่องในสังคมและชีวิตประจำวันให้คนฟังได้คิดตามหรือรู้สึกเพลินๆ ได้หรือเปล่า กลับไม่ค่อยมีใครพูดถึงสักเท่าไหร่

ก็เป็นเรื่องที่น่าสงสัยเหมือนกันว่ามาตรฐานนักจัดรายการวิทยุแบบหลังเริ่มหายหน้าหายตาไปตอนไหน?

แล้ววันหนึ่งรายการวิทยุ The Radio คลื่น 99.5 FM ซึ่งเป็นแหล่งรวมของดีเจรุ่นใหญ่ (อาทิ มาโนช พุุฒตาล, วาสนา วีระชาติพลี หรือ วิโรจน์ ควันธรรม ฯลฯ) ไม่ค่อยเปิดเพลงตาม รีเควสท์' ของคนฟัง แถมยังไม่มีค่ายเพลงค่ายไหนสนับสนุนเป็นพิเศษ (แต่ รู้ลึกรู้จริง' เรื่องดนตรีกันทุกคน)-ก็หลุดจากผังไปเมื่อปลายปี 2550 ด้วยเหตุผลว่า เรตติ้งไม่ดีพอ' ที่สปอนเซอร์จะให้การสนับสนุน

ฟังดูเป็นเรื่องเข้าใจได้ เพราะวัฏจักรของธุรกิจดนตรีในโลกทุนนิยมก็เป็นแบบนี้มาแต่ไหนแต่ไร เพียงแต่ครั้งนี้คนฟังที่เคยเป็น พลังเงียบ' มาตลอด กลับลุกขึ้นมาทักท้วงและเรียกร้องให้รายการ The Radio ได้กลับมาออกอากาศอีกครั้ง เพราะนี่คือรายการวิทยุที่พวกเขาเห็นว่า มีคุณค่า' และมีสาระหลากหลายมากกว่าการเปิดเพลงตามคำขอ' ที่มีอยู่เกลื่อนแผงหน้าปัดวิทยุ

บล็อกจำนวนหนึ่งจึงเกิดขึ้นเพื่อรายการวิทยุแห่งนี้ ไม่ว่าจะเป็น Save the Radio หรือ The Radio Live และ Radio Star ที่เคยเป็นบล็อกดั้งเดิมของเดอะเรดิโอ บล็อกเหล่านี้เป็นศูนย์กลางสำหรับคนฟังที่ต้องการให้เดอะเรดิโอกลับมาออกอากาศ ลงชื่อเรียกร้องกับทางสปอนเซอร์ ซึ่งเป็นเรื่องที่ นานๆ ที' จะเกิดขึ้นสักครั้ง

ใครสนใจลองเข้าไปเข้าไปดูได้ตามอัธยาศัย เผื่อบางทีปรากฎการณ์ที่ คนชั้นกลาง' ลุกขึ้นมาเคลื่อนไหวเพื่อรายการวิทยุเล็กๆ รายการหนึ่ง อาจต่อยอดไปสู่การเคลื่อนไหวในเรื่องอื่นๆ ที่เป็นประเด็นโครงสร้างมากขึ้นก็ได้...ใครจะรู้...เพราะอย่างน้อยครั้งนี้ ทุนนิยมก็ไม่ได้ชนะขาดลอยเหมือนที่แล้วๆ มา

 

 

 

เล่น 'คำ' ได้ 'ข้าว' (แถม 'บุญ' อีกต่างหาก)

 ช่วงนี้กำลังเห่อเกมฝึกภาษาอังกฤษอย่าง Freerice เป็นพิเศษ ให้อารมณ์เหมือนตอนอ่านหนังสือเตรียมสอบเอนทรานซ์ แต่สนุกสนานกว่ากันมาก

เกม เล่นคำ' แล้วได้ ข้าว' เป็นโครงการ Word Food Program ของ UN ที่เปิดให้คนทั่วโลกฝึกภาษาอังกฤษด้วยการทายความหมายของคำแต่ละคำ ด้วยการจับคู่คำที่เป็น โจทย์' กับคำที่เป็น คำตอบ' ซึ่งมีความหมายเหมือนกัน หรือถ้าจะพูดง่ายๆ กว่านั้น นี่คือแบบฝึกหัดเพื่อหา Synonym ฉบับออนไลน์นั่นเอง

สิ่งที่พิเศษไปกว่านั้นคือ คะแนนที่ได้จากการเล่นเกมจะคิดเป็นข้าวสารจำนวนหนึ่ง ซึ่งทาง UN จะนำไปบริจาคให้กับประเทศที่ขาดแคลนอาหาร และเกมนี้ก็เล่นได้เรื่อยๆ จนกว่าจะเหนื่อยกันไปข้าง ไม่มีเกมโอเวอร์ จะมีก็แต่การเก็บระดับเพื่อให้มีคะแนนไปแลกข้าวเยอะๆ

ส่วนเงินที่จะใช้ในการจัดหาข้าวเพื่อนำไปบริจาคให้กับประเทศที่ประสบปัญหาขาดแคลนอาหาร มาจากบริษัทที่ลงโฆษณากับ Freerice และยิ่งมีคนเข้าไปเล่นเกมนี้มากเท่าไหร่ ทาง World Food ก็จะนำัตัวเลขผู้เล่นเกมไปต่อรองเงินบริจาคกับบริษัทเหล่านั้นำได้มากขึ้นด้วย

สื่อสร้างสรรค์ (ความสุข)

 

ทุกครั้งที่กวาดตาไปยังข่าวหน้าหนึ่งบนหนังสือพิมพ์...เรามักสะดุดตากับ ข่าวร้าย' มากกว่า ข่าวดี' และคนที่ภูมิต้านทานความเศร้าต่ำ อาจรู้สึกหดหู่เมื่อได้เห็น จนบางทีก็เกิดเป็นคำถามขึ้นมาว่า เราบริโภคข่าวร้ายมากเกินไปหรือเปล่า?

ไม่ใช่ว่าจะมาชวนให้ใครหลบหนีจากโลกแห่งความจริง (อันโหดร้าย) แต่หลายคนที่คิดว่า เราควรมีพื้นที่ข่าวที่สร้างสรรค์จรรโลงใจในชีวิตประจำวันบ้าง โปรดฟังทางนี้...

บล็อก ‘Happy Media' เป็นพื้นที่หนึ่งซึ่งเปิดไว้รอท่า เพราะบล็อกเกอร์ประจำของที่นี่เรียกตัวเองว่าเป็น สื่อสร้างสรรค์ (ความสุข)' หรือ "กลุ่มคนที่มีความสนใจใฝ่หาการเรียนรู้เพื่อพัฒนาความสุขภายใน สร้างสรรค์ความสุขภายนอกให้ผู้อื่นและสังคม" โดยการ "ร่วมกันคิด พูดคุย เรียนรู้ผ่านกิจกรรมสร้างสรรค์ต่างๆ สนุกๆ และผ่อนคลาย"

ด้วยความหวังว่า "มิตรภาพ ความงามในชีวิต และการช่วยเหลือเกื้อกูลกัน จะนำไปสู่ความสุขอย่างยั่งยืนในชีวิตของทุกคนและแผ่ขยายไปในเครือข่ายของสังคมต่อไป"