Skip to main content

ชื่อหนังสือ : ร่างกายที่เหนืออายุขัย จิตใจที่ไร้กาลเวลา

                 Ageless Body, Timeless Mind

เขียน : โชปรา ดีปัก

แปล : เรืองชัย รักศรีอักษร

พิมพ์ : สำนักพิมพ์มติชน พิมพ์ครั้งแรก กรกฎาคม 2551

 

แสนกว่าปีมาแล้วที่มนุษย์พัฒนากายภาพมาถึงขีดสุด ต่อนี้ไปการพัฒนาทางจิตจะต้องก้าวล้ำ มีหนังสือมากมายที่กล่าวถึงวิธีการพัฒนาทักษะทางจิต เพื่อให้อำนาจของจิตนั้นบันดาลถึงความมหัศจรรย์แห่งชีวิต หนึ่งในนั้นมีหนังสือที่กล่าวอย่างจริงจังถึงอายุขัยของมนุษย์ ว่าด้วยกระบวนการรังสรรค์ชีวิตให้ยืนยาว


เล่มนี้เป็นหนังสือขายดีที่เขียนโดยนายแพทย์หนุ่มชาวอินเดียนาม โชปรา ดีปัก ผู้ยืนยันว่า

มนุษย์สามารถมีอายุยืนยาวเกินกว่า 100 ปี


ก่อนอื่นเราควรระงับคำถามที่ว่า เราอยากจะมีอายุยืนยาวไปทำไมกันเสียก่อน


หมอโชปรา ดีปัก เรียนจบแพทย์จากอินเดียแล้วย้ายไปต่อที่สหรัฐฯ ศึกษาวิชาโรคภายใน endocrinology เขาไม่เลื่อมใสการใช้ยาอย่างแพทย์แผนปัจจุบันทั่วไป แต่สนใจศึกษาอายุรเวทอย่างจริงจัง โลกทัศน์เช่นนี้ทำให้เขาค้นพบ “หลักสูตร” อันจะนำพาเราไปสู่ดินแดนที่ไม่มีผู้ใดแก่เฒ่า


ในหนังสือเล่มนี้ หมอโชปราได้จับกระบวนทัศน์ของควอนตัมมาผสมเข้ากับวิถีอย่างโยคีอินเดีย


โดยจับไปที่สาเหตุแท้จริงของความชรา นั่นคือ “วิธีคิด” ซึ่งจะส่งผลต่อพฤติกรรมของเรา และที่สำคัญที่สุด ตัวเรานั่นเองที่จะเป็นผู้กีดขวางไม่ใช่ตัวเราก้าวไปสู่ดินแดนแห่งนี้


เคยสงสัยไหมว่า จินตนาการของเรามาจากไหน


เป็นไปได้ไหม จินตนาการคือรูปแบบหนึ่งของเชาวน์ปัญญา ซึ่งแฝงอยู่ภายในจิตใต้สำนึก และถูกส่งผ่านจากบรรพบุรุษรุ่นแล้วรุ่นเล่านับแต่บรรพกาล มาถึงรุ่นลูกหลานในรูปของรหัสทางพันธุกรรมหรือดีเอ็นเอ


นักพันธุกรรมศาสตร์ได้วางเชาวน์ปัญญาไว้เป็นอันดับแรกภายในดีเอ็นเอ ขณะที่อินเดีย กระแสของเชาวน์ปัญญานี้เรียกว่า ปราณ Pran แปลว่า พลังชีวิต สามารถเพิ่มหรือลดลงได้ตามเจตจำนง ส่วนแพทย์แผนปัจจุบันบอกว่าสารเคมีจะเดินทางไปพร้อมกับความคิด เช่น ทำไมหญิงที่เพิ่งเป็นม่ายจึงมีแนวโน้มเกิดมะเร็งเต้มนมมากกว่าหญิงอื่นถึง 2 เท่า


ดังนั้น “ตัวตน” ของเรา จึงประกอบด้วยกระแสเชาวน์ปัญญาและวิธีคิด มันกำหนดและกะเกณฑ์ทุกสิ่ง

ทั้งที่เรารู้ตัวและไม่รู้ตัว


หากเราคิดและเชื่อว่า ร่างกายแยกออกจากจิตใจ เชื่อว่าเราเป็นเครื่องจักรทางกายภาพที่รู้จักคิด

คำว่า เครื่องจักร ย่อมแสดงให้เห็นความเสื่อมถอยหรือชราภาพในวาระหนึ่งด้วย หากเราเป็นเชลยของความสัมบูรณ์ (เวลาเป็นสิ่งสัมบูรณ์) ไม่มีใครรอดพ้นจากการทำลายล้างของเวลาได้ เชื่อว่าความทุกข์ทรมานเป็นสิ่งจำเป็น เราไม่หลีกเลี่ยงได้ …

หากเราเป็นเช่นนั้น ดินแดนที่ไม่มีผู้ใดแก่เฒ่าจะไม่มีวันถูกค้นพบ


ซึ่งเท่ากับ กระแสเชาวน์ปัญญาในรูปแบบของจินตนาการ อันเป็นพลังชีวิตของเรา ถูกวิธีคิดสะกดให้ตายด้าน ยิ่งเฉพาะกับยุคสมัยที่ สังคมมนุษย์ตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของวาทกรรมนับร้อยพัน เช่นนี้


เมื่อเราถูกสะกดจิตจากวาทกรรมเผ่าพันธุ์ต่าง ๆ วิธีคิดของเราจะเต็มไปด้วยข้อจำกัดและขอบเขตอันยุ่งเหยิงและซับซ้อน จินตนาการของเรากลายเป็นแค่เรื่องเพ้อฝัน ไร้สาระ นั่นเท่ากับว่า มนุษย์ได้ปิดประตูชีวิตของตนแล้ว


เราจะก้าวต่อไปได้อย่างไร



เริ่มแรกมนุษย์ได้ตัดแบ่งความเป็นนิรันดร์ออกเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย (วินาที นาที ชั่วโมง)


ศาสตร์ทุกแขนงต่างตั้งข้อสันนิษฐานขึ้นมาตีกรอบสนามชีวิตของเรา พร้อมกับปฏิเสธความกว้างอย่างไร้ขอบเขตของชีวิตด้วย และเราต่างย่ำวนอยู่ในข้อสันนิษฐานเหล่านี้อย่างไม่ลืมหูลืมตา กระทั่งหลงลืมศักยภาพที่แท้จริงของตัวเอง และกระทั่งควอนตัมฟิสิกส์ได้นำพาเราไปทำความรู้จักกับจิตวิญญาณให้มากกว่าความเหลวไหลไร้สาระ ไม่มีข้อพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์

ต่อแต่นี้ไป วิทยาศาสตร์ยุคนี้จะไม่ใช่การค้นพบอย่างเป็นเอกเทศอีกแล้ว แต่จะเป็นการค้นพบซึ่งโลกทัศน์ใหม่


ทุกโลกทัศน์รังสรรค์โลกของตัวเองทั้งสิ้น

ประสบการณ์ของเราที่มีต่อเวลามีผลโดยตรงต่อการทำงานของนาฬิกาชีวิตของเรา ถ้ารู้สึกว่าเวลากำลังจะหมดไป นาฬิกาชีวภาพของเราจะเดินเร็วขึ้น ถ้าเรามีเวลาทั้งหมดในโลก นาฬิกาชีวภาพของเราจะหยุดเดิน ดังนั้นโลกทัศน์ที่มีต่อเวลาหรือต่อโลก ย่อมสร้างตัวตนของเราขึ้น

โดยให้ชีวิตเป็นได้ทั้งมีข้อจำกัดและเป็นอิสระ ขึ้นอยู่กับโลกทัศน์ของเรา


หมอโชปราเชื่อว่า จิตวิญญาณเป็นอาณาจักรของจิตสำนึกของเราซึ่งไร้เวลา เวลาเป็นความต่อเนื่องของความทรงจำ ซึ่งใช้อีโก้เป็นจุดอ้างอิงภายใน เมื่อเราหลุดพ้นจากอีโก้ของเราเข้าสู่ปริมณฑลของจิตวิญญาณ เราจะทำลายเครื่องกีดขวางของเวลา ถึงที่สุดแล้ว ทั้งคุณภาพและปริมาณของชีวิตจะขึ้นอยู่กับความเข้าใจของเราที่มีต่อความเป็นเอกลักษณ์ ถ้าเรามีความหมายและจุดหมายในชีวิตและเอกลักษณ์ของเราไม่ผูกติดกับ “อีโก้” ที่ห่อหุ้มด้วยผิวนอก จะทำให้ทั้งคุณภาพและปริมาณของชีวิตดีขึ้นอย่างไม่น่าเชื่อ


กล่าวได้ว่า หมอโชปราเชื่อว่า โลกและวิญญาณเป็นของเที่ยง ไม่เสื่อมสูญ เป็นสัสตทิฏฐิในทางพุทธศาสนา ดังนั้นจึงเป็นการแย้งกับหลักพุทธธรรม แต่จะขัดแย้งจริงหรือไม่ เราควรมองให้ลึกลงไปถึงกุศโลบายแห่งพุทธรรมอีกด้วย


ฉะนั้นแล้วคำถามที่ว่า เราอยากจะมีอายุยืนยาวไปทำไมกัน นั้น อาจมีคำตอบอยู่ในบัญญัติแห่งพุทธธรรม เพราะบางครั้งเราอาจไม่ได้อยากมีอายุยืนยาวหรอก เราเพียงแค่อยากเป็นชีวิตที่มีชีวิต ไม่ใช่ชีวิตที่ตายแล้วทั้งเป็น.

 

 

 

บล็อกของ สวนหนังสือ

สวนหนังสือ
นายยืนยง ชื่อหนังสือ : ถอดรหัสอ่านเร็ว HI-SPEED READING ผู้แต่ง : ลุงไอน์สไตน์ พิมพ์ครั้งที่ 1 : สำนักพิมพ์บิสคิต ตุลาคม 2551
สวนหนังสือ
นายยืนยงชื่อหนังสือ           :           824ผู้เขียน               :           งามพรรณ เวชชาชีวะประเภท              :           นวนิยาย  พิมพ์ครั้งที่ 2 มีนาคม 2552จัดพิมพ์โดย        :      …
สวนหนังสือ
ป่านนี้แล้ว (พ.ศ. 2552) ใครไม่เคยได้ยินเสียงขู่ หรือคำร้องขอเชิงคุกคามให้ร่วมชุบชูจิตวิญญาณสีเขียว ให้ร่วมรณรงค์ลดภาวะโลกร้อน ให้ตระหนักในปัญหาวิกฤตอาหารถาวร โดยเฉพาะปัญหาสิ่งแวดล้อมทั้งหลาย ฉันว่าคุณคงมัวปลีกวิเวกนานเกินไปแล้ว
สวนหนังสือ
นายยืนยง   ชื่อหนังสือ : ลิงหลอกเจ้า ลอกคราบวัตถุนิยมทางศาสนา ผู้เขียน : เชอเกียม ตรุงปะ รินโปเช ผู้แปล : วีระ สมบูรณ์ และ พจนา จันทรสันติ จัดพิมพ์โดย : สำนักพิมพ์มูลนิธิโกมลคีมทอง พิมพ์ครั้งแรก : ตุลาคม พ.ศ.2528   เวลานี้เราต้องยอมรับเสียแล้วละว่า หนังสือธรรมะ เป็นหนังสือแนวสาระที่ติดอันดับขายดิบขายดี และมีทีท่าว่าจะคงกระแสความแรงอย่างต่อเนื่องอีกด้วย   เดี๋ยวนี้ ฉันเจอใครเข้า เขามักสนทนาประสาสะแบบปนธรรมะนิด ๆ มีบางคนเข้าขั้นหน่อย ก็เทศน์ได้ทุกสถานการณ์ อย่างนี้ก็มี ไม่แน่ว่าถ้าคนนิยมอ่านหนังสือธรรมะกันหนาตาเข้า สังคมไทยอาจแปรสภาพเป็นสังคมแห่งนักบวชนอกเครื่องแบบก็เป็นได้…
สวนหนังสือ
  เรียน คุณสุชาติ สวัสดิ์ศรี บรรณาธิการ ช่อการะเกด ที่นับถือฉันผู้ใช้นามแฝงว่า นายยืนยง คนเขียนคอลัมน์ สวนหนังสือ ในเว็บไซต์ประชาไท ที่มีบทความชื่อ ช่อการะเกด 45 เวลาช่วยให้อะไร ๆ ดีขึ้นจริงหรือ? อยู่ในรายการของบทความทั้งหมด ได้อ่าน กถาบรรณาธิการ ใน ช่อการะเกด 47 ฉบับวางแผงปัจจุบันแล้ว ทราบว่าคุณสุชาติ บรรณาธิการนิตยสารเรื่องสั้นช่อการะเกดได้ให้ความสนใจต่อบทความนี้ ฉันในนามของนายยืนยงจึงเขียนจดหมายแล้วจัดพิมพ์ส่งตู้ ป.ณ. 1143 เพื่อเล่าถึงความเป็นมาคร่าว ๆ…
สวนหนังสือ
นายยืนยง ชื่อหนังสือ :       เดอะซีเคร็ต ผู้เขียน :            รอนดา เบิร์นผู้แปล :             จิระนันท์ พิตรปรีชาพิมพ์ครั้งที่ 54 :  มีนาคม 2551จัดพิมพ์โดย :    สำนักพิมพ์อมรินทร์
สวนหนังสือ
ใกล้เปิดภาคเรียนใหม่ ปีการศึกษา 2552 แล้ว ภายใต้นโยบายเรียนฟรี 15 ปี ของรัฐบาลนี้ ถ้าใครได้ดูทีวีคงได้เห็นข่าวประชาสัมพันธ์ หรือได้เห็นสำนักข่าวไปสัมภาษณ์ผู้ปกครองที่ได้รับเงินอุดหนุนค่าเครื่องแบบนักเรียนแล้วไปเลือกซื้อชุดนักเรียนให้ลูก ๆ เป็นที่น่าชื่นอกชื่นใจสำหรับคนเป็นพ่อแม่ที่มีโอกาสเป็นครั้งแรกในการได้รับ "ของฟรี" จากรัฐบาล แม้จะไม่สามารถซื้อได้ครบทั้งชุดก็ตาม เช่น นักเรียนประถม 5 ได้รับเงินเพื่อการนี้คนละ 360 บาทต่อปี คือ 2 ภาคเรียน ๆ ละ 180 บาท บางคนอาจจะได้กางเกงนักเรียน 1 ตัว และ ถุงเท้า 1 คู่ ก็ยังดีฟะ.. กำขี้ดีกว่ากำตดไม่ใช่เรอะ
สวนหนังสือ
นายยืนยง   นิตยสารรายเดือน             :           ควน ป่า นา เล  4 เกี่ยวกับเมล็ดพันธุ์ตั้งแต่ปลายมีนาคมจนถึงวันนี้ 9 เมษายน ฉันอาศัยทีวีและหนังสือพิมพ์ อันเป็นสื่อกระแสหลักที่นำเสนอข่าวสารที่เป็นกระแสหลัก คือ ข่าวการเมือง เหมือนกับทุกครั้งที่อุณหภูมิการเมืองเดือดขึ้น ฉันดูข่าวเกินพิกัด อ่านหนังสือพิมพ์จนแว่นมัวหมอง ตื่นระทึกไปกับทุกจังหวะก้าวย่างของมวลชนเสื้อแดง มีอารมณ์ร่วมกับภาคการเมืองส่วนกลางในฐานะผู้เสพข่าวสารเท่านั้นเองจริง ๆ เท่านั้นเองไม่มากกว่านั้น …
สวนหนังสือ
นายยืนยง ชื่อหนังสือ : เราติดอยู่ในแนวรบเสียแล้ว แม่มัน! วรรณกรรมการเมืองรางวัลพานแว่นฟ้า ครั้งที่ 6 จัดพิมพ์โดย : สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร พิมพ์ครั้งแรก : กันยายน 2551 ก่อนอื่นขอแจ้งข่าว เรื่องวรรณกรรมการเมือง รางวัลพานแว่นฟ้า ประจำปี 2552 นี้ สักเล็กน้อย งานนี้เป็นการจัดประกวดครั้งที่ 8 เปิดรับผลงานวรรณกรรมการเมือง 2 ประเภท คือ เรื่องสั้น และ บทกวี ตั้งแต่วันที่ 2 กุมภาพันธ์ – 30 เมษายน 2552
สวนหนังสือ
นายยืนยง   ชื่อหนังสือ : เด็กเก็บว่าว The Kite Runner ผู้เขียน : ฮาเหล็ด โฮเซนี่ ผู้แปล : วิษณุฉัตร วิเศษสุวรรณภูมิ ประเภท : นวนิยาย พิมพ์ครั้งแรก ตุลาคม พ.ศ.2548 จัดพิมพ์โดย : สำนักพิมพ์ The One Publishing เด็กเก็บว่าว นวนิยายสัญชาติอเมริกัน-อัฟกัน ขนาดสี่ร้อยกว่าหน้า ที่โปรยปก มหัศจรรย์แห่งนวนิยายที่สร้างปรากฏการณ์ปากต่อปากจนติดอันดับเบสต์เซลเลอร์ เล่มนี้ กล่าวถึงเรื่องราวของอะไรหรือ ทำไมผู้คนจึงให้ความสนใจกับมันมากมายนัก ฉันถามตัวเองก่อนจะหยิบมันมาอ่าน
สวนหนังสือ
นายยืนยง ชื่อหนังสือ : อ่าน (ไม่) เอาเรื่อง ผู้เขียน : ชูศักดิ์ ภัทรกุลวณิชย์ ประเภท : วรรณกรรมวิจารณ์ พิมพ์ครั้งแรก พฤษภาคม 2545 จัดพิมพ์โดย : โครงการจัดพิมพ์คบไฟ การตีความนัยยะศัพท์แสงทางวรรณกรรมจะว่าเป็นศิลปะแห่งการเข้าข้างตัวเอง ก็ถูกส่วนหนึ่ง ความนี้น่าจะเชื่อมโยงกับเรื่อง “รสนิยมส่วนตัว” หรือ อัตวิสัย หากมองในแง่ดี เราจะถือเป็นบ่อเกิดของกระบวนการสร้างสรรค์ได้ด้วย มิใช่หรือ
สวนหนังสือ
นายยืนยงเมื่อการอ่านประวัติศาสตร์ อันเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นในอดีตนั้น ฉันว่าควรมีการเขียนหนังสือแนะนำ (How to) เป็นขั้นเป็นตอนเลยจะดีกว่าไหม เพราะมันนอกจากจะปวดเศียรเวียนเกล้ากับผู้แต่งแต่ละท่านแล้ว (ผู้แต่งบางท่านก็ชี้ชัดลงไปเลย เจตนาจะเข้าข้างฝ่ายไหน แต่บางท่านเน้นวิเคราะห์วิจารณ์ โดยที่หากผู้อ่านมีความรู้เชิงประวัติศาสตร์น้อยกว่าหางอึ่งอย่างฉัน ต้องกลับไปลงทะเบียนเรียนวิชานี้อีกหลายเล่ม) ยังทำให้ใช้เวลาอย่างมหาศาลไปกับหนังสือที่เกี่ยวเนื่องกันอีกหลายเล่ม ไม่เป็นไร ๆ เราไม่ได้อ่านเพื่อพิพากษาใครเป็นถูกเป็นผิดมิใช่หรือ อ่านเพื่อได้อ่าน แบบกำปั้นทุบดินก็ไม่เสียหายอะไรนี่นา…