Skip to main content

ด้วยความที่อยากให้เกียรติวีรบุรุษในการต่อสู้ของคนที่อยู่กับป่า ทางทีมงานของเครือข่ายกะเหรี่ยงเพื่อวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อมจึงเลือกเพลง ปูนุ ดอกจีมู เป็นเพลงเปิดหัวในการประชาสัมพันธ์อัลบั้มเพลงเกอะญอเก่อเรอ


ที่แรกที่เราส่งไปคือสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย ท่าเป็นช่วงภาคภาษาชนเผ่า โดยเฉพาะภาษาปกาเกอะญอ ซึ่งมีพี่มานะ หรือบิหนะ เป็นผู้ประกาศข่าวคราวต่างไปถึงพี่น้องปกาเกอะญอในเขตภูเขา


หลังจากที่เพลงถูกเปิด มีพี่น้องปกาเกอะญอจากที่ต่างๆโทรมาแสดงความเห็นมากมาย

ส่วนใหญ่เค้าบอกว่า เค้าชอบเพลงนี้มาก แต่เค้าขอร้องมาว่า ถ้าถึงท่อนที่เป็น ธาโย ช่วยปิดเลยได้มั้ย เพราะเขค้าฟังแล้วขนลุก โดยเฉพาะเวลานั่งหรือนอนฟังในบ้าน มันทำให้นึกถึงบรรยากาศงานศพขึ้นมาทันที เค้าบอกว่าทำให้เค้ารู้สึกไม่ค่อยดีเลย” พี่บิหนะ ผู้ประกาศข่าวภาคภาษาปกาเกอะญอโทรมาบอกผม


นอกจากมีคนโทรบอกพี่บิหนะแล้ว ช่วงแรกๆที่เพลงนี้ออกมา เวลาผมเดินทางไปเล่นดนตรีในชุมชนปกาเกอะญอที่ยังนับถือศาสนาดั้งเดิม มักมีคนพูดกับผมในลักษณะนี้เช่นกัน ซึ่งผมเองคาดไม่ถึงว่ามันจะมีผลต่อจิตใจเขามากเพียงนี้


เมื่อการตายของพาตี่ปุนุ เวียนมาบรรจบครบวาระหนึ่งปี มีการจัดงานรำลึกที่บ้านเกิดของเขา ณ บ้านแม่วาง ต.แม่วิน อ.แม่วาง จ.เชียงใหม่ ผมมีโอกาสได้ไปร่วมงานโดยที่ผมไม่ลืมพกเพลงปูนุ ดอกจีมูไปด้วย โดยในวันนั้นมีนักดนตรีปกาเกอะญอมาร่วมหลายคน เช่น พาตี่อ็อด จุ๊ย เส่อา โดยที่แต่ละคนได้สร้างความบันเทิงให้กับพี่น้องปกาเกอะญอที่มาร่วมงานอย่างไม่ผิดหวัง


เมื่อถึงช่วงที่ผมต้องขึ้นไปทำหน้าที่บนเวที ความกังวลมาโอบกอดผมทันที ผมรู้สึกหวั่นๆกับเพลงพาตี่ปูนุ ว่า ผู้คนจะรับท่อนของ ธาโย ได้หรือไม่ เพราะเป็นท่อนเฉพาะสำหรับงานศพ แต่ก่อนผมจะขึ้นเวที พิธีกรได้ประกาศว่าว่า

พบกับกับผู้ที่เขียนเพลง ปูนุ ดอกจีมู” ทำให้ความมั่นใจกลับคืนมาบ้างว่า อย่างไรเสีย ก็ต้องร้องเพลงนี้ในค่ำคืนนี้


แรกๆผมยังไม่กล้าร้องเพลงปุนุ ผมร้องเพลงอื่นก่อนสองเพลง แล้วผมจึงนำเพลงปูนุ มาบรรเลง เพียงแค่เสียงอินโทร คนฟังก็จำได้ว่าเป็นเพลงปูนุ ดอกจีมู สังเกตได้จากเสียงตบมือต้อนรับเพลงของคนฟัง ผมเริ่มร้องและร้องต่อไปจนใกล้ถึงท่อน ธาโย มันจะเป็นท่อนย้ำชื่อของ ปูนุ ปูนุ ดอกจีมู พี่น้องปกาเกอะญอที่มาฟังในวันนั้นที่ร้องเพลงนี้ได้ เริ่มขยับปากร้องร่วมกับผม ปูนุ ปูนุ ดอกจีมู พอถึงท่อน ธาโย ผมกะว่าจะไม่ร้องเพราะผมกลัวคนฟังจะรับไม่ได้ ก่อนที่ผมจะหยุด คนที่มาร่วมงานชิงร้องก่อนผม โย เอ โย ออๆๆๆๆๆๆ คนที่ร้องได้ในงานก็ร่วมกันร้องท่อนนี้ จนผมขนลุกไปหมด ผมเพลินกับการฟังคนฟังร้องท่อน ธาโย และดีดกีต่าร์ตาม จนสายกีตาร์ผมขาดสองเส้นในคราวเดียวกัน


พี่น้องครับ เอาไว้แค่นี้นะครับ สายกีตาร์ผมขาดไปสองสายแล้ว” ผมบอกกับคนดูในวันนั้น หลังจากนั้นพี่พฤ นักต่อสู้เพื่อคนอยู่กับป่าอีกคนหนึ่งของปกาเกอะญอขึ้นมาพูดบนเวที


ผมว่านี่เป็นสิ่งที่พาตี่ปูนุ ต้องการพูดอะไรบางอย่างกับพวกเรา ผ่านบทเพลงที่เขียนถึงเขา สังเกตได้จากการที่สายกีตาร์ที่ชิ เล่นขาดสองสายในเวลาเดียวกัน อยากให้พี่น้องยืนหยัดในวิถีของตนเอง ดูแลทรัพยากรในชุมชนให้ดี เราจะอยู่กับมันได้ตลอดไป”


แต่สิ่งที่ผมแปลกใจคือ งานนี้แม้ไม่ใช่งานศพแต่ผมร้องเพลงปูนุ ได้โดยที่ไม่มีใครว่าอะไรเลย

อาจเป็นเพราะว่าเป็นงานที่รำลึกถึงคนตายจริงๆ” ผมนึกในใจ


แต่ที่แปลกกว่านั้น บางครั้งเวลาที่ผมไปเล่นดนตรีในชุมชนปกาเกอะญอที่เป็นคริสเตียน ก็มีการเรียกร้องให้ร้องเพลงนี้บ้าง แต่เมื่อร้องถึงท่อน ธาโย แต่ไม่มีการทักท้วงให้หยุด กลับปล่อยให้ร้องตามสบายและร้องร่วมด้วยซ้ำ แม้เป็นงานรื่นเริงก็ตาม เขาไม่ถือแล้วหรือ เพลงต้องห้ามเหล่านี้ หรือเขาไม่รู้เรื่องเกี่ยวกับเพลงต้องห้ามเหล่านี้แล้ว


บล็อกของ ชิ สุวิชาน

ชิ สุวิชาน
การนอนและนอนอย่างเดียวในรถตู้ไม่ใช่เรื่องง่าย  บางทีปวดฉี่ บางครั้งปวดหลัง ทุกครั้งที่รถแวะจอดเติมน้ำมันหรือแวะทำอะไร ผมก็มักจะตื่นด้วยทุกครั้ง  จนได้รับการต่อว่าจากคนที่นั่งมาด้วยกันด้วยความเป็นห่วงว่าผมจะรับช่วงการขับรถต่อได้อย่างไม่มีประสิทธิภาพ
ชิ สุวิชาน
คืนนี้เป็นอีกคืนหนึ่งที่คนฟังเพลงเป็นคนไทย แต่ที่พิเศษกว่าที่อื่นเนื่องจากคนไทยเป็นคนจัดงานกันเอง เป็นการจัดงาน ”Thai Festival in Texas” ซึ่งโดยปกติแล้วจะมีการจัดปีละครั้ง ทุกๆปีจะจัดในเดือนเมษายน แต่ปีนี้มาจัดกันในเดือนกันยายนเนื่องจากต้องการให้กิจการทัวร์ ของ Himmapan 2nd world เป็นจุดเด่นของงานในปีนี้ ภายในงานมีการขายอาหาร เสื้อผ้า ของไทย มีการจัดซุ้มนวดแผนไทยมาบริการ
ชิ สุวิชาน
จาก Houston มุ่งสู่ Dallas ระหว่างทางผมได้มีโอกาสเป็นสารถีอีกครั้ง ระหว่างทางที่ขับรถอยู่ผมก็เหลียวซ้ายและขวาบ้าง ผมเห็นตัวที่อยู่ข้างทาง วัวก็ไม่ใช่ ควายก็ไม่เชิง เมื่อเดินทางมาถึงDallas ที่ หมาย ซึ่งมีพี่น้องคนไทยรอรับ จัดแจงที่อยู่ที่กินเป็นอย่างดี “ที่นี่ มีคนปกาเกอะญอไหมครับ?” เป็นคำถามแรกที่ผมถามที่ Dallas
ชิ สุวิชาน
วันนี้ผู้หญิงได้รับอนุญาตให้ไปเดินซื้อของที่ Outlet ส่วนผู้ชายหลังจากทานอาหารเช้า ต้องเดินทางไปติดตั้งเครื่องเสียงเพื่อเล่นในเย็นวันนี้
ชิ สุวิชาน
หัวค่ำ พี่แพท นายกสมาคมไทย เท็กซัส พาไปกินข้าวที่ร้านอาหารจีน  ภายในร้านมีคนเอเชียจากหลายประเทศ ทั้ง สิงคโปร์ มาเลเซีย จีน ลาว เวียดนาม รวมทั้งพี่ไทย  แต่ส่วนใหญ่จะใช้ภาษาอังกฤษคุยกันยกเว้นคนเวียดนามที่ไม่ยอมพูดภาษาอังกฤษในร้านนอกจากพูดภาษาของตนเอง 
ชิ สุวิชาน
การเริ่มต้นใหม่ หลังจากที่สังคยานาดำเนินขึ้น จุดหมายวันนี้อยู่ที่ร้าน Home plate grill เป็นร้าน sport club ของคนไทย ที่ตั้งอยู่ตรงข้ามสนามเบสบอลทีม Houston Astros ก่อนที่คอนเสิร์ตจะเริ่ม ทางคณะทีมงานได้ไปเชิญชวนแฟนๆเบสบอลมาฟังดนตรีก่อนเกมจะเริ่ม ทำให้ในร้านเริ่มมีคนทยอยเข้ามา บ้างมานั่งดื่มก่อนเข้าไปดูเกมในสนาม บ้างเข้ามาซื้อเพื่อไปดื่มในสนาม
ชิ สุวิชาน
ข้าวเย็นมื้อหนักจบลง ตัวแทนสมาคมไทย-เท็กซัส ได้พาคณะไปที่พักผู้หญิงพักที่บ้านคนไทย ผู้ชายพักที่วัดไทยที่อยู่ใกล้ๆ ชื่อ”วัดป่าศรีถาวร” ซึ่งมีที่พัก มีห้องน้ำที่อยู่ในขั้นสะดวก พระสงฆ์ที่จำวัดอยู่ที่นี่เป็นกันเองนอกจากบริการที่พักแล้ว ยังให้ข้าวปลาอาหารให้ทานอีกเล่นเอาทีมงานผู้ชายต่างซึ้งไปตามๆกัน
ชิ สุวิชาน
สายๆของวันที่ 20 กันยา เราเดินทางออกจาก Austin ต่อไปเมือง Houston มีกำหนดการเล่นบ่ายสามโมงถึงห้าโมงเย็น เมื่อเดินทางไปถึงสถานที่เล่น ตัวแทนจากสมาคมไทย-เท็กซัส ได้มาต้อนรับและพาไปดูเวทีซึ่งเป็นที่คล้ายตลาดสดหรือตลาดนัดที่เมืองไทย มีอาหาร เสื้อผ้า ของเล่น รูปร่างหน้าตาและสัดส่วนรูปร่างของคนแถวนี้ใกล้เคียงเมืองไทย เพียงแต่ไม่พูดภาษาไทย พูดภาษาสเปนมากกว่าภาษาอังกฤษ
ชิ สุวิชาน
ออกจากพิพิธภัณฑ์ Alamo เราออกเดินทางต่อไปยัง Austin ระหว่างทางแวะทานข้าวที่ร้านอาหารไทย ผมไม่ทิ้งโอกาสที่จะถามหาคนในเผ่าพันธุ์ของผม
ชิ สุวิชาน
การเดินทางยังดำเนินต่อ บทเพลงในรถยังเป็นเพื่อน มีทั้งเพลงที่ดัง มีทั้งเพลงไม่ดัง บางเพลงเคยได้ฟังมาบ้าง บางเพลงไม่เคยรู้จัก “เพลงที่ดังกว่า ไม่ได้ดีกว่าเสมอไป คนที่ดังกว่าไม่ได้เก่งกว่าเสมอไป” ทอด์ดสรุปให้ฟัง “แต่อย่างผมไม่ดัง และไม่เก่งด้วย” ผมสรุปของผมในใจ
ชิ สุวิชาน
มีเวลาพัก หลังจากเล่นที่ Thai Thani Resort  วันหนึ่งได้มีโอกาสไปพายเรือเล่นที่ทะเลสาบระยะทางประมาณชั่วโมงเศษจากสแครนตั้น  รุ่งเช้า ออกเดินทางจากสแครนตั้นมุ่งสู่ตอนใต้ของอเมริกา เป้าหมายอยู่ที่ Texas ระยะทางเกือบสองพันไมล์ ขบวนรถตู้สามคัน บรรทุกทีมงานยี่สิบกว่าชีวิตพร้อมอุปกรณ์เครื่องเสียง เครื่องดนตรี เดินทางเต็มที่วันแรกจนตีสอง ทุกคนยอมแพ้ทั้งคนขับและคนนั่ง ถ้าเครื่องดนตรีและเครื่องเสียงพูดได้ ก็คงขอพักเช่นกัน จึงค้างกันที่เมือง Bristol รัฐ Tennessee
ชิ สุวิชาน
หลังคอนเสริตจบลงที่นิวยอร์ก เราเดินทางกลับสแครนตันในคืนนั้นเลย กว่าจะได้นอนก็ปาเข้าไปตีสี่ ทำให้หลังจากถึงที่นอนไม่เกินห้านาที เสียงกรนจากรอบข้างเริ่มดังขึ้น เหมือนมีการเปิดคอนเสริตประสานเสียง มีทั้งเสียงเบส เทนเนอร์ อัลโต โซปราโน ครบครัน กว่าผมจะหลับได้เล่นเอาฟังจนอิ่ม