Skip to main content
 

วันที่ 15 พฤศจิกายน คือวันประชุมสุดยอดผู้นำโลก 20 ชาติว่าด้วยเศรษฐกิจ ซึ่งถูกคาดหมายว่า จะเป็นการประชุมเพื่อกำหนดมาตรการทางการเงินของโลกอีกครั้งหลังจากมันเคยเกิดขึ้นแล้วหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งเศรษฐกิจโลกพังพาบลง จนนำมาสู้ระบบแลกเปลี่ยนเงินที่ชื่อว่า Bretton Woods System

G20: "we must rethink we must rethink the financial system from scratch, as at Bretton Woods."

นิโคลัส ซาร์โกซี ประธานาธิบดีแห่งฝรั่งเศสเป็นผู้เอ่ยประโยคนี้ เมื่อวันที่ 26 กันยายน ที่ผ่านมา และนำมาสู่การกำหนดการประชุมสุดยอดผู้นำโลกที่จะมีขึ้นในวันที่ 15 พ.ย. นี้

เมื่อวันที่ 8 ตุลาคม ประธานาธิบดีของอาร์เจนตินา คริสตินา เฟอร์นันเดซ กล่าวว่า วิกฤตการณ์เงินของโลกต้องการมาตรการที่เข้มแข็งทั้งในด้านตลาดการเงินและมาตรการเกี่ยวกับการเคลื่อนย้ายเงินทุน และระบบแบรตตัน วูดส์ แบบใหม่ก็เป็นเรื่องที่จำเป็น

วันที่ 13 ตุลาคม นายกรัฐมนตรีของอังกฤษ กล่าวว่า ผู้นำของโลกจำเป็นต้องพบปะกันเพื่อลงความเห็นร่วมกันเกี่ยวกับระบบเศรษฐกิจใหม่ "เราต้องมีระบบแบรตตัน วูดส์ ใหม่ สร้างสถาปัตยกรรมทางการเงินระหว่างประเทศขึ้นใหม่ในปีข้างหน้า เช่นกันกับคำกล่าวจากปากของนายจูลิโอ เตรมอนตี รัฐมนตรีด้านเศรษฐกิจของอิตาลี ซึ่งสนับสนุนให้การประชุมผู้นำ G7 เป็นวาระผลักดัน "New Bretton Woods." พ่วงไปกับการวิพากษ์ว่าสหรัฐต้องรับผิดชอบต่อวิกฤตการเงินของโลกในปี 2008

ระบบ Bretton Woods (ตั้งชื่อตามชื่อเมืองเมืองแบรตตัน วูดส์ สหรัฐอเมริกา ซึ่งผู้นำของโลกขณะนั้นได้หารือร่วมกันและเห็นชอบต่อระบบการแลกเปลี่ยนเงินตราด้วยอัตราคงที่) ที่ผู้นำทั้งหลายกล่าวถึงนั้น เป็นระบบกำหนดอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราคงที่ซึ่งมีเงินดอลล่าร์เป็นฐาน อิงกับทองคำคือ 35 ดอลล่าร์ ต่อทองคำ 1 ออนซ์ ซึ่งเป็นระบบที่ใช้มาตั้งแต่ปี 1946 ถึงช่วงต้นทศวรรษ 1970 ทว่าระบบดังกล่าวก็แก้ปัญหาภาวะไม่มั่นคงของเศรษฐกิจโลกหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ได้เท่านั้น เพราะหลังจากนั้น เมื่อเกิดภาวะธนบัตรดอลล่าร์ล้นตลาด สหรัฐต้องประกาศเลิกอิงการแลกเปลี่ยนเงินตรากับทองคำในปี 1971 นำมาสู่ระบบค่าเงินลอยตัว ซึ่งตลาดเงินตราสามารถแลกเปลี่ยนเงินตราอย่างเสรีในปัจจุบัน

การประชุมสุดยอดผู้นำโลกครั้งนี้นับเป็นครั้งแรกที่รวบรวมบรรดาผู้นำจากทั่วทุกมุมโลก รวมทั้งผู้นำในกลุ่มประเทศ G7 กลุ่ม G 20 และกลุ่มประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ที่สำคัญ อาทิ จีน บราซิล ซาอุดิอาระเบีย และอินเดีย นอกจากนี้ ผู้ว่าการธนาคารกลางทั่วโลก กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) องค์การสหประชาชาติ (UN) และกลุ่มการประชุมเสถียรภาพทางการเงิน (FSF)

กลุ่มประเทศ G20 นั้น เป็นการประชุมของกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว 7 ประเทศ (G7) และประเทศที่มีบทบาทสำคัญทางเศรษฐกิจและการเมืองโลกอีก 12 ประเทศ รวมกับประธานสหภาพยุโรป 1 ตำแหน่ง

ประเทศสมาชิกทั้งหมดมีประชากรราว 2 ใน 3 ของโลก และมีผลิตภัณฑ์มวลรวม (GDP)  รวมกันแล้วประมาณ 80เปอร์เซ็นต์ของโลก

ทั้งนี้ ประเทศที่ถูกจัดอยู่ในกลุ่ม 20 สุดยอดผู้นำโลกได้แก่ อาร์เจนตินา ออสเตรเลีย บราซิล แคนาดา จีน ฝรั่งเศส เยอรมัน อินเดีย อินโดนีเซีย อิตาลี ญี่ปุ่น เม็กซิโก รัสเซีย ซาอุดิ อาระเบีย แอฟริกาใต้ เกาหลีใต้ ตุรกี สหราชอาณาจักร สหรัฐอมริกา และสหภาพยุโรป

วิเคราะห์จากนักวิเคราะห์

แม้ว่าจะถูกจับตามองถึงมาตรการเพื่อรับมือกับภาวะตกต่ำทางเศรษฐกิจของสหรัฐและสหภาพยุโรปซึ่งเริ่มส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจของโลก แต่นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่ยังคงประเมินว่า ที่ประชุมสุดยอดผู้นำโลกจะยังคงไม่มีมาตรการอะไรใหม่ๆ ออกมา ขณะที่บรรยากาศในตลาดหุ้นนั้นก็ผูกความคาดหวังไว้กับผลการประชุมครั้งนี้

แต่สิ่งที่เกิดขึ้นแล้วนั้น ขณะนี้ ธนาคารโลก (World Bank) ได้เตรียมทำเอกสารวิเคราะห์ตลาดการเงินและเศรษฐกิจโลกสำหรับการประชุม G20 โดยที่ในเอกสารดังกล่าวนี้ ธนาคารโลกได้ปรับลดประมาณการอัตราการเติบโตเศรษฐกิจ (GDP) ของโลกในปี 2552 เหลือเพียง 1% โดยปรับลดประมาณการ GDP ของประเทศกำลังพัฒนาเหลือ 4.5% ประเทศที่พัฒนาแล้ว (OECD) หดตัวลง 0.2% จากวิกฤตการเงินสหรัฐฯ ซึ่งขณะนี้ขยายตัวเป็นวิกฤตเศรษฐกิจโลก นอกจากนี้ ในเอกสารฉบับดังกล่าว ธนาคารโลกได้เรียกร้องให้ผู้นำโลกมองข้างเสถียรภาพของดุลการชำระเงินระหว่างประเทศและให้ความสำคัญสภาพคล่องทางการเงิน สนับสนุนการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจและการขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน

นักลงทุนได้จับตามองว่า ประธานาธิบดีของสหรัฐจะกล่าวอะไรในการประชุมดังกล่าว ซึ่งนั่นหมายถึงทิศทางต่อไปของระบบการเงินและเศรษฐกิจของกลุ่มประเทศผู้นำ ทั้งนี้สื่อมวลชนได้รายงานคำสัมภาษณ์นายแดน ไพรซ์ ที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจระหว่างประเทศของประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิลยู บุช คาดว่า การประชุม G20 ที่ กรุงวอชิงตัน วันเสาร์นี้ ที่ประชุมจะเห็นชอบให้ใช้มาตรการเฉพาะในการรับมือกับภาวะผันผวนในตลาดการเงิน และยับยั้งการถดถอยของเศรษฐกิจโลก พร้อมทั้งคาดถึงแนวโน้มว่าที่ประชุม G20 จะมีการหารือกันเพื่อเรียกร้องให้บริษัทจัดอันดับความน่าเชื่อถือ จัดอันดับเครดิตให้มีมาตรฐานสูงขึ้น โดยอาศัยข้อมูลตามความเป็นจริง หลังจากที่ บริษัท สแตนดาร์ด แอนด์ พัวร์ส (S&P) , มูดีส์ อินเวสเตอร์สเซอร์วิส และ ฟิทช์ เรทติ้งส์ ถูกวุฒิสภาสหรัฐฯ โจมตีว่า มีผลประโยชน์ทับซ้อน และปิดบังสถานะที่แท้จริงของบริษัทปล่อยกู้จำนองจนเป็นเหตุให้กิดภาวะผันผวนในตลาด อีกทั้งไม่ได้ส่งสัญญาณเตือนนักลงทุนเกี่ยวกับความเสี่ยงของตราสารหนี้ ที่มีสินเชื่อที่อยู่อาศัยรองรับ (MBS)

ด้านญี่ปุ่น ก็มีข่าวออกมาแล้วว่า  นายทาโร อาโสะ นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น จะประกาศแผนการอัดฉีดเงินทุนมูลค่า 10 ล้านล้านเยน หรือ 1.05 แสนล้านดอลลาร์ ให้กับกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) เพื่อใช้ในการปล่อยกู้ฉุกเฉินในกับกลุ่มประเทศตลาดเกิดใหม่

บทบาทของประเทศที่ไม่ถูกนับรวม

จริงๆ แล้วในการประชุมของผู้นำโลก ไม่เพียงแต่จะต้องถูกจับตามองจากประเทศที่ไม่ถูกนับรวม แต่ยังคงรวมถึง ประชากร ที่ไม่ถูกนับรวมด้วย เนื่องจากแนวทางของกลุ่มผู้นำ G20 นั้นชัดเจนว่า ดำเนินไปตามแนวทางเสรีนิยมทางเศรษฐกิจอย่างสุดโต่ง และนั่นย่อมส่งผลถึงนโยบายในการจัดสรรทรัพยากรซึ่งส่งผลทั้งต่อประชาชนในประเทศกลุ่ม G20 เองและในประเทศที่เหลือ

การประกาศยืนหยัดเพื่อชาวนาชาวไร่ในซีกโลกใต้ ประจันหน้ากับธุรกิจการเกษตรแห่งซีกโลกเหนือ [1] เกิดจากการเคลื่อนไหวทางสังคมของภาคประชาชนในกลุ่มประเทศ G20 เมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2548 ที่กรุงนิวเดลี อินเดีย ซึ่งเป็นการเคลื่อนไหวคู่ขนานไปกับการประชุมของผู้นำ เป็นอีกตัวอย่างที่ดีว่า แม้ความพยายามของผู้นำโลกในการประชุมกำหนดวาระทางเศรษฐกิจของโลก ก็อาจไม่สามารถครอบคลุมไปถึงผลกระทบจากระบบเศรษฐกิจเสรี ซึ่งเกิดกับประชากรในประเทศของตัวเองเช่นกัน

ทั้งนี้ สิ่งที่พึงสังเกตได้ประการหนึ่งคือ การนับรวมประเทศผู้นำทางเศรษฐกิจก็ไม่ได้เป็นไปอย่างเคร่งครัด [2] ตามการจัดอันดับของไอเอ็มเอฟหรือธนาคารโลกนัก เพราะบางประเทศที่มีจีดีพีสูงอย่างไต้หวัน กลับไม่ถูกนับรวม ซึ่งนี่อาจจะเป็นข้อสังเกตถึงบทบาทของจีนแผนดินใหญ่ที่กำลังผงาดขึ้นมามีอิทธิพลต่อระบบเศรษฐกิจโลกอยู่ขณะนี้ ซาอุดิ อาระเบีย อาร์เจนตินา และแอฟริกาใต้ซึ่งอยู่ในอันดับที่ 21-25 ถูกนับรวมอยู่ในกลุ่ม G20 ขณะที่ประเทศไทยที่มีอันดับทางเศรษฐกิจสูงกว่าแอฟริกากลับถูกข้ามไป ดังนั้นไทยในฐานะที่ยังไม่ถูกจัดเข้าพวก รวมถึงถูกกระโดดข้ามไปด้วยนั้น ก็คงต้องติดตามการประชุมดังกล่าวในฐานะประเทศที่จะต้องปรับตัวตามวาระของผู้นำโลกต่อไป

อ้างอิง:

1. ข้อเรียกร้องถึงกลุ่ม G20: ปฏิเสธกระบวนทัศน์ข้อตกลงเสรีเรื่องการเกษตร (AoA)http://www.focusweb.org/thailand/html/modules.php?op=modload&name=News&file=article&sid=117&mode=thread&order=0&thold=0

2. List of countries by GDP (PPP), http://en.wikipedia.org/wiki/List_of_countries_by_GDP_(PPP)

อ่านเพิ่มเติม

G20 major economies, http://en.wikipedia.org/wiki/G20_(Group_of_economies)

Bretton Woods II, http://en.wikipedia.org/wiki/Bretton_Woods_II

Bretton Woods system, http://en.wikipedia.org/wiki/Bretton_Woods_system

บล็อกของ หัวไม้ story

หัวไม้ story
กรณี “แดงจับแดง” ที่เกิดขึ้นเมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมา ไม่ควรถูกมองว่าเป็นแค่เรื่องเข้าใจผิด หรือเรื่องน้ำผึ้งหยดเดียวและจบกัน แต่นี่คือเป็นปัญหาท่าที และหลักการของแกนนำซึ่งไปช้ากว่ามวลชนอย่างสม่ำเสมอ
หัวไม้ story
ขอย้อนรอยความทรงจำจากปากคำของชาวบ้านภูมิซรอลอีกครั้ง ในฐานะที่พวกเขาเป็นมนุษย์ผู้ต้องเผชิญกับชะตากรรมของสงครามที่แท้จริง และบาดเจ็บล้มตายจริง จากการเปิดฉากต่อสู้
หัวไม้ story
วิธีกลบข่าวแบบบ้านๆ ไทยๆ ไม่ต้องลงทุนมากก็กลบมันด้วยน้อง M79 ลูกกระสุนสนนราคาละไม่กี่ร้อย แต่ก็ได้พาดหัวข่าวหน้าหนึ่งกลบข่าวคนเป็นหมื่นเป็นแสนที่ออกมาไล่รัฐบาลในขณะนี้
หัวไม้ story
สื่อต่างประเทศให้ความสนใจกับข่าวการเมืองในไทยกันหนาแน่นตลอดสัปดาห์นี้ ยิ่งใกล้วันศุกร์ วันที่สื่อทั้งหลายเรียกมันว่า judgement day มากเท่าไหร่ ก็ยิ่งลงข่าวและบทวิเคราะห์กันคึกคักมากขึ้นเท่านั้น ประเด็นของการรายงานของสื่อนอกเน้นหนักไปที่สองเรื่องใหญ่คือ แนวทางของคำพิพากษาที่จะออกมา กับผลสะเทือนทางการเมืองจากการตัดสินหนนี้ ทั้งต่อการต่อสู้ทางการเมืองระหว่างสองขั้วคือเหลืองกับแดง และผลกระทบที่จะมีต่อเศรษฐกิจไทย (ที่มาของภาพ: มังกรดำ) ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ที่อาคารท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ เมื่อ 28 กุมภาพันธ์ 2551 หรือเมื่อ 2 ปีที่แล้ว…
หัวไม้ story
เรื่อง : สิริลักษณ์ ศรีประสิทธิ์ ภาพจาก : http://urbansea09.multiply.com/photos/album/1/Por_Border_Towns  
หัวไม้ story
ทีมข่าวการเมือง พันธมิตรฯ เดินสองแนวทางทั้งการขยายพรรคการเมืองใหม่ และพื้นที่การเมืองภาคประชาชน โดยในภาพนายสมศักดิ์ โกศัยสุข รองหัวหน้าพรรคการเมืองใหม่ (ก.ม.ม.) หนึ่งในแกนนำกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (พธม.) และแกนนำ พธม.เชียงราย ร่วมพิธีตัดริบบิ้นเปิดสำนักงานพรรคเชียงราย ย่านบ้านดู่ ใกล้มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย เมื่อ 20 ธ.ค. 52 (ที่มา: “ก.ม.ม.” ปักธงเปิดสาขาเชียงรายสำเร็จ - หางแดงรวมตัวได้แค่ 3 ป่วนไม่ขึ้น, ASTVผู้จัดการออนไลน์, 21 ธ.ค. 2552)
หัวไม้ story
ทีมข่าวการเมือง การชุมนุมของคนเสื้อแดงที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย เมื่อ 10 ธ.ค. 52 (ที่มา: CBNpress) การชุมนุมของแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) หรือคนเสื้อแดงที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย เมื่อ 10 ธ.ค. ผ่านไปอย่างเรียบร้อย โดยไม่มีเหตุยกคนมาล้อมคนเสื้อแดง อย่างที่สุนันท์ ศรีจันทรา นักวิเคราะห์ตลาดหลักทรัพย์ กล่าวเชิญชวนผ่านช่องเนชั่นฯ แต่อย่างใด
หัวไม้ story
  ทีมข่าวการเมือง   องค์กรเพื่อความโปร่งใสสากลหรือ TI ที่มีสำนักงานที่เบอร์ลินเผยแพร่รายงานดัชนีชี้วัดคอรัปชั่น (CPI) ประจำปี 2552 นิวซีแลนด์-เดนมาร์ก-สิงคโปร์-สวีเดน โปร่งใสสุด ไทยได้อันดับ 84 ขณะที่ผลสำรวจย้อนหลังพบว่าไทยเคยได้คะแนนดีที่สุดในปี 2548 ขณะที่ในรอบ 5 ปีมานี้คะแนนต่ำสุดช่วงรัฐบาลรัฐประหารในปี 2550
หัวไม้ story
ภาวะตลาดหุ้นและค่าเงินบาทของไทยดิ่งตัวลงอย่างฮวบฮาบเมื่อสัปดาห์ที่ ผ่านมาด้วยข่าวลือที่สื่อไทยไม่รายงานโดยตรงเลยแม้แต่สำนักเดียวว่าเป็นข่าว ลือเรื่องใด และแม้ตลาดหุ้นจะมีอาการกระเตื้องขึ้นอีกครั้งในวันสุดท้ายของสัปดาห์ แต่ภาวะความไม่มั่นใจของนักลงทุนนี้ถูกวิเคราะห์จากสื่อทั้งสองแห่งว่าเป็น ผลโดยตรงจากความผันผวนและไร้หลักยึดของการเมืองไทยที่เป็นอาการป่วยสั่งสม แอนดรูว์ มาร์แชล จากรอยเตอร์ วิเคราะห์ผ่านบทวิเคราะห์เรื่อง ทำไมพระพลานามัยของพระมหากษัตริย์จึงส่งผลสะเทือนต่อตลาดหุ้น (อ้างอิงจาก http://www.reuters.com/article/latestCrisis/idUSSP406158 อัพเดทเวลา 6.39 น. วันศุกร์ที่ 16 ตุลาคม)…
หัวไม้ story
กรณีนี้ไม่ใช่กรณีเดียวที่เกิดขึ้น สำหรับเรื่องที่เรียกกันว่า ‘หมิ่นพระบรมเดชานุภาพ’ หากแต่เป็นกรณีแรกๆ ที่ตัดสินใจต่อสู้คดี โดยไม่รับสารภาพ และเดินหน้าสู่การอภัยโทษดังที่เคยเป็น ต่อไปนี้เป็นลำดับเวลาตลอดระยะปีกว่า เนื้อหาการต่อสู้คดีบางส่วน รวมถึงวิธีคิดของเธอจากการสนทนาสั้นๆ แบบเก็บเล็กผสมน้อย
หัวไม้ story
ทีมข่าวการเมือง     คลิปสนธิ ลิ้มทองกุลอ่านฎีกา เมื่อ 4 ก.พ. 2549 ที่ลานพระบรมรูปทรงม้า (ตอนที่ 1) (ที่มา: บันทึกจาก ASTV)   คลิปสนธิ ลิ้มทองกุลอ่านฎีกา เมื่อ 4 ก.พ. 2549 ที่ลานพระบรมรูปทรงม้า (ตอนที่ 2) (ที่มา: บันทึกจาก ASTV)   คลิปสนธิ ลิ้มทองกุลอ่านฎีกา เมื่อ 4 ก.พ. 2549 ที่ลานพระบรมรูปทรงม้า (ตอนที่ 3) (ที่มา: บันทึกจาก ASTV)   คลิปสนธิ ลิ้มทองกุลอ่านฎีกา เมื่อ 4 ก.พ. 2549 ที่ลานพระบรมรูปทรงม้า (ตอนที่ 4) (ที่มา: บันทึกจาก ASTV)