Skip to main content

อหิงสาและการดื้อแพ่งคือตัวตนของคานธีที่ดูจะเป็นที่รู้จักของคนทั่วไปแต่ทว่าตัวตนอีกด้านหนึ่งของเขาที่กระแสหลักพูดถึงไม่บ่อยนัก(หรือแทบไม่พูดถึงเลย)นั่นคือคัวตนของเขาในฐานะความเป็นศาสนา-อนุรักษ์นิยม

บทความนี้ถูกเขียนไว้ตั้งแต่เดือนเมษายนปีที่แล้ว(2554) ซึ่งเเขียนโดยสมาชิกกลุ่มประกายไฟโดยใช้นามแฝงว่าเบนจามิน แฟรงคลิน หรือแว่น ประกายไฟ จึงขอนำมาเผยแพร่ในพื้นที่นี้อีกที

 

เบนจามิน แฟรงคลิน(แว่น ประกายไฟ)

หากเอ่ยชื่อของคานธีหลายคนคงนึกถึงภาพชายแก่ผมบางนั่งปั่นผ้าและความสำคัญของเขาในฐานะผู้รวบรวมชาวอินเดียให้ทำการต่อสู้เพื่อปลกแอกจากการเป็นอาณานิคมของอังกฤษ คงปฏิเสธไม่ได้ว่าวาทกรรม”อหิงสา”และ”อารยะขัดขืน”ของคานธียังคงมีบทบาทในขบวนการเคลื่อนไหวภาคสังคมทั้งในไทยและระดับสากลมาจนถึงทุกวันนี้ ช่วงทศวรรษที่1960 คนผิวดำในอเมริกาใช้การประท้วงแบบสันติตามรอยคานธีในการสู้กับคนขาวในหลายวิธีการเช่น นั่งในร้านอาหารที่ขายเฉพาะคนขาวจนกว่าเจ้าของร้านจะยอมขาย หรือประท้วงรถเมลล์ที่แบ่งที่นั่งคนดำและคนขาวโดยการเลิกขึ้นรถเมลล์แล้วเดินหรืออาศัยรถเพื่อนแทนเป็นต้น และเหนือไปกว่านั้นวีรบุรุษในดวงใจของ มาร์ติน ลูเธอร์ คิงหนึ่งในผู้นำการต่อสู้เพิ่อสิทธิคนผิวดำก็คือ มหาตมะ คานธีดังนั้นคงปฏิเสธไม่ได้เลยว่าในการเคลื่อนไหวเพื่อสิทธิพลเมืองของคนผิวดำนั้นอิทธิพลของวาทกรรมและแนวคิดของคานธีมีบทบาทอยู่ไม่น้อย ในไทยเองวาทกรรมของคานธีก้อเข้ามามีบทบาทต่อการเคลื่อนไหวอยู่ไม่น้อยเช่น เมื่อครั้งที่มีการประท้วงปิดสภาไม่ให้สนชเข้าไปพิจารณากฎหมายเมื่อช่วงเดือนธันวาปี50ก็มีการทำสัญลักษณ์ อหิงสา No Entry มาชูเพื่อให้สอดรับกับกิจกรรมการปิดล้อมสภาโดยสงบปราศจากอาวุธไม่ให้สนชเข้าไปประชุมพิจารณากฎหมายได้ การชุมนุมของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยเองก็ชูสโลแกนอหิงสาในการต่อต้านรัฐบาลตลอดช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา (ผมไม่แน่ใจว่าการยึดสนามบิน ยึดรถโดยสารประจำทางจะเข้านิยามอหิงสาหรือเปล่า) 

อหิงสาและการดื้อแพ่งคือตัวตนของคานธีที่ดูจะเป็นที่รู้จักของคนทั่วไปแต่ทว่าตัวตนอีกด้านหนึ่งของเขาที่กระแสหลักพูดถึงไม่บ่อยนัก(หรือแทบไม่พูดถึงเลย)นั่นคือคัวตนของเขาในฐานะความเป็นศาสนา-อนุรักษ์นิยม ประเด็นที่น่าสนใจคือความขัดแย้งในตัวเองของคานธี การต่อสู้เพิ่อปลดแอกจากอังกฤษแสดงให้เห็นว่าคานธีมีจิตวิญญาณแห่งความเป็นเสรีชนอยู่ในตัวและต้องการเห็นประเทศของตนพ้นจากการปกครองของต่างชาติตรงนี้คือในมิติระหว่างประเทศ แต่ทว่าในระดับภายในประเทศเขากลับศรัทธาในระบบวรรณะ สนับสนุนให้แบ่งแยกคนโดยชาติกำเนิดของคนผู้นั้น คานธีให้ความเห็นถึงการล้มระบบวรรณะและการสถาปนาระบบการปกครองแบบตะวันตกว่า การล้มระบบวรรณะเท่ากับเป็นการทำลายหลักการของฮินดูที่สืบทอดกันมานาน นอกจากนี้การล้มระบบวรรณะยังจะนำไปสู่ความชุลมุนในสังคมด้วย คานธียอมรับไม่ได้ถ้าวันหนึ่งพราหมณ์จะกลายเป็นศูทรและศูทรจะกลายเป็นพราหมณ์ นั่นเท่ากับว่าคนต่างชาคิต่างภาษากดขี่เราเราต้องสู้แต่ถ้าคนชาติเดียวภาษาเดียวกับเรากดขี่เราเราต้องยอม ซึ่งผมมองว่าจุดนี้คานธีมีความขัดแย้งในตัวเองอย่างแรง

ประการต่อมาที่ผมมองว่าน่าสนใจและผมมองว่าเป็นความขัดแย้งในตัวคานธีก็คือประเด็นการศึกษา คานธีได้แสดงความเห็นไว้ว่าการเรียนรู้ข้ามวรรณะไม่ใช่สิ่งที่ผิดแต่การหาเลี้ยงชีพข้ามวรรณะคือสิ่งผิดและคุณต้องประกอบอาชีพเช่นบรรพบุรุษคุณ เช่นหากคุณเกิดในวรรณะศูทรคุณอาจเรียนรู้วิชาการต่อสู้ได้แต่ไม่อาจใช้วิชานั้นไปสมัครเป็นทหารได้เป็นต้น จากจุดนี้สามารถโยงไปถึงมุมมองต่อประเด็นปัญหาความยากจนและความไม่เท่าเทียมในสังคมอินเดียได้อย่างดี นั่นคือคานธีได้สร้างวาทกรรม“ความสุขเงินซื้อไม่ได้”ขึ้นมาโดยกล่าวว่ามนุษย์ไม่จำเป็นต้องมีความสุขเพราะเขารวยหรือทุกข์เพราะเขาจน หลายครั้งที่คนรวยนั่งอมทุกข์ขณะที่คนจนยิ้มอย่างมีความสุข และประเด็นสุดท้ายที่ผมเห็นว่าน่าสนใจคือความขัดแย้งในตัวเองของการหยิบยกวาทกรรมและการยืมคานธีมาเป็นสัญลักษณ์ในการต่อสู้เพื่อความเท่าเทียมระหว่างคนขาวกับคนดำของดอกเตอร์คิง ความยึดมั่นในหลักการของฮินดูทำให้คานธิไม่คิดว่าการแต่งงานข้ามวรรณะหรือการร่วมโต๊ะอาหารข้ามวรรณะจะเป็นเหตุผลสำคัญที่นำไปสู่ความปรองดองของคนในชาติ ในขณะที่ดร.คิงและขบวนการคนผิวสีกลับเรียกร้องให้ยกเลิกแบ่งแยกการแต่งงาน การให้บริการสาธารณะระหว่างผิวสีโดยเห็นว่าประชาธิปไตยและสันติสุขในสังคมอเมริกันจะเกิดได้ก็ต่อเมื่อคนผิวดำได้รับสิทธิพลเมืองเท่ากับคนผิวขาวเท่านั้น ซึ่งตรงนี้ผมมองว่ามันเป็นความลักลั่นที่เราไม่ควรจะมองข้ามไป

พูดถึงตรงนี้หลายคนอาจสงสัยว่าผมจะเขียนถึงคานธีทำไมแล้วมันเกี่ยวกับสังคมไทยหรือเสนอทางออกให้สังคมไทยอย่างไร แน่นอนในทางตรงอาจไม่เกี่ยวเพราะคานธีมิได้มีบทบาททางตรงใดๆทั้งสิ้นกับสังคมไทย บริบทของสังคมไทยในปัจจุบันกับบริบทของโลกร่วมสมัยของคานธีก็แตกต่างกันและที่สำคัญที่สุดแนวคิดเรื่องฮินดูนิยมและระบบวรรณะก็ดูจะเข้ากันไม่ได้สำหรับสังคมไทยสังคมพุทธที่ปราศจากวรรณะ(จริงหรือ)แต่อย่างไรก็ดีบทเรียนที่คานธีได้ให้แก่สังคมไทยก็มีอยู่หลายประการด้วยกัน ประการแรกเลยคือเหรียญมีสองด้านเสมอแต่สื่อกระแสหลักโดยความร่วมมือของชนชั้นปกครองบางกลุ่มมักเลือกที่จะแสดงให้คนเดินดินอย่างเราเห็นว่าเหรียญมีเพียงด้านเดียว เช่นในเมืองไทยคนส่วนมากมักรู้จักคานธีในฐานะเป็นนักต่อสู้เพื่อเอกราชโดยสันติวิธีผู้มีจริยธรรมสูงส่งแต่ว่าด้านมืดอีกด้านหนึ่งของเขาที่ต้องการให้คงระบบวรรณะไปจนถึงการกีดกันการมีสิทธิเท่าเทียมของUntouchableในสังคมอินเดีย (เพื่อนชาวอินเดียเล่าให้ผมฟังว่าคานธีอดอาหารประท้วงการให้สิทธิเลือกตั้งแก่Untouchable) กลับถูกละเลยไปตรงนี้ก็เป็นหนึ่งประเด็นที่น่าสนใจ อาจเป็นได้ว่าสังคมไทยมีอิทธิพลของระบบพ่ออุปถัมภ์แบบเผด็จการอยู่ ซึ่งระบบนี้ผู้เผด็จการทรงคุณธรรมคือหัวใจของระบบดังนั้นการสร้างHeroทางการเมืองจึงเป็นสิ่งจำเป็น นักต่อสู้ที่หยิบยกประเด็นชาตินิยมศาสนาและประเด็นศีลธรรมเป็นหลักในการต่อสู้และครอบงำสังคมเป็นที่ชื่นชอบของเผด็จการ ในขณะที่Ambedkarซึ่งแม้จะมีบทบาทสำคัญในรัฐธรรมนูญของอินเดียแต่การที่เขาต้องการสังคมที่เท่าเทียม ปราศจากวรรณะและยืนเคียงข้างคนยากจน และUntouchable จุดนี้เผด็จการรับไม่ได้ชื่อของเขาจึงไม่เป็นที่รู้จักในสังคมไทย

ประเด็นต่อมาคือแนวคิดของคานธีที่ว่าจิตใจของมนุษย์ว่าเปรียบเสมือนนกที่ไม่ยอมหยุดบินมีความต้องการอยากได้ไม่มีที่สิ้นสุดสอดคล้องกับการที่ชนชั้นนำบางกลุ่มในสังคมไทยพยายามบอกกับคนจนว่าพวกเขาควรที่จะยอมรับความจนของตนต่อไปเพราะนั่นคือกฎแห่งกรรมที่ต้องยอมรับ อีกทั้งแม้เราจะจนแต่เราก็อยู่อย่างพอมีพอกินตามอัตภาพได้ถ้าเรารู้จักจัดสรรความจนของเรา แน่นอนว่าแนวคิดนี้เมื่อประกอบเข้ากับชุดความคิดทางศาสนาพุทธ(ปนฮินดู)ที่สอนเรื่องกฎแห่งกรรมและการปล่อยวางทุกสิ่งทางโลกเพื่อเข้าสู่นิพพานอันเป็นความสุขที่แท้จริงแล้วปฏิเสธไม่ได้เลยว่ามันเป็นยาละลายความขัดแย้งอันเกิดจากการกดขี่ที่ชนชั้นปกครองและคนมีอำนาจมีเงินกดหัวและขูดรีดจากคนจนชนิดโงหัวไม่ขึ้นได้อย่างดีทีเดียว(ในขณะที่ชนชั้นปกครองและนายทุนต่างขูดรีดจากคนยากคนจนกันแบบไม่เคยเพียงพอ) ตัวผมเองขณะนี้อยู่ไกลบ้านแต่ก็ได้ข่าวแว่วๆมาว่ารัฐบาลชุดใหม่ของเราอาจมีนโยบายขึ้นภาษีมูลค่าเพิ่มซึ่งถ้าขึ้นมาจริงตรงนี้น่าจะช่วยยืนยันความไม่พอเพียงของชนชั้นปกครองได้อย่างดีทีเดียวและแน่นอนการใช้หลักการทางศาสนามานำการต่อสู้ขอคานธีก็ได้พิสูจน์แล้วว่ามันล้มเหลวอย่างสิ้นเชิงแม้ว่าด้วยการนำการต่อสู้ของคานธีโดยใช้วิธีอหิงสาและการใช้หลักศาสนานำหน้าจะมีส่วนสำคัญ(แต่ไม่ใช่ทั้งหมด)ในการปลดแอกอินเดียจากการเป็นอาณานานิคมของอังกฤษแต่ทว่าคานธีกลับล้มเหลวโดยสิ้นเชิงในการปลดแอกอินเดียจากความยากจน(กระทั่งทุกวันนี้แม้อินเดียจะเป็น1ในมหาอำนาจนิวเคลียร์แต่คนนับล้านยังคงต้องอาศัยสถานีรถไฟและข้างถนนเป็นที่ซุกหัวนอน)ตรงนี้ถือเป็นคุณูปการของคานธีที่ได้ช่วยยืนยันเรากับเราว่าแนวคิดจิตนิยมและศาสนานิยมไม่สามารถนำคนจนไปสู่การปลดแอกที่แท้จริงได้และบ่อยครั้งที่ข้ออ้างทางศาสนาได้ถูกนำมาใช้เป็นยาสมานความขัดแย้งทางชนชั้นได้อย่างไร้ที่ติ

ทั้งหมดที่ผมพยายามได้นำเสนอไปคืออีกด้านหนึ่งของคานธีที่ตำรากระแสหลักมักมองข้าม(หรือจงใจมองข้าม)ไม่ว่าด้วยเหตุผลกลใดก็ตาม แต่สิ่งหนึ่งที่น่าจะเป็นประโยชน์และบทเรียนต่อสังคมไทยก็คือวัฒนธรรมความใจกว้างทางวิชาการของอินเดีย แม้ว่าในอินเดียคานธีจะเป็นบุคคลคนสำคัญถึงขนาดถูกพิมพ์ลงบนธนบัตรทุกราคา วันเกิดของเขาถูกกำหนดเป็นวันหยุดประจำชาติและรัฐกุจาราฐบ้านเกิดของเขาก็ถูกกำหนดให้เป็นDry state (ห้ามจำหน่ายสุรา) ทว่าสำหรับวงการวิชาการเขาก็เป็นเพียงคนธรรมดาที่ถูกวิจารณ์ได้ บางหลักสูตรในระดับมหาวิทยาลัยถึงขั้นมีการนำเอางานเขียนของคานธีมาทำการวิพากษ์กับงานของ B.R.Ambedkar ซึ่งวิพากษ์คานธีว่าเป็นศัตรูต่อประชาธิปไตยและแนวคิดของเขาที่สืบเนื่องมาจากศาสนาฮินดูมีแนวโน้มจะเอื้อประโยชน์ต่อคนรวยมากกว่าคนจน ดังนั้นจุดนี้สังคมไทยน่าจะถือมาเป็นบทเรียนที่ดีว่าการวิพากษ์วิจารณ์ที่ตั้งอยู่บนหลักการของเหตุและผลน่าจะเป็นสิ่งที่สมควรทำ การเซ็นเซอร์และการปิดกั้นการรับรู้ของประชาชนคือบาปมหันต์ ทว่าหันมองที่สังคมไทยทุกวันนี้ดูเหมือนว่าข้อนี้จะเป็นสิ่งที่อยู่ไกลเกินฝันที่สุด ผมได้แต่หวังว่าบทความจากแดนไกลชิ้นนี้น่าที่จะได้จุดประกายหรือนำไปสู่การถกเถียงวิพากษ์วิจารณ์และเชื่อมโยงประเด็นเพื่อหาทางออกให้แก่สังคมการเมืองไทยที่ยุ่งเหยิงวุ่นวายและถอยหลังเข้าครองอยู่ในปัจจุบันนี้

 

อ่านประกอบ

ดู แนวคิดของคานธีจาก M.K. Gandhi, Hind Swaraj or Indian Home Rule : translate from Hind Swaraj publish in the Gujarat Columns of Indian opinion 1909

ดู การวิพากษ์คานธีโดยAmbedkarจาก Valeian Rodrigues, The Essential Writings of B.R.Ambedkar

ดู เรื่องการเมืองระบบพ่อขุนอุปถัมถ์จาก ทักษ์ เฉลิมเตรียณ, การเมืองระบบพ่อขุนอุปถัมภ์แบบเผด็จการ

 

บล็อกของ ประกายไฟ

ประกายไฟ
 "...ถ้ารัฐไม่มีหน้าที่บริการประชาชน มหาวิทยาลัยก็จะทำให้เป็นของเอกชน โรงพยาบาลก็จะเป็นเอกชน รถเมล์ น้าประปา ไฟฟ้า ก็จะต้องเป็นของเอกชน แล้วเราจะมีรัฐไปทำไม” เก่งกิจ กิติเรียงลาภ กล่าว  
ประกายไฟ
จริงอยู่ที่ทางกลุ่มแอดมินไทย อาจจะมีความคิดเห็นทางการเมืองที่อยู่คนละข้าง คนละสี....(บอกมาเถอะว่าสีอะไรปิดไม่มิดหรอก) กับสมาชิกในเพจที่เป็นเพื่อนร่วมชาติชาวไทย แต่นี้มันเพจระหว่างประเทศ ที่ผู้เขียนในฐานะสมาชิกคนหนึ่งในเพจมีสิทธิที่จะบอกความเป็นจริง....(รับได้ไหมท่านแอดมิน???)...  
ประกายไฟ
..นักสหภาพหลายๆคนมักมาสอบถามกับผู้เขียนบ่อยๆว่า ทำไมฝ่ายบุคคลมักมีทัศนะคติที่เลวร้ายกับสหภาพหรือที่เป็นอย่างนี้ก็เพราะมหาวิทยาลัยสั่งสอนให้มองสหภาพในแง่ไม่ดีรึเปล่า แล้วถ้าไม่ใช่พวกนักศึกษาที่จบไปเป็นฝ่ายบุคคลในโรงงานนั้น เขามองสหภาพแรงงานอย่างไร เราจึงจัดทำบทสัมภาษณ์สั้นๆชิ้นนี้ขึ้นมาเพื่อให้รู้ว่าเขา (ว่าที่ฝ่ายบุคคล) คิดยังไงกับเรา(สหภาพแรงงาน)..
ประกายไฟ
..ทำไมคนส่วนใหญ่มักชอบพูดว่าประเทศสหรัฐอเมริกาทีระบบสวัสดิการที่ดีเยี่ยม จนเป็นประเทศในฝันของทุกคน เมื่อได้อ่านความเป็นจริงจากบทความชิ้นนี้แล้วคงทำให้เรามองสหรัฐอเมริกาในแง่ความเป็นจริงมากขึ้น และเลิกพูดมั่วๆซะที ว่าอเมริกามีสวัสดิการดีกว่าไทย
ประกายไฟ
...การที่รัฐบาลหลายชุดที่ผ่านมา รวมถึงรัฐบาลชุดนี้กำลังจะขึ้นภาษีทางอ้อมจาก 7 เป็น 10% นั้นถือว่าเป็นการเปิดศึกทางชนชั้นกับชนชั้นกรรมกรและคนระดับล่างของสังคมโดยตรง คือ โยนภาระก้อนโตให้คนระดับล่างเป็นผู้จ่าย โดยที่คนร่่ำรวยลอยตัว...
ประกายไฟ
...ดูๆไปแล้วดันไปสะดุดตรงเหตุการณ์ทางการเมืองในเวลานั้นที่ดันตรงกับช่วงของการเปลี่ยนแปลงการปกครองพอดี แหมมมมมมมมมมมม เล่นเล่าซะ คณะผู้ก่อการดูเป็นตัวร้ายไปถนัดตา แถม ร.7 ยังดูน่าสงสารจนเกินเหตุ “ตั้งแต่เกิดมาไอ้เคนยังไม่เห็นว่าในหลวงท่านจะทำอะไรไม่ดีเลย” “เหาจะกินกระบาล” 5555 เอาละวะ ...  
ประกายไฟ
อธิการ.มทส. ค้านนศ.แต่งกายข้ามเพศ เข้ารับปริญญาฯ อ้างเป็นบัณฑิตต้องมีคุณธรรม จริยธรรม รู้ว่าอะไรควร อะไรไม่ควร สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล โต้ประเทศนี้อ้างอะไรไม่ได้ ก็อ้างคุณธรรมจริยธรรมปลอมๆ กลวงๆ ย้ำคุณธรรมของบัณฑิตต้องมีจิตใจที่วิพากษ์วิจารณ์ต่อสิ่งที่เป็นอยู่
ประกายไฟ
ผมท้าเลยครับ หลังจากเผาอากง อากงจะถูกลืม..เว้นแต่เรียก กม. "ม.112" ว่า "อากง" เราจะไม่มีทางลืมอากง เพราะมันก็จะอยู่อย่างนี้อีกนานเท่านาน - ด้านเกษียร ตอบ ความทรงจำของสังคมไม่ได้เป็นเรื่องอัตโนมัติ หากต้องสร้างและผลิตซ้ำขึ้น แม้แต่การเอาชื่อไปวางไว้เป็นสมญาของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ก็ไม่ใช่หลักประกันว่าจะได้รับการจดจำจากสังคมหรือจำอย่างถูกต้องครบถ้วนแม่นยำ  
ประกายไฟ
 ..สิ่งที่เรียกว่า "ตลาดไม้โบราณ" ก็ถือว่าเป็นสิ่งที่เกิดใหม่ในยุค ร.4 - ร.6 เป็นยุคที่ พ่อค้าจีน (โดยเฉพาะจีนแต้จิ๋ว) ที่ ได้เป็นเจ้าภาษีสินค้าต่างๆ เช่น มะพร้าว น้ำตาล อ้อย เป็นต้น จนเกิดชุมทางการค้ามากมายตามลุ่มแม่น้ำต่างๆ ทั้งนครชัยศรี ราชบุรี แม่กลอง มหาชัย สามชุก ฯลฯ (ดูดีๆ ทุกๆที่ๆเป็นตลาดไม้โบราณล้วนมีสถานที่ๆเรียกว่า “โรงเจ” และ “ศาลเจ้าทรงเก๋งจีน” แทบทุกๆแห่ง) ที่เรียกว่าสิ่งใหม่ๆสำหรับคววามเป็นไทยในยุคนั้น..
ประกายไฟ
สาระหลักที่น่าสนใจของเรื่องแม่นั้นอยู่ที่จิตสำนึกของปัจเจกชนที่ต่างจากปัจเจกชนในวรรณกรรมรัสเซียเล่มดังๆที่ส่วนใหญ่มุ่งเสนอการดิ้นรนเอาชีวิตของตัวเองให้รอดไปวันๆ เป็นปัจเจกชนที่กำหนดชะตาชีวิตของตัวเองเข้าเป็นส่วนหนึ่งของการเปลี่ยนแปลง
ประกายไฟ
แนะสภาฯเดินหน้าวาระ3 มั่นใจผ่านฉลุย พร้อมด้วยสนทนากับนายซิม ไฮแอท เยาวชนผู้อดข้าวหน้าพรรคเพื่อขอให้นายอภิสิทธิ์ถอนคำพูดเหยียดคนเสื้อแดง
ประกายไฟ
"..คุณอาจจะคิดเอาง่ายๆว่าขอแค่เพียงคุณเป็นคนรักเจ้า คุณก็จะไม่ต้องเผชิญกับความบ้าคลั่งของพวกคลั่งเจ้า (ชี้แจงเพิ่มเติมไว้หน่อยว่าสำรับผม "รักเจ้า" กับ "คลั่งเจ้า" นี่ไม่เหมือนกัน) แต่จากกรณีคุณโกวิทก็เป็นอีกตัวอย่างรูปธรรมหนึ่งที่ทำให้เราเห็นได้ว่าไม่ว่าคุณจะเป็นใคร รักหรือไม่รักเจ้า คุณจะมีโอกาส/มีความเสี่ยงที่จะต้องเผชิญความบ้าคลั่งแบบนี้ได้ทั้งนั้น"