ระบบหลักประกันสุขภาพในประเทศไทยและสหรัฐฯ

18 September, 2012 - 20:16 -- iskra

..ทำไมคนส่วนใหญ่มักชอบพูดว่าประเทศสหรัฐอเมริกาทีระบบสวัสดิการที่ดีเยี่ยม จนเป็นประเทศในฝันของทุกคน เมื่อได้อ่านความเป็นจริงจากบทความชิ้นนี้แล้วคงทำให้เรามองสหรัฐอเมริกาในแง่ความเป็นจริงมากขึ้น และเลิกพูดมั่วๆซะที ว่าอเมริกามีสวัสดิการดีกว่าไทย

 

 การดูแลด้านสาธารณสุขแบบครบวงจร(BBC)

โดย ภัส บ๊อก

กลุ่มนักศึกษาสภากาแฟ(มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์รังสิต)

ใน วารสารสหายแรงงาน

ประเทศไทยมีระบบหลักประกันสุขภาพอยู่ 3 ระบบใหญ่ด้วยกัน คือ 1. ระบบประกันสังคม 2.สวัสดิการข้าราชการ และ 3.ระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า(หรือที่เรียกว่า 30 บาทรักษาทุกโรค) ซึ่งระบบทั้งสามนั้นจะทำหน้าที่คอยหนุนกันและกันเพื่อให้เกิดความครอบคลุมต่อประชาชนมากที่สุด ระบบสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการถือเป็นสวัสดิการที่รัฐจัดให้แก่ข้าราชการ ระบบประกันสังคมถือเป็นความมั่นคงของลูกจ้าง ที่รัฐ นายจ้างและลูกจ้างร่วมกันออกเงินสมทบ ส่วนกลุ่มที่เหลือระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าจะดูแล ซึ่งเป็นการที่รัฐดูแลประชาชนแบบถ้วนหน้า

ส่วนสหรัฐฯระบบจะเป็นแบบไม่ถ้วนหน้าประชาชนพึ่งพิงตนเอง คือประชาชนจะซื้อประกันสุขภาพจากบริษัทเอกชนตามกำลังและรายได้ของตนเอง ส่วนระบบประกันสังคมจะเข้ามาดูแลก็ต่อเมื่อบุคคลเกษียณหรืออีกนัยหนึ่งเขาไม่สามารถทำงานได้อีกต่อไป โดยนายจ้างกับลูกจ้างช่วยกันสมทบจ่าย และรัฐเข้าช่วยดูแล คือโครงการ Medicare จะคุ้มครองผู้ที่อายุ 65 ปีขึ้นไป ในเงื่อนไขที่เคยทางานและจ่ายเงินสมทบ ซึ่งจะได้รับการคุ้มครองครอบคลุมทั้งหมด ทั้งค่ารักษา ค่ายา และอื่นๆ ก็ต่อเมื่อ เคยทางานและจ่ายเงินสมทบ 10 ปีขึ้นไป ส่วนที่เคยทางานและจ่ายสมทบไม่ถึง 10 ปี ก็ต้องออกค่าใช้จ่ายอย่างอื่นเพิ่มถึงจะครอบคลุมการรักษาทั้งหมด อีกโครงการหนึ่งคือ Medicade ซึ่งรัฐบาลกลางร่วมมือกับมลรัฐเพื่อช่วยเหลือผู้ที่มีรายได้ต่ำ แล้วต้องพิสูจน์ว่าจนจริงๆ ถึงจะได้รับความช่วยเหลือ นั่นแปลว่าถ้าคุณจนแต่ไม่มากเท่าที่เกณฑ์กำหนดไว้คุณจะไม่ได้รับการช่วยเหลือจากสวัสดิการนี้

สังเกตได้ว่าระบบการประกันสุขภาพในอเมริกาที่ผู้มีรายได้นั้นต้องจ่ายเงินเพื่อซื้อประกันเอง และขึ้นอยู่กับรายได้ของบุคคลและกาลังในการซื้อประกันสุขภาพ ถ้ารายได้น้อยก็ซื้อประกันได้ไม่ครอบคลุม คือต้องจ่ายเพิ่มเองบางส่วน ส่วนผู้ที่มีรายได้สูงก็สามารถซื้อประกันที่มีความครอบคลุมมากๆได้ ส่วนประเทศไทยก็จ่ายแค่ 30 บาทในการได้รับสิทธิในการรักษาพยาบาล

ประกันสุขภาพในอเมริกาสำคัญมาก ถ้าพูดกันจริงๆแล้วคนไทยอาจจะถือว่าโชคดีอยู่ไม่น้อย คิดดูว่าถ้าเกิดเจ็บป่วยขึ้นมาวันไหน ต่อให้ไม่มีประกันสุขภาพ ประกันสังคม ก็สามารถจ่ายค่ารักษาพยาบาลแบบพอไหว แต่ในสหรัฐฯว่ากันว่า ถ้าใครไม่มีประกันสุขภาพ ล้มป่วยขึ้นมาถึงขั้นล้มละลายไปกับค่ารักษาพยาบาล ทำไมถึงเป็นอย่างนั้น ก็เพราะบุคลากรทางการแพทย์ หรือยาต่างๆ เป็นผลผลิตของภาคเอกชนหรือพูดง่ายๆว่าไม่มีโรงพยาบาลของรัฐเปิดให้บริการกับประชาชนทั่วไป (โรงพยาบาลรัฐจะมีไว้ให้ทหารใช้บริการเท่านั้นไม่เปิดให้คนทั่วไปใช้) บริษัทประกันสุขภาพส่วนใหญ่ก็เป็นของเอกชนซึ่งแน่นอนต้องคำนึงถึงธุรกิจเป็นอันดับหนึ่ง แต่ว่าสหรัฐก็มีส่วนที่ช่วยเหลือคนจนในรูปแบบของการประชาสงเคราะห์มาทดแทน คือ จะได้รับความช่วยเหลือต่อเมื่อพิสูจน์ความจนเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ต้องทำตัวให้คนสัมภาษณ์เห็นว่าคุณขาดแคลน นั่นทาให้ความรู้สึกของผู้ขอความช่วยเหลือรู้สึกด้อยศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ส่วนไทยโรงพยาบาลส่วนใหญ่ยังเป็นของรัฐบาล ค่าใช้จ่ายต่างๆ ก็ยังถือว่าไม่สูง แล้วยังมีระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้าที่ครอบคลุมประชากรเกือบทั้งประเทศอีกด้วย

มาถึงตรงนี้ ภาพของระบบประกันสุขภาพของสหรัฐฯกับบ้านเราต่างกันสุดขั้ว

คนไทยหวังมากกับระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้า และรัฐก็เดินหน้าเต็มที่เพื่อสร้างให้เกิดมีขึ้น โดยความหวังที่จะสร้างความเป็นธรรมให้เกิดขึ้น เป็นการเฉลี่ยทุกข์ เฉลี่ยสุข ของคนในสังคม และรัฐก็เข้าไปแบกภาระในส่วนเงินตรงนั้น โดยนำเงินภาษีประชาชนเข้ามาใช้จัดการรักษา ความเท่าเทียมที่เกิดขึ้นจากการที่คนทุกคนมีสิทธิในการประกันสุขภาพถ้วนหน้า 30 บาทรักษาทุกโรคนั้น มันคือความเท่าเทียมที่แม้หลายคนจะบ่นเรื่องประสิทธิภาพแต่ถ้าเทียบกับสหรัฐอเมริกาก็ต้องบอกว่าเราโชคดีกว่าเขามาก ในส่วนของสหรัฐฯนั้นภาษีที่ประชาชนจ่ายนั้นจะถูกหักเพื่อเข้าประกันสังคมและรัฐจะให้ความดูแลเมื่อเกษียณอายุหรือทุพพลภาพเท่านั้น ซึ่งตราบใดที่ยังทางานได้อยู่ประชาชนสหรัฐฯต้องรับผิดชอบสุขภาพของตนเอง และเงินส่วนที่หักไว้จะได้ใช้ยามที่ไม่สามารถทางานได้แล้ว นั่นแปลว่าคุณไม่ได้รับอนุญาตให้ป่วยด้วยโรคเรื้อรังในช่วงก่อนเกษียณ ซึ่งความเป็นจริงก็รู้อยู่ว่าเราห้ามไม่ได้ และถ้าคุณป่วยหนักบางครั้งการเลือกที่จะตายอาจคุ้มค่ากว่าการมีชีวิตอยู่แล้วต้องจ่ายค่ารักษาที่แพงมาก(จนไม่มีปัญญาจ่าย)

คนสหรัฐฯจึงต้องพึ่งพาตนเอง ต้องรับผิดชอบชีวิตของตน ทาเองจ่ายเองเพราะเงินที่หาได้จากการทางานนั้นก็นามาดูแลรักษาสุขภาพของตนเอง ไม่พึ่งพึงรัฐ ซึ่งต่างกันสุดขั้วกับคนไทย ที่ต้องการพึ่งพิงรัฐและรัฐก็ให้ประชาชนพึ่งด้วย ซึ่งประเทศเสรีนิยมอย่างสหรัฐฯ ปฏิเสธการประกันสุขภาพแบบถ้วนหน้า เพราะแนวคิดในเรื่องของความอิสระ และเสรีภาพ คนอเมริกันมีความเชื่อในเรื่อง ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน รัฐบาลไม่ควรก้าวก่ายในเรื่องชีวิตส่วนตัวของประชาชน ในเรื่องทุกเรื่อง รวมถึงปากท้อง เพราะเหตุที่ว่าเมื่อรัฐเอามือมายุ่มย่ามเมื่อไร ก็เท่ากับว่าประชาชนสูญเสีย "Freedom"(อิสรภาพ) ในการใช้ชีวิตไป

แน่นอนไม่มีใครอยากเจ็บป่วย แต่ระบบประกันสุขภาพ การช่วยเหลือต่างๆ มันจะส่งผลอย่างไรบ้างกับความคิดของคน กับคนสหรัฐฯวัยทำงานที่ต้องดูแลสุขภาพตนเองให้ดีเพราะค่ารักษาพยาบาลแพงสูงลิบและต้องซื้อประกันตามรายได้ของตนโดยรัฐไม่ช่วยเหลือ กับคนไทยซึ่งเจ็บป่วยยังไงรัฐก็ให้ความดูแล ประกันสุขภาพ 30 บาท ถึงจะยังไม่ครอบคลุมทุกโรคก็ตาม แต่ทำไมคนส่วนใหญ่มักชอบพูดว่าประเทศสหรัฐอเมริกาทีระบบสวัสดิการที่ดีเยี่ยม จนเป็นประเทศในฝันของทุกคน เมื่อได้อ่านความเป็นจริงจากบทความชิ้นนี้แล้วคงทาให้เรามองสหรัฐอเมริกาในแง่ความเป็นจริงมากขึ้น และเลิกพูดมั่วๆซะที ว่าอเมริกามีสวัสดิการดีกว่าไทย

(หมายเหตุ : บทความนี้ถูกเผยแพร่ครั้งแรกใน “วารสารสหายแรงงาน” ฉบับที่ 1 ประจำเดือนกันยายน วารสารดังกล่าวถูกจัดทำขึ้นโดยการร่วมมือกันระหว่าง กลุ่มสหภาพแรงงานย่านรังสิตและใกล้เคียง กลุ่มนักศึกษาสภากาแฟ(มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์รังสิต) และกลุ่มประกายไฟ )

ความเห็น

Submitted by dk on

เพิ่งรู้เลยครับว่า เขาคิดกันอย่างนี้ ได้แก่
การพึ่งตนเอง หมายถึง รัฐจะไม่เข้ามาช่วยเหลือ ในยามเจ็บป่วย โดยสวัสดิการสุขภาพฟรี
แต่มีเงื่อนไขหลายๆอย่าง ปชต.ของเขา ทำให้ ปชช.ต้องระมัดระวังในการใช้ชีวิต
โดยเฉพาะการระมัดระวังในด้านสุขภาพ คือ ต้องไม่ประมาท หรือ ป่วย โดยเฉพาะคนที่ยัง
พอจะช่วยตัวเองได้ เขาก็จะไม่เข้ามาก้าวก่าย เว้นไว้แต่ จนตรอก แบบช่วยตัวเองไม่ได้ รัฐจึงเข้ามา
ช่วยดูแล แต่ก็คงมีการพิสูจน์ทราบอย่างเป็นระบบ หรือจัดประเภทแล้ว

บ้านเรา 30บาทช่วยหมด ไม่เลือก จนบางที คนรวยที่ขี้เหนียว ก็ยังมาใช้บริการ
ซึ่งก็ไปว่าไม่ได้ แต่ก็บอกได้ว่า ระบบบ้านเรา ไม่ได้มีการกลั่นกรอง คนที่จำเป็นเพื่อนโยบายนี้จริง

สรุปว่า ของอเมริกานั้น เสรีภาพของเขา ช่างบีบบังคับกลายๆให้ ปชช.ต้องรับผิดชอบต่อสุขภาพตนเองให้ได้ก่อน
ส่วนบ้านเรา สวัสดิการสังคม ข้าราชการได้รับการอุ้มชูค้ำประกันเต็มร้อยในทุกด้าน แต่ปชช.ก็เจ็บป่วยล้นเกิน รพ.
อย่างน่าประหลาดตาประหลาดใจ ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น...ถ้าไม่ใช่ มาตรฐานการบริโภคไม่มี และผู้ประกอบการทำเพื่อ
การค้า มากกว่า คุณค่าของสินค้าต่อผู้บริโภคเป็นที่ตั้ง

Submitted by Johannes de silentio on

ขอพูดว่า พนักงานรัฐวิสาหกิจไทย มีสวัสดิการดีกว่าสหรัฐอเมริกาเยอะ

Submitted by น้ำลัด on

รัฐวิสาหกิจของไทยนั้นได้สร้างมาตรฐานไว้สูงลิ่ว
บางรัฐวิสาหกิจก่อนหน้านี้แทบจะเป็นสมบัติของคนที่ทำงานกันอยู่ไปแล้ว
อย่างการรับพนักงานใหม่ก็ต้องเป็นลูกหลานของพนักงานรัฐวิสาหกิจนั้นๆเป็นต้น

หันมาดูเรื่องสวัสดิการรักษาพยาบาลในบ้านเรา
จริงๆแล้ว 30 บาทรักษาทุกโรคก็ไม่ใช่จุดเริ่มต้น
ก่อนหน้านั้นก็มีระบบคนไข้อนาถาอะไรประมาณนั้น
คือจะมีการให้สวัสดิการรักษาพยาบาลฟรีแก่คนแก่คนยากจนมากๆ
แต่ในทางปฏิบัติแล้วมันก็คงเป็นปัญหาเยอะอยู่เหมือนกัน
การตัดสินว่าใครสมควรได้บ้าง อันนี้แหละที่มันมักเป็นปัญหา
ถ้าความจนความรวยมันดูได้จากหน้าผากของคนเราได้ มันก็คงไม่เป็นปัญหา

คนไทยเรานั้นสุขภาพน่าจะย่ำแย่กันจริงๆ
ทั้งผู้ผลิตและผู้ขายใช้สารเคมีกันอย่างพร่ำเพรื่อ
โรงพยาบาลรัฐเต็มไปด้วยผู้ป่วยล้นหลาม
โรงพยาบาลเอกชนก็เต็มไปด้วยการขูดรีด
ส่วนหนึ่งต้องไปพึ่งหมอผีคนทรงเจ้า
มีหญ้าชนิดหนึ่งร่ำลือว่าดีก็แห่กันไปเก็บมืดฟ้ามัวดิน

การผลิตแพทย์ก็ยังคงอั้นจำนวนกันไว้ต่อไป
เด็กเรียนเก่งๆแห่ไปเรียนแพทย์กันหมด
จนการแพทย์ไทยน่าจะก้าวหน้าที่สุดในโลกแล้วมั้ง
ส่วนสาขาวิชาอื่นๆก็กระท่อนกระแท่นกันต่อไป
...แล้วมันเกี่ยวอะไรกันกับระบบหลักประกันสุขภาพวะเนี่ยะ

Submitted by fire lizard on

ผมว่ามันอยู่ ปรัชญา ที่อเมริกา ใช้กับที่ี ยุโรป และ ประเทศไทยใช้นั้นมันต่างกันครับ อเมริกาเป็นประเทศทุนนิยมเสรีสุดขั้ว แนวทางต่างๆในการปริหารประเทศ รวมทั้งการบริหารการสาธารณสุขจึงออกมาเป็นแบบนี้ ส่วนในยุโรป เป็นแบบ ไม่สุดขั้ว และ เป็นรัฐสวัสดิการ จึงมีการบริการอีกแบบหนึ่ง
ไม่ใช่้ว่าคนอเมริกัน คิดระบบแบบไทย หรือ ยุโรปไม่ได้ ปธน. โอบามา พยายามสร้าง obama care ซึ่งระบบนั้นเข้าใกล้เป็นยุโรป เข้ามาอีกหน่ิอย (นิดเดียว) ผลลคือก็เกือบจะไม่ผ่านสภา เพราะ สส ไม่เห็นด้วย
เรื่อง ปรัชญาของคนในประเทศ นั้นสำคัญมากที่เดียว ผมคิดว่าก่อนจะเปรียบเทียบอะไรต้องดู ปรัชญา หรือที่มาก่อน หากไม่ค่อยเหมือนกันก็ยากจะเทียบกันได้

ระบบเศรษฐกิจแบบมีส่วนร่วม (Participatory Economy)

28 May, 2013 - 17:49 -- iskra

...ข้อเสนอเกี่ยวกับการจัดการสังคมหลังทุนนิยมข้างต้นนี้ถือเป็นเป้าหมายหลัก และเป็นผลผลิตโดยตรงของการเติบโตของขบวนการโลกาภิวัตน์จากรากฐาน ที่พยายามเสนอทางเลือกใหม่ในการพัฒนาท่ามกลางซากปรักหักพังของโลกสังคมนิยม ในทศวรรษ 1990 ที่นักคิดฝ่ายอนุรักษ์นิยมและฝ่ายเสรีนิยมต่างประกาศว่า “เราไม่มีทางเลือกอื่นใดเหลือแล้วนอกจากระบบทุนนิยมกลไกตลาดและระบอบ ประชาธิปไตยแบบเสรีนิยม” แม้ว่าเป้าหมายดังกล่าวจะยังไม่บรรลุ แต่คุณูปการที่สำคัญที่สุดที่ขบวนการโลกาภิวัตน์จากรากฐานได้สร้างไว้ก็คือ ความหวังที่ว่า “โลกใบใหม่เป็นไปได้” ซึ่งเป็นคำขวัญของขบวนการสมัชชาสังคมโลกนับตั้งแต่ ค.ศ.2001 เป็นต้นมา