Skip to main content

โดย Chotisak Onsoong

 

 

1. จีนเป็นประเทศ "ทุนนิยมโดยรัฐ" ไม่ใช่ประเทศ "สังคมนิยม" เพราะจีนมีการสะสมทุน มีการขูดรีดมูลค่าส่วนเกินไม่ต่างจากทุนนิยมทั่วไป เพียงแต่ทำโดยรัฐไม่ใช่เอกชน (แต่ในระยะหลังมีการเพิ่มบทบาทของเอกชนมากขึ้น)


 

2. การที่จีนเรียกตัวเองว่าประเทศสังคมนิยมไม่ใช่ตัวบ่งชี้ว่าจีนเป็นประเทศสังคมนิยมจริงๆ เพราะจอมพลสฤษดิ์ก็บอกว่าตัวเองเป็นฝ่ายเสรีประชาธิปไตย พันธมิตรฯก็เรียกตัวเองว่า "พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย"

 

การเคลมว่าตัวเองเป็นนั่นเป็นนี่มันไม่มากพอที่จะบอกว่าเขาเป็นอย่างนั้นจริงๆ เราต้องไม่ใสซื่อไร้เดียงสาเชื่อใครง่ายๆเพียงเพราะเขาบอกว่าเขาเป็นนั่นเป็นนี่ครับ

 

 

3. ระยะแรกหลัง พคจ.ปฏิวัติยึดอำนาจรัฐ การใช้แรงงานเป็นแบบแรงงานบังคับ/การเกณฑ์แรงงาน ไม่ใช่การจ้างงานแบบทุนนิยมที่เราคุ้นเคย ซึ่งบางคนตั้งข้อสังเกตว่าเป็นเหมือนระบบศักดินา แต่ความจริงแล้วนั่นคือขั้นตอนหนึ่งของการสะสมทุนที่เรียกว่า "การสะสมทุนบุพกาล" ซึ่งเป็นการสะสมทุนในระยะเริ่มต้นที่จะนำเอาลักษณะการขูดรีดแรงงานก่อนหน้านี้มาใช้

 

การที่สังคมอเมริกาในช่วงแรกมีการใช้แรงงานทาสก็คือขั้นตอนเดียวกันนี้ เพียงแต่ต่างรูปแบบกัน (อันนึงเกณฑ์แรงงาน อันนึงใช้แรงงานทาส) และในกรณีจีนทำโดยรัฐ ขณะที่อเมริกาทำโดยเอกชน

 

 

4. เหมาอิสต์ไทยบางคนอ้างว่าเหตุที่หลังการปฏิวัติจีนต้องใช้แรงงานบังคับในข้อ 3.นั้นเพราะทุนนิยมในจีนยังไม่พัฒนาพอ (หรือบางคนบอกว่าจีนยังไม่เคยเป็นทุนนิยม) ดังนั้นเมื่อ พคจ.ปฏิวัติสำเร็จ พคจ.ก็เลยต้องพัฒนาทุนนิยม/ทำให้สังคมจีนเป็นทุนนิยมเต็มที่ซะก่อน (พูดอีกแบบนึงก็คือ ต้องพัฒนา "พลังการผลิต" ซะก่อน) แล้วค่อยไปสู่สังคมนิยม

 

ความจริงข้ออ้างนี้มีจุดให้โต้แย้งถกเถียงหลายจุด เพียงแต่ผมไม่อยากโต้แย้งประเด็นเหล่านั้นในบันทึกนี้ แต่ที่ยกข้ออ้างนี้มาเล่าก็เพราะอยากจะบอกว่า คนที่อ้างแบบนี้, จะโดยรู้ตัวหรือไม่ก็ตาม, ก็ได้ยอมรับแล้วว่าจีนยังไม่เป็นสังคมนิยม

 

 

5. ความตลกอย่างหนึ่งของพวกเหมาอิสต์ก็คือ ดูเหมือนพวกเขาจะกลัว/ไม่อยาก/หรือพยายามเหลือเกินที่จะไม่สร้างสังคมนิยม

 

ในด้านหนึ่งพวกนี้เชื่อว่าสังคมต้องพัฒนาตามขั้นตอน ถ้ายังไม่เป็นทุนนิยมก็ต้องพัฒนาทุนนิยมให้มันเต็มที่ซะก่อน ขณะเดียวกันพวกเขาก็พยายามเหลือเกินที่จะชี้ว่าสังคมที่เขาพยายามปฏิวัติ, ซึ่งรวมถึงสังคมไทยปัจจุบัน, นั้นยังไม่เป็นทุนนิยม สรุปก็คือถ้าปฏิวัติสำเร็จก็ต้องเป็น "ทุนนิยมโดยรัฐ" ภายใต้ "การชี้นำ" ของพวกเขาแต่เพียงอย่างเดียวเท่านั้น

 

 

6. ดังนั้นเวลาพวกโปรทุนนิยมคุยโม้ว่า "ทุนนิยมชนะแล้วเพราะใครๆก็ล้วนแต่เลือกใช้ทุนนิยม และแม้แต่สังคมนิยมก็หันมาเปลี่ยนเป็นทุนนิยมมากขึ้น" ความจริงแล้วมันไม่ใช่ชัยชนะอะไรเลย แต่มันเป็นเพราะพวกโปรทุนนิยมโดยรัฐหันมายอมรับทุนนิยมกลไกตลาดเท่านั้นเอง

 

คือถ้ามันจะมีชัยชนะ-ความพ่ายแพ้ มันก็แค่เป็นชัยชนะ-ความพ่ายแพ้ระหว่างพวกโปรทุนนิยม 2 กลุ่มเท่านั้นเอง

 

 

7. จีนในปัจจุบันมีลักษณะ "ทุนนิยมกลไกตลาด" มากขึ้น คือลดบทบาทรัฐในทางเศรษฐกิจ แล้วให้บทบาทเอกชนเข้ามาแทนที่ส่วนนั้น

 

 

8. ดังนั้นเราอาจจะแบ่งทุนนิยมจีนหลังการปฏิวัติของ พคจ.แบบหยาบๆได้เป็น 3 ช่วง คือ

 

ก. ช่วง "การสะสมทุนบุพกาล" หลังการปฏิวัติใหม่ๆ ที่เอารูปแบบแรงงานบังคับคล้ายๆศักดินามาใช้

 

ข. ช่วง "ทุนนิยมโดยรัฐ"

 

ค. ช่วง "กึ่งทุนนิยมโดยรัฐกึ่งทุนเอกชน" ในปัจจุบัน

 

ซึ่งต้องย้ำว่าทั้ง 3 ช่วง (คือตั้งแต่หลังปฏิวัติมาจนถึงวินาทีปัจจุบัน) จีนเป็นทุนนิยมตลอด

 

 

9. ลาวและเวียดนามก็มีลักษณะไม่ต่างกันนี้ (อาจจะยกเว้นรูปแบบของการสะสมทุนบุพกาล), ทั้ง 2 ประเทศเคยผ่านช่วง "ทุนนิยมโดยรัฐ" มาแล้ว และปัจจุบันก็เปลี่ยนเป็น "กึ่งทุนนิยมโดยรัฐกึ่งทุนเอกชน"

 

ส่วนเกาหลีเหนือน่าจะยังอยู่ในขั้น "การสะสมทุนบุพกาล" อยู่

 

ทั้งหมดนี้ไม่มีประเทศไหนเป็นหรือเคยเป็น "สังคมนิยม" เลยแม้แต่ประเทศเดียว

 

 

10. ที่เขียนมานี้ไม่ใช่เพราะประเทศเหล่านี้ปฏิวัติแล้วผลงานออกมาแย่ แล้วผมก็เลยต้องพยามแก้ต่างให้ "สังคมนิยม" ด้วยการ "ถีบหัวส่ง" ปฏิเสธว่าประเทศพวกนี้ไม่ใช่สังคมนิยม เพราะในความเป็นจริงข้อถกเถียงที่ผมยกมามันมีมาก่อนที่จะเกิดการปฏิวัติในประเทศเหล่านี้ซะอีก

 

ที่เขียนมานี่คนอื่นเขาอธิบายไว้แล้วทั้งนั้น (จริงๆไม่ได้แค่อธิบาย แต่พวกเขาได้พยายามโต้แย้ง/คัดค้านแนวทางพวกนี้มานานแล้ว) ผมไม่ได้(เพิ่งมา)คิดเองหรอกครับ ....

บล็อกของ ประกายไฟ

ประกายไฟ
แถลงการณ์ กลุ่มประกายไฟ 
ประกายไฟ
...ข้อเสนอเกี่ยวกับการจัดการสังคมหลังทุนนิยมข้างต้นนี้ถือเป็นเป้าหมายหลัก และเป็นผลผลิตโดยตรงของการเติบโตของขบวนการโลกาภิวัตน์จากรากฐาน ที่พยายามเสนอทางเลือกใหม่ในการพัฒนาท่ามกลางซากปรักหักพังของโลกสังคมนิยม ในทศวรรษ 1990 ที่นักคิดฝ่ายอนุรักษ์นิยมและฝ่ายเสรีนิยมต่างประกาศว่า “เราไม่มีทางเลือกอื่นใดเหลือแล้วนอกจากระบบทุนนิยมกลไกตลาดและระบอบ ประชาธิปไตยแบบเสรีนิยม” แม้ว่าเป้าหมายดังกล่าวจะยังไม่บรรลุ แต่คุณูปการที่สำคัญที่สุดที่ขบวนการโลกาภิวัตน์จากรากฐานได้สร้างไว้ก็คือ ความหวังที่ว่า “โลกใบใหม่เป็นไปได้” ซึ่งเป็นคำขวัญของขบวนการสมัชชาสังคมโลกนับตั้งแต่ ค.ศ.2001 เป็นต้นมา
ประกายไฟ
“..รู้สึกว่าธรายอาร์มไม่ใช่แค่กางเกงใน แต่มันแสดงถึงสัญญะบางอย่างของการต่อสู้ ซึ่งเห็นไหมคะ แค่สงสัยว่าทำไมต้องเป็นกางเกงในของธรายอาร์ม คนที่สงสัยเขาก็ต้องหาเรื่องราวของมันบ้างล่ะค่ะ อย่างน้อยเราก็ได้สื่อเรื่องความไม่เป็นธรรมนอกจากแคมเปญหลักของงานนี้..” - ลูกปัด 1 สวาผู้ร่วมรณรงค์ 
ประกายไฟ
 “...พวกนายทุนจึงต้องหาทางให้ปัญหาเหล่านี้ทุเลาเบาบางลง ไม่อย่างนั้นการผลิตในระบบทุนนิยมอาจต้องล่มสลาย จึงต้องสร้างกติกากลางขึ้นมาเพื่อให้การขูดรีดยังดำรงตนต่อไปได้...”
ประกายไฟ
...ผมไม่คิดว่าการมีวันพ่อวันแม่มันจะสร้างประโยชน์อะไรให้กับคนที่ "มีพ่อมีแม่" (หรือแม้แต่ตัวคนเป็นพ่อเป็นแม่) แต่ขณะเดียวกันมันกลับเป็นวันที่ "ซ้ำเติม" คนที่ "ขาดพ่อขาดแม่" ซึ่งโดยปกติก็อาจจะมีชีวิตที่รันทดเจ็บปวดกับเรื่องนี้อยู่แล้ว..
ประกายไฟ
...แต่เชื่อไหม (เหมือนถาพในหนัง) ใบหน้าคนเหล่านั้นลอยออกมาปะทะสายตาเรา เรามองไม่เห็นความกลัวในใบหน้าของคนเหล่านั้น บางคนด่าไปอมยิ่มไป บางคนด่าไปก็แสดงอาการท้าทายไป มันต่างกันมาก ต่างกันจริงๆ เราเคยเห็นคนในม็อบเสื้อแดงช่วงที่มีการสลาย ทั้งวันที่ 10 เมษา และ 19 พฤษภา เราเห็นแววตาคนที่กลัวตาย เห็นแววตาคนที่มีห่วงเห็นแววตาคนที่พร้อมจะยอมตาย แต่คนเหล่านั้นไม่กร่างเท่านี้นะ
ประกายไฟ
...ที่มาที่ไปของ "เสื้อแดง" มันไม่เกี่ยวกับเรื่อง "รักเจ้า" หรือ "รักทักษิณ" ..