ละครบาสัก สุดยอดอุปรากรขแมร์จากโคชินจีน

"ตะลุ่ง ตุ่ง..แช่!!!....." ตัวอย่างเสียงกลอง เสียงฉาบ ที่ผู้เขียนยกมาขึ้นต้นในบทความนี้ ท่านผู้อ่านหลายๆท่าน อาจเข้าใจว่า เป็นเสียงดนตรีประกอบการแสดงละครงิ้วจีน หรือวงดนตรีจีนวงใดซักวงหนึ่ง แต่แท้ที่จริงแล้ว เป็นเสียงของดนตรีประกอบการแสดงละครโบราณของกัมพูชาอีกชนิดหนึ่ง ซึ่งเป็นละครแบบโบราณของกัมพูชา ที่มีรูปแบบที่ผสมผสานศิลปะหลายๆชาติไว้ด้วยกัน นั้นคือ ละครบาสัก


 
ประวัติความเป็นมา
ละครบาสัก ไม่ได้ถือกำเนิดในประเทศกัมพูชา แต่มีต้นกำเนิดอยู่ในอำเภอบาสัก จังหวัดเคลียง หรือจังหวัด Soc trang พระตรอเปียง หรือจังหวัด Tra vinh ทางตอนใต้ของสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม ซึ่งดินแดนดังกล่าวอยู่ในพื้นที่ (1)กัมปูเจียกรอม หรือเรียกอีกอย่างว่าโคชินจีน ซึ่งเป็นพื้นที่ๆมีชาวเขมรอาศัยอยู่มาก พอๆกับพื้นที่ของประเทศกัมพูชาในปัจจุบัน แต่ในที่สุดแล้ว ดินแดนกัมปูเจียกรอม หรือโคชินจีน ได้ถูกฝรั่งเศสในฐานะเจ้าอาณานิคม ยกให้เป็นดินแดนของประเทศเวียดนาม เมื่อ (2)วันที่ 21 พฤษภาคม ปี ค.ศ.1949 จนถึงปัจจุบัน
 
จากประวัติที่พอจะสืบค้นได้จากบทความต้นฉบับ "ละครบาสัก" นี้ มีชื่อเรียกแต่เดิมในโคชินจีน หรือกัมปูเจียกรอมว่า ละครเตริงโคลก(เสาน้ำเตา)  ซึ่งมีความเป็นมาว่า ละครชนิดนี้ ถือกำเนิดขึ้นจากการร่วมตัวของปัญญาชนด้านศิลปะ และวรรณคดี ในพื้นที่อำเภอบาสัก ซึ่งนำโดย ท่านซัว ซึ่งเป็นอดีตเจ้าอาวาสวัดขสัจกอนดาล(วัดทรายกลาง) อำเภอบาสัก จังหวัดเคลียง ซึ่งท่านลาสิกขาบทจากพระ เพื่อต้องการทำงานด้านศิละป และวัฒนธรรมของกัมปูเจียกรอม ตามความตั้งใจของท่านๆ จึงได้รวบรวมลูกศิษย์ลูกหาของท่าน ที่เคยบวชอยู่วัดขสัจกอนดาล และได้ลาสิกขาบทแล้ว ตั้งคณะละคร คณะหนึ่งขึ้นมา ด้วยความที่ขาดแคลนทุนทรัพย์ และอุปกรณ์การแสดง คณะละครของท่านซัว จึงปลูกสร้างโรงแสดงอย่างง่ายๆ โดยเอาเสาแบบที่ใช้ปลูกน้ำเตามาปลูกสร้างโรงละคร ชาวบ้านกัมปูเจียกรอม ในสมัยนั้น จึงนิยมเรียกคณะละครของท่านซัว ว่า "ละครเตริงโคลก" ที่แปลว่า ละครเสาน้ำเต้า (ส่วนชื่อละครบาสัก เป็นชื่อที่เรียกกันทีหลังเมื่อการแสดงนี้เผยแพร่มาถึง ประเทศกัมพูชา ซึ่งจะกล่าวในย่อหน้าต่อไป)
 
นอกจากชาวกัมปูเจียกรอมแล้ว ในพื้นที่โคชินจีน ยังมีอีกหลายชนชาติอาศัยอยู่ร่วมกับชาวกัมปูเจียกรอม แต่ที่อาศัยอยู่มาก มี ชาวเวียดนาม เจ้าถิ่นผู้มาใหม่หลังจากการได้รับเอกราชจากฝรั่งเศส  ชาวจีน ซึ่งมีจำนวนเพิ่มขึ้นมาก ด้วยมีชาวจีนหลายแสนคน ได้หนีภัย(3)สงครามการต่อต้านราชวงศ์แมนจู ในประเทศจีนสมัยนั้น ลี้ภัยอยู่ในหลายๆประเทศของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ร่วมทั้งดินแดนโคชินจีน ประเทศเวียดนามด้วย  แต่ละชนชาติก็จะมีศิลปะการแสดงที่เป็นเอกลักษณ์ และได้ความความนิยมจากประชาชน ของแต่ละชนชาติ เช่น การแสดง(4)ละครไก๋เลือง ของเวียดนาม การแสดงละครงิ้วของชาวจีน  แต่ในบางครั้งศิลปะการแสดงของแต่ละชนชาติ ก็พยายามดึงดูดความนิยมจากผู้ชมนอกกลุ่มชนชาติของตนให้ได้มากที่สุด  จึงเกิดการประชันความนิยมระหว่างคณะละครของแต่ละชนชาติอยู่บ่อยครั้ง ซึ่งละครเตริงโคลก ของชาวกัมปูเจียกรอม ก็ได้ประชันกับละครไก๋เลือง ของชาวเวียดนาม ละครงิ้วของชาวจีน แต่ละครงิ้ว ก็สามารถดึงดูดผู้ชมได้มากที่สุดในบรรดาการแสดงทั้งหลาย ด้วยเหตุนี้ละครเตริงโคลก จึงได้พยายามลักจำเอกลักษณ์สำคัญๆของละครงิ้ว ของชาวจีน มาประยุกต์ใช้กับรูปแบบของละครเตริงโคลก แล้วนำออกแสดงในพื้นต่างๆในโคชินจีน นอกจากนี้เพื่อดึงดูผู้ชมชาวเวียดนาม และชาวจีน คณะละครเตริงโคลกจึงอาศัยทักษะด้านภาษา ด้วยการเขียนบท และแสดงละครเป็นภาษาต่างๆ ตามแต่พื้นที่ๆไปทำการแสดง นอกจากภาษาเขมรอันเป็นภาษาหลักที่จะใช้แสดงในหมู่บ้านของชาวกัมปูเจียกรอมแล้ว ก็ใช้ภาษาเวียดนาม ในพื้นที่ที่มีชาวเวียดนามอาศัยอยู่ และภาษาจีน ในพื้นที่ๆมีชาวจีนอาศัยอยู่ ด้วยเหตุนี้ละครเตริงโคลก จึงได้รับความนิยม จนดึงดูดความสนใจจากผู้ชมได้หลากหลายพื้นที่ หลายชาติพันธ์ภาษา และได้เกิดคณะละครเตริงโคลก ของชาวกัมปูเจียกรอม แตกกิ่งก้านสาขา คณะทำการแสดงออกมาอย่างมากมายในพื้นที่โคชินจีน ทางตอนใต้ของประเทศเวียดนาม


 
การเข้าสู่กัมพูชา
แต่เดิมนั้น ละครเตริงโคลกนั้น เป็นที่รู้จักกันแพร่หลายก็เพียงแต่ในโคชินจีน หรือดินแดนกัมปูเจียกรอมเท่านั้น ต่อมาได้เผยแพร่มาสู่กัมพูชา โดยต้นเค้านั้นมาจาก สองพี่น้องชาวกัมปูเจีนกรอม ตระกูลลี คือ ลี กัญ ผู้เป็นพี่ชาย และลี สวน ผู้เป็นน้องชาย ชาวจังหวัดเคลียง ประเทศเวียดนาม โดยลี กัญ ได้อพยบไปทำงานอยู่ที่กรุงปารีสฝรั่งเศส สร้างรายได้จนมีฐานะขึ้น  ต่อมาลี สวน ผู้เป็นน้องชายได้เขียนจดหมายขอเงินจากพี่ชาย เพื่อมาเป็นทุนในการประกอบอาชีพ พี่ชายจึงแนะนำให้ น้องชาย นำทุนดังกล่าวไปตั้งคณะละครเตริงโคลก เพื่อรักษามรดกทางวัฒนธรรมของชนชาติที่เคยอาศัยอยู่มาแต่วัยเด็ก  เมื่อลี กัญ ได้ให้ทุนมาแล้ว ลี สวน จึงได้ตั้งตนเป็นโต้โผ่ก่อตั้งคณะละครเตริงโคลก ขึ้น แล้วออกแสดงในพื้นที่โคชินจีน จนได้รับความนิยมล้นหลาม จนผู้คนต่างขนานนามท่านว่า "โต้โผ่ฉา กรวน"
 
เมื่อถึงปี 1930 ละครเตริงโคลก ในพื้นที่โคชินจีน ได้ความนิยมอย่างสูง และมีคณะละครใหม่ๆเกิดขึ้นมามากมาย ทำให้ท่านโต้โผ่ฉา กรวน จึงจำเป็นต้องแหล่งรับงานแสดงใหม่ๆ แทนพื้นที่โคชินจีน ประเทศเวียดนาม ท่านจึงเบนเข็มไปเปิดทำการแสดงที่ กรุงพนมเปญ และตามจังหวัดต่างๆ ในราชอาณาจักรกัมพูชา 
 
แต่การเปิดทำการแสดงของคณะละครเตริงโคลก ของท่านโต้โผ่ ฉา กรวน ในครั้งแรก ไม่สู้จะประสบความสำเร็จเท่าใดนัก เนื่องด้วยรูปแบบการแสดงของละครเตริงโคลก ที่มีลักษณะผสมผสานเอกลักษณ์ของหลายๆชาติทั้ง เขมร จีน เวียดนาม ไว้ในตัวเอง ซึ่งเป็นที่ไม่คุ้นเคยสำหรับคนในประเทศกัมพูชาในสมัยนั้น ประกอบกับในช่วงเวลาดังกล่าวในประเทศกัมพูชาเอง ก็มีศิลปการแสดงละครที่ได้รับความนิยมจากประชาชน อยู่แล้วเป็นจำนวนมาก เช่น (5)ละครปราโทัย ละครมโหรี เป็นต้น จึงทำให้คณะละครเตริงโคลกของท่านฉา กรวน ต้องเดินทางกลับโคชินจีน ประเทศเวียดนาม เพื่อกลับไปปรับปรุง พร้อมกับฝึกฝนรูปแบบการแสดงละครมาใหม่ โดยจดจำรายละเอียดสำคัญๆของศิลปการแสดงละคร ในกัมพูชา เพื่อนำมาประยุกต์ใช้กับละครของท่าน ไว้ด้วย
 
การเดินทางมาทำการแสดงในครั้งที่สอง ของคณะละครท่านฉา กรวน ได้นำคณะนักแสดง และอุปกรณ์การแสดง เดินทางด้วยเรือปุ๊กเจียย ขึ้นมาตามแม่น้ำบาสัก จนถึงราชธานีพนมเปญ การทำการแสดงครั้งที่สองนี้ คณะละครเตริงโคลก ของท่านโต้โผ่ฉา กรวน ได้รับความนิยมจากประชาชนชาวกัมพูชาในกรุงพนมเปญ ตามจังหวัดต่างๆโดยเฉพาะพื้นที่ริมแม่น้ำบาสัก แม่น้ำโขง อย่างล้นหลามมากมาย จนทำให้ละครปราโมทัย และละครมโหรี ที่มีมาแต่เดิมลดความนิยมลดลงในเวลาอันรวดเร็ว ด้วยจุดเด่นของละครเตริงโคลกที่ใช้เครื่องแต่งกาย การแต่งหน้าที่ผสมผสานสีสันหลากหลายชาติ โดยเฉพาะการแต่งกาย แต่งหน้าแบบละครงิ้ว ของชาวจีน บทร้องบทเจรจาที่คมคายจับใจผู้ฟัง ชื่อเสียงของคณะละครท่านฉา กรวนโด่งดังจนเป็นที่โจษจัน จนทำใหเประชาชนต่างเรียกละครเตริงโคลก เสียใหม่ว่า ละครบาสัก ตามถิ่นกำเนิดดังเดิมในอำเภอบาสัก โคชินจีน
 
ด้วยสภาพทางเศรษฐกิจ บรรดาโต้โผ่ละครปราโมทัย และละครมโหรี ต่างพยายามหาทางกอบกู้ความนิยมในคณะละครของตนให้เหนือกว่าคณะละครบาสัก ของท่านฉา กรวน  ด้วยการใช้เงินทองสินจ้างรางวัล ซื้อตัวคนในคณะละครบาสักของท่านฉา กรวน ทั้งนักแสดง ครูละคร นักดนตรี มาอยู่ในคณะของพวกเขา เพื่อมาฝึกหัดคนในคณะของตนให้แสดงได้อย่างละครบาสัก จนทำให้คณะละครบาสักของท่านฉา กรวน ต้องล่มสลายลงไป  และนับแต่บัดนั้นมาคณะละครต่างๆในกัมพูชา จึงได้รับต้นแบบการแสดงจากละครบาสักไปใช้ จนแพร่กระจายไปในหลายแห่งของกัมพูชา ทั้งในกรุงในชนบท จนมีโรงแสดงคณะละครบาสักเกิดขึ้นมากมายในกัมพูชา และได้รับความนิยมจวบจนถึงปัจจุบัน
 
 
รูปแบบการแสดง
ละครบาสัก มีรูปแบบการแสดงที่หลอมรวมเอกลักษณ์ของศิลปะการแสดงหลายๆชาติ รวมไว้ในรูปแบบเดียว ทั้งการร้องที่ผสมผสานระหว่างเพลงเขมรโบราณ กับเพลงละครไก๋เลือง ของเวียดนาม การแต่งกาย วาดหน้าของตัวยักษ์ ตัวพระ ตัวตลกที่ผสมผสานระหว่างการทรงเครื่องแบบละครเขมร กับละครงิ้ว ของจีน  ส่วนดนตรีประกอบการแสดงก็มีกลิ่นอายแบบจีนผสมอยู่มาก ด้วยเครื่องดนตรีแบบจีน ทั้ง กลองจีน ฉาบ ขิม  เข้ากับดนตรีแบบเขมรโบราณ ซึ่งประกอบด้วยซออู้(นิยมใช้ซออู้จอมเหียง ซึ่งเล่นเพลงเสียงสูงได้) จะเข้ ขลุ่ย อีกทั้งบทร้องบทเจราจา ที่มีความคมคายจับใจผู้ชมผู้ฟัง  ทั้งหมดนี้ได้ออกมาเป็นศิลปะการแสดงที่มีรูปแบบที่น่าตื่นตาตื่นใจ และดึงดูดผู้ชมชาวกัมพูชาติดตามชมกันแบบติดเสื่อ ติดเก้าอี้ จนแทบไม่อยากลุกไปไหนเลย จนกว่าจะหมดเวลาทำการแสดงของคณะละครบาสัก

 
ตัวอย่างการแสดงละครบาสัก
ต่อไปนี้เป็นตัวอย่างการแสดงละครบาสัก ซึ่งผู้เขียนได้นำมาให้ชมสองเรื่อง สองคณะ สองประเทศคือ กัมพูชา และพี่น้องขาวกัมปูเจียกรอมในสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม
 
เริ่มด้วยการแสดงจากคณะละครบาสัก คณะเรียะห์สเมยพนมเปราะห์พนมสเรย(รัศมีเขาชายเขาหญิง) จากจังหวัดกัมปงจาม ราชอาณาจักรกัมพูชา ถ่ายทำโดย บริษัท TS Porduction จำกัด เสนอในท้องเรื่อง "กุฎตวงศ์ สูรวงศ์ หรือ พระองค์เจ้าคม"
 
 
 
และก่อนจากกันไป ผู้เขียนขอปิดท้ายด้วยการแสดงละครบาสัก ของพี่น้องชาวกัมปูเจียกรอม ทางสถานีโทรทัศน์ VTV เวียดนาม จังหวัด Can Tho(เกิ่น เธอ) แสดงโดยคณะละครรัศมีประทีป จากจังหวัด Tra Vinh นำเสนอในท้องเรื่อง "อาถ์กอมบังรูปจอมลักทมอแก้ว" (ซ่อนเร้น รูปสลักหินอ่อน)
 


 
//////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////
 
เพิ่มเติม

(1) ดินแดนกัมปูเจียกรอม เป็นดินแดนทางตอนใต้ของประเทศเวียดนาม ที่มีชนเชื้อสายกัมพูชา อยู่ราว 12 ล้านคน ประกอบด้วยจังหวัดต่างๆ 20 กว่าจังหวัด และเกาะตามชายทะเลจีนใต้อีกมากมาย ซึ่งเป็นชื่อในภาษาเขมร แต่ถูกเปลี่ยนให้เป็นชื่อภาษาเวียดนาม หลังจากตกมาอยู่ภายใต้การปกครองของเวียดนาม

(2) ในวันที่ 21 พฤษภาคม ของทุกปี ชาวกัมปูเจียกรอมทั่วโลก จะจัดงานรำลึกถึง การสูญเสียดินแดนกัมปูเจียกรอม ไปอยู่ในการปกครองของเวียดนาม ในช่วงที่เจ้าอาณานิคมฝรั่งเศสช่วงที่เอกราชให้ ในส่วนของกัมพูชา มักจะร่วมตัวจัดงานกันตามวัดกัมปูเจียกรอม ในกรุงพนมเปญ ประเทศกัมพูชา

(3) ในช่วงปี ค.ศ. 1911 เป็นช่วงที่ประเทศจีนเกิดขบวนการปฎิวัติโดยประชาชนนิยมระบอบสาธารณรัฐ เพื่อโค่นล้มราชวงศ์ชิง นำโดยดร.ซูน ยัด เซน จนทำให้ประชาชนชาวจีนต้องอพยบหนีออกนอกประเทศเป็นจำนวนมาก

(4) ละครไกเลือง เป็นละครพื้นบ้านของชาวเวียดนามที่เกิดขึ้นในราวปี ค.ศ.1930 ในสมัยที่เวียดนามเป็นอาณานิคมฝรั่งเศส โดยดัดแปลงเครื่องแต่งกาย การร้องรำ จากละครงิ้ว ของชาวจีนอพยบในเวียดนาม

(5) เป็นการแสดงละครพื้นบ้านของกัมพูชา โดยรายละเอียด ผู้เขียนจะสืมค้นต่อไป ในโอกาสหน้า
 
 
อ้างอิง
 
 
 

ละครบาสัก สุดยอดอุปรากรขแมร์จากโคชินจีน

"ตะลุ่ง ตุ่ง..แช่!!!....." ตัวอย่างเสียงกลอง เสียงฉาบ ที่ผู้เขียนยกมาขึ้นต้นในบทความนี้ ท่านผู้อ่านหลายๆท่าน อาจเข้าใจว่า เป็นเสียงดนตรีประกอบการแสดงละครงิ้วจีน หรือวงดนตรีจีนวงใดซักวงหนึ่ง แต่แท้ที่จริงแล้ว เป็นเสียงของดนตรีประกอบการแสดงละครโบราณของกัมพูชาอีกชนิดหนึ่ง ซึ่งเป็นละครแบบโบราณของกั

ละครยี่เก มรดกนาฏดนตรีกัมพูชา

ประเทศกัมพูชา เป็นประเทศที่มีศิลปะการแสดงแบบโบราณที่น่าสนใจมากมายหลากหลายรูปแบบ แต่สำหรับศิลปะการแสดงโบราณที่ผู้เขียนจะนำเสนอในบทความครั้งนี้ เป็นศิลปะนาฏดนตรี ที่ได้รับความนิยมจากพี่น้องประชาชนชาวกัมพูชาอย่างกว้างขวางทั้งในราชธานี และตามต่างจังหวัด  นับแต่อดีตจนถึงปัจจุบันนี้ ศิลปะการแสดงดังกล่า

"จะเป็ยดองแวง" มรดกวัฒนธรรมดนตรีกัมปูเจีย

ประเทศกัมพูชา เป็นประเทศที่มีมรดกทางวัฒนธรรมเก่าแก่มานานนับพันปีสืบทอดจากสมัยพระนคร จนถึงยุคปัจจุบัน วัฒนธรรมดนตรีก็เป็นหนึ่งในมรดกของกัมพูชา ที่มีมาแต่โบราณ ซึ่งได้รับอิทธิพลจากวัฒนธรรมอินเดีย กับอีกหลายๆชาติ ผสมผสานกับวัฒนธรรมพื้นเมืองดังเดิม พัฒนาจนเกิดเป็นวงเพลงดนตรีหลายๆรูปแบบ หลากหลายอุปกรณ

"กรมงุย" ลำนำกวีขแมร์ ไม่มีวันตาย

ในบรรดากวีพื้นบ้านที่ได้รับความนิยมของกัมพูชา ตั้งแต่สมัยต้นยุคอาณานิคมฝรั่งเศส จนถึงสมัยปัจจุบันนี้ ผลงานของกวีผู้นี้ก็ยังได้รับความนิยม ตลอดจนมีอิทธิพลต่อประชาชนชาวกัมพูชา ทั้งในด้านจิตวิญญาณ วิธีคิด และการใช้ชีวิต คงจะเป็นไปไม่ได้ที่จะไม่กล่าวถึงท่าน "พระภิรมย์ภาษา" นามเดิมว่า "อุก อู" หรือที่

"ตุมเตียว" แม้ความตายก็ไม่อาจพรากรักเรา

จากตำนานโศกนาฎกรรมความรักอันแสนเศร้าเคล้าน้ำตา ที่ได้รับความนิยมมาอย่างยาวนาน และถูกนำมาถ่ายทอดเป็นวรรณคดี บทเพลง และภาพยนตร์ที่มีชื่อเสียงของกัมพูชา จากเรื่องราวของ สามเณรหนุ่มลูกกำพร้ายากจนผู้หนึ่ง ที่ยอมลาสิกขาบทเพื่อความรักที่เขามีต่อหญิงสาวผู้หนึ่งซึ่งเป็นลูกสาวของท่านเจ้าเมือง แม้ฐานะทางสังคมของเขาทั้งคู่จะต่างกันราวฟ้ากับดิน แม้ว่าความรักของเขา และเธอ จะถูกกีดกันจากญาติผู้ใหญ่ซักเพียงใด ก็ไม่อาจพรากความรักของคนทั้งสองไปได้ แม้แต่ความตายก็ตาม เรื่องราวนั้นมีชื่อว่า “ตุมเตียว”