Skip to main content

จงใจและมีจังหวะบอกกล่าวผู้ชมถึงการเปลี่ยนยุคภาษา, ตลกของเรื่องนี้ไม่ใช่ตลกไทยแบบเก่า, หนังเปลี่ยนขนบการเล่าเรื่อง “แม่นาค พระโขนง”, ไม่ได้รับการเล่าบรรยายแบบเคร่งครัดตามขนบการเล่าเรื่องของความเป็นไทยทางการเลย, ผีแม่นาคแม้น่ากลัว แต่ก็สวยชิบเป๋ง แม้จะทำหน้าดุดัน เหี้ยมเกรียม หลอกเอาบ้าง ขู่บ้าง แต่พูดให้ถึงที่สุด เป็นผี non-violence นะครับ แม่นาคเวอร์ชั่นนี้จึงคล้ายไอ้ฟักในคำพิพากษาที่ตกเป็นจำเลยของชาวบ้านอย่างไม่มีทางแก้ตัว

Kasian Tejapira(31/6/56)

 

บ่ายนี้ไปทำธุระด่วนกับครอบครัว เลยถือโอกาสไปเข้าคิวยาวเหยียดตีตั๋วดู “พี่มาก พระโขนง” ที่โรงหนังในศูนย์การค้าใกล้บ้านรอบสี่โมงเย็น ดูเสร็จก็ตลกดี ไม่เสียดายเงินเลย (ค่อนข้างต่างจากความรู้สึกเวลาเดินออกจากโรงเมื่อดูหนังไทยเรื่องอื่น ๆ และมีแง่คิดบางอย่างน่าเล่าต่อ.....
 
1.) คำสนทนาแทบจะประโยคแรกของหนัง สำนวนภาษาไทยสมัย ร.5 “....เพลา....” ทำเอาผมเตรียมเบื่อโดยอัตโนมัติ แต่แล้วตัวละครก็ขัดคอกันเองว่า “โบราณ” และเปลี่ยนเป็นภาษาจิ๊กโก๋ปัจจุบันไปตลอดเรื่อง นับว่าจงใจและมีจังหวะบอกกล่าวผู้ชมถึงการเปลี่ยนยุคภาษา นึกถึงหนังการ์ตูนของ Walt Disney/Dreamworks ที่หลัง ๆ นี้ไม่ว่ากี่เรื่องต่อกี่เรื่อง ตัวละครพูดสำเนียงเมกันด้วยแสลงนิวยอร์คเหมือนกันหมด
 
2.) ตลกของเรื่องนี้ไม่ใช่ตลกไทยแบบเก่า (ล้อต๊อก, สีเทา, สมพงษ์ พงษ์มิตร, จำรูญ หนวดจิ๋ม ฯลฯ) และก็ไม่ใช่ตลกเชิญยิ้มแบบที่รู้จักกันดี, แต่เป็นตลกวัยรุ่นร่วมสมัย ชนิดที่เพื่อนนักเรียนร่วมชั้น ม.ปลาย กับลูกสาวผมแซวและฮากันเล่นนั่นแหละ ส่วนใหญ่เป็นตลกแบบ silly ทื่อ ๆ (“พี่มากขา ๆ ๆ” แล้วก็ฉายภาพแมงป่อง ตะขาบ กิ้งกือขามากมายออกมา “นาคจ๋า” แล้วก็ฉายภาพตัวนากเป็น ๆ ออกมามั่ง)
 
3.) หนังเปลี่ยนขนบการเล่าเรื่อง “แม่นาค พระโขนง” ของหนังไทยอย่างที่คณะผู้สร้างผู้กำกับมาคุยแนะนำทางทีวี คือเปลี่ยนจากการเล่าด้วยมุมมองของแม่นาค, มาเป็นการเล่าด้วยมุมมองของพี่มากมั่ง แต่ร้ายกว่านั้น หนัง revise โครงเรื่องโดยเฉพาะตอนจบแบบไม่เกรงใจธรรมเนียมประเพณีเรื่องเล่าแม่นาคของไทยกันเลย ทำไมไม่จบแบบนี้ล่ะ? ก็จะให้จบแบบนี้อ่ะ? ไม่สมเหตุสมผลกว่าหรือ? ไม่กินใจกว่าหรือ? ต่อให้ไม่ธรรมชาติ (unnatural) และไม่ตรงตามธรรมเนียมคิดแบบไทย (ความเชื่อเรื่องผีและเรื่องพุทธ) (unThai) ก็ตาม 
 
ในแง่มุมนี้ นี่เป็นการริเริ่มลัทธิแก้ (revisionism) การเล่าเรื่องนิทาน/นิยายไทย ๆ ที่ radical, subversive ลึก ๆ มาก แต่ก็ “ปลอดภัย” ตามสมควร เพราะเป็นเรื่องเล่าของสามัญชนกับผี ไม่ใช่ของอำมาตย์หรือเจ้านาย การเสพรับเรื่องเล่าลัทธิแก้ (revisionist narrative) นี้จึงไม่ระคายคอ ราบรื่น กลมกล่อม คล่องคอพอควร อย่าว่าแต่มี humor เป็นผงชูรสซดลื่น ๆ คออย่างดี
4.) คล้ายจงใจคล้ายไร้เจตนา แต่ “สงคราม” ก็ดี (กำกวมพอสบายใจ เพราะคุณไม่เคยเห็นข้าศึกศัตรูเลย), “ชาติ/ชาตินิยม” ก็ดี, “พระ/วัด” ก็ดี ไม่ได้รับการเล่าบรรยายแบบเคร่งครัดตามขนบการเล่าเรื่องของความเป็นไทยทางการเลย ไม่มีนักรบที่วีระอาจหาญ, ไม่มีชัยชนะในสงคราม, ไม่มีข้าศึกตายเกลื่อนสนามรบ, มีแต่เรื่องปลุกใจที่ถูกล้อกลางคัน, บาดแผลของฝ่ายเรา, ทหารผ่านศึกที่สารภาพว่าตลอดการรบไม่คิดถึงชาติประเทศเลย คิดถึงแต่เมีย (แม่นาคได้ยินดังนั้นก็ดุพี่มากว่าไม่ควร - ซึ่งทำให้เบาลงและปลอดภัยต่อหูพนักงานเซ็นเซ่อร์ผู้รักชาติดี), วัดที่ไม่อาจเป็นที่พึ่งกันผีได้ (ไม่ใช่เขตอภัยทานอันศักดิ์สิทธิ์นะ), และพระที่กระโดดกำแพงก่อนญาติโยมเสียอีก 555, ยังไม่ต้องพูดถึงไฟที่ลุกลามล้อมพระพุทธรูปในอุโบสถ ฯลฯ
5.) ผีแม่นาคแม้น่ากลัว แต่ก็สวยชิบเป๋ง (สงสัยว่าสวยที่สุดในบรรดานางเอกที่เล่นเป็นแม่นาคที่เคยแสดงมาหรือเปล่า?) แม้จะทำหน้าดุดัน เหี้ยมเกรียม หลอกเอาบ้าง ขู่บ้าง แต่พูดให้ถึงที่สุด เป็นผี non-violence นะครับ ไม่ปรากฏหลักฐานว่าเธอฆ่าฟันหรือหลอกใครจนตาย, แม่ค้ายาดองขี้เมาที่จมน้ำตายขึ้นอืด ผีแม่นาคก็อธิบายว่าเมาตกน้ำเอง เธอไม่ได้ฆ่า, ชาวบ้านหวาดระแวงปั้นเรื่องกล่าวหาผีแม่นาคกันไปเองต่างหาก แม่นาคเวอร์ชั่นนี้จึงคล้ายไอ้ฟักในคำพิพากษาที่ตกเป็นจำเลยของชาวบ้านอย่างไม่มีทางแก้ตัว
แต่คำอธิบายอย่างมีเหตุผลของผีแม่นาคได้รับการสดับตรับฟังและโต้ตอบแลกเปลี่ยนที่ผิดขนบวัฒนธรรมแบบไทย ๆ ที่เคยปฏิบัติต่อผีมาในอดีต นำไปสู่จุดจบของเรื่องที่แปลกต่างออกไป ในระหว่างเสียงหัวเราะร่ากับตลก silly ของสี่สหาย, และน้ำตาที่เอ่อซึมออกมาเพราะซาบซึ้งใจในความรักข้ามโลกของคนกับผี (โดยเฉพาะของคนที่มีต่อผี ย้ำ - ความรักของคนที่มีต่อผี) ผมอดนึกถึงชะตากรรมของผีคอมมิวนิสต์สมัย 6 ตุลาฯ, ผีเสื้อแดงเผาบ้านเผาเมืองที่ราชประสงค์, และผี BRN ที่ชายแดนภาคใต้ไม่ได้
 

บล็อกของ เกษียร เตชะพีระ

เกษียร เตชะพีระ
มิจฉาทิฐิว่าด้วย“24 มิถุนาคือการรัฐประหารไม่แตกต่างจากครั้งอื่นๆ คือใช้อำนาจทหารล้มล้างการปกครองเช่นเดียวกัน” "ถ้าเอาวันประกาศเอกราช ก็เอาวันที่สมเด็จพระนเรศวรประกาศอิสรภาพจากพม่าสิ" และ "วันชาติคือวันรวมใจคนทั้งชาติ ในยุคสมัยผมใจพวกเราทุกดวงอยู่ที่ในหลวงก็ควรเอาวันที่ ๕ ธันวานี่ล่ะเหมาะที่สุด"
เกษียร เตชะพีระ
นายกฯ เทย์ยิบ เออร์โดกาน จากครอบครัวกรรมาชีพยากไร้ในอีสตันบูล สู่นักการเมืองประชาธิปไตยผู้ไต่เต้าขึ้นมาจากการเมืองท้องถิ่นในนครอีสตันบูล ต่อต้านอำนาจทหาร จนถึงผู้นำอำนาจนิยมที่รมประชาชนด้วยแก๊สน้ำตา เพื่อจะได้สร้างชอปปิ้ง มอลล์ขึ้นมาบนสวนสาธารณะ Gezi และ วิกฤตนี้จะจบอย่างไร?
เกษียร เตชะพีระ
...ในการปกป้องคุ้มครองสิทธิมนุษยชน คำถามสำคัญคือ ใครบ้างที่คุณนับเป็นมนุษย์? เราควรจะแบ่งแยกและเลือกปฏิบัติว่าจะปกป้องคุ้มครองสิทธิมนุษยชนของคน ๆ หนึ่งบนฐานศาสนา ชาติพันธุ์ จุดยืนทางการเมืองของเขา หรือไม่อย่างไร? ถ้าหากไม่เกิดคดีเอกยุทธ ยังจะมีใครคิดรื้อฟื้นดำเนินคดีทนายสมชายให้จบจริงหรือไม่?
เกษียร เตชะพีระ
..จะเอานายกฯคนโน้นแทน ก็จะไปเรียกเอาร้องเอาจากในหลวงโดด ๆ โดยไม่ฟังเสียงและไม่เคารพอำนาจอธิปไตยของคนไทย ๗๐ ล้านคนเลยได้ มิฉะนั้น ก็จะมีคนเปลี่ยนหน้า ม็อบเปลี่ยนหน้ากาก ไชยวัฒน์บ้าง สนธิบ้าง ชูวัดบ้าง สุทธิบ้าง หน้ากากขาวเขียวเหลืองชมพูน้ำตาลโกโก้กรมท่าน้ำเงินฟ้าสารพัดสี เข้าแถวเรียงรายผลัดกันขอนายกฯพระราชทานคนใหม่คนแล้วคนเล่าเอากับองค์พระประมุขไม่เว้นแต่ละวัน แล้วจะให้พระองค์ทรงทำอย่างไร?
เกษียร เตชะพีระ
อุตสาหกรรมยาและเทคโนโลยีชีวภาพสั่นสะเทือน: ศาลสูงสหรัฐฯพิพากษาห้ามจดสิทธิบัตรเหนือยีนส์มนุษย์ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ มันทำให้การที่ทุนนิยมจะยึดเอาพื้นที่ใหม่ในธรรมชาติระดับยีนส์และ DNA มาเป็นอาณานิคมใต้กรรมสิทธิ์ของตนมีอันสะดุดหยุดชะงักลงบ้าง
เกษียร เตชะพีระ
..นักเศรษฐศาสตร์มักไม่ค่อยชอบ “ล้วงกระเป๋า” แบบอัมมาร ด้วยเหตุผลว่าขาดประสิทธิภาพและเสียประโยชน์ส่วนรวม, ส่วนผมเห็นด้วยกับอาจารย์นิธิที่ท่านชอบ “ล้วงกระเป๋า” แบบนิธิ ด้วยเหตุผลว่าความเหลื่อมล้ำมีมากเหลือเกินในเศรษฐกิจไทยและโลก ควรต้องกระจายจากรวย --> จนให้เท่าเทียมเป็นธรรมยิ่งขึ้น
เกษียร เตชะพีระ
ประเด็นหัวใจของการสนทนาคือความสัมพันธ์อันซับซ้อนยอกย้อนระหว่าง คุณค่าทางสังคมวัฒนธรรม (socio-cultural values) กับ มูลค่า/ราคาทางเศรษฐกิจ (economic value/price) ขณะผู้ถามซักไซ้ไล่เลียงจากมุมมองและคำถามเชิงแนวคิดปรัชญาและสังคม ผู้ตอบอธิบายจากจุดยืนของความเป็นจริงทางเศรษฐกิจ(ทรัพยากรมีจำกัด สังคมต้องตัดสินใจเลือกใช้ให้คุ้มค่าที่สุด), ความรู้เท่าทันต่อกรอบ/ขีดจำกัด/และพลังของความรู้ทางเศรษฐศาสตร์, การดำรงอยู่ของเงื่อนไขทางสังคม/การเมืองที่ล้อมกำกับเศรษฐกิจและ เศรษฐศาสตร์, และชะตาจำต้องเลือกของการตัดสินใจใช้ทรัพยากรจากจุดยืนเศรษฐศาสตร์
เกษียร เตชะพีระ
นิธิอ่านสถานการณ์ปัจจุบัน: การลงร่องของกระฎุมพีไทย → ขีดจำกัดของการเคลื่อนไหวมวลชนภายใต้กระฎุมพีเสรีนิยมปัจจุบัน
เกษียร เตชะพีระ
หากเอาความคิดทางสังคมการเมืองของ อ.เสกสรรค์ระยะหลัง (ช่วง พ.ศ. ๒๕๔๐ เป็นต้นมา) ตามที่คุณพัชราภา ตันตราจินศึกษาค้นคว้าไว้ในหนังสือ ความคิดทางสังคมการเมืองของเสกสรรค์ ประเสริฐกุล (๒๕๕๖) มาวางไว้ในบริบทกระแสความคิดการเมืองปัจจุบันแล้วเปรียบเทียบกับแนวคิดของคู่ขัดแย้งหลักในสังคมการเมือง  ได้แก่ “แดง” (คือแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติและแนวร่วม) กับ “เหลือง” (คือพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยและแนวร่วม) แล้ว ก็จะพบว่า...
เกษียร เตชะพีระ
ประสบการณ์ทำนองนี้ของไทยเราเคยมีก่อนวิกฤตต้มยำกุ้ง ๒๕๔๐ เมื่อหมู่บ้านจัดสรร คอนโด อพาร์ทเมนต์ก่อสร้างขึ้นมาล้นเหลือเกินดีมานด์ของตลาดนับแสนหน่วย ต้องรออีกหลายปีกว่าจะขายหมด แต่นั่นมันหมู่บ้าน, คอนโด, อพาร์ทเมนต์ร้าง, ของจีนทุกวันนี้ไปไกลกว่านั้นมากคือเมืองทั้งเมืองที่สร้างขึ้นมาใหม่สำหรับ รองรับคนเป็นล้าน กลับร้าง รอคนมาอยู่ที่ไม่เคยมา อย่างที่เรียกว่า ghost cities หรือ เมืองผีหลอก...
เกษียร เตชะพีระ
“ก่อนอื่น ชื่อของฉันคือวิลเลม-อเล็กซานเดอร์ ฉันใช้เวลาตลอดชีวิต ๔๖ ปีเป็นวิลเลม-อเล็กซานเดอร์หรืออเล็กซานเดอร์ ฉันว่ามันแปลกที่จะต้องเลิกใช้ชื่อนั้นเพราะฉันเป็นกษัตริย์ ในอีกแง่หนึ่งคนเราก็ไม่ใช่ตัวเลขนี่นะ” - มกุฎราชกุมารวิลเลม-อเล็กซานเดอร์แห่งเนเธอร์แลนด์พระราชทานสัมภาษณ์ทางทีวีก่อนพระราชพิธีบรมราชาภิเษกสืบต่อจากสมเด็จพระบรมราชินีนาถบีอาทริกซ์
เกษียร เตชะพีระ
คิดอย่างนักเศรษฐศาสตร์ชั้นนำพระเจ้าข้า ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อมขอเดชะ....