Skip to main content

จงใจและมีจังหวะบอกกล่าวผู้ชมถึงการเปลี่ยนยุคภาษา, ตลกของเรื่องนี้ไม่ใช่ตลกไทยแบบเก่า, หนังเปลี่ยนขนบการเล่าเรื่อง “แม่นาค พระโขนง”, ไม่ได้รับการเล่าบรรยายแบบเคร่งครัดตามขนบการเล่าเรื่องของความเป็นไทยทางการเลย, ผีแม่นาคแม้น่ากลัว แต่ก็สวยชิบเป๋ง แม้จะทำหน้าดุดัน เหี้ยมเกรียม หลอกเอาบ้าง ขู่บ้าง แต่พูดให้ถึงที่สุด เป็นผี non-violence นะครับ แม่นาคเวอร์ชั่นนี้จึงคล้ายไอ้ฟักในคำพิพากษาที่ตกเป็นจำเลยของชาวบ้านอย่างไม่มีทางแก้ตัว

Kasian Tejapira(31/6/56)

 

บ่ายนี้ไปทำธุระด่วนกับครอบครัว เลยถือโอกาสไปเข้าคิวยาวเหยียดตีตั๋วดู “พี่มาก พระโขนง” ที่โรงหนังในศูนย์การค้าใกล้บ้านรอบสี่โมงเย็น ดูเสร็จก็ตลกดี ไม่เสียดายเงินเลย (ค่อนข้างต่างจากความรู้สึกเวลาเดินออกจากโรงเมื่อดูหนังไทยเรื่องอื่น ๆ และมีแง่คิดบางอย่างน่าเล่าต่อ.....
 
1.) คำสนทนาแทบจะประโยคแรกของหนัง สำนวนภาษาไทยสมัย ร.5 “....เพลา....” ทำเอาผมเตรียมเบื่อโดยอัตโนมัติ แต่แล้วตัวละครก็ขัดคอกันเองว่า “โบราณ” และเปลี่ยนเป็นภาษาจิ๊กโก๋ปัจจุบันไปตลอดเรื่อง นับว่าจงใจและมีจังหวะบอกกล่าวผู้ชมถึงการเปลี่ยนยุคภาษา นึกถึงหนังการ์ตูนของ Walt Disney/Dreamworks ที่หลัง ๆ นี้ไม่ว่ากี่เรื่องต่อกี่เรื่อง ตัวละครพูดสำเนียงเมกันด้วยแสลงนิวยอร์คเหมือนกันหมด
 
2.) ตลกของเรื่องนี้ไม่ใช่ตลกไทยแบบเก่า (ล้อต๊อก, สีเทา, สมพงษ์ พงษ์มิตร, จำรูญ หนวดจิ๋ม ฯลฯ) และก็ไม่ใช่ตลกเชิญยิ้มแบบที่รู้จักกันดี, แต่เป็นตลกวัยรุ่นร่วมสมัย ชนิดที่เพื่อนนักเรียนร่วมชั้น ม.ปลาย กับลูกสาวผมแซวและฮากันเล่นนั่นแหละ ส่วนใหญ่เป็นตลกแบบ silly ทื่อ ๆ (“พี่มากขา ๆ ๆ” แล้วก็ฉายภาพแมงป่อง ตะขาบ กิ้งกือขามากมายออกมา “นาคจ๋า” แล้วก็ฉายภาพตัวนากเป็น ๆ ออกมามั่ง)
 
3.) หนังเปลี่ยนขนบการเล่าเรื่อง “แม่นาค พระโขนง” ของหนังไทยอย่างที่คณะผู้สร้างผู้กำกับมาคุยแนะนำทางทีวี คือเปลี่ยนจากการเล่าด้วยมุมมองของแม่นาค, มาเป็นการเล่าด้วยมุมมองของพี่มากมั่ง แต่ร้ายกว่านั้น หนัง revise โครงเรื่องโดยเฉพาะตอนจบแบบไม่เกรงใจธรรมเนียมประเพณีเรื่องเล่าแม่นาคของไทยกันเลย ทำไมไม่จบแบบนี้ล่ะ? ก็จะให้จบแบบนี้อ่ะ? ไม่สมเหตุสมผลกว่าหรือ? ไม่กินใจกว่าหรือ? ต่อให้ไม่ธรรมชาติ (unnatural) และไม่ตรงตามธรรมเนียมคิดแบบไทย (ความเชื่อเรื่องผีและเรื่องพุทธ) (unThai) ก็ตาม 
 
ในแง่มุมนี้ นี่เป็นการริเริ่มลัทธิแก้ (revisionism) การเล่าเรื่องนิทาน/นิยายไทย ๆ ที่ radical, subversive ลึก ๆ มาก แต่ก็ “ปลอดภัย” ตามสมควร เพราะเป็นเรื่องเล่าของสามัญชนกับผี ไม่ใช่ของอำมาตย์หรือเจ้านาย การเสพรับเรื่องเล่าลัทธิแก้ (revisionist narrative) นี้จึงไม่ระคายคอ ราบรื่น กลมกล่อม คล่องคอพอควร อย่าว่าแต่มี humor เป็นผงชูรสซดลื่น ๆ คออย่างดี
4.) คล้ายจงใจคล้ายไร้เจตนา แต่ “สงคราม” ก็ดี (กำกวมพอสบายใจ เพราะคุณไม่เคยเห็นข้าศึกศัตรูเลย), “ชาติ/ชาตินิยม” ก็ดี, “พระ/วัด” ก็ดี ไม่ได้รับการเล่าบรรยายแบบเคร่งครัดตามขนบการเล่าเรื่องของความเป็นไทยทางการเลย ไม่มีนักรบที่วีระอาจหาญ, ไม่มีชัยชนะในสงคราม, ไม่มีข้าศึกตายเกลื่อนสนามรบ, มีแต่เรื่องปลุกใจที่ถูกล้อกลางคัน, บาดแผลของฝ่ายเรา, ทหารผ่านศึกที่สารภาพว่าตลอดการรบไม่คิดถึงชาติประเทศเลย คิดถึงแต่เมีย (แม่นาคได้ยินดังนั้นก็ดุพี่มากว่าไม่ควร - ซึ่งทำให้เบาลงและปลอดภัยต่อหูพนักงานเซ็นเซ่อร์ผู้รักชาติดี), วัดที่ไม่อาจเป็นที่พึ่งกันผีได้ (ไม่ใช่เขตอภัยทานอันศักดิ์สิทธิ์นะ), และพระที่กระโดดกำแพงก่อนญาติโยมเสียอีก 555, ยังไม่ต้องพูดถึงไฟที่ลุกลามล้อมพระพุทธรูปในอุโบสถ ฯลฯ
5.) ผีแม่นาคแม้น่ากลัว แต่ก็สวยชิบเป๋ง (สงสัยว่าสวยที่สุดในบรรดานางเอกที่เล่นเป็นแม่นาคที่เคยแสดงมาหรือเปล่า?) แม้จะทำหน้าดุดัน เหี้ยมเกรียม หลอกเอาบ้าง ขู่บ้าง แต่พูดให้ถึงที่สุด เป็นผี non-violence นะครับ ไม่ปรากฏหลักฐานว่าเธอฆ่าฟันหรือหลอกใครจนตาย, แม่ค้ายาดองขี้เมาที่จมน้ำตายขึ้นอืด ผีแม่นาคก็อธิบายว่าเมาตกน้ำเอง เธอไม่ได้ฆ่า, ชาวบ้านหวาดระแวงปั้นเรื่องกล่าวหาผีแม่นาคกันไปเองต่างหาก แม่นาคเวอร์ชั่นนี้จึงคล้ายไอ้ฟักในคำพิพากษาที่ตกเป็นจำเลยของชาวบ้านอย่างไม่มีทางแก้ตัว
แต่คำอธิบายอย่างมีเหตุผลของผีแม่นาคได้รับการสดับตรับฟังและโต้ตอบแลกเปลี่ยนที่ผิดขนบวัฒนธรรมแบบไทย ๆ ที่เคยปฏิบัติต่อผีมาในอดีต นำไปสู่จุดจบของเรื่องที่แปลกต่างออกไป ในระหว่างเสียงหัวเราะร่ากับตลก silly ของสี่สหาย, และน้ำตาที่เอ่อซึมออกมาเพราะซาบซึ้งใจในความรักข้ามโลกของคนกับผี (โดยเฉพาะของคนที่มีต่อผี ย้ำ - ความรักของคนที่มีต่อผี) ผมอดนึกถึงชะตากรรมของผีคอมมิวนิสต์สมัย 6 ตุลาฯ, ผีเสื้อแดงเผาบ้านเผาเมืองที่ราชประสงค์, และผี BRN ที่ชายแดนภาคใต้ไม่ได้
 

บล็อกของ เกษียร เตชะพีระ

เกษียร เตชะพีระ
จาก "บทอาเศียรวาทของมติชน" ถึง "กาแฟลวกมือของ "ทราย เจริญปุระ" สู้ "การิทัตผจญภัย" นิยายปรัชญาการเมืองที่ตอนหนึ่งกล่าวถึงลักษณะของชุมชนนครหนึ่ง ที่ "เจตนาของผู้พูดผู้แต่งไม่สำคัญ ยึดเอาการตีความของผู้อ่านผู้ฟังเป็นสรณะ แล้วตัดสินวินิจฉัยตามนั้นเลย"
เกษียร เตชะพีระ
คำอธิบายของสายการบินคาเธ่ย์ แปซิฟิคกรณีดำเนินการกับพนักงานที่โพสต์ข้อความในโซเชียลมีเดีย: ประเด็นไม่ใช่สีไหน แต่คือกระทำอะไร (Professionalism, not ideology, is the issue.) และตรรกะเบื้องหลังวิธีคิดและการกระทำสุดโต่งทางการเมือง
เกษียร เตชะพีระ
ข้ออ้างคำโตแค่ว่าตลาดข้าวหรือตลาดสินค้า/บริการด้านใดด้านหนึ่งเป็นระเบียบศักดิ์สิทธิ์ ห้ามรัฐยุ่งเกี่ยวแตะต้องสภาพดังที่เป็นอยู่ อันเป็นข้อถกเถียงแบบฉบับของเศรษฐศาสตร์เสรีนิยมกระแสหลักที่ระแวงการเมือง เกลียดรัฐแทรกแซง แบบตายตัวบ้องตื้นนั้น ฟังไม่ขึ้น มิพักต้องยกมากรอกหูอีกต่อไป
เกษียร เตชะพีระ
ไม่มีประชาธิปไตยแน่ ๆ คือสภาตรายางและการเลือกตั้งที่มีเก๊ทั้งนั้น หลังฉากจัดตั้งของพรรคคุมเข้มตลอด, ประชาชนลำบากเดือดร้อนก็หาทางประท้วงต่อต้านนโยบายรัฐลำบาก การรอนสิทธิเสรีภาพและสิทธิมนุษยชนของประชาชนหนักข้อมาก และไม่มีหลักนิติรัฐครับ ยืนยันได้ว่าไม่มี เพราะพรรคอยู่เหนือศาลและอยู่เหนือความพร้อมรับผิดทางการเมืองและกฎหมาย
เกษียร เตชะพีระ
ความสัมพันธ์อันมั่นคงยืนนานตั้งอยู่บนความรักโดยสมัครใจ ซึ่งกว่าจะได้มาก็ใช้เวลายาวนานในการปลูกสร้างสั่งสมจนเชื่อมั่นไว้วางใจกัน เพราะได้ช่วยเหลือเอื้อเฟื้อเกื้อกูลอุปถัมภ์กันในยามยากและยามคับขัน ให้อภัยกันในยามหลุดปากพลั้งมือผิดพลาดต่อกัน ต่างฝ่ายต่างเข้าใจว่าเราตั้งใจจะคงความสัมพันธ์นี้ต่อไปและเราจะอยู่ด้วยกันอย่างยาวนานได้ก็ด้วยการปฏิบัติต่อกันเยี่ยงนี้
เกษียร เตชะพีระ
"..ทุกสังคมมีพลังฝ่ายขวา ผมอยากให้เขาอยู่และรวมกลุ่มต่อสู้รณรงค์ในระบอบรัฐสภาครับ ถึงตอนนั้นเป็นไปได้ว่าเขาจะมีข้อเสนอเชิงนโยบายที่เข้มแข็งกว่านี้ แต่ตอนนี้เขากลายเป็น outlet สำหรับสารพัดความอึดอัดไม่พอใจรัฐบาล แต่ไม่รู้จะสู้ในระบบอย่างไร.."
เกษียร เตชะพีระ
วิธีคิดที่เหมารวมการวิพากษ์วิจารณ์ทุกอย่างว่าเป็น hate speech นั้นไม่ต่างจากวิธีคิดของคนจำนวนมากในสังคมไทยต่อกฎหมายม. ๑๑๒ คือไม่สามารถแยกแยะระหว่าง วิพากษ์วิจารณ์ กับ ดูหมิ่น หมิ่นประมาท อาฆาตมาดร้าย เลย ถ้าเราเริ่มคิดแบบนั้น เราก็กำลังเดินตรรกะเดียวกับผู้จงรักภักดีที่ไม่อาจแยกแยะแบบนั้นได้ น่าแปลกใจไหมครับ?
เกษียร เตชะพีระ
ตกลงประชาชนมีดุลพินิจถ่องแท้เที่ยงธรรม หรือ อ่อนเปราะพลิ้วไหวถูกคนอื่นชักจูงให้รังแกข่มเหงคนอื่นด้วยอคติกันแน่?
เกษียร เตชะพีระ
บางทีที่น่ากลัวที่สุดไม่เพียงแต่เป็น hate speech แต่รวมทั้ง love speech ด้วย อะไรที่สุดโต่งและไม่ฟังไม่ยับยั้งชั่งใจ คิดว่า สิ่งนี้ สำคัญ กว่าชีวิตคน น่ากลัวทั้งนั้น ไม่ว่ามันจะมาในนามอะไร? ความจงรักภักดี, สิทธิเสรีภาพ, ประชาธิปไตย, สิ่งศักดิ์สิทธิ์ คำเหล่านี้ใช้เป่าคาถาฆ่าคนมาแล้วทั้งนั้น ไม่มีคำไหนไม่เปื้อนเลือด คำถามจึงไม่ใช่แค่กำจัดคำ แต่จะทำอย่างไรให้เงื่อนไขการใช้คำฆ่าคน น้อยลง
เกษียร เตชะพีระ
..ในสังคมสาธารณ์ที่ความเชื่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ถูกบ่อนทำลายลงจากความรู้สมัยใหม่ทางวิทยาศาสตร์ทุกวี่วัน พื้นที่ศักดิ์สิทธิ์กลับเพิ่มพูนขยายตัวออกไปเรื่อย ๆ และในทางกลับกัน พื้นที่เหล่านั้นก็กลับสาธารณ์หรือเสื่อมความศักดิ์สิทธิ์ลงทุกทีเหมือนกัน..
เกษียร เตชะพีระ
คนเพิ่งอพยพจากชนบทเข้าเมืองไม่มีชื่ออยู่ในทะเบียนสำมะโนครัวประชากรทางการ ทำให้เข้าถึงบริการพื้นฐานของรัฐ เช่น น้ำประปา, สาธารณสุข, โรงเรียน ยาก คนที่รายได้ไม่เข้าเกณฑ์ทางการ (ต่ำไม่พอ) ทำให้ไม่มีสิทธิ์ลงชื่อในทะเบียนคนจน ก็เลยพลอยไม่ได้สวัสดิการสำหรับคนจนของรัฐไปด้วย
เกษียร เตชะพีระ
...สันติวิธีหรือปฏิบัติการไม่รุนแรงเป็นวิธีการต่อสู้ที่มีประสิทธิภาพไม่น้อยกว่าความรุนแรง และมีคุณค่าทางจริยธรรมในตัว สมควรได้รับการพิจารณาสำหรับผู้ต้องการต่อสู้ทางการเมือง ไม่ว่าเพื่อเป้าหมายใดก็ตาม