Skip to main content
 
เช้าวันเสาร์ที่ ๒๗ ก.ค. ศกนี้ ที่กรุงไคโร
ทหารแม่นปืนอียิปต์ยิงผู้ชุมนุมสนับสนุนประธานาธิบดีมอร์ซีซึ่งส่วนใหญ่เป็นสมาชิกกลุ่มภราดรภาพมุสลิมที่ชุมนุมรอบสุเหร่ากลางกรุงไคโรอย่างโหดเหี้ยม มีผู้เสียชีวิต ๗๒ คน บาดเจ็บหลายร้อย การยิงมุ่งฆ่าให้ตาย (ยิงเข้าหัวนัดเดียว) ไม่ใช่ยิงให้บาดเจ็บ การฆ่าหมู่ของกองทัพเพื่อบดขยี้กลุ่มภราดรภาพมุสลิมให้สยบยอม ด้วยข้ออ้าง "ม็อบชนม็อบ" เริ่มขึ้นแล้ว นับเป็นการฆ่าหมู่ผู้ชุมนุมโดยกองทัพครั้งที่ ๒ ใน ๓ สัปดาห์ และนับเป็นครั้งนองเลือดที่สุดนับแต่การลุกฮือโค่นมูบารัคปี ๒๐๑๑ เป็นต้นมา
(ภาพประกอบจาก New York Times & BBC)
 
บทวิเคราะห์เรื่องนี้ของผมถึงเงื่อนไขความเป็นไปได้ของการปราบปรามด้วยความรุนแรงเป็นหลักเมื่อเทียบกรณีอียิปต์ปัจจุบันกับไทยหลังรัฐประหาร ๒๕๔๙ อยู่ด้านล่างครับ.....
 
 
กองทัพที่ไม่มีชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ vs. มวลชนมุสลิมที่อียิปต์
 
 
มีความต่างที่น่าสนใจนำมาเปรียบเทียบบางประการในความขัดแย้งทางการเมืองเรื่องรัฐประหารโดยกองทัพ ระหว่างเมืองไทย เมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๙ กับอียิปต์ในปีปัจจุบัน ๒๕๕๖
 
๑) กองทัพอียิปต์ค่อนข้างโล้นเลี่ยงเตียนโล่งความชอบธรรมทางอุดมการณ์เมื่อเทียบกับกรณีไทย กล่าวคือ
 
- อียิปต์ไม่มีสถาบันกษัตริย์ (ถูกคณะทหารนำโดยนัสเซอร์โค่นไปแต่หลังสงครามโลกครั้งที่สอง)
 
- กองทัพอียิปต์เสียธงชาตินิยมไปนานแล้ว เพราะเดินตามประธานาธิบดีนายพลซาดัตกับมูบารัค คืนดีกับอิสราเอล (ศัตรูของชาติอาหรับ เคยรบชนะกองทัพอียิปต์ที่แพ้อย่างหมดท่า) จับมือรับเงินและอาวุธช่วยเหลือจากอเมริกาทุกปีสืบมาจำนวนมหาศาล
 
- ยังไม่ต้องพูดถึงว่ากองทัพกลายเป็นอภิสิทธิ์ชนกุมทุนทำธุรกิจเป็นทุนอำมาตย์อภิสิทธิ์ใหญ่โตมโหฬารในประเทศด้วย จนกล่าวได้ว่ากองทัพอียิปต์มีวิกฤตเอกลักษณ์นานปี ไม่รู้ว่าตั้งขึ้นมารบอะไร รบกับใคร เพราะคืนดีกับศัตรูหมด เอาแต่ทำมาค้าขายหาเงินท่าเดียว อ้อ และไล่จับไล่ปราบฝ่ายค้านเผด็จการอย่างโหดเหี้ยมทารุณมาตลอดด้วย
 
กองทัพอียิปต์จึงไม่มีธงสถาบันพระมหากษัตริย์และธงชาตินิยมและธงความเป็นธรรม/เสมอภาคทางเศรษฐกิจสังคมให้โบกนำมวลชน
(ภาพประกอบจาก New York Times & BBC)
 
๒) ในแง่ศาสนา ความชอบธรรมอยู่กับพลังฝ่ายค้านคือกลุ่มภราดรภาพมุสลิม ที่เป็นองค์การอิสลามยืนนานและใหญ่โตที่สุดในอียิปต์มานานปีตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่สอง (น่าจะใหญ่โตที่สุดในโลกอาหรับด้วยซ้ำ) ฐานมวลชนของกลุ่มภราดรภาพนี้แหละที่โหวตส่งมอร์ซีให้ได้รับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดี และได้อำนาจรัฐปันส่วนจากมอร์ซีมา
 
เมื่อมอร์ซีถูกโค่น พวกเขาจึงกลายเป็นฐานมวลชน (เสื้อแดง?) ฝ่ายค้านทีเข้มแข็งเหนียวแน่นมาก ยึดสุเหร่ากลางไคโรประท้วงเรียกร้องให้ปล่อยตัวและคืนอำนาจประธานาธิบดีแก่มอร์ซีโดยไม่กลัวเจ็บกลัวตาย (ไปหลายสิบคนแล้ว เพราะทหารยิงเอา ส่งม็อบมาตีเอา ไม่ยั้ง)
 
ความชอบธรรมเชิงศาสนาและการเลือกตั้งแบบประชาธิปไตยจึงอยู่กับมวลชนฝ่ายค้าน ขณะที่กองทัพและมวลชนต้านมอร์ซีไม่มีธงศาสนาให้ชู ถ้าจะมีให้ชูได้ก็แต่ธงเสรีนิยมในฐานะที่มอร์ซีปกครองแบบประชาธิปไตยอำนาจนิยม/ประชาธิปไตยไม่เสรีกดขี่ลิดรอนสิทธิเสรีภาพของศาสนิกต่างศาสนา (ชาวคริสต์นิกายคอพติค) แรงงาน และคนชั้นกลาง รวมทั้งริบรวบอำนาจจากชนชั้นนำกลุ่มอื่น เช่น ศาล, ทหาร เท่านั้น
 
ฐานมวลชนใหญ่โตเข้มแข็งยืนนานมั่นคงมีศาสนาหลักรองรับแบบกลุ่มภราดรภาพมุสลิมนี้ ในกรณีไทย คุณทักษิณ ณ พรรคไทยรักไทยก็ไม่มี ฐานมวลชนเสื้อแดงเพิ่งมาสร้างขึ้่นไม่กี่ปีหลังโดยส่วนใหญ๋เกิดหลังรัฐประหารด้วยซ้ำ ระดับความใหญ่โตเข้มแข็งมั่นคงยืนนานชอบธรรมจึงต่างจากกลุ่มภราดรภาพมุสลิมมาก
(ภาพประกอบจาก New York Times & BBC)
 
๓) ในทางกลับกัน กองทัพอียิปต์ก็มีบางอย่างที่กองทัพไทยไม่มี คือฐานทุนฐานธุรกิจแบบอภิสิทธิ์หยั่งลึกใหญ่โตนานปีของกองทัพเอง สามารถระดมเงินทุนจากกระเป๋ากองทัพเองมาจ้างม็อบอันธพาลไล่ตีหัวฝ่ายค้านได้ง่ายมาก
 
และเช่นกัน คุณทักษิณกับเครือข่ายก็มีบางอย่างที่กลุ่มภราดรภาพมุสลิมไม่มีมากเท่า คือเงินทุนฐานธุรกิจใหญ่โต ที่ใช้มาจุนเจือสนับสนุนมวลชนเสื้อแดงของตนได้นานปีทั้งระหว่างเลือกตั้งและชุมนุมเคลื่อนไหวเช่นกัน
(ภาพประกอบจาก New York Times & BBC)
 
๔) ในสภาพดังกล่าว การต่อสู้ทางการเมืองระหว่างกองทัพกับกลุ่มภราดรภาพมุสลิมในอียิปต์จึงน่าจะดุเดือดรุนแรงนองเลือดมาก เพราะไม่มีอุดมการณ์ความชอบธรรมใด ๆ ที่กองทัพจะสามารถใช้สะกดกล่อมฝ่ายค้านให้สงบยอมเลย มีแต่ความรุนแรง กระสุนปืน และม็อบชนม็อบเท่านั้น

บล็อกของ เกษียร เตชะพีระ

เกษียร เตชะพีระ
เราอยู่ในสังคมการเมืองที่มากไปด้วยมรดกของการใช้อำนาจรัฐปิดปากฝ่ายค้านและผู้มีความเห็นต่างไม่ให้ออกสื่ออิเล็กทรอนิกส์เป็นปกติธรรมดามานานปี ดังนั้นเมื่อมีการระงับออกรายการ ไม่ว่าด้วยเหตุผลกลใด (เหนือเมฆ, คนค้นคนตอนศศิน, ฯลฯ) เราจึงคิดแบบแทบจะอัตโนมัติ/เป็นสัญชาตญาณเลยว่า "รัฐบาล", "หน่วยราชการ", "นักการเมือง" แทรกแซงให้แบนอีกแล้ว...
เกษียร เตชะพีระ
แย้งคุณสมเกียรติ อ่อนวิมล: เส้นแบ่งพรรคการเมืองทางรัฐศาสตร์ที่สำคัญคือเป็นพรรคมวลชน (mass party) หรือพรรคชนชั้นนำ (elite party) ไม่ใช่เกณฑ์หละหลวมว่าเป็นพรรคที่ "เกิดและเติบโตจากประชาชน" หรือไม่
เกษียร เตชะพีระ
รวม 15 เรื่องราวการเหยียดเชื้อชาติของคนต่างชาติในเยอรมนี
เกษียร เตชะพีระ
ท่ามกลางข่าวกลุ่มผู้เคร่งศาสนาอิสลามชาวอินโดนีเซียประท้วงการจัดประกวดมิสเวิลด์ประจำปีนี้ที่ประเทศของตน จนทางผู้จัดต้องปรับลดรายการ งดให้ผู้เข้าประกวดนานาชาติใส่ชุดบิกินีแต่ให้ใส่โสร่งบาหลีแทนและยังถูกรัฐบาลอินโดนีเซียสั่งย้ายสถานที่จัดงานจากกรุงจาการ์ตาไปเกาะบาหลีซึ่งคนส่วนใหญ่เป็นชาวฮินดู  ก็มีการประกวดนางงามเวอร์ชั่นอิสลามอย่างถูกต้องตามหลักศาสนาที่จาการ์ตาด้วยเหมือนกัน!
เกษียร เตชะพีระ
โลกาภิวัตน์สะดุดลัทธิคุ้มครองการค้า (Protectionism): รัฐบาลนานาชาติทั่วโลกวางมาตรการคุ้มครองการค้าใหม่ถึง ๑๕๔ มาตรการในชั่วปีเดียว!
เกษียร เตชะพีระ
ทำความรู้จัก 'เทเรซ่า ฟอร์คาดส์' แม่ชีคาทอลิกชาวสเปน  ปัญญาชนสาธารณะฝ่ายซ้ายที่ทรงอิทธิพลที่สุดคนหนึ่งของยุโรป คนหลายพันพากันเข้าร่วมขบวนการต่อต้านทุนนิยมของเธอซึ่งรณรงค์ให้แคว้นคาตาโลเนียเป็นอิสระ กับนโยบาย ๑๐ ข้อซึ่งเธอกับนักเศรษฐศาสตร์ อาร์คาดี โอลีเวเรส ช่วยกันร่างขึ้น
เกษียร เตชะพีระ
"ในโลกซังกะบ๊วยแบบที่เราอยู่ปัจจุบัน มีการรณรงค์ที่สำคัญกว่าที่เราทำในเงื่อนไขสถานที่ที่เราอยู่เสมอ ประเด็นจึงไม่ใช่หยุดหรือสละการต่อสู้เฉพาะที่เพื่อเห็นแก่เรื่องสำคัญ/ใหญ่กว่า แต่คือฟังกัน เห็นอกเห็นใจกัน เคารพกัน ขยายสร้างความเข้าใจเรื่องเล็กเรื่องใหญ่ให้แก่กัน หาทางหนุนช่วยเชื่อมโยงกันบนฐานความเข้าใจจุดร่วมและความเชื่อมโยงที่มีอยู่จริงของปัญหาซึ่งกันและกัน" 
เกษียร เตชะพีระ
ว่าด้วยความสัมพันธ์ทางอำนาจระหว่างฝ่ายต่าง ๆ ในมหาวิทยาลัย และระหว่างพื้นที่สิทธิกับอำนาจบริหาร กับกรณี "อั้ม เนโกะ" กับ "4 ภาพ sex" ต้าน "บังคับแต่งชุด นศ.มธ."
เกษียร เตชะพีระ
สมาคมผู้พิพากษาแห่งชาติได้ขออภัยที่ไม่ได้ปกป้องคุ้มครองพลเมืองชิลีในโอกาสระลึก ๔๐ ปีนับแต่รัฐประหารที่นำปิโนเช่ต์ขึ้นสู่อำนาจ
เกษียร เตชะพีระ
วิวัฒนาการความสัมพันธ์ระหว่างสถาบันกษัตริย์กับชาตินิยม ตั้งแต่ ขั้นการปฏิวัติชาตินิยมในคริสตศตวรรษที่ ๑๘, ขั้นการปรับตัวทางการเมืองของสถาบันกษัตริย์เป็นอยู่ใต้รัฐธรรมนูญและราชาชาตินิยมในคริสตศตวรรษที่ ๑๙ และ ๒๐, ขั้นการปรับตัวทางวัฒนธรรมของสถาบันกษัตริย์เป็นแบบกระฎุมพีในคริสตศตวรรษที่ ๒๐ และขั้นสถาบันกษัตริย์ในยุควัฒนธรรมสื่อทีวีมหาชนปัจจุบัน
เกษียร เตชะพีระ
.. Honi Soit ลงพิมพ์ปกรูปอวัยวะเพศของหญิง ๑๘ คนเพื่อแสดงให้เห็นว่ามันมีความหลากหลายแตกต่างเป็นปกติธรรมดา ไม่ได้เป็นและไม่จำต้องเป็น "วงขา" อุดมคติอย่างในหนังโป๊เปลือยทั้งหลาย จึงเป็นย่างก้าวสำคัญในการเตะสกัดกระบวนการทำอวัยวะผู้หญิงให้เป็นสินค้าในตลาดทุนนิยม ก่อนมันจะรุกคืบหน้าจากวงแขนลงไปข้างล่าง..