Skip to main content

ใครจะไปรู้ว่าเทคโนโลยีบางอย่างจะทำให้เราไม่พลาดการสื่อสารที่สำคัญได้จริงๆ เรื่องเกิดเมื่อวันหนึ่ง, ขณะที่ผมกำลังออนไลน์โปรแกรมแชทยอดนิยมนั้น พี่ต้าร์ (วันเฉลิม สัตย์ศักดิ์สิทธิ์ แห่งกลุ่ม Y-ACT) ก็ได้เข้าโปรแกรมออนไลน์ MSN จากในค่ายแห่งหนึ่ง ณ สวนแสนปาล์ม นครปฐม ซึ่งเป็นการอบรมนักศึกษาอาชีวศึกษากว่า 30 สถาบัน
 
“อยากดูป่ะ” พี่ต้าร์ถามและได้เปิดโปรแกรมวิดีโอออนไลน์ขึ้นมา
ผมตอบว่าอยาก – สักพัก ภาพเคลื่อนไหวของเพื่อนๆ พี่ๆ ได้ปรากฏออกมา และมีภาพของเพื่อนๆ เยาวชนที่เข้าร่วมค่ายกำลังทำกิจกรรมอย่างสนุกสนาน

20080320 การอบรมนักศึกษาอาชีวศึกษากว่า 30 สถาบัน

ผมถามพี่ต้าร์ว่ามาทำอะไรกัน?
พี่ต้าร์ บอกว่า “วันนี้น้องอาชีวะกว่า สามสิบสถาบัน จากกลุ่มโรงเรียน จตุจักร ชัยสมรภูมิ ธนบุรี และสวนหลวง ร.9 ได้มาจัดกิจกรรมโครงการ คาราวานความดี อาชีวศึกษาพัฒนาสังคม ซึ่งจะอบรมกันสามวันเลยนะ จากวันที่ 4 ถึงวันที่ 6 มีนาคม เลยแหละคุณเต้า”  

“นี่มันน่าสนุกมากๆ เพราะว่าน้องๆที่มาจากโรงเรียนต่างๆ ล้วนแต่เป็นคนที่คิดโครงการดีๆ ที่จะไปทำเพื่อพัฒนาสังคม”

ไม่ทันได้ถามต่อพี่ต้าร์ก็เล่ามาอย่างตื่นเต้น “วันนี้น้องๆ มีโครงการที่จะได้รับการสนับสนุนจาก สำนักงานส่งเสริมสวัสดิภาพและพิทักษ์เด็ก เยาวชน ผู้ด้อยโอกาส คนพิการและผู้สูงอายุ โครงการละ สองหมื่นบาท กว่า สี่สิบโครงการ มีเด็กๆ กว่า แปดสิบคน นี่แหละ คือพลังสังคมต่อๆไป และที่สำคัญ มีคุณครูกว่าสี่สิบคนที่เป็นที่ปรึกษาโครงการมาร่วมด้วย”
    
แถมย้ำท้ายด้วยว่า “เห็นมั้ยว่านี่แหละคือพลังในการขับเคลื่อนสังคม ในระดับรากหญ้าเลยทีเดียวและที่สำคัญ โครงการของน้องๆ ล้วนเกี่ยวกับวิชาชีพอาชีวศึกษา ที่น้องๆร่ำเรียนกันมา”
     
ผมตื่นเต้นและถามว่ามีโครงการอะไรที่น้องๆ ทำบ้าง? พี่ต้าร์จึงได้ยกตัวอย่างโครงการของเพื่อนอาชีวะโครงการหนึ่ง ชื่อว่า “คืนความสุขให้น้อง” ที่โรเรียนมีนบุรีโปลีเทคนิค เป็นโครงการที่จะจัดกิจกรรมกับเด็กๆ ในชุมชนสุเหร่าคลองหนึ่ง โดยจะจัดเตรียมอุปกรณ์และจัดสร้างเครื่องเล่นให้กับชุมชน
     
เพื่อนๆ เจ้าของโครงการบอกว่า ปัญหาในชุมชนมีอยู่มาก เด็กๆมักจะเล่นเกมและใช้ยาเสพติด น้องๆเห็นว่านี่เป็นปัญหาสำคัญ เลยอยากแก้ไขปัญหา เลยจะไปสร้างสนามเด็กเล่น เพื่อให้เป็นสถานที่ออกกำลังกายและสวนเด็กเล่น ที่จะอยู่ในชุมชน เพื่อให้อยู่ใกล้ชิดกับผู้ปกครองและสร้างสัมพันธ์ให้คนในชุมชน
     
ผมและพี่ต้าร์ต่างออกเสียง “วู้ว์” พร้อมๆ กันในการสนทนา และผมคิดก็ในใจว่าจะถามความรู้สึกของครูที่ดูแลเป็นพี่เลี้ยงในค่ายว่าเขาคิดยังไง...
    
ไม่ทันได้ถามพี่ต้าร์ก็บอกว่า เมื่อบ่ายหลังกิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์ คุณครูจำนวนหนึ่งได้มานั่งคุยกันกับทีมงาน ถึงบทบาทในการเป็นพี่เลี้ยงที่ปรึกษา ให้กับน้องเยาวชนกลุ่มนี้หลังจากที่แนะนำตัว ก็ได้บอกเล่าความคาดหวังของครูกว่าสี่สิบคนที่มาร่วมค่ายกันในครั้งนี้
     
เช่น  “ผมมีความหวัง ความฝันว่า อยากให้นักเรียนได้แลกเปลี่ยนความคิด เพื่อให้เค้าสามารถใช้ความรู้ความสามารถที่ตนเองมีไปใช้เพื่อบริการชุมชน เพื่อที่ตนเองจะได้มีประสบการณ์และทำประโยชน์กับชุมชน ทำให้ชุมชนเห็นประโยชน์”

หรือ “อยากให้เด็กและเยาวชนใช้ความรู้ของตัวเองช่วยเหลือสังคม”
หรือ “เค้าจะได้นำความรู้ไปพัฒนาต่อ จากการที่มาร่วมกิจกรรม”
หรือ “อยากให้นักเรียนอาชีวศึกษา รู้จักกันเพื่อพัฒนาเป็นเครือข่าย เป็นพี่น้องกันและร่วมกันแก้ไขปัญหาสังคมในอนาคต”
หรือ “อยากให้เด็กรู้จักกัน มีการรวมตัวกันสร้างกลุ่ม เพื่อพัฒนาไปถึงเป้าหมายของตนเอง”    
หรือ “เกิดความร่วมมือระหว่างสถาบัน สร้างความรู้จักส่งเสริมให้เด็กทำงานเป็นทีม และพัฒนาให้เป็นความร่วมมือระหว่างสถาบัน เกิดการประสานเชื่อมโยงกัน”
หรือ “อยากให้กิจกรรมที่นักเรียนทำ นักเรียนทำด้วยความสุข เกิดจากการวางแผน คิด และดำเนินการของเด็กเอง นำความรู้ออกไปสู่สังคมได้”
หรือ “สังคมได้รับสิ่งดีๆ คุ้มค่า จากการทำกิจกรรมของเด็ก และสิ่งที่เค้าน่าจะได้รับกลับมาคือคุณค่าของตนเอง และความภาคภูมิใจในตัวของเด็กและเยาวชนเอง”

ผมได้รับรู้ถึงสิ่งที่พี่ต้าร์เล่าแล้วทำให้คิดไปไกลถึงกระบวนการพัฒนาเยาวชนของประเทศเราที่มักจะเอาเด็กมาลงโทษด้วยการจำกัดสิทธิบางอย่าง แต่ไม่ได้บอกเด็กในฐานะทรัพยากรสำคัญของสังคม ซึ่งกระบวนการส่งเสริมให้เด็กและเยาวชนได้ทำกิจกรรมสร้างสรรค์ตามที่ตัวเองต้องการและมีส่วนร่วมน่าจะเป็นอีกมิติหนึ่งที่คนทำงานด้านนี้ควรจะรับไปพัฒนาให้เกิดในกลไกของตนอย่างจริงจัง
    
ในขณะที่พิมพ์เรื่องนี้อยู่ ผมก็เปิดโปรแกรมแชทขึ้นมาอีกครั้ง ปรากฏว่าพี่ต้าร์ออกจากโปรแกรมแชทนี้ไปเสียแล้ว เหลือไว้แค่เพียงเรื่องราวที่ได้เล่ามาเป็นช๊อตๆ ให้ผมได้รับรู้

ผมไม่รู้ว่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ณ ค่ายอบรมจะเป็นอย่างไรต่อไป หากเพียงผมเห็นอนาคตที่ดีของประเทศไทยอยู่กลายๆ.....

บล็อกของ กิตติพันธ์ กันจินะ

กิตติพันธ์ กันจินะ
จากที่ข้อเขียนเรื่องเพศวิถีมีชีวิตทั้งหมดที่ได้กล่าวมานั้น ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง การวางความคิด เรื่องการเปิดใจคุยเรื่องเพศของตนเอง เรื่องความหลากหลายในรักและความสัมพันธ์ ความรักต่างเพศนิยม เรื่องกระแสสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป สิ่งต่างๆ เหล่านี้เป็นความพยายามที่จะมาสรุปในตอนท้ายของบทความนี้ว่า หากเราจะคุยเรื่องเพศวิถีจากมุมมองภายในจากชีวิตของเรานั้น เพื่อสร้างให้เกิดการเปลี่ยนแปลงจากภายในตัวเอง อะไรที่เป็นความท้าทายที่จะนำไปสู่การจุดประกายให้แต่ละคนได้กลับมาสำรวจ ตั้งคำถาม และสร้างการเรียนรู้เรื่องต่างๆ เหล่านี้ได้โดยอาศัยทั้งปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอกของแต่ละคน
กิตติพันธ์ กันจินะ
โลกเปลี่ยนแปลงไปทุกขณะ ความสัมพันธ์ทางเพศของมนุษย์มีหลากหลายรูปแบบมากขึ้น ในสังคมสมัยก่อน เช่น ในภาคเหนือ การจีบสาวของคนล้านนาจะมีการค่าว (คล้ายลำตัดของภาคกลาง) ตอบโต้กันไปมา การจีบกันต้องให้เกียรติผู้หญิงเป็นคนเลือกคู่ หรือหากจะแต่งงานก็ต้องมีการใส่ผี คือการวางเงินสินสอดจากฝ่ายชายเพื่อบอกกับผีปู่ผีย่าของฝ่ายหญิงให้ทราบว่าจะคบกันแบบสามีภรรยา
กิตติพันธ์ กันจินะ
ความคิด ความเชื่อเรื่องเพศที่หล่อหลอมเรามาว่า ควรมีชายกับหญิงเท่านั้นที่คู่กัน สิ่งนี้เป็นความคิด ความเชื่อที่ฝังหัวเรามาตลอดจนเราไม่ได้ตั้งคำถามกับตัวเองเลยว่าทำไมเราจึงต้องรักเพศตรงข้าม และการที่เรารักเพศเดียวกันนั้นจะเป็นอีกทางเลือกหนึ่งไม่ได้เชียวหรือ
กิตติพันธ์ กันจินะ
สำหรับชีวิตส่วนตัวแล้ว ผมเป็นวัยรุ่นคนหนึ่งที่เติบโตมาท่ามกลางการเลี้ยงดูของแม่และพี่ๆ ที่ส่วนใหญ่แล้วเป็นผู้หญิง เห็นการทำงานของผู้หญิงที่ “ศูนย์เพื่อน้องหญิง” จ.เชียงราย เห็นความเข้มแข็งในการทำงานของแม่ของพี่ๆ แต่ละคนแล้ว ทำให้ผมเห็นว่าความเป็นหญิง ความเป็นชาย แท้จริงแล้ว ทุกคนก็สามารถทำอะไรได้เหมือนกัน แต่ทว่าการเลี้ยงดูหล่อหลอมของสังคมกลับบอกว่าแบบนี้ผู้หญิงควรทำ แบบนี้ผู้ชายควรทำ
กิตติพันธ์ กันจินะ
เปิดใจเรียนรู้ประสบการณ์ภายในตน ผมเริ่มต้นทำงานในประเด็นเรื่องเพศ ตอนอายุน้อยๆ จากวันนั้นมาวันนี้ ระยะเวลาหลายปี ที่อยู่บนเส้นทางนี้ได้เจออะไรหลายอย่าง ได้เรียนรู้ ประสบการณ์ทำงานมากมาย ไม่ว่าจะเป็นบทบาทหน้าที่ใด ความรับผิดชอบแบบไหน องค์กรระดับชุมชนหรือเครือข่ายก็ตาม งานต่างๆ เหล่านี้ทำให้ได้ทำประโยชน์ต่อตนเองและคนอื่นไปพร้อมๆ กัน ผมไม่อาจเรียกตัวเองได้อย่างเต็มปากว่าเป็นคนทำงานเพศวิถี เพราะเข้าใจว่าเรื่องเพศวิถีนี้มีอะไรหลายอย่างที่ต้องทำความเข้าใจอย่างลึกซึ้ง และไม่อาจจะบอกได้ว่าตัวเองเป็นนักพัฒนาสังคม เพราะบ่อยครั้งก็ยังมีคำถามเกิดขึ้นมากมายกับตัวเองว่าที่ว่าเป็นนักพัฒนาสังคมนั้น…
กิตติพันธ์ กันจินะ
หายไปเสียนานกับบ้าน “หนุ่มสาวสมัยนี้” เพราะต้องทำงานโครงการป้องกันเอดส์ และเพศศึกษากับเพื่อนๆ เยาวชนในหลายๆ ภาค ทำให้เวลาในการเขียนขีดมีน้อยกว่าเมื่อก่อน ทว่าตอนนี้ก็สามารถจัดการเวลากับตัวเองได้ลงตัวมากขึ้นทำให้ชีวิตมีความสมดุลมากขึ้นทีเดียว
กิตติพันธ์ กันจินะ
อุ่นใจ บัว เขาเสยผมที่ยาวประ่บ่าแล้วรวบไว้ด้านหลังเบาๆ พลางเอื้อมมือดันเพื่อปิดประตูห้องหมายเลข 415 วันนี้เป็นวันที่เขาต้องขนย้ายข้าวของและสัมภาระต่างๆ กลับบ้านที่ต่างจังหวัด หลังจากเมื่อสี่ปีที่แล้ว เขาเดินทางออกจากบ้านเพื่อย้ายมาอยู่ที่กรุงเทพฯ อย่างเต็มตัว สี่ปีที่ผ่านมามีเรื่องราวต่างๆ เกิดขึ้นมากมาย เขากำลังนึกถึงภาพของความหลังครั้งอดีต โดยเฉพาะความหลังที่เกิดขึ้นภายในห้องพักที่อยู่เบื้องหน้า หนึ่งในเรื่องราวที่ผุดขึ้นมาในม่านความคิดของเขาก็คือเรื่องของความสัมพันธ์ระหว่างเขากับหญิงสาวห้าคน
กิตติพันธ์ กันจินะ
  กิตติพันธ์ กันจินะ -1-วันอาทิตย์สัปดาห์นี้ผมน้อมนำกายไว้ที่กรุงเทพฯ เพราะไม่มีเรี่ยวแรงจะกลับเชียงรายเลย และอยากให้วันอาทิตย์นี้เป็นของขวัญแก่ตัวเองในการพักผ่อน หยุดขยับเรื่องงาน และเอาใจมาคิดถึงเรื่องด้านในของตัวเองด้วย เช้าตรู่ของวันอาทิตย์นี้ ผมตื่นนอนตามปกติ ไม่สายและไม่เช้าจนเกินไป และอยู่ๆ ก็คิดขึ้นได้ว่ามีโทรศัพท์ที่ยังไม่ได้โทร.กลับหนึ่งสาย นั้นคือ พี่จ๋อน แห่งมะขามป้อมนี้เอง สำหรับพี่จ๋อนและพี่ๆ มะขามป้อมแล้ว ผมถือว่ารู้จักมักคุ้นกับพี่ๆ มานานหลายปี โดยผมเริ่มรู้จักกับมะขามป้อม เมื่อตอนยังเด็กเลยแหละ จนถึงทุกวันนี้ก็นานพอควร พี่บางคนพอจำกันได้…
กิตติพันธ์ กันจินะ
  มาริยา มหาประลัย1เมื่อเดือนก่อน คุณพี่เอก บก. (อันย่อมาจากบรรณาธิการ ไม่ใช่บ้ากาม) นิตยสารผู้ชายฉบับหนึ่งที่ฉันเคยอาศัยเงินเดือนเขายาไส้ แถมยังเป็นเจ้านายที่น่ารักที่สุดตั้งแต่ฉันเคยร่วมงานด้วย โทรศัพท์ตรงดิ่งวิ่งปรี่มาหาฉัน บอกว่ามีงานเขียนให้ฉันทำ คุณพี่เอกยังหยอดคำหวานปานพระเอกลิเก(ย์)อ้อนแม่ยกอีกว่า พอได้รับโจทย์ปุ๊บ หน้าฉันก็โผล่พรวดเด้งดึ๋งขึ้นมาปั๊บ เห็นทีจะเป็นลิขิตจากนรก เอ้ย! สวรรค์ชั้นเจ็ดที่ส่งให้ฉันมาเขียนเรื่องนี้ อู้ย! อยากรู้จริงเชียวว่าเรื่องอะไรหนอ..."คุณพี่อยากให้คุณน้องเขียนเรื่อง Safe Sex ของเกย์ให้เกย์อ่าน"อ๊ายส์! อ๊ายยยส์!!อ๊ายยยยยยส์!!!…
กิตติพันธ์ กันจินะ
มาริยา มหาประลัย (หมายเหตุ – อะแฮ่ม! ขอออกตัวว่าฉันเป็นคนรู้เรื่องศาสนาเพียงน้อยนิด ข้อเขียนต่อไปนี้เป็นการตั้งข้อสังเกตตามภูมิความรู้ที่มี ไม่ได้มีเจตนาลบหลู่ เพียงอยากใช้พื้นที่ตรงนี้แลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกัน ใครจะกรุณาแลกเปลี่ยนทัศนะเพื่อช่วยให้แตกกิ่งก้านสาขาเซลส์สมองของฉัน ก็ขอกราบแทบแนบตักขอบพระคุณงามๆ มา ณ ที่นี้ด้วย...ชะเอิงเอย) วันที่ 9 เดือน 9 ปีนี้ ฉันและผองเพื่อนมีวาระแห่งชาติในการปฏิบัติภารกิจสำคัญอันยิ่งใหญ่ แต่จุดหมายปลายทางของเราไม่ได้อยู่ที่ทำเนียบรัฐบาลหรือสะพานมัฆวานฯ ใครจะกู้ชาติ กู้โลก หรือกู้เจ้าโลกก็ขอเว้นวรรคความใส่ใจสักวันเถอะ…
กิตติพันธ์ กันจินะ
มาริยา มหาประลัย สาบานได้ว่า พิธีเปิดโอลิมปิกที่ปักกิ่งซึ่งเพิ่งผ่านพ้นไปสร้างความตะลึงพรึงเพริศ และสามารถตรึงขนทุกเส้นของฉันให้ลุกชันได้ยิ่งกว่าตอนนั่งดูกระโดดน้ำชายเสียอีก (เพราะกระโดดน้ำชายทำให้อย่างอื่นลุกและคันมากกว่า นั่นแน่! คิดอะไร! นั่งดูทีวีนานๆ ยุงมันกัดเลยต้องลุกขึ้นมาเกาเฟ้ย! อ๊ายส์!)  “แม่เจ้าโว้ย! อะไรมันจะ %$#@*&+ ขนาดนั้นฟะเนี่ย!!!” ฉันไม่รู้จะหาคำวิเศษณ์คำไหนมาบรรยายความวิเศษของภาพตรงหน้าได้ ตลอด 3 ชั่วโมงนั้นฉันเผลออ้าปากค้าง ทำตาโต ตบอกผางไปไม่รู้กี่ครั้ง และหลายครั้งเล่นเอาความตื้นตันมาชื้นอยู่ตรงขอบตาเชียวล่ะคุณ อะไรจะขนาดนั้น!
กิตติพันธ์ กันจินะ
มาริยา มหาประลัย    เวลาได้ยินคำว่า “สวยเลือกได้” (แน่นอนว่าเขาไม่ได้พูดถึงฉัน) ฉันอดคิดไม่ได้ว่า “สวย” ในที่นี้เรา “เลือก” กันได้จริงเหรอ เพราะเอาเข้าจริง ความขาว สวย หมวย อึ๋ม ตี๋ ล่ำ หำใหญ่ จมูกโด่ง ฯลฯ ที่เราเรียกคุณลักษณะเหล่านี้ว่า “ความสวย-หล่อ” นั้น ชาติมหาอำนาจเป็นคนกำหนดรูปแบบขึ้นมาและใช้มันเป็นอาวุธในการล่าอาณานิคมทางวัฒนธรรม ความสวยจึงไม่ใช่เรื่อง “สวยๆ” อย่างเดียว แต่มันยังแฝงเรื่องอำนาจและชนชั้นทางสังคมมาอย่างแยบคายภายใต้เปลือกอันน่ามอง