Skip to main content

ถ้าเอ่ยชื่อของไมเคิ่ล ฮานาเก้ ถ้าไม่ใช่แฟนหนังจริงๆหลายคนอาจจะไม่รู้จักเขาเท่ากับผู้กำกับคนอื่นๆอย่าง ไมเคิ่ล เบย์ สปีลเบิร์กหรือคาเมร่อนก็ตาม แต่ถ้าพูดถึงสิ่งที่หลายคนมารู้จักผู้กำกับจากยุโรปได้ก็คงไม่พ้นนิยามหนังของเขาที่หลายให้คำว่า โหดเหี้ยม เลือดเย็น และน่าขนลุก โดยหนังที่หลายคนมักจะนึกถึงก่อนเสมอก็คือ หนังที่ว่ากันโหดโดยไร้เลือด ความน่าขยะแขยง หนังเชือดที่ไม่มีการฆ่าโหดโชว์ให้เห็นเลยสักครั้ง แต่สามารถพาคนดูประสาทแดกได้ยิ่งกว่าหนังเชือดเรื่องใด

ครับ มันคือ Funny Game หนังในตำนานของฮานาเก้ที่หลายคนอยากจะลองมาสัมผัสดูสักครั้งนั้นเอง
 
 
เรื่องราวของ Funny Game เริ่มต้นขึ้นในชนบทเล็กๆแห่งหนึ่ง ภาพถ่ายจากมุมสูงให้เราเห็นรถที่กำลังเคลื่อนผ่านไปตามถนนก่อนจะตัดฉับลงมาเป็นครอบครัวครอบครัวหนึ่งที่กำลังนั่งฟังเพลงคลาสสิคกันในรถ พูดคุยกันเรื่องสนุกสนานที่จะทำในวันหยุด ทว่าพอพวกเขาเปลี่ยนเพลงที่น่าจะเป็นเพลงคลาสสิคปรากฏว่ามันกลับกลายเป็นเพลงเมทัลร็อคอันแสบแก้วหูแทน ทว่าสิ่งที่เราเห็นขัดแย้งคือครอบครัวนี้ไม่ได้รู้สึกแบบเดียวกับเราเลย 
 
นั้นคือสัญญาณเริ่มต้นที่บอกว่า ครอบครัวนี้จะเจอกับอันตรายแน่นอน
 
ที่บ้านพักตากอากาศข้างทะเลสาบนั้นเอง ขณะที่ครอบครัวนี้กำลังทำกับข้าวอยู่ จู่ๆก็มีชายร่างอ้วนแปลกหน้านามว่า ปีเตอร์เข้ามาในบ้านเพื่อขอไข่ที่ทำอาหาร คุณแม่ของบ้านนี้ก็เลยให้ไข่เขาไป ทว่าปีเตอร์ทำไข่แตกและขอไข่ใหม่ไปอีก จนคุณแม่รู้สึกว่า ตัวเองกำลังโดนคุกคามเลยมีมารยาทไม่ดีใส่ชายร่างอ้วน และนั้นทำให้เพื่อนของปีเตอร์นั้นก็คือ พอลเข้ามาในบ้านด้วย เพื่อขอให้คุณแม่ของครอบครัวนี้ขอโทษปีเตอร์ที่ทำมารยาทไม่ได้ใส่ แน่นอนว่าคนพ่อได้วิ่งเข้ามาดูเกิดอะไรขึ้นก่อนจะถูกพอลตีด้วยไม้ Golf จนขาหักและแล้วพวกเขาก็แสดงเจตจำนงของตัวเองออกมา โดยทั้งสองคนได้บังคับให้ครอบครัวนี้มาเล่นเกมสนุกๆกับพวกเขา โดยมีเงื่อนไขง่ายๆว่า พรุ่งนี้เช้าทั้งครอบครัวจะไม่มีใครรอดไปได้
 
ผลงานหนังระทึกขวัญเรื่องนี้ได้กลายเป็นผลงานที่ทำให้ไมเคิ่ล ฮานาเก้รู้จักกันเป็นกว้างขวางภายหลังจากเขาได้สร้างภาพยนตร์ไตรภาคความเลือดเย็นไปแล้ว ซึ่งผลงานเรื่องนี้ได้เป็นผลงานชิ้นต่อมาที่ทำให้ทุกคนได้รู้จักของคำว่า"เลือดเย็น"ในวงกว้าง ขณะเดียวกันนอกจากความเลือดเย็นของหนังแล้ว หนังเรื่องนี้ยังเป็นเหมือนการยั่วล้อวัฒนธรรมหนังเชือดที่ถูกผลิตออกมามากมายในเวลานั้น โดยแนวคนแปลกหน้า และนำเสนอมันในรูปแบบโครงสร้างเดียวกัน เพียงแค่ว่า ฮานาเก้เลือกจะทำลายความหวังคนดูจนหมดสิ้นในหนังเรื่องนี้

เริ่มแรกหนังเปิดให้เห็นภาพครอบครัวอันแสนสุขที่กำลังจะไปพักผ่อนและฟังเพลงคลาสสิคพูดแต่เรื่องดีๆ ในชั่วเวลาเขาเปลี่ยนเพลงแล้วขึ้นเพลงร็อคมานั้น หนังได้บอกสัญญาณเตือนเราแล้วว่า กำลังจะมีอะไรสักอย่างเกิดขึ้นและความคาดหวังของคนดูก็พุ่งปรี้ดตามไปด้วย ซึ่งถ้าเป็นตามขนบของหนังสยองขวัญแนวเชือดการเปิดด้วยเรื่องแบบนี้จะทำให้เราเห็นเหยื่อผู้เคราะห์ร้ายได้ครบถ้วนและสามารถเลือกได้ว่าจะเชียร์ใคร เพียงแค่ในฉากนี้หนังได้บอกเล่าเรื่องราวให้เห็นถึงความฟุ้งเฟ้อของคนชนชั้นกลางที่มักจะก้าวขาเข้าไปเจอเรื่องเสมอๆในหนังเหล่านี้ ขณะเดียวกับตัวฮานาเก้ก็บอกเล่าความไร้แก่นสารของคนชนชั้นกลางไปด้วย 
 
ฮานาเก้มักจะบอกเสมอในหนังของเขาว่า หนังเรื่องนี้เขาสร้างขึ้นเพื่อตั้งคำถามถึงความรุนแรงของสื่อ(และสื่อทั้งหลายคือตัวร้ายในหนังของเขาเสมอ) ซึ่งหากเรามองย้อนไปในสองเรื่องของไตรภาคเลือดเย็นนั้นอย่างภาพยนตร์เรื่องแรกของเขา เช่น The Seven Continent ที่ตั้งคำถามเกี่ยวกับทัศนคติและภาพฝันที่พังทลายของคนชนชั้นกลาง หรือ Benny Video ที่ตั้งคำถามและความรุนแรงที่เกิดจากสื่อ จน Funny Game เป็นเหมือนส่วนผสมของหนังสองเรื่องภายใต้ โจทย์ที่ว่า ถ้าไมเคิ่ล ฮานาเก้ทำหนังเชือดมันจะออกมาหน้าต่างอย่างไร
 
อย่างที่บอกไปข้างต้นว่าดำเนินเรื่องในรูปแบบของหนังเชือดทั่วไป เริ่มจากวันชื่นคืนสุขของเหยื่อจากนั้นก็ตามด้วยการปรากฏตัวของคนแปลกหน้าและการเอาตัวรอดก็เริ่มขึ้น เพียงแต่ว่าหนังเรื่องนี้นั้นไม่ได้เพียงยั่วล้อแต่มันทุบทำลายโครงสร้างหนังพวกนี้จนหมดสิ้น อย่างเช่นตัวอย่างง่ายๆ
 
ในหนังฮอลลีวู้ดตัวละครเด็กและสัตว์เลี้ยงมักจะไม่ตาย แต่เรื่องนี้ตายแต่เริ่มเลยครับ
 
ฆาตกรส่วนมากมักจะมีเหตุผลในการกระทำต่างๆ แต่เรื่องนี้ไม่มีครับ
 
ธรรมะชนะอธรรมเสมอ ขอโทษครับ ฮานาเก้ไม่เชื่อเรื่องนั้นครับ
 
ดั่งนั้นหนังเรื่องจึงมีสภาพเป็นหนังที่เล่นกับความคาดหวังของคนดูตลอดเวลา อย่าง ฉากที่ลูกชายของครอบครัวนี้หนีไปได้ก่อนจะถูกจับแบบง่ายดาย(ทั้งที่มีฉากที่ถือปืนด้วย แต่หนังก็ทำให้เรารู้ว่าเด็กคือ มนุษย์ที่อ่อนแอที่สุด และหวังไม่ได้) หรือฉากในตำนานที่หลายคนกล่าวถึงนั้นก็คือ ฉากรีโมทที่เกิดขึ้นภายหลังจากตัวละครในเรื่องสามารถฆ่าตัวร้ายคนหนึ่งในเรื่องได้ท่ามกลางความยินดีของคนดูและแน่นอนว่า เจ้าพอลก็ใช้รีโมทกดย้อนเวลากลับไปก่อนอีก
 
ซึ่งพอมาถึงตรงนี้เราได้แต่สิ้นหวังก่อนที่คำถามหนึ่งจะเกิดขึ้น
 
เราปรารถนาจะเห็นอะไร
 
ตั้งแต่เริ่มต้นเรื่องเราคาดหวังจะเห็นอะไรครับ เราคงไม่คาดหวังจะดูหนังที่ครอบครัวมีความสุขกระหนุงกระหนิงหรอกใช่ไหมครับ ทุกคนพยักหน้าแล้วบอกว่า ใช่แน่นอน พูดง่ายๆว่า เราอยากให้พวกเขาประสบเคราะห์กรรม เราอยากให้เขาเจอเรื่องซวยๆ เจอเรื่องร้ายๆเพื่อความสนุกและคุ้มค่ากับค่าตั๋วของเรา (พูดง่ายๆว่า เราเป็นพวกเดียวกับเจ้าสองคนนั้นแล้ว) ทว่าเราก็อยากจะให้พวกเขารอดไปได้และฆ่าเจ้าสองคนนั้นทิ้ง (ซึ่งแน่นอนว่า พอลรู้เรื่องนี้แล้วหันมาพูดกับคนดูประมาณว่า ไม่มีทางเฟ้ย พวกแกอยากสนุกไม่ใช่เหรอ ก็นี่ไง ฉันทำให้แล้ว) และแน่นอนว่าหนังก็เชือดคอเราเป็นแผลเหวอด้วยการหยิบยื่นความหวังให้ตลอดเวลาและกระชากมันกลับไป ซึ่งหนังได้บอกเราว่า คนดูก็พวกเดียวกับมันนี่ล่ะ ประมาณว่า พวกเอ็งนะมันโลกสวย มือถือสากปากถือศีล อยากให้ครอบครัวนี้มีเรื่อง อยากให้ครอบครัวนี้ซวยเพื่อความสนุก แต่อยากให้รอด มันหมายความว่ายังไงครับ คนดู
 
เคยมีคนให้คำนิยามว่า การดูหนังก็เหมือนเป็นโรคจิตอย่างหนึ่งไม่ใช่น้อย เพราะ เวลาเราไปดูหนังเชือดไล่ล่าก็สะใจที่คนตายในหนังกัน ไปดูหนังแบบอเวนเจอร์ ทรานฟอร์เมอร์ เห็นหุ่นเห็นฮีโร่ตีกันก็สะใจโดยไม่ได้มองรอบข้างว่า ตึกรามบ้านช่อง คนตายกันไปอีกศพ ยิ่งถ้ามันเกิดขึ้นจริง มันจะวินาศสันตะโรกันแค่ไหนกัน หรือพูดง่ายๆว่า เราไม่สน เราจะสนุกลูกเดียว นั้นก็ไม่ต่างกับสิ่งที่เราทำในเรื่องนี้เหมือนกัน เพียงแต่ว่า บทสรุปของหนังที่เราต้องการก็คือ ตัวละครเอกต้องรอดไปได้และเราต้องจบแบบประทับใจและสนุกสนาน
แน่นอนครับว่า มันไม่มีในหนังเรื่องนี้
 
นอกจากนี้หนังพยายามจะสื่อสารกับคนดูตลอดเวลาด้วยช็อตที่หลายคนสงสัยว่า มีไว้ทำไมอย่างช็อตการมองมาที่คนดูของพอล หรือการพูดกับคนดูว่า มาพนันกันไหมว่า ครอบครัวนี้จะรอดหรือไม่ ซึ่งเป็นการสื่อสารกับคนดูที่บอกว่านี่เป็นแค่หนังเรื่องหนึ่งไม่ต้องเครียดไปขนาดนั้น ทว่าไอ้ช็อตนี้ล่ะครับที่บอกให้เรารู้ว่า คนดูกำลังจะโดนหักความหวังไปจนหมดแล้ว
 
อ๋อ ลืมไปอีกอย่างฮานาเก้พยายามสร้างความรุนแรงทางภาพให้น้อยที่สุดเพราะเขาเลือกจะไม่แสดงความโหดออกมาให้เห็นเลยทั้งฉากฆ่าอะไรเราไม่เห็นทั้งนั้น แต่เขาเลือกใช้วิธีสร้างจินตนาการให้คนดูแบบเดียวกับฮิตค์ค๊อกใช้ในไซโค หนังต้นแบบคนแปลกที่ตีแสกหน้าคนดูเช่นกัน 
 
หลายคนถามว่า Funny Game มีส่วนคล้ายคลึงกับหนังเชือดอย่าง The Stanger ของเจ้ลิฟ ไทเลอร์ อันนี้ผมไม่เถียงว่าคล้ายแต่จุดประสงค์หนังไม่ใกล้เคียงกันเลย หนังเรื่อง The Stanger นั้นเป็นหนังเชือดที่มุ่งเน้นสร้างสถานการณ์ชวนหลอนและหักหน้าคนดู ทว่า Funny Game นั้นมีจุดมุ่งหมายในตั้งคำถามถึงความรุนแรงที่ถูกฝังในสายเลือดของมนุษย์ทุกคน
 
เพราะสุดท้ายเกมสนุกก็จะมีต่อไปเมื่อคนเรายังประสงค์ซึ่งความรุนแรงครับ
 
Funny Game (Original) (1997) (Michael Haneke)
 

บล็อกของ Mister American

Mister American
           ความสำเร็จครั้งมโหฬารของภาคที่สี่ของแฟรนไชส์ Jurassic Park อย่าง Jurassic World นั้นเรียกได้ว่า เป็นการหักปากกานักสังเกตที่คาดเดาว่า ภาคต่อของไดโนเสาร์ภาคนี้อาจจะทำเงินได้ไม่มากนัก ทว่า การเปิดตัวในอเมริกากว่า 200 ล้านเหรียญในเวลาเพียงสามวันจนทำลานสถิติของ
Mister American
              ท่ามกลางความเงียบงันสถาวะเงินฝืดที่ทำให้เศรษฐกิจของประเทศไทยปีนี้มีสภาพเรียกว่า ย่ำแย่ที่สุดในหลายปี ผู้คนไม่ยอมจับจ่ายใช้สอยกันยกเว้นเพียงจำเป็นทำให้สถาวะของประเทศค่อนข้างเงียบ บริษัทหลายบริษัทต่างเจ็บตัวเข้าเนื้อกันไปตาม ๆ กันทำให้หลายคนคาดการณ์ว
Mister American
            “บางระจัน บางระจัน บางระจัน ไม่อาจยืนอยู่ทุกวันเพ็ญเดือนสิบสอง บางระจัน บางระจัน บางระจัน ไม่อาจยืนอยู่ถึงวันเพ็ญเดือนสิบสอง”
Mister American
                ถ้าให้พูดล่ะก็นี่ก็เป็นเวลาครบรอบสามปีแล้วกระมั้งครับนับจากการล่มสลายของค่าย Bliss publishing  ค่ายหนังสือยักษ์ใหญ่ที่ปิดตัวลงไปและทำให้กระแสหนังสือเล่มเล็กอย่างไลท์โนเวลนั้นกลายเป็นหนังสือกระแสหลักที่หลายค่ายพากันกระโจนเข้ามาร่วมสมรภูม
Mister American
            เมื่อวันที่ 20 กรกฎาคมที่ผ่านมานั้นวงการภาพยนตร์ไทย ไม่สิ ต้องบอกว่า วงการภาพยนตร์เมอร์เชียลอาร์ตของโลกนั้นต้องสูญเสียปรมาจารย์ สุดยอดนักสู้ของโลกไปอย่างไม่มีวันกลับ แม้ว่า ชื่อเสียงของชายคนนั้นจะแทบไม่เป็นที่สนใจของสื่อหรือคนไทยมากนัก หลายคนถึงกับงุนงงว่
Mister American
            ย้อนเวลากลับไปเมื่อไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมานั้น เราคงได้เห็นนโยบายคืนความสุขให้กับประชาชนของ คสช อย่างการเปิดโรงภาพยนตร์เมเจอร์ให้ชมภาพยนตร์เรื่อง ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราชภาคที่ 5 กันไปบ้างแล้ว  แน่ล่ะว่า หลายคนคงจดจำภาพของบรรดาผู้คนที่พากันยื้อแย่งก
Mister American
        ต้องบอกว่า นี่คือ อนิเมะที่มาแรงแซงทางโค้งที่สุดในซีซั่นที่ผ่านมาเลยทีเดียว ท่ามกลางกระแสอนิเมะฟอร์มยักษ์เรื่องอื่น ๆ ที่ถูกสร้างขึ้นมามากมายและหลายคนคาดว่า อนิเมะที่ถูกดัดแปลงมาจากไลท์โนเวลชื่อเดียวกันของ ยู คามิยะ นักเขียนการ์ตูนที่อ
Mister American
              ท่ามกลางความวุ่นวายของการเมืองไทยที่ถึงจุดพลิกพันอีกครา หลังเกิดการัฐประหารขึ้นอีกครั้งได้ส่งผลกระทบต่อวงการภาพยนตร์โดยรวม แน่ล่ะว่าภาพยนตร์ไทยที่สามารถทำรายได้มหาศาลในตอนนี้นั้นคงไม่พ้นหนังอย่าง ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราชภาคที่ 5 ยุทธหัตถีที่กวาดร
Mister American
          ถ้าพูดถึงหนังซัมเมอร์บล็อกบัสเตอร์ในปีนี้ที่ผมอยากดูใจจะขาดชนิดว่า แทบคลั่งแบบรอไม่ไหวแล้วที่จะต้องไปดูให้ได้นั้นย่อมไม่มีหนังเรื่องไหนทำให้ผมเกิดอาการคลั่งได้มากพอ ๆ กับหนังเรื่อง ก็อตซิลล่า (Godzilla) ของ กาเรธ เอ็ดเวิร์ด ที่เป็นการนำก็อตซิลล่
Mister American
        ถ้าพูดถึงหนังสือที่ขายดีมาแรงแซงทางโค้งในช่วงเวลาที่แสนซบเซาและน่าเบื่อนี้ แน่นอนว่า ชื่อของไลท์โนเวล หนังสือนิยายแปลไทยจากญี่ปุ่นที่กลายเป็นหนังสือกระแสแรงในงานหนังสือที่ผ่านมาสองสามปีนี้ แน่นอนว่า สาเหตุที่มันเข้าถึงคนอ่านได้ง่ายจนกลายเป็นหนังสือชายดีในทุกงานหนังสือน
Mister American
                สิ่งที่คริสโตเฟอร์ โนแลน ได้ทิ้งเอาไว้ในไตรภาคหนังซุปเปอร์ฮีโร่ The Dark Knight  นั้นก็คือ การตั้งคำถามว่า การมีแบ๊ทแมน หรือ ซุปเปอร์ฮีโร่นั้นคือ สิ่งที่ควรจะมีอยู่ในสังคมต่อไปหรือไม่ แน่นอนว่า ประเด็นนี้ตัวโนแลนได้ตอบไ