ย่างก้าวของความสำเร็จของสารป้องกันการติดเชื้อ-ไมโครบิไซด์

นับเป็นครั้งแรกที่การวิจัยสารป้องกันการติดเชื้อ (ไมโครบิไซด์) รายงานผลความสำเร็จถึงประสิทธิภาพในการลดความเสี่ยงของการติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ของคู่เพศสัมพันธ์หญิงชาย

แม้ว่าการนำเสนอผลการวิจัยสารป้องกันการติดเชื้อ (ไมโครบิไซด์) ที่ชื่อ โปร 2000 (PRO 2000) ต่อสาธารณะจะออกมาล่าช้ากว่ากำหนดการเดิม แต่นักรณรงค์เคลื่อนไหวเรื่องสารป้องกันการติดเชื้อ (ไมโครบิไซด์) ต่างขานรับอย่างยินดีถึงผลการวิจัยโปร 2000 (PRO 2000) ที่เผยแพร่ออกมา เพราะมีนัยยะสำคัญอย่างยิ่งต่อกระบวนการพัฒนาสารป้องกันการติดเชื้อ (ไมโครบิไซด์) ในลำดับต่อไป

มีผู้หญิงจำนวนกว่า 3,000 คนที่เข้าร่วมเป็นอาสาสมัครในการวิจัยสารป้องกันการติดเชื้อ (ไมโครบิไซด์) ภายใต้ชื่อผลิตภัณฑ์ โปร 2000 (PRO 2000)

ผลการวิจัยระบุว่าสารป้องกันการติดเชื้อ (ไมโครบิไซด์) “โปร 2000 -PRO 2000” สามารถลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอชไอวีได้ถึง 30% แม้ว่าประสิทธิภาพในการลดความเสี่ยงจะยังไม่มีนัยสำคัญมากนัก นอกจากนี้อัตราความชุกของการติดเชื้อเอชไอวีในกลุ่มผู้หญิงที่ใช้สารป้องกันการติดเชื้อ (ไมโครบิไซด์) “โปร 2000 -PRO 2000” นั้นมีเพียงร้อยละ 2.7 เท่านั้น เมื่อเปรียบเทียบกับหลักฐานจากการศึกษาในผู้หญิงอีกกลุ่มหนึ่งมีถึงร้อยละ 4

แต่เมื่อนักวิจัยได้ทำการทบทวนผลการวิเคราะห์ซ้ำๆ รวมถึงนับจำนวนครั้งที่ผู้หญิงใช้ “โปร 2000 -PRO 2000” เมื่อมีเพศสัมพันธ์ พบว่า “โปร 2000 -PRO 2000”นั้นมีประสิทธิภาพในการลดความเสี่ยงในการติดเชื้อได้สูงถึง 36 เปอร์เซ็นต์

ผลการวิเคราะห์ประเด็นอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องชี้ให้เห็นว่า เมื่อผู้หญิงใช้สารป้องกันการติดเชื้อ (ไมโครบิไซด์) “โปร 2000 -PRO 2000” บ่อยมากขึ้น ความเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอชไอวีก็จะลดลงตามมาด้วย

นอกจากนี้ความพยายามของนักวิจัยยังในการวิเคราะห์ถึงประสิทธิภาพของ “โปร 2000 -PRO 2000” ในการป้องกันการติดเชื้อในกลุ่มผู้หญิงที่ไม่ใช้ถุงยางอนามัยในขณะมีเพศสัมพันธ์และ “โปร 2000 -PRO 2000”เป็นวิธีการป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี ผลการวิเคราะห์ระบุว่า มีผู้หญิงเพียง 1 คน จากจำนวนทั้งสิ้น 100 คนเท่านั้นที่พบว่าติดเชื้อเอชไอวี ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับกับผู้หญิงที่ได้รับผลิตภัณฑ์หลอก (placebo) นั้นมีถึงร้อยละ 4 และนำมาซึ่งข้อสรุปที่ว่าสารป้องกันการติดเชื้อ-ไมโครบิไซด์: โปร 2000 -PRO 2000” มีประสิทธิภาพในการป้องกันการติเชื้อเอชไอวีในกลุ่มผู้หญิงที่ไม่ได้ใช้ถุงยางอนามัยได้ถึง 75เปอร์เซ็นต์


ต่อคำถามที่ว่า “สารป้องกันการติดเชื้อ
-ไมโครบิไซด์: โปร 2000 -PRO 2000” แล้วจะมีการนำส่งเสริมการใช้ได้อย่างไร?” หนึ่งในนักวิจัยได้ให้ข้อเสนอแนะว่า “โปร 2000 -PRO 2000 น่าจะเป็นผลิตภัณฑ์วิธีการป้องกันแบบใหม่สำหรับผู้หญิงที่ไม่มีทางเลือกในการป้องกันอื่นๆ”

 

ผลการทดลองสารป้องกันการติดเชื้อ-ไมโครบิไซด์ ซึ่งมีเทโนโฟเวียร์เป็นองค์ประกอบหลักลดความเสี่ยงการติดเชื้อในลิง


ผลการทดลองสารป้องกันการติดเชื้อ(ไมโครบิไซด์) ซึ่งมีเทโนโฟเวียร์ หรือ เทโนโฟเวียร์ พลัส เอฟทีซี (เอ็มทริไซตาบีน) เป็นองค์ประกอบหลักมีประสิทธิภาพในการลดความเสี่ยงในลิงชนิด pigtail macaque (M. nemestrina) ในการติดเชื้อไวรัสเอสเอชไอวี(SHIV) และไวรัสที่มีคุณสมบัติใกล้เคียงกับไวรัสเอชไอวี


การทดลองโดยป้ายสารป้องกันการติดเชื้อ(ไมโครบิไซด์) ในช่องคลอดของลิงชนิด pigtail macaque ช่วง 30 นาทีก่อนที่จะได้รับไวรัสเอสเอชไอวี(SHIV) จำนวนทั้งหมด 20 ครั้ง พบว่าลิงเหล่านั้นไม่ติดเชื้อไวรัสดังกล่าว


ปริมาณยาเทโนโฟเวียร์ที่เป็นองค์ประกอบสำคัญนั้นสูงถึง 30 มิลลิกรัม แต่เมื่อเปรียบเทียบปริมาณยากับน้ำหนักตัวของมนุษย์แล้ว ปริมาณยาเทโนโฟเวียร์ที่ใช้ในการวิจัยในมนุษย์จะต้องสูงกว่า 40 มิลลิกรัม ซึ่งเป็นปริมาณยาเทโนโฟเวียร์ที่ใช้ในการวิจัยในมนุษย์ในปัจจุบัน


 

แหล่งข้อมูล: NAM (www.aidsmap.org) CROI2009@nam.org.uk Tuesday, February 10, 2009

 

 

 

ความเห็น

Submitted by nuna on

ขอบคุณค่ะที่ช่วยอัพเดทสถานการณ์ มีข้อสงสัยบางประการต่อเรื่องนี้ด้วยค่ะ

แม้โครงการจะแถลงผลสำเร็จของการวิจัยที่สามารถระบุได้ว่า "มีประสิทธิภาพในการป้องกันการติเชื้อเอชไอวีในกลุ่มผู้หญิงที่ไม่ได้ใช้ถุงยางอนามัยได้ถึง 75เปอร์เซ็นต์" แต่นั่นก็หมายความว่า อีก ๒๕ % จะไม่มีความปลอดภัย เช่นเดียวกันถุงยางอนามัยผู้ชายที่ปลอดภัยเพียง ๙๕%เท่านั้น

อยากทราบต่อไปอีกว่า ผู้หญิง ๑ คน ใน ๑๐๐ คน ที่ระบุว่าติดเชื้อจากโครวการวิจัยนี้ ทางโครงการได้กล่าวอะไรที่เป็นมาตรการให้ความช่วยเหลือดูแลต่อเนื่องอย่างไรบ้างคะ

ความไม่ปลอดภัย ๒๕% เป็นประเด็นที่น่าจะเป็นเรื่องสำคัญอีกเรื่องหนึ่ง ที่โครงการวิจัยต้องกล่าวถึงพอๆกับความสำเร็จอีก ๗๕%

ย่างก้าวของความสำเร็จของสารป้องกันการติดเชื้อ-ไมโครบิไซด์

นับเป็นครั้งแรกที่การวิจัยสารป้องกันการติดเชื้อ (ไมโครบิไซด์) รายงานผลความสำเร็จถึงประสิทธิภาพในการลดความเสี่ยงของการติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ของคู่เพศสัมพันธ์หญิงชาย

แม้ว่าการนำเสนอผลการวิจัยสารป้องกันการติดเชื้อ (ไมโครบิไซด์) ที่ชื่อ โปร 2000 (PRO 2000) ต่อสาธารณะจะออกมาล่าช้ากว่ากำหนดการเดิม แต่นักรณรงค์เคลื่อนไหวเรื่องสารป้องกันการติดเชื้อ (ไมโครบิไซด์) ต่างขานรับอย่างยินดีถึงผลการวิจัยโปร 2000 (PRO 2000) ที่เผยแพร่ออกมา เพราะมีนัยยะสำคัญอย่างยิ่งต่อกระบวนการพัฒนาสารป้องกันการติดเชื้อ (ไมโครบิไซด์) ในลำดับต่อไป

เซ็กส์เพื่อขายและกลายเป็น 'การบริการ'

เมื่อความคิดความเชื่อและความเข้าใจต่องานบริการทางเพศในสังคม มักถูกนำเสนออยู่อย่างซ้ำๆ และอย่างต่อเนื่องว่าเป็น “อาชญากรรม และ ผิดศีลธรรม” เราคงไม่อาจปฏิเสธถึงการธำรงอยู่ของ “การตีราคา ตัดสินคุณค่า” คนทำอาชีพบริการทางเพศนี้ได้

เหตุผลที่ว่า “งานบริการทางเพศ” เป็นธุรกิจที่เต็มไปด้วยการเอารัดเอาเปรียบ ก็เป็นชุดเหตุและผลหลักที่มีอำนาจต่อความคิดความรู้สึกของผู้คน หากเราก็เคยได้ยินเรื่องเล่าที่แตกต่างหลากหลายเกี่ยวกับบริการทางเพศทั้งจากสื่อกระแสหลัก จากบทเรียนการทำงานขององค์กรและเครือข่ายคนทำงาน และจากคำบอกเล่าของพนักงานบริการทางเพศว่า

พูดเรื่องเพศ: ความชอบธรรม (ทำ) โดยรูปแบบ

“เรื่องโจ๊ก เรื่องเจี้ย”  ซึ่งมีลักษณะสองแง่สองง่ามเกี่ยวข้องกับ “เรื่องทางเพศ” ที่เราๆ ท่านๆ นำมาเล่า เอามาบอกต่อ หรือนำมาแบ่งปันกันในที่ทำงาน ในงานแต่งงาน ในงานวันเกิด ในงานขึ้นบ้านใหม่หรืองานอะไรก็แล้วแต่นั้น  ยิ่งถ้าเรื่องเล่าทางเพศเหล่านั้นเจือปนด้วยความดุเด็ด เผ็ดมัน ขำขัน ตลกโปกฮา สนุกสนานมากเท่าไหร่ ผู้คนในสังคมก็ดูเหมือนจะเปิดใจ อ้าแขนรับ มีอารมณ์สนุกสนานคล้อยตาม และเปิดพื้นที่ให้เกิดการพูดคุยเรื่องเพศนั้นๆ ได้อย่างเต็มที่โดยมิได้ฉุกคิด ตั้งข้อสังเกต และแม้กระทั่งตั้งคำถามด้านผลกระทบต่อความเสื่อมทางศีลธรรมจริยธรรมของสังคม หรือความกังวลว่าจะเป็นเยี่ยงอย่างที่ไม่ดีต่อเด็กและเยาวชนแต่อย่างใด

เราคงไม่ปฏิเสธว่า ในการดำเนินชีวิตประจำวันของเราในแต่ละวันนั้น เรามีเรื่องเล่าเรื่องตลกขำขันที่มีเนื้อหาสาระเกี่ยวข้องกับเรื่องเพศ...มากมายและหลากหลายรูปแบบตามยุคสมัยและวัฒนธรรมการบริโภคของผู้คนในสังคม ไม่ว่าจะมาในรูปแบบหนังสือการ์ตูนขายหัวเราะ ซีดี/วีซีดีการแสดงของคณะตลก  เพลงไม่ว่าจะเป็นเพลงแรพ เพลงป้อบ หรือลูกทุ่ง ภาพวาดล้อเลียน  ริงโทนโทรศัพท์มือถือ ฯลฯ

เมื่อไม่นานมานี้ประมาณต้นปี ๒๕๕๐ ผู้เขียนมีโอกาสได้ยินริงโทนโทรศัพท์มือถือของเพื่อนผู้เข้าร่วมหลักสูตรฝึกอบรมระยะสั้นเรื่องเพศภาวะ เพาวิถีและสุขภาพทางเพศสำหรับไทย-ลาว ครั้งที่ ๓  ตอนที่ได้ยินผ่านหูครั้งแรกก็ถึงกับทำให้ต้องหูผึ่งและหันขวับมาถาม “เฮ้ย! มันพูดว่าไงนะ ขอฟังอีกทีได้ไม๊?”  

ผู้เขียนยังจำอารมณ์ ณ ขณะได้ฟังได้ยินริงโทนนั้นในครั้งแรกได้อย่างชัดเจนว่า ผู้เขียนเริ่มด้วยอาการตั้งอกตั้งใจฟังมากๆ เริ่มอมยิ้ม และยิ้ม เริ่มยิ้มกว้างขึ้น เริ่มมีเสียงหัวเราะคิกคักเบาๆ  และจากนั้นผู้เขียนก็เก็บกดอารมณ์ไม่ไหว จึงปล่อยเสียงหัวเราะดังลั่นด้วยความที่เนื้อหาของริงโทนมันช่าง “โดน (ใจ)” มากๆ เสี่ยนี่กระไร ทั้งๆ ที่ท่วงทำนองของริงโทนก็ธรรมดาเอามากๆ เหมือนการท่องจำแบบอาขยานอย่างไรอย่างนั้น ไม่ได้มีความโดดเด่นทางท่วงทำนองเลยสักนิด แต่ “เนื้อหา/ข้อความ” ของริงโทนเวอร์ชั่นนี้กลับไม่ธรรมดาเอาซะเลยสำหรับผู้เขียน (สำหรับคนอื่นๆ ที่มีริงโทนซึ่งเด็ดกว่านี้อาจจะคิดอยู่ในใจว่า “แค่นี้ จิ๊บ จิ๊บ”)

ริงโทนโทรศัพท์มือถือเวิอร์ชั่นเด็ดๆ ที่ผู้เขียนพูดถึงนั้นมีเนื้อหาสาระหลักๆ ที่ล้วนเกี่ยวข้องกับเรื่องเพศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งพฤติกรรมและการปฏิบัติทางเพศ ซึ่งมีใจความว่า

“โอ้นวลน้องโปรดถอดเสื้อใน    ถอดไวไวพี่จะไซ้นมก่อน
โอ้ความรักสุดแสนนิรันดร         ปิดประตูใส่กลอนและก็นอนเย็ดกัน
น้องอยู่ข้างล่างพี่อยู่ข้างบน     ผลัดกันอมและก็ผลัดกันเลีย
ทำกันผัวๆ เมียๆ             ผลัดกันเลียและก็ผลัดกันอม
รูน้องเล็กพี่เย็ดไม่ทัน        รูน้องตันพี่ดันไม่ไหว
รูน้องเล็กพี่เย็ดเข้าไป         พี่ทนไม่ไหวน้ำแตกคารู”

ผู้เขียนอยากจะชวนคิดวิเคราะห์เนื้อหาของริงโทนโทรศัพท์มือถือที่ปรากฏอยู่ข้างบนนี้ ซึ่งได้รับความสนอกสนใจของผู้ที่ได้ยินริงโทนโทรศัพท์มือถือนี้ว่าได้สะท้อนเรื่องราวทางเพศอะไรบ้างในสังคมไทย? และได้บอกเล่า/สะท้อนเรื่องทางเพศด้วยมุมมองอย่างไรบ้าง?

ผู้เขียนมองว่าริงโทนนี้เป็นกระจกส่องให้เราได้เห็นและเรียนรู้เรื่องเพศของคนในสังคมไทยว่าพอนึกถึงเรื่องเพศ (Sexuality) ผู้คนโดยทั่วไปก็มองเห็นแต่เพียงกิจกรรมทางเพศ (sexual act) พฤติกรรมทางเพศ (sexual behavior) ความสุขทางเพศ (sexual pleasure) เท่านั้น

นอกจากนั้นผู้คนในสังคมไทยดูเหมือนว่าได้ถูกหล่อหลอมให้คิดและเชื่อถือตามๆ กันไปว่า “ปฏิบัติกิจทางเพศนั้นต้องริเริ่มและกระทำโดยผู้ชายและผู้หญิงเป็นฝ่ายยอมตาม รอคอยความสุขที่ผู้ชายจะเป็นฝ่ายหยิบยื่นให้ เพศสัมพันธ์นั้นจะเกิดขึ้นได้ เป็นที่ยอมรับและถือว่าเหมาะสมต้องอยู่ภายในกรอบความสัมพันธ์แบบคู่สามีภรรยาและกระทำการเพราะเหตุแห่งรักเท่านั้น กิจกรรมทางเพศนั้นเกิดขึ้นระหว่างคู่ความสัมพันธ์หญิงชาย และกิจกรรมทางเพศที่ถูกพูดถึงนั้นมิใช่เพียงแต่การสอดใส่อวัยวะเพศชายเข้าไปในอวัยวะเพศหญิงเท่านั้น แต่หมายรวมถึงการมีเพศสัมพันธ์ทางปากซึ่งทั้งฝ่ายหญิงฝ่ายชายที่เป็นคู่ความสัมพันธ์ทางเพศต่างกระทำให้กันและกัน แต่ในขณะเดียวกันก็มีความขัดแย้งสับสน เพราะยังตอกย้ำความสำคัญของช่องคลอดและสัญลักษณ์ของการบรรลุถึงซึ่งความสุขทางเพศนั้นคือ การหลั่งน้ำอสุจิของฝ่ายชายและความสุขที่เกิดจากเพศสัมพันธ์นั้นมีศูนย์กลางอยู่ที่ความสุขทางเพศของผู้ชาย”

เนื้อหาของริงโทนโทรศัพท์มือถือ เป็นเพียงตัวอย่างเล็กๆ ที่เป็นรูปธรรมของปฏิบัติการณ์ในสังคมของการส่งผ่านและจรรโลงระบบความคิดความเชื่อและความหมายเรื่องเพศที่กลุ่มคนส่วนใหญ่ยึดถือ

ในหลายๆ ครั้งเรื่องตลกโปกฮาที่เกี่ยวข้องกับเรื่องเพศซึ่งบางทีอาจต้องใช้เงินจับจ่ายซื้อหามานั้น สามารถทำให้เราได้หัวเราะท้องคัดท้องแข็ง น้ำหูน้ำตาร่วง ได้รับความสุขและความเบิกบาน จนร่างกายได้หลั่งสารความสุขออกมานั้น มันจะล้อเลียน  ผลิตซ้ำมายาคติทางเพศ สร้างภาพตัวแทนความเป็นหญิงเป็นชายที่เกี่ยวโยงกับเรื่องทางเพศ ตอกย้ำภาพเชิงลบ หรือแม้กระทั่งกดทับความเป็นคนที่ต่ำต้อยกว่าของคนบางกลุ่มบางพวกในสังคม เช่น กะเทย สาวประเภทสอง ผู้หญิงอายุมากที่ยังไม่แต่งงาน  แม่ชี ชาวเขาชาวดอย (พี่น้องชนเผ่า) พี่น้องแรงงานข้ามชาติ ฯลฯ  แต่ด้วยอารมณ์สนุกสนานแบบบรรยากาศพาไปมันได้บดบังมิติทางสังคมเหล่านั้น จนหลายๆ ครั้งเรา (รวมทั้งผู้เขียนในบางคราว) อาจจะขาดความละเอียดอ่อนและลืมตั้งคำถามหลายๆ คำถามกับตนเองว่า

* เรากลายเป็นส่วนหนึ่งของการปฏิบัติที่ขาดความเคารพในศักดิ์ศรีความเป็นคนของผู้อื่นหรือไม่?
* เรากำลังตอกย้ำและผลิตซ้ำความไม่เท่าเทียม ความเหนือกว่า/ด้อยกว่าของผู้คนในสังคมผ่านเรื่องเล่า “ขำๆ” ของเราหรือไม่?  
* การแบ่งปันความสุขด้วยการเล่าเรื่องตลกโปกฮาและหาความสุขจากการได้ยินได้ฟังเรื่องโจ๊กของเรา เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการประกอบสร้างค่านิยมและความเชื่อเรื่องเพศบางอย่างหรือไม่?
* เรากำลังกลายเป็นส่วนหนึ่งของความเชื่อที่ว่า “เรื่องทางเพศเป็นเรื่องของฝ่ายชาย/ผู้สวมบทความเป็นชาย มิใช่เรื่องผู้หญิง/ผู้ที่สวมทับความเป็นหญิงหรือไม่?

ผู้เขียนมิได้จะส่งเสริมการกำกับควบคุมการพูดเรื่องเพศของคนในสังคมแต่อย่างใด เพราะ ผู้เขียนเชื่อมั่นในหลักการด้านสิทธิในการพูดในการแสดงความคิดเห็นไม่ว่าจะเรื่องอะไรก็ตามแต่ เพราะเป็นสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานที่เราพึงมีพึงได้ เพียงแต่อยากจะกระตุ้น ชวนคิด ย้ำเตือนว่า ถ้าเราสามารถเรียนรู้เรื่องเพศผ่านเรื่องราวใกล้ๆ ตัวและได้มีเวลาวิเคราะห์วิพากษ์เรื่องราวเหล่านั้นบ้าง ศักยภาพของเราในการปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมความคิดความเชื่อเรื่องเพศบางอย่างที่ลดทอนความเป็นคนของกันและกัน  เราน่าจะลดระดับความไม่เท่าเทียมในสังคมได้มากขึ้นจากเรื่องที่เราได้พูด ได้เล่า และได้ฟัง