Skip to main content

หลังการจากไปของลัทธิจักรวรรดินิยมฝรั่งเศส ประเทศคองโกก็ประสบกับความวุ่นวายเพราะชนชั้นนำแย่งชิงอำนาจกันเอง กระทั่งได้ผู้นำที่เข้มแข็งจนจัดตั้งระบอบ “ปฏิวัติ” ที่วางรากฐานอยู่บนสิ่งที่เรียกว่า “ลัทธิสังคมเชิงวิทยาศาสตร์”


ระบอบการปกครองใหม่มาพร้อมกับกติกากฎเกณฑ์และสัญลักษณ์ใหม่ ๆ ไม่ว่าจะเป็น เพลงชาติ ชื่อประเทศ ธงชาติกลายเป็นสีแดง มีการเพิ่มดาว ค้อน เคียว มีการห้ามสวดมนต์ ร้องเพลง และห้ามคิด จะเดินทางไปไหนมาไหนต้องได้รับความเห็นชอบจากหน่วยงานของทางการ


ฟังดูคล้ายกับยุคสมัยแห่งการปฏิวัติวัฒนธรรมในสมัยจอมพลป. พิบูลสงคราม ที่มีการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมและสัญลักษณ์ทางการเมืองอย่างมโหฬาร ทั้งควบคุมตั้งแต่การแสดงออกภายนอกหัวจดเท้าไปจนถึงการคิด


แต่ไม่ว่าจะเปลี่ยนผู้นำ หรือเปลี่ยนระบอบการปกครองก็ดูเหมือนว่าจะไม่มีอะไรดีขึ้นมากนักเพราะประชาชนยังอยู่ภายใต้การควบคุมบังคับอันเข้มงวดเหมือนกัน


ในบริบทของการเมืองไทย ครั้นพอประชาชนจะมีสิทธิมีเสียงขึ้นมาบ้าง ก็จะเจอกับสิ่งที่เรียกว่า “รัฐประหาร” เพื่อนำอำนาจกลับไปให้กลุ่มศักดินาหรือ “ตุลาการภิวัฒน์” ที่ยกการตัดสินใจและวิจารณญาณให้กับตุลาการไม่กี่คนซึ่งสามารถตีความกฎหมายได้อย่างอิสระโดยไม่ต้องยึดหลักการใด ๆ หรือไม่ก็จะเจอกับหลัก 70 : 30 ของกลุ่มพันธมิตร ฯ ที่ยิ่งพาประชาชนหนีห่างไปจากเสรีภาพในการจัดการดูแลชีวิตของตนเอง


อารมณ์ขันแห่งวรรณกรรมเล่มนี้ได้ทำให้ระบอบการปกครองทั้งใหม่ และเก่า กลายเป็นเรื่องแปลกประหลาดที่น่าขำขันตามสายตาของเด็กที่มองเห็นความไร้สาระของสิ่งที่เรียกว่า “การเมือง” ไม่ว่าจะเป็นการโฆษณาชวนเชื่อเพื่อให้ประชาชนเห็นคุณงามความดีของท่านผู้นำ หรือพิธีกรรมต่าง ๆ ที่จะยกระดับให้การเมืองเป็นอะไรที่ “ศักดิ์สิทธิ์”


เราลองมาดูความไร้สาระของการเมืองซึ่งประดิดประดอยในเรื่องของการใช้ภาษาเสียจนเลยเถิด หากเป็นระบอบกษัตริย์นิยม การใช้ภาษาก็จะวิจิตรบรรจงจนยากที่คนทั่วไปจะเข้าใจและเข้าถึง ส่วนระบอบสังคมนิยมก็น่าขันไปอีกแบบ


ผมอยากได้สุนทรพจน์ที่ไพเราะและมีพลัง ! เริ่มจากสรรเสริญท่านผู้นำที่ทำให้ประเทศของเรากลายเป็นสวรรค์น้อย ๆ ท่านผู้นำสันติภาพมาสู่จิตวิญญาณ ท่านผู้คัดท้ายนาวาพาประเทศรอดพ้นจากพายุร้ายและความปั่นป่วนที่เกิดจากผู้สนับสนุนลัทธิทุนนิยมอันสับสนและพวกปฏิกิริยา ท่านผู้เป็นบุรุษแห่งมวลชน บุรุษผู้ทำจริง บุรุษผู้กุมชะตา...” (หน้า 118)


ไม่เฉพาะแต่การเมืองเท่านั้นที่ถูกมองด้วยสายตาแห่งความไม่เข้าใจของเด็กชายมาตาปารี แต่ศาสนาและความเชื่อต่างถิ่นก็เป็นสิ่งที่แปลกปลอมด้วยเช่นกัน ความพยายามที่จะ “ฝัง” ศาสนาต่างถิ่นลงไปให้คนพื้นเมืองเป็นสิ่งที่เหลวไหลไร้ผล


บาทหลวงดูเหมือนจะเป็นตัวละครที่กลายเป็นโจ๊กไปตลอดทั้งเรื่อง บาทหลวงเป็นตัวแทนของศาสนจักรในดินแดนคองโก แม้นเมื่อจักรวรรดิฝรั่งเศสถอนตัวออกไปแล้ว บาทหลวงก็ยังคงอยู่ต่อไป และได้พบกับความพิลึกพิลั่นเมื่อต้องเผชิญกับวัฒนธรรมพื้นเมืองที่เข้มแข็งเข้มข้น ในขณะที่อำนาจของจักรวรรดิฝรั่งเศสอ่อนลง


สมัยนั้นมีความเชื่อที่ฝังรากลึกในประเทศของเราว่าจะต้องไม่ยอมให้บาทหลวงที่เราทะเลาะด้วยออกจากบ้านไปโดยไม่กระตุกผ้าคาดเอวของบาทหลวงเอาไว้ ไม่อย่างนั้นแล้วบาทหลวงจะเอาวิญญาณของเราไปด้วย เท่ากับว่าชีวิตของเราเป็นอันจบสิ้นหรือไม่เราก็จะมีปิศาจไล่ตามจนถึงวันตาย จู่ ๆ ปู่ก็นึกถึงเรื่องนี้ขึ้นมาได้ เมื่อเห็นผ้าคาดเอวสีดำห้อยต้องแต่งอย่างท้าทายอยู่ที่เอวซึ่งกำลังขยับเข้าใกล้ประตู ปู่ก็พุ่งเข้าใส่ ผลักเด็กร้องเพลงประสานเสียงสองคนล้มทับกลุ่มผู้มีศรัทธาจนทำเอาน้ำตาเทียนหยดใส่ ปู่กระตุกผ้าเต็มแรงด้วยความโกรธ แทนที่ผ้าคาดเอวจะหลุดเฉย ๆ ชุดของหลวงพ่อกลับขาดติดมือมาด้วยไม่น้อยเลย หลวงพ่อหันมาอย่างตกใจและเมื่อเห็นว่าชุดที่สวมใส่ฉีกขาดและเผยให้เห็นกางเกงชั้นใน จึงใช้ไม้กางเขนที่ถืออยู่ในมือฟาดหัวปู่ ปู่ร้องโหยหวนด้วยความเจ็บปวดและปล่อยหมัดอัปเปอร์คัตเล็งไปที่คางไว้เคราของคู่ต่อสู้ โชคดีที่มีคนรั้งปู่ไว้ทัน เพราะหมัดของปู่เฉียดขาดกรรไกรของหลวงพ่อไปหน่อยเดียว” (หน้า 33-34)


การปะทะกันของปู่กับบาทหลวง เป็นการปะทะกันระหว่างสองความเชื่อซึ่งดูจะไร้เหตุผลพอกันตามความคิดแบบสมัยใหม่ อย่างไรก็ตาม จากน้ำเสียงของผู้เล่า ความเชื่อพื้นเมืองซึ่งแนบแน่นกับชีวิตก็ดูจะเป็นสิ่งจำเป็นมากกว่าเมือเทียบกับ “ความเชื่อนำเข้า” ที่ประดักประเดิดสิ้นดี


ปู่ของมาตาปารีเป็นตัวแทนของโลกเก่าซึ่งกำลังปลาสนาการไปพร้อมกับการมาถึงของพิซซาและโคคาโคลาแต่คำสอนของปู่นั้นมีความหมายอย่างล้ำลึกต่อเด็กน้อยมาตาปารี ด้วยว่ามันคือจิตวิญญาณแห่งความเป็นคองโก ปู่สอนว่า


จักรวาลก้าวไปข้างหน้าภายใต้ปริศนา และคนเราเกิดมาก็กิน เต้นรำ หลับนอนกันแล้วก็ใช้เวลาที่เหลือพยายามล้วงความลับที่ซุกซ่อนภายใต้รูปลักษณ์ที่ตามองเห็น เพราะเหตุนี้คนถึงเขียนหนังสือ ส่วนคนที่เขียนหนังสือไม่เป็นก็เรียนรู้จากป่า ฟังเสียงสัตว์ขุดดินหรือจ้องมองดวงดาว จงหัดอ่านหนังสือไว้นะหลานเอ๊ย จงหัดอ่านทั้งหนังสือที่มนุษย์เขียนและจักรวาลเขียนไว้แล้วก็หมั่นเรียนรู้ จงเรียนรู้จากปราชญ์อยู่เสมอ

 

 

บล็อกของ นาลกะ

นาลกะ
-1- หลานเกิดปีเดียวกับที่ผมเดินทางออกจากบ้าน มุ่งหาประสบการณ์และไล่คว้าหาความหมายของสิ่งที่เรียกว่าชีวิต  คืนวันของหลานที่เติบโตขึ้นด้วยความเอาใจใส่ของพ่อแม่คือจำนวนเวลาที่ผมจากบ้านเกิดเมืองนอน
นาลกะ
    คงเป็นเพราะรูปเล่มงามตาน่าหยิบจับและเครดิตก่อนเข้าสู่เนื้อเรื่องที่บอกว่า “เล็กน้อยมากจนสามารถนั่งอ่านข้าง ๆ เตียง ยิ่งใหญ่มากจนสามารถเปลี่ยนชีวิตทั้งชีวิต” เร้าความสนใจให้เปิดพลิกและลงมืออ่าน
นาลกะ
-1- ฉันเดินตัดผ่านสนามหลวงเพื่อไปขึ้นรถเมล์กลับหอพักเกือบทุกวัน เรื่องราวที่แทบจะเป็นแบบฉบับและเหตุการณ์ซ้ำ ๆ ที่ได้พบเห็นจากผู้คนแห่งสนามหลวงวันแล้ววันเล่า ทำให้เกิดภาพประทับในใจโดยไม่รู้ตัว เมื่อฉันได้รู้จักกับสนามหลวงมากขึ้น ฉันก็ได้พบว่าสถานที่แห่งนี้เปี่ยมไปด้วยสีสันและชีวิตชีวาอย่างแท้จริง ที่แห่งนี้มีเรื่องราวชีวิตของคนระดับล่างมากมาย แต่ละคน แต่ละชีวิตนั้นน่าจะปรากฏอยู่ในนิยายมากกว่าจะเป็นเรื่องจริง คนเหล่านี้ไม่ควรจะมีอยู่จริง!
นาลกะ
“ลูกผู้ชายหัวใจมีรัก(Man and Wife)” คือนิยายอันละเมียดบรรจงของ Tony Parsons เป็นผลงานภาคต่อจาก “ลูก(ผู้)ชายหัวใจคุณพ่อ (Man and Boy)” ซึ่งเคยสร้างความเกรียวกราวในแวดวงนักอ่านได้มากพอสมควร(ผมเคยวิจารณ์ไว้แล้วที่ http://blogazine.prachatai.com/user/nalaka/post/1562 ) ฝีมือแปลโดย ภัสรี สิงหเดช  
นาลกะ
โดยทั่วไปแล้ว หนังสือของสำนักพิมพ์ “ผีเสื้อ” สามารถการันตีคุณภาพ(แต่ไม่การันตียอดขาย) ได้ในระดับหนึ่ง เรียกได้ว่าไม่มีคำว่าผิดหวังในแทบทุกเล่มเพราะว่าโดยส่วนใหญ่แล้วเป็นวรรณกรรมแปล! “พ่อผมไม่เคยฆ่าใคร” ซึ่งเขียนโดย ฌ็อง-หลุยส์ ฟูร์นิเย่ร์ และแปลโดย วัลยา วิวัฒน์ศร ก็เช่นเดียวกัน
นาลกะ
วรรณกรรมเยาวชนรางวัลชมเชยประเภทบันเทิงคดีสำหรับเยาวชน ก่อนวัยรุ่น (12-14) จากคณะกรรมการพัฒนาหนังสือแห่งชาติปี 2530 และได้รับคัดเลือกเป็น 1 ใน 100 เล่ม ที่เด็กและเยาวชนไทยควรอ่าน โดยฝีมือการประพันธ์ของนักเขียนซึ่งเป็นรู้จักกันดี "อัศศิริ ธรรมโชติ"
นาลกะ
ด้วยชื่อเรื่องที่ไม่คุ้นหู และหน้าปกเป็นรูปน้ำตกกลางป่าสวยงาม วรรณกรรมเยาวชนเล่มนี้ชวนให้สะดุดใจและเปิดอ่าน ซึ่งก็ใช้เวลาอ่านไม่นานนักก็จบเล่มเพราะมีความหนาไม่ถึง 50 หน้ารวมภาพประกอบ
นาลกะ
ผลงานเรื่องนี้ได้รับรางวัลรองชนะเลิศ จากการประกวดวรรณกรรมเยาวชนรางวัลแว่นแก้ว ครั้งที่ 2 ผู้เขียนคือ “เก็ตตะหวา” วาดภาพประกอบโดย ธีระพงษ์ บัวระเพชร และจัดพิมพ์โดยสำนักพิมพ์นานมีบุ๊ค เจ้าเก่า แก่นแกนของเรื่องคือพัฒนาการของเด็กผู้หญิงที่ชื่อ “ผิงผิง” ซึ่งอาศัยอยู่กับพ่อแม่บุญธรรม และไม่ใคร่จะชอบพ่อที่แท้จริงนักเพราะคิดว่าพ่อทอดทิ้งเธอซ้ำยังปล่อยให้แม่ตาย แต่ที่จริงแล้วพ่อของเธอนั้นรักเธอมาก เหตุที่ต้องฝากเธอไว้กับคนอื่นนั้นเพราะหน้าที่การงานที่เป็นนักมายากลต้องตระเวณแสดงไปตามที่ต่าง ๆ ทั้งคนที่นำลูกไปฝากไว้นั้นก็เป็นเพื่อนเก่าและเป็นนายอำเภอที่ไม่มีลูกของตนเองสามารถดูแลผิงผิงได้
นาลกะ
  เรื่องเล่ามหาสนุกจากทุ่งหญ้าสีเขียว เป็นวรรณกรรมเด็กที่โด่งดังของธอร์นทัน ดับบลิว. เบอเกตส์ (Thornton W. Burgess) เขาได้แต่งเรื่องเล่าเกี่ยวกับสัตว์ป่าและธรรมชาติเป็นนิทานก่อนนอนสำหรับลูกชาย ปลูกฝังให้ลูกชายเติบโตขึ้นอย่างมีความมั่นคงทางอารมณ์และจิตใจ ต่อมาได้รับการตีพิมพ์เป็นหนังสือชุดรวม 20 เล่ม ได้รับผลสำเร็จอย่างมาก จนเขาได้แต่งเรื่องเล่าเพิ่มเติมรวม 170 เรื่อง
นาลกะ
  วันนี้ขอเปลี่ยนจากวรรณกรรมไทยมาเป็นวรรณกรรมต่างประเทศกันบ้าง หลังจากอ่านวรรณกรรมเล่มนี้จบแล้ว ยอมรับว่ารู้สึกได้ถึงความแตกต่างระหว่างวรรณกรรมเยาวชนของไทยและต่างประเทศ ทั้งสำนวนภาษา ทั้งเทคนิคลีลาการเล่าเรื่องและความเข้มข้นจัดจ้านของเนื้อหา ขอบ่นนิดหนึ่งว่าเท่าที่อ่านและเขียนถึงวรรณกรรมเยาวชนของไทย จำนวนไม่น้อยถ้าไม่เล่าเรื่องชนบทเรียบ ๆ ง่าย ๆ ไม่มีอะไรน่าตื่นเต้นติดตามแล้วก็มักจะบรรเจิดเพริศแพร้วในเรื่องจินตนาการมากเสียจนกลายเป็นนิทานก่อนนอนไปหรือไม่ก็เขียนสำหรับให้เยาวชนอ่านเท่านั้น ไม่ท้าทายผู้อ่านวัยอื่น ๆ แต่อย่างไรเสีย เชื่อว่าวรรณกรรมเยาวชนไทยคงจะได้พัฒนาขึ้นเป็นลำดับ…
นาลกะ
"โลกนี้ยังมีเพื่อน" คือหนังสือรวมนิทานยอดเยี่ยม รางวัลมูลนิธิเด็ก หนังสือเล่มนี้รวมนิทานไว้ทั้งหมด 7 เรื่องด้วยกัน ตั้งชื่อเล่มตามชื่อนิทานที่ได้รับรางวัลยอดเยี่ยมจากการประกวดในปีที่ 12 นอกจาก "โลกนี้ยังมีเพื่อน" ซึ่งได้รับรางวัลนิทานยอดเยี่ยมแล้ว ยังมีเรื่องนิทานเรื่อง "นักวาดพู่กันวิเศษ" ที่โดดเด่นจนได้รับรางวัลความคิดสร้างสรรค์ยอดเยี่ยม ส่วนที่เหลืออีก 5 เรื่องได้รับรางวัลชมเชย
นาลกะ
ลูกแม่น้ำโขง วรรณกรรมเยาวชนรางวัลพระราชทาน "แว่นแก้ว" ชนะเลิศรางวัลที่ 3 คืออีกหนึ่งผลงานจากนานมีบุ๊ค เขียนโดย "เขมชาติ" แม้ว่าลูกแม่น้ำโขงจะเดินตามขนบวรรรกรรมเยาวชนแบบที่เขียน ๆ กัน ที่มักพูดถึงชนบทอันงดงามที่ผู้คนพึ่งพาช่วยเหลือกัน สภาพธรรมชาติที่ผูกพันแวดล้อมวิถีชีวิต การเล่นซนของเด็ก ๆ และข้อคิดทางด้านคุณธรรม เป็นต้นว่า การไม่ฆ่าสัตว์ตัดชีวิต ความมีน้ำใจ  ถึงกระนั้น ลูกแม่น้ำโขง ก็ยังคงน่าอ่านด้วยการบรรยายอย่างมีชีวิตชีวา  เพราะแม่น้ำโขงแม้นจะไหลอย่างที่เคยไหลก็ยังคงน่ามองและมีเสน่ห์อยู่เสมอ