Skip to main content

รุ่งอรุณ สัมปัชชลิต” แปลเรื่อง จากเถ้าธุลี จากต้นฉบับ Out of the Ashes ที่เขียนโดย “Michael Morpurgo” นักเขียนชาวอังกฤษที่เป็นที่รู้จักมากคนหนึ่งในฐานะนักเขียนวรรณกรรมเยาวชน


จนถึงปัจจุบัน “Michael Morpurgo” มีผลงานทั้งหมด 95 เรื่อง ได้รับการแปลเป็นภาษาต่าง ๆ ทั่วโลกกว่ายี่สิบภาษาและนำไปดัดแปลงเป็นภาพยนตร์ห้าเรื่องด้วยกัน


เขาได้รับรางวัลทางด้านวรรณกรรมเยาวชนมากมาย เช่น รางวัล The Children’s Book Award, The Whitbread Award นอกจากนี้ เขายังได้รับยกย่องว่าเป็นผู้มีเกียรติสูงสุดด้านวรรณกรรมสำหรับเด็กของประเทศอังกฤษ


รวมทั้งได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้น MBE (Member of the Order of the British Empire) จากโครงการ “ฟาร์มสำหรับเด็กเมือง” ซึ่งเป็นโครงการเพื่อการกุศลที่เขาจัดขึ้นเพื่อให้เด็กมีประสบการณ์เกี่ยวกับสัตว์


หนังสือเรื่อง Out of the Ashes หรือ จากเถ้าธุลี นั้นมีเนื้อหาว่าด้วยความรัก ความผูกพันในครอบครัวระหว่างพ่อแม่ลูกแห่งครอบครัวปศุสัตว์ในชนบทของประเทศอังกฤษ และระหว่างเด็กน้อย “เบกกี้” กับสัตว์เลี้ยงหลากชนิดในฟาร์มของเธอ แต่แล้วเธอก็สูญเสียสัตว์เลี้ยงแสนรักไปทั้งหมดเพราะโรคระบาด


โรคระบาดปากและเท้าเปื่อยในประเทศอังกฤษเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นจริง คือเกิดขึ้นในปี ค.. 2001 เป็นการระบาดครั้งแรกในรอบยี่สิบปีของอังกฤษ การระบาดเกิดขึ้นอย่างกว้างขวางรุนแรง ยังผลให้มีการทำลายสัตว์เลี้ยงไปถึงสามล้านตัว เป็นโศกนาฏกรรมครั้งใหญ่ที่ลืมไม่ลงของเกษตรกรชาวอังกฤษ


จากเถ้าธุลี ถือเป็นพันธกิจและความรับผิดชอบในฐานะนักเขียนที่มีต่อสังคมที่อาศัยอยู่ นอกจากจะเป็นการบันทึกเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ในรูปแบบของวรรณกรรมแล้ว ยังถือเป็นกำลังใจผู้เขียนอยากจะมอบให้แก่เกษตรกรผู้ประสบเคราะห์กรรม


หนังสือเล่มนี้อุทิศแด่เกษตรกรและชุมชนเกษตรทุกแห่งที่ประสบความเสียหายในช่วงโรคปากและเท้าเปื่อยระบาดในปี 2001”


(
ว่าที่จริง เมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมาในประเทศไทยก็เกิดโรคระบาดไข้หวัดนกที่ทำให้ต้องทำลายสัตว์เลี้ยงไปเป็นจำนวนมากเช่นเดียวกัน เป็นโศกนาฏกรรมครั้งใหญ่สำหรับเกษตรกรของไทย แต่ก็ไม่มีการพูดถึงเรื่องนี้ในรูปแบบของวรรณกรรมแต่อย่างใด)


จากเถ้าธุลี ถูกถ่ายทอดด้วยวิธีการเล่าง่าย ๆ ในรูปแบบบันทึกประจำวันของเด็กหญิงเบกกี้ มีรูปวาดสัตว์เลี้ยงประกอบการเล่าเรื่องตามสมควร และเพื่อต้องการตอกย้ำให้เห็นถึงความจริงจังหนักแน่น เบกกี้เริ่มต้นบันทึกว่า


เรื่องราวเหล่านี้ไม่ใช่เรื่องแต่งขึ้นเลย ทุกอย่างล้วนเกิดขึ้นจริง ฉันรู้เพราะฉันอยู่ที่นั่น ใช้ชีวิตอยู่ที่นั่น ฉันเห็นด้วยตาตัวเอง มันเป็นช่วงเวลาหนึ่งในชีวิตที่ฉันไม่มีวันลืม”


รูบี้-ม้าสีน้ำตาลแดง แผงคอและหางสีเข้ม เป็นสัตว์เลี้ยงแสนรักที่อยู่ในใจอันดับหนึ่งของเบกกี้ ต่อมาคือแบรด-สัตวแพทย์รูปหล่อที่คอยดูแลรักษาสัตว์ในฟาร์ม เบกกี้บอกว่า “หน้าตาเขาหล่อมาก เหมือนแบรดพิตต์ สวมหมวกออสเตรเลียนด้วย” อันดับสามคือบ๊อบ-สุนัขเลี้ยงแกะจอมขี้เกียจที่ชอบวิ่งตามอะไรก็ตามที่เคลื่อนไหวได้ยกเว้นสัตว์ในฟาร์ม


บันทึกของเบกกี้ค่อย ๆ แสดงให้เห็นถึงความรัก ความผูกพันของเธอที่มีต่อทุกอย่างรอบตัวตั้งแต่พ่อแม่ ครูและเพื่อนที่โรงเรียนและที่เบกกี้ให้ความสำคัญเป็นพิเศษคือสัตว์เลี้ยงในฟาร์มของเธอ สัตว์ทุกตัวมีชื่อเรียก แม่วัวพันธุ์จะถูกตั้งชื่อเหมือนดอกไม้ เช่น ทิวลิป แมรีโกลด์ ซีแลนไดน์ ส่วนหมู จะใช้ชื่อที่มีตัว “จ” เช่น เจสสิกา เจไมมา เจเซอเบล ส่วนลูกแกะที่เบกกี้ทำคลอดให้ด้วยตัวเองมีชื่อว่าลิตเติลจอช


ครอบครัวของเบกกี้อยู่กันอย่างมีความสุข จนกระทั่ง วันหนึ่งสัญญาณร้ายก็มาเยือนเมื่อมีข่าวการแพร่ระบาดของโรคปากและเท้าเปื่อย แม้ว่าจะห่างออกไปถึงสามร้อยไมล์แต่ก็สร้างความกังวลใจให้กับครอบครัวของเบกกี้อย่างใหญ่หลวง

โรคระบาดลุกลามใกล้เข้ามาเรื่อย ๆ กระทั่งอยู่ใกล้ไม่เกินสองไมล์ บรรยากาศในครอบครัวมีแต่ความหดหู่กังวล ความสุขครั้งเก่าก่อนหายไป


พ่อแทบไม่พูดอะไรเลยทั้งวัน ไม่กินข้าวเที่ยงและแทบไม่แตะมือเย็นด้วย แม่พยายามเต็มที่เพื่อให้พ่อร่าเริง ฉันก็เหมือนกัน แต่โรคปากและเท้าเปื่อยเกาะกุมจิตใจพ่อเหมือนกับเงามืดจนพ่อแทบไม่ได้ยินเรา ราวกับพ่อตัดขาดจากเราอย่างสิ้นเชิง ราวกับพ่อถูกขังอยู่ในตัวเองและไม่สามารถออกมาได้ ฉันไม่เคยเห็นพ่อเป็นแบบนี้มาก่อนและมันทำให้ฉันกลัว” (หน้า 38)


ในที่สุดความกังวลใจอย่างใหญ่หลวงก็กลายมาเป็นความจริง เมื่อพบตุ่มพุพองบนเท้าของเจสสิกา-แม่หมูตัวหนึ่ง ผลการตรวจยืนยันว่าสัตว์ในฟาร์มของเบกกี้ติดโรคปากและเท้าเปื่อย จากนั้นคนชุดขาวในฐานะทูตมรณะก็ปรากฏตัวขึ้น สัตว์ทุกตัวถูกฆ่า ไม่เว้นแม้แต่ลิตเติลจอช-ลูกแกะตัวน้อยที่เบกกี้พยายามเอาไปซ่อน ฟาร์มถูกเผาจนราบเรียบ


พ่อของเบกกี้กลายเป็นโรคซึมเศร้าถึงขนาดต้องเข้าโรงพยาบาล กว่าจะอาการดีขึ้นก็ต้องพักรักษาตัวอยู่ถึงสองสัปดาห์ แต่หลังจากพายุร้ายผ่านไป ก็ถึงเวลาของการเริ่มต้นใหม่อีกครั้ง


วันที่ 30 ตุลาคม เมื่อฉันกลับจากโรงเรียน ฉันพบแกะตัวเมียฝูงใหม่ยี่สิบห้าตัวในฟร้อนต์ฟีลด์ พันธุ์คอตส์โวลด์อีกแล้ว หญ้าขึ้นมาทับหลุมศพแล้ว—แทบมองไม่ออกเลยว่ามันอยู่ตรงนั้น เราปลูกต้นโอ๊กที่ท้ายหลุมเพื่อระลึกถึงลิตเติลจอชกับเฮกเตอร์และทุก ๆ ตัว มันจะผลิใบจากเถ้าธุลีและอยู่ตรงนั้นไปอีกเป็นร้อย ๆ ปี พวกหมูมาถึงแล้ว แค่สามตัว แต่อย่างที่พ่อบอก “กับหมูน่ะ จากสามแป๊บเดียวก็กลายเป็นสามสิบ” ทุกตัวเป็นพันธุ์กลอสเตอร์โอลด์สปอต เราเรียกหมูตัวผู้ว่าจิม ส่วนแฟนของมันสองตัวชื่อเจอรัลดีนกับจอร์เจีย พวกมันสวยที่สุดเลย!”


บล็อกของ นาลกะ

นาลกะ
-1- หลานเกิดปีเดียวกับที่ผมเดินทางออกจากบ้าน มุ่งหาประสบการณ์และไล่คว้าหาความหมายของสิ่งที่เรียกว่าชีวิต  คืนวันของหลานที่เติบโตขึ้นด้วยความเอาใจใส่ของพ่อแม่คือจำนวนเวลาที่ผมจากบ้านเกิดเมืองนอน
นาลกะ
    คงเป็นเพราะรูปเล่มงามตาน่าหยิบจับและเครดิตก่อนเข้าสู่เนื้อเรื่องที่บอกว่า “เล็กน้อยมากจนสามารถนั่งอ่านข้าง ๆ เตียง ยิ่งใหญ่มากจนสามารถเปลี่ยนชีวิตทั้งชีวิต” เร้าความสนใจให้เปิดพลิกและลงมืออ่าน
นาลกะ
-1- ฉันเดินตัดผ่านสนามหลวงเพื่อไปขึ้นรถเมล์กลับหอพักเกือบทุกวัน เรื่องราวที่แทบจะเป็นแบบฉบับและเหตุการณ์ซ้ำ ๆ ที่ได้พบเห็นจากผู้คนแห่งสนามหลวงวันแล้ววันเล่า ทำให้เกิดภาพประทับในใจโดยไม่รู้ตัว เมื่อฉันได้รู้จักกับสนามหลวงมากขึ้น ฉันก็ได้พบว่าสถานที่แห่งนี้เปี่ยมไปด้วยสีสันและชีวิตชีวาอย่างแท้จริง ที่แห่งนี้มีเรื่องราวชีวิตของคนระดับล่างมากมาย แต่ละคน แต่ละชีวิตนั้นน่าจะปรากฏอยู่ในนิยายมากกว่าจะเป็นเรื่องจริง คนเหล่านี้ไม่ควรจะมีอยู่จริง!
นาลกะ
“ลูกผู้ชายหัวใจมีรัก(Man and Wife)” คือนิยายอันละเมียดบรรจงของ Tony Parsons เป็นผลงานภาคต่อจาก “ลูก(ผู้)ชายหัวใจคุณพ่อ (Man and Boy)” ซึ่งเคยสร้างความเกรียวกราวในแวดวงนักอ่านได้มากพอสมควร(ผมเคยวิจารณ์ไว้แล้วที่ http://blogazine.prachatai.com/user/nalaka/post/1562 ) ฝีมือแปลโดย ภัสรี สิงหเดช  
นาลกะ
โดยทั่วไปแล้ว หนังสือของสำนักพิมพ์ “ผีเสื้อ” สามารถการันตีคุณภาพ(แต่ไม่การันตียอดขาย) ได้ในระดับหนึ่ง เรียกได้ว่าไม่มีคำว่าผิดหวังในแทบทุกเล่มเพราะว่าโดยส่วนใหญ่แล้วเป็นวรรณกรรมแปล! “พ่อผมไม่เคยฆ่าใคร” ซึ่งเขียนโดย ฌ็อง-หลุยส์ ฟูร์นิเย่ร์ และแปลโดย วัลยา วิวัฒน์ศร ก็เช่นเดียวกัน
นาลกะ
วรรณกรรมเยาวชนรางวัลชมเชยประเภทบันเทิงคดีสำหรับเยาวชน ก่อนวัยรุ่น (12-14) จากคณะกรรมการพัฒนาหนังสือแห่งชาติปี 2530 และได้รับคัดเลือกเป็น 1 ใน 100 เล่ม ที่เด็กและเยาวชนไทยควรอ่าน โดยฝีมือการประพันธ์ของนักเขียนซึ่งเป็นรู้จักกันดี "อัศศิริ ธรรมโชติ"
นาลกะ
ด้วยชื่อเรื่องที่ไม่คุ้นหู และหน้าปกเป็นรูปน้ำตกกลางป่าสวยงาม วรรณกรรมเยาวชนเล่มนี้ชวนให้สะดุดใจและเปิดอ่าน ซึ่งก็ใช้เวลาอ่านไม่นานนักก็จบเล่มเพราะมีความหนาไม่ถึง 50 หน้ารวมภาพประกอบ
นาลกะ
ผลงานเรื่องนี้ได้รับรางวัลรองชนะเลิศ จากการประกวดวรรณกรรมเยาวชนรางวัลแว่นแก้ว ครั้งที่ 2 ผู้เขียนคือ “เก็ตตะหวา” วาดภาพประกอบโดย ธีระพงษ์ บัวระเพชร และจัดพิมพ์โดยสำนักพิมพ์นานมีบุ๊ค เจ้าเก่า แก่นแกนของเรื่องคือพัฒนาการของเด็กผู้หญิงที่ชื่อ “ผิงผิง” ซึ่งอาศัยอยู่กับพ่อแม่บุญธรรม และไม่ใคร่จะชอบพ่อที่แท้จริงนักเพราะคิดว่าพ่อทอดทิ้งเธอซ้ำยังปล่อยให้แม่ตาย แต่ที่จริงแล้วพ่อของเธอนั้นรักเธอมาก เหตุที่ต้องฝากเธอไว้กับคนอื่นนั้นเพราะหน้าที่การงานที่เป็นนักมายากลต้องตระเวณแสดงไปตามที่ต่าง ๆ ทั้งคนที่นำลูกไปฝากไว้นั้นก็เป็นเพื่อนเก่าและเป็นนายอำเภอที่ไม่มีลูกของตนเองสามารถดูแลผิงผิงได้
นาลกะ
  เรื่องเล่ามหาสนุกจากทุ่งหญ้าสีเขียว เป็นวรรณกรรมเด็กที่โด่งดังของธอร์นทัน ดับบลิว. เบอเกตส์ (Thornton W. Burgess) เขาได้แต่งเรื่องเล่าเกี่ยวกับสัตว์ป่าและธรรมชาติเป็นนิทานก่อนนอนสำหรับลูกชาย ปลูกฝังให้ลูกชายเติบโตขึ้นอย่างมีความมั่นคงทางอารมณ์และจิตใจ ต่อมาได้รับการตีพิมพ์เป็นหนังสือชุดรวม 20 เล่ม ได้รับผลสำเร็จอย่างมาก จนเขาได้แต่งเรื่องเล่าเพิ่มเติมรวม 170 เรื่อง
นาลกะ
  วันนี้ขอเปลี่ยนจากวรรณกรรมไทยมาเป็นวรรณกรรมต่างประเทศกันบ้าง หลังจากอ่านวรรณกรรมเล่มนี้จบแล้ว ยอมรับว่ารู้สึกได้ถึงความแตกต่างระหว่างวรรณกรรมเยาวชนของไทยและต่างประเทศ ทั้งสำนวนภาษา ทั้งเทคนิคลีลาการเล่าเรื่องและความเข้มข้นจัดจ้านของเนื้อหา ขอบ่นนิดหนึ่งว่าเท่าที่อ่านและเขียนถึงวรรณกรรมเยาวชนของไทย จำนวนไม่น้อยถ้าไม่เล่าเรื่องชนบทเรียบ ๆ ง่าย ๆ ไม่มีอะไรน่าตื่นเต้นติดตามแล้วก็มักจะบรรเจิดเพริศแพร้วในเรื่องจินตนาการมากเสียจนกลายเป็นนิทานก่อนนอนไปหรือไม่ก็เขียนสำหรับให้เยาวชนอ่านเท่านั้น ไม่ท้าทายผู้อ่านวัยอื่น ๆ แต่อย่างไรเสีย เชื่อว่าวรรณกรรมเยาวชนไทยคงจะได้พัฒนาขึ้นเป็นลำดับ…
นาลกะ
"โลกนี้ยังมีเพื่อน" คือหนังสือรวมนิทานยอดเยี่ยม รางวัลมูลนิธิเด็ก หนังสือเล่มนี้รวมนิทานไว้ทั้งหมด 7 เรื่องด้วยกัน ตั้งชื่อเล่มตามชื่อนิทานที่ได้รับรางวัลยอดเยี่ยมจากการประกวดในปีที่ 12 นอกจาก "โลกนี้ยังมีเพื่อน" ซึ่งได้รับรางวัลนิทานยอดเยี่ยมแล้ว ยังมีเรื่องนิทานเรื่อง "นักวาดพู่กันวิเศษ" ที่โดดเด่นจนได้รับรางวัลความคิดสร้างสรรค์ยอดเยี่ยม ส่วนที่เหลืออีก 5 เรื่องได้รับรางวัลชมเชย
นาลกะ
ลูกแม่น้ำโขง วรรณกรรมเยาวชนรางวัลพระราชทาน "แว่นแก้ว" ชนะเลิศรางวัลที่ 3 คืออีกหนึ่งผลงานจากนานมีบุ๊ค เขียนโดย "เขมชาติ" แม้ว่าลูกแม่น้ำโขงจะเดินตามขนบวรรรกรรมเยาวชนแบบที่เขียน ๆ กัน ที่มักพูดถึงชนบทอันงดงามที่ผู้คนพึ่งพาช่วยเหลือกัน สภาพธรรมชาติที่ผูกพันแวดล้อมวิถีชีวิต การเล่นซนของเด็ก ๆ และข้อคิดทางด้านคุณธรรม เป็นต้นว่า การไม่ฆ่าสัตว์ตัดชีวิต ความมีน้ำใจ  ถึงกระนั้น ลูกแม่น้ำโขง ก็ยังคงน่าอ่านด้วยการบรรยายอย่างมีชีวิตชีวา  เพราะแม่น้ำโขงแม้นจะไหลอย่างที่เคยไหลก็ยังคงน่ามองและมีเสน่ห์อยู่เสมอ