Skip to main content

หนังสือเรื่อง “ลูก(ผู้)ชายหัวใจคุณพ่อ” หรือ Man and Boy” ที่เขียนโดย Tony Parsonsเป็นหนึ่งในหนังสือวรรณกรรมที่อยากแนะนำให้อ่านโดยเฉพาะคนที่เป็นพ่อหม้าย/แม่หม้าย หรือคนที่กำลังจะเป็นพ่อหม้าย/แม่หม้ายหรือคนที่กำลังคิดจะแต่งงาน หรือคนที่กำลังจะมีตัวเลขอายุเข้าสู่ 30


หนังสือเปิดตัวอย่างน่าสนใจในบทที่หนึ่ง โดยบอกถึงสถานการณ์ที่ควรหลีกเลี่ยง เมื่อก้าวเข้าสู่ช่วงเวลาสำคัญของการเป็นผู้ใหญ่เต็มตัวตอนอายุสามสิบว่า

มีสัมพันธ์รักข้ามคืนกับเพื่อนร่วมงาน”

ซื้อของฟุ่มเฟือยที่แทบไม่มีปัญญาซื้ออย่างไม่คิดหน้าคิดหลัง”

ถูกภรรยาทิ้ง”

ตกงาน”

รับภาระเลี้ยงลูกแต่เพียงลำพังโดยกะทันหัน”

สิ่งเหล่านี้จะทำลายวันดี ๆ ไปจนหมดสิ้น (หน้า 9)


จากนั้นก็นำผู้อ่านไปสู่ความสัมพันธ์ของสามีภรรยาคู่หนึ่ง ที่ดูเหมือนจะไม่แตกต่างจากคู่อื่น ๆ อาจจะดีกว่าคู่อื่น ๆ ด้วยซ้ำไปเพราะสามีทำงานเป็นโปรดิวเซอร์เงินเดือนสูง ภรรยาฉลาด และลูกน่ารัก


แต่แล้ว วิกฤติแห่งชีวิตก็มาเยือนเมื่อ “แฮร์รี่” แอบนอกใจภรรยาตัวเองด้วยการหลับนอนกับลูกน้องสาวสวยที่ทำงานด้วยกัน แล้วก็แก้ตัวด้วยคำแก้ตัวหวาน ๆ ที่ภรรยา (บางคน) อาจยอมยกโทษให้ว่า

ผมเสียใจที่ทำร้ายคุณ จีน่า และจะเสียใจตลอดไป คุณเป็นคนสุดท้ายในโลกที่ผมอยากทำร้าย” (หน้า 71)

อย่างไรก็ตาม คำพูดหวาน ๆ ชวนคลื่นเหียนแบบนี้ใช้ไม่ได้ผลสำหรับ “จีน่า” เธอรับสามีของเธอได้ทุกอย่างยกเว้นการนอกใจ

ฉันน่าจะรู้นะ” เธอพูด “ว่าพวกที่ชอบทำซาบซึ้งนี่แหละร้ายที่สุด พวกที่ชอบให้ดอกไม้และคำหวาน พวกที่สัญญาว่าจะไม่มองผู้หญิงอื่น พวกนี้แหละร้ายที่สุด เพราะพวกนี้จะมองหาคนใหม่อยู่เสมอ เป็นพวกที่ขาดความซาบซึ้งไม่ได้ ใช่ไหม แฮร์รี่” (หน้า 71)


จีนาปาดน้ำตาสลัดแฮร์รี่ออกไปจากชีวิตแล้วดั้นด้นค้นหาชีวิตใหม่ ด้วยการเดินทางไปญี่ปุ่นซึ่งเธอเกือบได้ไปตอนสาว ๆ แต่ทิ้งโอกาสไปเพราะเลือกแฮร์รี่ เธอหวังจะพาลูกไปกับเธอด้วยแต่ญี่ปุ่นก็ไม่เป็นดั่งหวัง ค่าครองชีพแสนแพง ชีวิตไม่หรูหราง่ายดายอย่างที่คิด


แพ็ต ลูกชายอายุ 4 ขวบที่เติบโตมากับสตาร์วอร์จึงอยู่กับแฮร์รี่...

แฮร์รี่เป็นแบบฉบับของคุณพ่อ? คือทำงานนอกบ้าน เลี้ยงลูกไม่เป็น มีเหตุผลที่ฉลาดร้อยแปดสำหรับความผิดพลาดของตนเอง ?

ด้วยความรักลูกและสถานการณ์บังคับ แฮร์รี่ตั้งใจอย่างสูงยิ่งที่จะดูแลลูกให้ดีแบบเดียวกับที่อดีตภรรยาของเขาเคยทำ ตั้งแต่อาบน้ำแต่งตัวให้ลูกไปโรงเรียน ไปจนถึงนำลูกเข้านอน แฮร์รี่ค่อย ๆ เรียนรู้สิ่งเหล่านี้จนกระทั่งเชื่อว่าตนเองสามารถเป็นพ่อที่ดีได้


หนังสือพรรณาถึงความรัก ความผูกพันธ์ระหว่างพ่อกับลูก ระหว่างหลานกับปู่ ย่า ไว้อย่างน่าซาบซึ้งใจ อ่านแล้วคาดไม่ถึงว่าฝรั่งจะให้คุณค่าเรื่อง “ครอบครัวอบอุ่น” ได้มากขนาดนี้ เมื่อแพ็ตประสบอุบัติเหตุจากการหัดขี่รถจักรยาน แฮร์รี่ ผู้เป็นพ่อ พูดถึงปู่ของแพ็ตว่า

ผมรู้ว่าพ่อสามารถทำทุกอย่างได้เพื่อแพ็ต รู้ว่าท่านรักเจ้าหนูอย่างไร้เงื่อนไขแบบที่คนเราจะมีให้ก็แต่เด็ก ๆ เท่านั้น ความรักที่ยากจะรู้สึกเมื่อลูกแสนดีคนนั้นเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่คอยแต่จะทำสิ่งผิดพลาด พ่อรักแพ็ตแบบที่ครั้งหนึ่งท่านเคยรักผม แพ็ตก็คือผมเมื่อสมัยที่ยังไม่ได้ทำลายทุกอย่างลง การที่พ่อทำได้เพียงนั่งรอแบบนี้ กัดกร่อนจิตใจท่านยิ่งนัก” (หน้า 146)

แม้ว่า “ลูก(ผู้)ชายหัวใจคุณพ่อ” ที่แปลโดย “ภัสรี สิงหเดช” จะไม่ใช่วรรณกรรมเยาวชนอันเป็นแนวที่คอลัมน์นี้เขียนแนะนำและวิจารณ์ แต่ด้วยความที่ตัวละครสำคัญตัวหนึ่งในเรื่องคือเด็กชายวัย 4 ขวบ ที่เป็นศูนย์กลางความรักของทุกฝ่าย ทำให้ผมคิดว่าสามารถจัดวรรณกรรมเรื่องนี้เข้ามาไว้ในคอลัมนี้ได้


จีน่า แม่ของแพ็ต ล้มเหลวในการแสวงหาชีวิตใหม่ที่ญี่ปุ่น ญี่ปุ่นไม่ใช่ดินแดนสำหรับการขุดทองสำหรับฝรั่งเหมือนเมื่อก่อนอีกแล้ว แต่จะว่าไป จีน่าก็ไม่ล้มเหลวเสียทีเดียวนักเพราะเธอพบรักใหม่และตั้งใจจะอยู่กินด้วยกันอย่างเปิดเผย และจะพาแพ็ตไปอยู่ด้วย


แพ็ต” คือศูนย์กลางแห่งคุณค่าของชีวิตของคนเป็นพ่อ/แม่ (รวมทั้งปู่กับย่า) แต่เมื่อพ่อกับแม่แยกทางกัน เด็กก็ตกอยู่ตรงกึ่งกลางที่ไม่อาจเลือกข้างใดข้างหนึ่ง


ศึกแห่งการแย่งชิงลูกเริ่มต้นขึ้น ผู้เป็นพ่อและแม่ต่างจ้างทนายเพื่อค้นหาความผิด ความล้มเหลวและข้อบกพร่องของกันและกันเพื่อจะฟ้องต่อศาล


อย่างไรก็ตาม ในตอนท้าย แฮร์รี่แสดงความเป็นพระเอกตามแบบที่เขาถนัดด้วยการหลีกทางให้กับจีน่า เขาบอกแก่ตนเองว่า “ความรักคือการรู้จักปล่อยว่างเมื่อถึงเวลา”


วรรณกรรมเล่มนี้ นอกจากจะพูดถึงความรักของพ่อที่มีต่อลูกแล้วยังอภิปรายถึงการแยกทางของคู่สามี-ภรรยา การโหยหาครอบครัวที่สมบูรณ์แบบ ชีวิตที่แคบลงของคนที่อายุมากขึ้นด้วยมุมมองที่แหลมคม ฉลาด และตลก


มีหลายคำ หลายตอนที่นักสิทธิสตรีอ่านแล้วอาจค่อนแคะเอาบ้าง เช่นตอนที่แฮร์รี่นอกใจภรรยาซึ่งดูเหมือนเขาจะบอกว่าเกิดขึ้นเพราะผู้หญิงเป็นฝ่ายให้ท่าเขาทั้งที่เขาไม่ค่อยเต็มใจ


อย่างไรก็ตาม นี่เป็นหนังสือดีในรอบปีแห่งการอ่านหนังสือ(วรรณกรรม) ของผม และอยากแนะนำเพื่อน ๆ ชาวประชาไทลองอ่านดู.




บล็อกของ นาลกะ

นาลกะ
-1- หลานเกิดปีเดียวกับที่ผมเดินทางออกจากบ้าน มุ่งหาประสบการณ์และไล่คว้าหาความหมายของสิ่งที่เรียกว่าชีวิต  คืนวันของหลานที่เติบโตขึ้นด้วยความเอาใจใส่ของพ่อแม่คือจำนวนเวลาที่ผมจากบ้านเกิดเมืองนอน
นาลกะ
    คงเป็นเพราะรูปเล่มงามตาน่าหยิบจับและเครดิตก่อนเข้าสู่เนื้อเรื่องที่บอกว่า “เล็กน้อยมากจนสามารถนั่งอ่านข้าง ๆ เตียง ยิ่งใหญ่มากจนสามารถเปลี่ยนชีวิตทั้งชีวิต” เร้าความสนใจให้เปิดพลิกและลงมืออ่าน
นาลกะ
-1- ฉันเดินตัดผ่านสนามหลวงเพื่อไปขึ้นรถเมล์กลับหอพักเกือบทุกวัน เรื่องราวที่แทบจะเป็นแบบฉบับและเหตุการณ์ซ้ำ ๆ ที่ได้พบเห็นจากผู้คนแห่งสนามหลวงวันแล้ววันเล่า ทำให้เกิดภาพประทับในใจโดยไม่รู้ตัว เมื่อฉันได้รู้จักกับสนามหลวงมากขึ้น ฉันก็ได้พบว่าสถานที่แห่งนี้เปี่ยมไปด้วยสีสันและชีวิตชีวาอย่างแท้จริง ที่แห่งนี้มีเรื่องราวชีวิตของคนระดับล่างมากมาย แต่ละคน แต่ละชีวิตนั้นน่าจะปรากฏอยู่ในนิยายมากกว่าจะเป็นเรื่องจริง คนเหล่านี้ไม่ควรจะมีอยู่จริง!
นาลกะ
“ลูกผู้ชายหัวใจมีรัก(Man and Wife)” คือนิยายอันละเมียดบรรจงของ Tony Parsons เป็นผลงานภาคต่อจาก “ลูก(ผู้)ชายหัวใจคุณพ่อ (Man and Boy)” ซึ่งเคยสร้างความเกรียวกราวในแวดวงนักอ่านได้มากพอสมควร(ผมเคยวิจารณ์ไว้แล้วที่ http://blogazine.prachatai.com/user/nalaka/post/1562 ) ฝีมือแปลโดย ภัสรี สิงหเดช  
นาลกะ
โดยทั่วไปแล้ว หนังสือของสำนักพิมพ์ “ผีเสื้อ” สามารถการันตีคุณภาพ(แต่ไม่การันตียอดขาย) ได้ในระดับหนึ่ง เรียกได้ว่าไม่มีคำว่าผิดหวังในแทบทุกเล่มเพราะว่าโดยส่วนใหญ่แล้วเป็นวรรณกรรมแปล! “พ่อผมไม่เคยฆ่าใคร” ซึ่งเขียนโดย ฌ็อง-หลุยส์ ฟูร์นิเย่ร์ และแปลโดย วัลยา วิวัฒน์ศร ก็เช่นเดียวกัน
นาลกะ
วรรณกรรมเยาวชนรางวัลชมเชยประเภทบันเทิงคดีสำหรับเยาวชน ก่อนวัยรุ่น (12-14) จากคณะกรรมการพัฒนาหนังสือแห่งชาติปี 2530 และได้รับคัดเลือกเป็น 1 ใน 100 เล่ม ที่เด็กและเยาวชนไทยควรอ่าน โดยฝีมือการประพันธ์ของนักเขียนซึ่งเป็นรู้จักกันดี "อัศศิริ ธรรมโชติ"
นาลกะ
ด้วยชื่อเรื่องที่ไม่คุ้นหู และหน้าปกเป็นรูปน้ำตกกลางป่าสวยงาม วรรณกรรมเยาวชนเล่มนี้ชวนให้สะดุดใจและเปิดอ่าน ซึ่งก็ใช้เวลาอ่านไม่นานนักก็จบเล่มเพราะมีความหนาไม่ถึง 50 หน้ารวมภาพประกอบ
นาลกะ
ผลงานเรื่องนี้ได้รับรางวัลรองชนะเลิศ จากการประกวดวรรณกรรมเยาวชนรางวัลแว่นแก้ว ครั้งที่ 2 ผู้เขียนคือ “เก็ตตะหวา” วาดภาพประกอบโดย ธีระพงษ์ บัวระเพชร และจัดพิมพ์โดยสำนักพิมพ์นานมีบุ๊ค เจ้าเก่า แก่นแกนของเรื่องคือพัฒนาการของเด็กผู้หญิงที่ชื่อ “ผิงผิง” ซึ่งอาศัยอยู่กับพ่อแม่บุญธรรม และไม่ใคร่จะชอบพ่อที่แท้จริงนักเพราะคิดว่าพ่อทอดทิ้งเธอซ้ำยังปล่อยให้แม่ตาย แต่ที่จริงแล้วพ่อของเธอนั้นรักเธอมาก เหตุที่ต้องฝากเธอไว้กับคนอื่นนั้นเพราะหน้าที่การงานที่เป็นนักมายากลต้องตระเวณแสดงไปตามที่ต่าง ๆ ทั้งคนที่นำลูกไปฝากไว้นั้นก็เป็นเพื่อนเก่าและเป็นนายอำเภอที่ไม่มีลูกของตนเองสามารถดูแลผิงผิงได้
นาลกะ
  เรื่องเล่ามหาสนุกจากทุ่งหญ้าสีเขียว เป็นวรรณกรรมเด็กที่โด่งดังของธอร์นทัน ดับบลิว. เบอเกตส์ (Thornton W. Burgess) เขาได้แต่งเรื่องเล่าเกี่ยวกับสัตว์ป่าและธรรมชาติเป็นนิทานก่อนนอนสำหรับลูกชาย ปลูกฝังให้ลูกชายเติบโตขึ้นอย่างมีความมั่นคงทางอารมณ์และจิตใจ ต่อมาได้รับการตีพิมพ์เป็นหนังสือชุดรวม 20 เล่ม ได้รับผลสำเร็จอย่างมาก จนเขาได้แต่งเรื่องเล่าเพิ่มเติมรวม 170 เรื่อง
นาลกะ
  วันนี้ขอเปลี่ยนจากวรรณกรรมไทยมาเป็นวรรณกรรมต่างประเทศกันบ้าง หลังจากอ่านวรรณกรรมเล่มนี้จบแล้ว ยอมรับว่ารู้สึกได้ถึงความแตกต่างระหว่างวรรณกรรมเยาวชนของไทยและต่างประเทศ ทั้งสำนวนภาษา ทั้งเทคนิคลีลาการเล่าเรื่องและความเข้มข้นจัดจ้านของเนื้อหา ขอบ่นนิดหนึ่งว่าเท่าที่อ่านและเขียนถึงวรรณกรรมเยาวชนของไทย จำนวนไม่น้อยถ้าไม่เล่าเรื่องชนบทเรียบ ๆ ง่าย ๆ ไม่มีอะไรน่าตื่นเต้นติดตามแล้วก็มักจะบรรเจิดเพริศแพร้วในเรื่องจินตนาการมากเสียจนกลายเป็นนิทานก่อนนอนไปหรือไม่ก็เขียนสำหรับให้เยาวชนอ่านเท่านั้น ไม่ท้าทายผู้อ่านวัยอื่น ๆ แต่อย่างไรเสีย เชื่อว่าวรรณกรรมเยาวชนไทยคงจะได้พัฒนาขึ้นเป็นลำดับ…
นาลกะ
"โลกนี้ยังมีเพื่อน" คือหนังสือรวมนิทานยอดเยี่ยม รางวัลมูลนิธิเด็ก หนังสือเล่มนี้รวมนิทานไว้ทั้งหมด 7 เรื่องด้วยกัน ตั้งชื่อเล่มตามชื่อนิทานที่ได้รับรางวัลยอดเยี่ยมจากการประกวดในปีที่ 12 นอกจาก "โลกนี้ยังมีเพื่อน" ซึ่งได้รับรางวัลนิทานยอดเยี่ยมแล้ว ยังมีเรื่องนิทานเรื่อง "นักวาดพู่กันวิเศษ" ที่โดดเด่นจนได้รับรางวัลความคิดสร้างสรรค์ยอดเยี่ยม ส่วนที่เหลืออีก 5 เรื่องได้รับรางวัลชมเชย
นาลกะ
ลูกแม่น้ำโขง วรรณกรรมเยาวชนรางวัลพระราชทาน "แว่นแก้ว" ชนะเลิศรางวัลที่ 3 คืออีกหนึ่งผลงานจากนานมีบุ๊ค เขียนโดย "เขมชาติ" แม้ว่าลูกแม่น้ำโขงจะเดินตามขนบวรรรกรรมเยาวชนแบบที่เขียน ๆ กัน ที่มักพูดถึงชนบทอันงดงามที่ผู้คนพึ่งพาช่วยเหลือกัน สภาพธรรมชาติที่ผูกพันแวดล้อมวิถีชีวิต การเล่นซนของเด็ก ๆ และข้อคิดทางด้านคุณธรรม เป็นต้นว่า การไม่ฆ่าสัตว์ตัดชีวิต ความมีน้ำใจ  ถึงกระนั้น ลูกแม่น้ำโขง ก็ยังคงน่าอ่านด้วยการบรรยายอย่างมีชีวิตชีวา  เพราะแม่น้ำโขงแม้นจะไหลอย่างที่เคยไหลก็ยังคงน่ามองและมีเสน่ห์อยู่เสมอ