Skip to main content
   "ผีน้อยโลกมายา" คือวรรณกรรมเยาวชนรางวัลพระราชทานแว่นแก้ว โดยได้รับรางวัลชมเชยจากการประกวดประจำปี 2544 เขียนโดย วันทนีย์ วิบูลกีรติ และจัดพิมพ์โดยสำนักพิมพ์นานมีบุ๊ค


"ผีน้อยโลกมายา" เล่าถึงเรื่องราวของผีน้อยขี้สงสัยที่อาศัยอยู่ในดินแดนมายาอันเป็นดินแดนของผีที่ความทุกข์ไม่อาจกล้ำกราย ผีน้อยมีพ่อเป็นพระจันทร์และแม่คือดวงดาว มีพี่สาวใจดีชื่อพี่ดารา แม้ว่าในดินแดนมายาจะมีความสงบสุขและเสียงหัวเราะ แต่ความช่างสงสัยใคร่รู้ทำให้ผีน้อยยังรู้สึกไม่พอใจอยู่ดี


ผีน้อยหาคำตอบจากการถามผีที่มีอาวุโสกว่า แต่ผีอาวุโสบางตนก็แสดงความรำคาญกับการช่างถามของเขา ผีบางตนก็บอกว่าผีน้อยเป็นผีจอมยุ่ง ผีขี้เกียจ(ดูเหมือนผีน้อยจะเป็นเพศชาย-เขามีหน้าตาเหมือนมนุษย์ที่เป็นเด็กผู้ชายวัยแปดขวบทุกประการ แต่เมื่อผีน้อยใช้พลังมายาอำพรางตัวตนของเขาไว้ เขาก็จะมีลักษณะเหมือนขวดตุ๊กตาที่สามารถเปลี่ยนรูปทรงได้ตลอดเวลา,หน้า 9)


ในที่สุดผีน้อยตัดสินใจที่จะหาคำตอบด้วยตนเอง ผีน้อยตัดสินใจเดินทางออกจากดินแดนมายาอย่างเงียบเชียบสู่โลกมนุษย์

 

บนโลกมนุษย์ ผีน้อยได้รู้จักกับเด็กกำพร้า 3 พี่น้องที่พ่อแม่ตายด้วยโรคเอดส์ ดูเหมือนว่าเรื่องราวแบบฝัน ๆ ในตอนแรกจะเปลี่ยนมาเป็นดรามาเมื่อผีน้อยได้รู้จักสนิทสนมรับรู้เรื่องราวน่ารันทดของ 3 พี่น้อง


3 พี่น้องอาศัยอยู่โดดเดี่ยวในบ้านเช่าเก่า ๆ ด้วยความรังเกียจที่คนเป็นเอดส์เคยตายในบ้านหลังนี้ เจ้าของบ้านเช่าซึ่งเป็นหญิงขายบริการจึงปล่อย 3 พี่น้องอาศัยไปพลาง ๆ


"หัวปลี" คือพี่ชายคนโตที่อายุ 16 ปี รับหน้าที่เป็นหัวหน้าครอบครัวทำงานอยู่ในร้านเป็ดย่างและจะนำเศษอาหารกลับบ้านไปให้น้อง เขาพยายามต่อสู้เพื่อไม่ให้น้องสองคนคือ "ต้นตอง" กับ "ก้านกล้วย" ต้องไปอยู่สถานสงเคราะห์


"ก้านกล้วย" น้องสาวอายุ 6 ขวบ พิการเดินไม่ได้ความพิการทางร่างกายของก้านกล้วยถูกทดแทนด้วยการช่างฝัน ช่างจินตนาการ เธอมีเพื่อนเป็นสัตว์ที่หลายคนขยะแขยง เช่น แมงมุม แมลงสาบ หนู


เด็กทั้ง 3 คนไม่ได้เรียนหนังสือ ไม่มีใครอยากคบหาสมาคมด้วยเพราะพ่อแม่ตายด้วยโรคเอดส์ ผีน้อยรับรู้ความเป็นไปของเด็กเหล่านี้และพยายามปกป้องไม่ให้ "ผีร้าย" ครอบงำและชักนำไปสู่ด้านที่เลวร้าย


3 พี่น้องดีใจที่ได้ผีน้อยมาเป็นเพื่อนรับรู้และรับฟังทุกสิ่งทุกอย่างที่ไม่สามารถเล่าให้ใครฟังได้ ผีน้อยเปรียบเสมือนความหวังถึงสิ่งที่ดีกว่าของเด็กทั้ง 3 แต่แล้วโศกนาฎกรรมก็เกิดขึ้นเมื่อเจ้าของบ้านเช่าต้องการไล่ 3 พี่น้องออกไปเพื่อจะเปลี่ยนบ้านเช่าสกปรกเป็นสถานบริการ


พี่น้องทั้ง 3 ถูกไฟคลอกตาย ลูกสาวคนเดียวของเจ้าของบ้านเช่าซึ่งเข้ามาคบหากับเด็กทั้ง 3 ก็ตายไปด้วยโดยที่ผีน้อยช่วยอะไรไม่ได้เพราะไม่อาจต้านทานพลังอำนาจของผีร้ายมากมายหลายตน


หนังสือเล่มนี้มีความโดดเด่นแตกต่างจากเล่มอื่น ๆ ที่ได้รับรางวัลประเภทเดียวกันทั้งความสามารถในการใช้ภาษาที่พิถีพิถันกว่าเล่มอื่น ๆ ที่เคยอ่าน การนำเรื่องราวรันทดสอดแทรกเข้ากับจินตนาการ ผู้แต่งได้แสดงให้เห็นถึงศักยภาพตนเองที่จะเขียนวรรณกรรมเยาวชนในระดับที่ดียิ่ง ๆ ขึ้น

           "โอ้ เจ้าดาวดวงน้อย ลอยมาจากฟากฟ้า
เปล่งแสงสีเย็นตา มองแล้วน่าชื่นใจ

ฝากรอยยิ้มเล็ก ๆ ไปกับใบไม้หนึ่งใบ

ลมหอบพาเธอไปเป็นของขวัญแด่ดวงดาว

ฉันจะร้องเพลงกล่อมเจ้าทารกในสวรรค์

พ่อผู้เป็นพระจันทร์ส่งยิ้มลงมากับแสงสีขาว

แม่เคยเป็นดวงดาวปัดเป่าความปวดร้าว

ส่วนฉันคือพี่ชายที่มาจากดาวมายา

ทุกครากล่อมน้องทุกคืน

ลา ลา ลา ลา ลา ลา ลา ลา ลา ลา ลา..." (หน้า 57)


อย่างไรก็ตาม ดูแล้ว "ผีน้อยในดินแดนมายา" จะคล้าย "แคสเปอร์" ผีน้อยของฮอลลีวูดไปหน่อย นอกจากนี้การใช้สัญลักษณ์ก็ดูจะเป็นแบบฉบับตายตัว เช่น แสงสีดำ-ผีชั่วร้าย/แสงสีขาว-ผีดี การแทรกความคิดข้อคิดที่คลุมเครือก็มีอยู่ประปรายเช่นเรื่อง "การสอนให้รู้จักวิธีหาปลา" ซึ่งดูจะผิดที่ผิดทางเพราะเด็กทั้ง 3 นั้น "ไม่มีเครื่องมือ" หรือความสมเหตุสมผลในเรื่องที่ให้ลูกสาวคนขายบริการมีบุคลิกแบบปัญญาชน หรือการตอกย้ำค่านิยมที่ดูเหมือนจะต่อต้านมาตลอดคือความน่ารังเกียจ/ชั่วร้ายของหญิงขายบริการที่สุดท้ายเผาบ้านเช่าและทำให้ลูกตนเองตายไปด้วย.

 

 

 

บล็อกของ นาลกะ

นาลกะ
-1- หลานเกิดปีเดียวกับที่ผมเดินทางออกจากบ้าน มุ่งหาประสบการณ์และไล่คว้าหาความหมายของสิ่งที่เรียกว่าชีวิต  คืนวันของหลานที่เติบโตขึ้นด้วยความเอาใจใส่ของพ่อแม่คือจำนวนเวลาที่ผมจากบ้านเกิดเมืองนอน
นาลกะ
    คงเป็นเพราะรูปเล่มงามตาน่าหยิบจับและเครดิตก่อนเข้าสู่เนื้อเรื่องที่บอกว่า “เล็กน้อยมากจนสามารถนั่งอ่านข้าง ๆ เตียง ยิ่งใหญ่มากจนสามารถเปลี่ยนชีวิตทั้งชีวิต” เร้าความสนใจให้เปิดพลิกและลงมืออ่าน
นาลกะ
-1- ฉันเดินตัดผ่านสนามหลวงเพื่อไปขึ้นรถเมล์กลับหอพักเกือบทุกวัน เรื่องราวที่แทบจะเป็นแบบฉบับและเหตุการณ์ซ้ำ ๆ ที่ได้พบเห็นจากผู้คนแห่งสนามหลวงวันแล้ววันเล่า ทำให้เกิดภาพประทับในใจโดยไม่รู้ตัว เมื่อฉันได้รู้จักกับสนามหลวงมากขึ้น ฉันก็ได้พบว่าสถานที่แห่งนี้เปี่ยมไปด้วยสีสันและชีวิตชีวาอย่างแท้จริง ที่แห่งนี้มีเรื่องราวชีวิตของคนระดับล่างมากมาย แต่ละคน แต่ละชีวิตนั้นน่าจะปรากฏอยู่ในนิยายมากกว่าจะเป็นเรื่องจริง คนเหล่านี้ไม่ควรจะมีอยู่จริง!
นาลกะ
“ลูกผู้ชายหัวใจมีรัก(Man and Wife)” คือนิยายอันละเมียดบรรจงของ Tony Parsons เป็นผลงานภาคต่อจาก “ลูก(ผู้)ชายหัวใจคุณพ่อ (Man and Boy)” ซึ่งเคยสร้างความเกรียวกราวในแวดวงนักอ่านได้มากพอสมควร(ผมเคยวิจารณ์ไว้แล้วที่ http://blogazine.prachatai.com/user/nalaka/post/1562 ) ฝีมือแปลโดย ภัสรี สิงหเดช  
นาลกะ
โดยทั่วไปแล้ว หนังสือของสำนักพิมพ์ “ผีเสื้อ” สามารถการันตีคุณภาพ(แต่ไม่การันตียอดขาย) ได้ในระดับหนึ่ง เรียกได้ว่าไม่มีคำว่าผิดหวังในแทบทุกเล่มเพราะว่าโดยส่วนใหญ่แล้วเป็นวรรณกรรมแปล! “พ่อผมไม่เคยฆ่าใคร” ซึ่งเขียนโดย ฌ็อง-หลุยส์ ฟูร์นิเย่ร์ และแปลโดย วัลยา วิวัฒน์ศร ก็เช่นเดียวกัน
นาลกะ
วรรณกรรมเยาวชนรางวัลชมเชยประเภทบันเทิงคดีสำหรับเยาวชน ก่อนวัยรุ่น (12-14) จากคณะกรรมการพัฒนาหนังสือแห่งชาติปี 2530 และได้รับคัดเลือกเป็น 1 ใน 100 เล่ม ที่เด็กและเยาวชนไทยควรอ่าน โดยฝีมือการประพันธ์ของนักเขียนซึ่งเป็นรู้จักกันดี "อัศศิริ ธรรมโชติ"
นาลกะ
ด้วยชื่อเรื่องที่ไม่คุ้นหู และหน้าปกเป็นรูปน้ำตกกลางป่าสวยงาม วรรณกรรมเยาวชนเล่มนี้ชวนให้สะดุดใจและเปิดอ่าน ซึ่งก็ใช้เวลาอ่านไม่นานนักก็จบเล่มเพราะมีความหนาไม่ถึง 50 หน้ารวมภาพประกอบ
นาลกะ
ผลงานเรื่องนี้ได้รับรางวัลรองชนะเลิศ จากการประกวดวรรณกรรมเยาวชนรางวัลแว่นแก้ว ครั้งที่ 2 ผู้เขียนคือ “เก็ตตะหวา” วาดภาพประกอบโดย ธีระพงษ์ บัวระเพชร และจัดพิมพ์โดยสำนักพิมพ์นานมีบุ๊ค เจ้าเก่า แก่นแกนของเรื่องคือพัฒนาการของเด็กผู้หญิงที่ชื่อ “ผิงผิง” ซึ่งอาศัยอยู่กับพ่อแม่บุญธรรม และไม่ใคร่จะชอบพ่อที่แท้จริงนักเพราะคิดว่าพ่อทอดทิ้งเธอซ้ำยังปล่อยให้แม่ตาย แต่ที่จริงแล้วพ่อของเธอนั้นรักเธอมาก เหตุที่ต้องฝากเธอไว้กับคนอื่นนั้นเพราะหน้าที่การงานที่เป็นนักมายากลต้องตระเวณแสดงไปตามที่ต่าง ๆ ทั้งคนที่นำลูกไปฝากไว้นั้นก็เป็นเพื่อนเก่าและเป็นนายอำเภอที่ไม่มีลูกของตนเองสามารถดูแลผิงผิงได้
นาลกะ
  เรื่องเล่ามหาสนุกจากทุ่งหญ้าสีเขียว เป็นวรรณกรรมเด็กที่โด่งดังของธอร์นทัน ดับบลิว. เบอเกตส์ (Thornton W. Burgess) เขาได้แต่งเรื่องเล่าเกี่ยวกับสัตว์ป่าและธรรมชาติเป็นนิทานก่อนนอนสำหรับลูกชาย ปลูกฝังให้ลูกชายเติบโตขึ้นอย่างมีความมั่นคงทางอารมณ์และจิตใจ ต่อมาได้รับการตีพิมพ์เป็นหนังสือชุดรวม 20 เล่ม ได้รับผลสำเร็จอย่างมาก จนเขาได้แต่งเรื่องเล่าเพิ่มเติมรวม 170 เรื่อง
นาลกะ
  วันนี้ขอเปลี่ยนจากวรรณกรรมไทยมาเป็นวรรณกรรมต่างประเทศกันบ้าง หลังจากอ่านวรรณกรรมเล่มนี้จบแล้ว ยอมรับว่ารู้สึกได้ถึงความแตกต่างระหว่างวรรณกรรมเยาวชนของไทยและต่างประเทศ ทั้งสำนวนภาษา ทั้งเทคนิคลีลาการเล่าเรื่องและความเข้มข้นจัดจ้านของเนื้อหา ขอบ่นนิดหนึ่งว่าเท่าที่อ่านและเขียนถึงวรรณกรรมเยาวชนของไทย จำนวนไม่น้อยถ้าไม่เล่าเรื่องชนบทเรียบ ๆ ง่าย ๆ ไม่มีอะไรน่าตื่นเต้นติดตามแล้วก็มักจะบรรเจิดเพริศแพร้วในเรื่องจินตนาการมากเสียจนกลายเป็นนิทานก่อนนอนไปหรือไม่ก็เขียนสำหรับให้เยาวชนอ่านเท่านั้น ไม่ท้าทายผู้อ่านวัยอื่น ๆ แต่อย่างไรเสีย เชื่อว่าวรรณกรรมเยาวชนไทยคงจะได้พัฒนาขึ้นเป็นลำดับ…
นาลกะ
"โลกนี้ยังมีเพื่อน" คือหนังสือรวมนิทานยอดเยี่ยม รางวัลมูลนิธิเด็ก หนังสือเล่มนี้รวมนิทานไว้ทั้งหมด 7 เรื่องด้วยกัน ตั้งชื่อเล่มตามชื่อนิทานที่ได้รับรางวัลยอดเยี่ยมจากการประกวดในปีที่ 12 นอกจาก "โลกนี้ยังมีเพื่อน" ซึ่งได้รับรางวัลนิทานยอดเยี่ยมแล้ว ยังมีเรื่องนิทานเรื่อง "นักวาดพู่กันวิเศษ" ที่โดดเด่นจนได้รับรางวัลความคิดสร้างสรรค์ยอดเยี่ยม ส่วนที่เหลืออีก 5 เรื่องได้รับรางวัลชมเชย
นาลกะ
ลูกแม่น้ำโขง วรรณกรรมเยาวชนรางวัลพระราชทาน "แว่นแก้ว" ชนะเลิศรางวัลที่ 3 คืออีกหนึ่งผลงานจากนานมีบุ๊ค เขียนโดย "เขมชาติ" แม้ว่าลูกแม่น้ำโขงจะเดินตามขนบวรรรกรรมเยาวชนแบบที่เขียน ๆ กัน ที่มักพูดถึงชนบทอันงดงามที่ผู้คนพึ่งพาช่วยเหลือกัน สภาพธรรมชาติที่ผูกพันแวดล้อมวิถีชีวิต การเล่นซนของเด็ก ๆ และข้อคิดทางด้านคุณธรรม เป็นต้นว่า การไม่ฆ่าสัตว์ตัดชีวิต ความมีน้ำใจ  ถึงกระนั้น ลูกแม่น้ำโขง ก็ยังคงน่าอ่านด้วยการบรรยายอย่างมีชีวิตชีวา  เพราะแม่น้ำโขงแม้นจะไหลอย่างที่เคยไหลก็ยังคงน่ามองและมีเสน่ห์อยู่เสมอ