Skip to main content

วรรณกรรมที่นำไปดัดแปลงเป็นภาพยนตร์ หลายครั้งมักถูกวิจารณ์ว่าทำไม่ได้ดีเท่าตอนเป็นหนังสือ แต่ “ผีเสื้อและดอกไม้” ต่างออกไป สวยงามในคราที่เป็นหนังสือและสมบูรณ์แบบแทบไร้ที่ติเมื่อเป็นภาพยนตร์ที่ออกฉายประมาณปี 2528 ด้วยผลงานการกำกับของยุทธนา มุกดาสนิท และรับบทนำโดย สุริยา เยาวสังข์ ซึ่งเคยมีชื่อเสียงเปรี้ยงปร้างอยู่ระยะหนึ่งก่อนจะเงียบหายไป


ผมเคยอ่านวรรณกรรมเรื่องนี้ตั้งแต่เรียนมัธยม เพราะเป็นหนังสืออ่านนอกเวลาที่อาจารย์ภาษาไทยบังคับให้อ่านโดยให้เลือกเอาระหว่าง “ข้างหลังภาพ” กับ “ผีเสื้อและดอกไม้” ผมเลือกอ่าน “ผีเสื้อและดอกไม้” ด้วยเหตุผลที่ว่า “ข้างหลังภาพ” เป็นเรื่องเกี่ยวกับรัก ๆ ใคร่ ๆ ของผู้ใหญ่ที่ดูจะซับซ้อน เด็ก ๆ ยากจะเข้าใจในขณะที่ “ผีเสื้อและดอกไม้” แค่ชื่อก็ฟังดูชวนฝันทั้งยังกล่าวถึงเรื่องราวของเด็ก ๆ ซึ่งใกล้ตัวกว่า


อย่างไรก็ตาม ความประทับใจ “ผีเสื้อและดอกไม้” ไม่ได้เกิดขึ้นจากการอ่านในวัยเยาว์ที่ถูกอาจารย์บังคับให้อ่าน หากแต่เกิดจากการอ่านและชมภาพยนตร์เมื่อคราที่วัยเยาว์ผ่านพ้นไปแล้วหลายปี


ความประทับใจเกิดขึ้นจากการที่ภาพยนตร์สะกิดให้รำลึกถึงวัยเยาว์(ของตนเอง)ที่ผันผ่านไปอย่างไม่มีวันหวนกลับ จะเรียกว่าโหยหาอดีตก็ได้


ความน่าสนใจประการหนึ่งของ “ผีเสื้อและดอกไม้” อยู่ที่การแปรเปลี่ยนความรันทดให้กลายเป็นความหวัง ความเอื้ออาทรต่อกัน ยกระดับการเล่าเรื่องแห่งความแร้นแค้นออกมาได้โดยโดยที่ไม่ต้องนำผู้ชมเข้าไปสัมผัสกับความแร้นแค้นนั้นโดยตรงแต่กลับกลายเป็นเรื่องเล่าแห่งความดีงาม





ผีเสื้อและดอกไม้” เล่าถึงชีวิตของ ฮูยัน เด็กชายมุสลิมวัย 13 อาศัย อยู่กับพ่อ (รับบทโดย สุเชาว์ พงษ์วิไล) และน้องอีกสองคน


เขาตัดสินใจออกจากโรงเรียนเพื่อช่วยแบ่งเบาภาระของครอบครัวทั้งที่เรียนได้ที่ 1 มาโดยตลอด เขาเข้าเรียนช้ากว่าคนอื่นแต่กลับต้องออกก่อน


ฮูยันทำงานเท่าที่เด็กรุ่นเขาจะทำได้นั่นคือขายไอศกรีมแท่ง เขาเดินเข้าไปขายภายในโรงเรียนโดยไม่ขลาดอายต่อสายตาของเพื่อน ๆ


เคราะห์กรรมซ้ำเติมอย่างเจ็บปวดลึกซึ้งเมื่อพ่อของฮูยันประสบอุบัติเหตุจนพิการ ทำงานไม่ได้ ดังนั้นนอกจากน้องที่ยังไร้เดียงสาซึ่งเขาต้องส่งเสียให้เรียนหนังสือแล้ว เขาต้องดูแลรับผิดชอบพ่ออีกคน


ฉากที่ ฮูยัน เข้าไปร่ำลาคุณครู (แสดงโดย ดวงใจ หทัยกาญจน์) นั้นซาบซึ้งใจ คุณครูมองเขาด้วยสายตาเปี่ยมด้วยความรักและกล่าวกับเขาด้วยคำง่าย ๆ แต่กินใจเหลือประมาณ (ผมจำได้จดบทสนทนาตรงนี้ไว้ในสมุดบันทึก แต่หาไม่เจอแล้วว่าอยู่เล่มไหน) เขาเดินออกจากโรงเรียน ร่ำลาต้นไม้ที่เขาปลูก บอกต้นไม้ว่า

"อยู่ที่นี่ดีๆ นะ ต้องโตขึ้นให้เท่ากับต้นฉำฉาหน้าโรงเรียน แล้วเราจะมาดูทุกวัน"


ดูเหมือนต้นไม้จะรับรู้การจากไปของเขาโดยการทิ้งใบลงมา เหมือนดั่งการสิ้นสุดของชีวิตวัยเรียนซึ่งเป็นปฐมบทของการเรียนรู้จากชีวิตจริง


แม้จะลำบากยากจน แต่ฮูยันก็ได้รับคำสอนดี ๆ จากคนรอบข้าง ไม่ว่าจะเป็นคุณครูหรือพ่อของเขาเองที่พร่ำสอนอยู่เสมอว่าให้ทรนงในเกียรติของตนเอง ฮูยันไม่ได้คร่ำครวญในโชคชะตาที่ส่งให้เขาต้องรับภาระหนักเกินตัว เขามองเห็นโลกในแง่งามซึ่งที่แท้แล้วมันเกิดมาจากความงามในจิตใจเขานั่นเอง


ในเวลาต่อมา ฮูยัน ขยับทำงานที่เสี่ยงมากขึ้นคือขนข้าวสารข้ามแดนจากบ้านไปสู่สุไหงโกลก เขาได้รู้จักกับเด็กอีกหลายคนที่ทำงานผิดกฎหมาย ขนของหนีภาษี คอยหลบหนีตำรวจ โลกแห่งความเป็นจริงได้เผยให้เขารู้จักมากขึ้นเรื่อย ๆ แต่เขาก็ยังรักษาฟูมฟักความดีงามในหัวใจเขาเอาไว้ได้


มิมปี เพื่อนร่วมชั้นของฮูยัน เธอช่วยแม่ค้าขายโดยสารไปมากับขบวนรถไฟ เธอคือสิ่งที่เข้ามาเติมดวงใจของฮูยัน ฮูยันถามมิมปีว่าทำไมถึงชอบผีเสื้อ มิมปีตอบว่า

"ฉันเคยบอกเธอ เรื่องที่จะเที่ยวไปให้ไกล เธอจำได้ไหม... เหมือนกับผีเสื้อ ที่มันบินไปไหนก็ได้ ผีเสื้อน่ะได้พบดอกไม้มากที่สุด แล้วดอกไม้ก็สวย การได้พบกับของสวยๆ นี่นับว่าเป็นโชคดีนะ"


นอกจากนี้แล้ว ”ผีเสื้อและดอกไม้” เป็นวรรณกรรมที่เผยให้เห็นด้านที่รุ่มรวยและน่าชื่นชมของวัฒนธรรมอิสลาม วัฒนธรรมอิสลามถูกนำเสนออย่างมีคุณค่าและมีพลังโดยไม่จำเป็นต้องยกคำอ้างจากคัมภีร์


ผีเสื้อและดอกไม้” คือวรรณกรรมและภาพยนตร์ที่ยืนยันว่าความลำเค็ญไม่ได้ทำให้ความงดงามแห่งวัยเยาว์มัวหมองลงไปได้ แต่ยิ่งกลับทำให้งดงามเหมือนดอกไม้ และเปี่ยมด้วยจินตนาการดั่งการเดินทางของผีเสื้อ.

 

 

 

บล็อกของ นาลกะ

นาลกะ
-1- หลานเกิดปีเดียวกับที่ผมเดินทางออกจากบ้าน มุ่งหาประสบการณ์และไล่คว้าหาความหมายของสิ่งที่เรียกว่าชีวิต  คืนวันของหลานที่เติบโตขึ้นด้วยความเอาใจใส่ของพ่อแม่คือจำนวนเวลาที่ผมจากบ้านเกิดเมืองนอน
นาลกะ
    คงเป็นเพราะรูปเล่มงามตาน่าหยิบจับและเครดิตก่อนเข้าสู่เนื้อเรื่องที่บอกว่า “เล็กน้อยมากจนสามารถนั่งอ่านข้าง ๆ เตียง ยิ่งใหญ่มากจนสามารถเปลี่ยนชีวิตทั้งชีวิต” เร้าความสนใจให้เปิดพลิกและลงมืออ่าน
นาลกะ
-1- ฉันเดินตัดผ่านสนามหลวงเพื่อไปขึ้นรถเมล์กลับหอพักเกือบทุกวัน เรื่องราวที่แทบจะเป็นแบบฉบับและเหตุการณ์ซ้ำ ๆ ที่ได้พบเห็นจากผู้คนแห่งสนามหลวงวันแล้ววันเล่า ทำให้เกิดภาพประทับในใจโดยไม่รู้ตัว เมื่อฉันได้รู้จักกับสนามหลวงมากขึ้น ฉันก็ได้พบว่าสถานที่แห่งนี้เปี่ยมไปด้วยสีสันและชีวิตชีวาอย่างแท้จริง ที่แห่งนี้มีเรื่องราวชีวิตของคนระดับล่างมากมาย แต่ละคน แต่ละชีวิตนั้นน่าจะปรากฏอยู่ในนิยายมากกว่าจะเป็นเรื่องจริง คนเหล่านี้ไม่ควรจะมีอยู่จริง!
นาลกะ
“ลูกผู้ชายหัวใจมีรัก(Man and Wife)” คือนิยายอันละเมียดบรรจงของ Tony Parsons เป็นผลงานภาคต่อจาก “ลูก(ผู้)ชายหัวใจคุณพ่อ (Man and Boy)” ซึ่งเคยสร้างความเกรียวกราวในแวดวงนักอ่านได้มากพอสมควร(ผมเคยวิจารณ์ไว้แล้วที่ http://blogazine.prachatai.com/user/nalaka/post/1562 ) ฝีมือแปลโดย ภัสรี สิงหเดช  
นาลกะ
โดยทั่วไปแล้ว หนังสือของสำนักพิมพ์ “ผีเสื้อ” สามารถการันตีคุณภาพ(แต่ไม่การันตียอดขาย) ได้ในระดับหนึ่ง เรียกได้ว่าไม่มีคำว่าผิดหวังในแทบทุกเล่มเพราะว่าโดยส่วนใหญ่แล้วเป็นวรรณกรรมแปล! “พ่อผมไม่เคยฆ่าใคร” ซึ่งเขียนโดย ฌ็อง-หลุยส์ ฟูร์นิเย่ร์ และแปลโดย วัลยา วิวัฒน์ศร ก็เช่นเดียวกัน
นาลกะ
วรรณกรรมเยาวชนรางวัลชมเชยประเภทบันเทิงคดีสำหรับเยาวชน ก่อนวัยรุ่น (12-14) จากคณะกรรมการพัฒนาหนังสือแห่งชาติปี 2530 และได้รับคัดเลือกเป็น 1 ใน 100 เล่ม ที่เด็กและเยาวชนไทยควรอ่าน โดยฝีมือการประพันธ์ของนักเขียนซึ่งเป็นรู้จักกันดี "อัศศิริ ธรรมโชติ"
นาลกะ
ด้วยชื่อเรื่องที่ไม่คุ้นหู และหน้าปกเป็นรูปน้ำตกกลางป่าสวยงาม วรรณกรรมเยาวชนเล่มนี้ชวนให้สะดุดใจและเปิดอ่าน ซึ่งก็ใช้เวลาอ่านไม่นานนักก็จบเล่มเพราะมีความหนาไม่ถึง 50 หน้ารวมภาพประกอบ
นาลกะ
ผลงานเรื่องนี้ได้รับรางวัลรองชนะเลิศ จากการประกวดวรรณกรรมเยาวชนรางวัลแว่นแก้ว ครั้งที่ 2 ผู้เขียนคือ “เก็ตตะหวา” วาดภาพประกอบโดย ธีระพงษ์ บัวระเพชร และจัดพิมพ์โดยสำนักพิมพ์นานมีบุ๊ค เจ้าเก่า แก่นแกนของเรื่องคือพัฒนาการของเด็กผู้หญิงที่ชื่อ “ผิงผิง” ซึ่งอาศัยอยู่กับพ่อแม่บุญธรรม และไม่ใคร่จะชอบพ่อที่แท้จริงนักเพราะคิดว่าพ่อทอดทิ้งเธอซ้ำยังปล่อยให้แม่ตาย แต่ที่จริงแล้วพ่อของเธอนั้นรักเธอมาก เหตุที่ต้องฝากเธอไว้กับคนอื่นนั้นเพราะหน้าที่การงานที่เป็นนักมายากลต้องตระเวณแสดงไปตามที่ต่าง ๆ ทั้งคนที่นำลูกไปฝากไว้นั้นก็เป็นเพื่อนเก่าและเป็นนายอำเภอที่ไม่มีลูกของตนเองสามารถดูแลผิงผิงได้
นาลกะ
  เรื่องเล่ามหาสนุกจากทุ่งหญ้าสีเขียว เป็นวรรณกรรมเด็กที่โด่งดังของธอร์นทัน ดับบลิว. เบอเกตส์ (Thornton W. Burgess) เขาได้แต่งเรื่องเล่าเกี่ยวกับสัตว์ป่าและธรรมชาติเป็นนิทานก่อนนอนสำหรับลูกชาย ปลูกฝังให้ลูกชายเติบโตขึ้นอย่างมีความมั่นคงทางอารมณ์และจิตใจ ต่อมาได้รับการตีพิมพ์เป็นหนังสือชุดรวม 20 เล่ม ได้รับผลสำเร็จอย่างมาก จนเขาได้แต่งเรื่องเล่าเพิ่มเติมรวม 170 เรื่อง
นาลกะ
  วันนี้ขอเปลี่ยนจากวรรณกรรมไทยมาเป็นวรรณกรรมต่างประเทศกันบ้าง หลังจากอ่านวรรณกรรมเล่มนี้จบแล้ว ยอมรับว่ารู้สึกได้ถึงความแตกต่างระหว่างวรรณกรรมเยาวชนของไทยและต่างประเทศ ทั้งสำนวนภาษา ทั้งเทคนิคลีลาการเล่าเรื่องและความเข้มข้นจัดจ้านของเนื้อหา ขอบ่นนิดหนึ่งว่าเท่าที่อ่านและเขียนถึงวรรณกรรมเยาวชนของไทย จำนวนไม่น้อยถ้าไม่เล่าเรื่องชนบทเรียบ ๆ ง่าย ๆ ไม่มีอะไรน่าตื่นเต้นติดตามแล้วก็มักจะบรรเจิดเพริศแพร้วในเรื่องจินตนาการมากเสียจนกลายเป็นนิทานก่อนนอนไปหรือไม่ก็เขียนสำหรับให้เยาวชนอ่านเท่านั้น ไม่ท้าทายผู้อ่านวัยอื่น ๆ แต่อย่างไรเสีย เชื่อว่าวรรณกรรมเยาวชนไทยคงจะได้พัฒนาขึ้นเป็นลำดับ…
นาลกะ
"โลกนี้ยังมีเพื่อน" คือหนังสือรวมนิทานยอดเยี่ยม รางวัลมูลนิธิเด็ก หนังสือเล่มนี้รวมนิทานไว้ทั้งหมด 7 เรื่องด้วยกัน ตั้งชื่อเล่มตามชื่อนิทานที่ได้รับรางวัลยอดเยี่ยมจากการประกวดในปีที่ 12 นอกจาก "โลกนี้ยังมีเพื่อน" ซึ่งได้รับรางวัลนิทานยอดเยี่ยมแล้ว ยังมีเรื่องนิทานเรื่อง "นักวาดพู่กันวิเศษ" ที่โดดเด่นจนได้รับรางวัลความคิดสร้างสรรค์ยอดเยี่ยม ส่วนที่เหลืออีก 5 เรื่องได้รับรางวัลชมเชย
นาลกะ
ลูกแม่น้ำโขง วรรณกรรมเยาวชนรางวัลพระราชทาน "แว่นแก้ว" ชนะเลิศรางวัลที่ 3 คืออีกหนึ่งผลงานจากนานมีบุ๊ค เขียนโดย "เขมชาติ" แม้ว่าลูกแม่น้ำโขงจะเดินตามขนบวรรรกรรมเยาวชนแบบที่เขียน ๆ กัน ที่มักพูดถึงชนบทอันงดงามที่ผู้คนพึ่งพาช่วยเหลือกัน สภาพธรรมชาติที่ผูกพันแวดล้อมวิถีชีวิต การเล่นซนของเด็ก ๆ และข้อคิดทางด้านคุณธรรม เป็นต้นว่า การไม่ฆ่าสัตว์ตัดชีวิต ความมีน้ำใจ  ถึงกระนั้น ลูกแม่น้ำโขง ก็ยังคงน่าอ่านด้วยการบรรยายอย่างมีชีวิตชีวา  เพราะแม่น้ำโขงแม้นจะไหลอย่างที่เคยไหลก็ยังคงน่ามองและมีเสน่ห์อยู่เสมอ