Skip to main content

   เรื่องเล่ามหาสนุกจากทุ่งหญ้าสีเขียว เป็นวรรณกรรมเด็กที่โด่งดังของธอร์นทัน ดับบลิว. เบอเกตส์ (Thornton W. Burgess) เขาได้แต่งเรื่องเล่าเกี่ยวกับสัตว์ป่าและธรรมชาติเป็นนิทานก่อนนอนสำหรับลูกชาย ปลูกฝังให้ลูกชายเติบโตขึ้นอย่างมีความมั่นคงทางอารมณ์และจิตใจ


ต่อมาได้รับการตีพิมพ์เป็นหนังสือชุดรวม 20 เล่ม ได้รับผลสำเร็จอย่างมาก จนเขาได้แต่งเรื่องเล่าเพิ่มเติมรวม 170 เรื่อง


ตอนที่หยิบมานำเสนอนี้คือตอน "กระต่ายน้อยเจ้าปัญญา" แปลและเรียบเรียงโดย "คีรีบูน" วาดรูปประกอบ โดยอมรวัชร กอหรั่งกูลและจัดพิมพ์โดยสำนักพิมพ์ "คีรีบูน"


เรื่องเริ่มต้นที่กระต่ายน้อยปีเตอร์ปรารถนาจะเปลี่ยนชื่อ เขาไม่ชอบชื่อ "กระต่ายปีเตอร์" ที่แม่เฒ่าแห่งธรรมชาติตั้งให้เพราะว่ามันแสนจะธรรมดา คิดไปคิดมาเขาก็เปลี่ยนชื่อเป็น "ปีเตอร์หางปุยฝ้าย" ที่ฟังดูไพเราะและน่ารักกว่า เขาขอร้อง "สายลมหรรษา" ช่วยกระจายข่าวเรื่องการเปลี่ยนชื่อให้สัตว์ต่าง ๆ ได้ทราบ แต่มันกลายเป็นเรื่องตลกไป สัตว์ทุกตัวต่างหัวเราะเยาะในเรื่องนี้ กระต่ายปีเตอร์ช่างงี่เง่าที่อยากจะเปลี่ยนชื่อ


"จิมมี่ สะกังค์" บอกกระต่ายปีเตอร์ว่า "ไม่มีอะไรสำคัญอยู่ในชื่อของเรา แต่สิ่งที่เราเลือกกระทำต่างหาก ที่จะอยู่ติดกับเราและชี้ให้ผู้อื่นเห็นว่า เราเป็นคนชนิดไหน เป็นคนอย่างไร สิ่งที่เราทำและสิ่งที่เราพูด ทั้งวิธีการดำรงชีวิตประจำวันของเรานี่แหละที่ทำให้ชื่อของเราเพิ่มค่าขึ้นหรือด้อยค่าลง"


ไม่มียอมรับในเรื่องนี้และพากันกลั่นแกล้งจนกระทั่ง "ปีเตอร์หางปุยฝ้าย" เปลี่ยนกลับไปใช้ชื่อ "กระต่ายปีเตอร์" เหมือนเดิม


แต่ที่สนุกมากก็คือการไล่ล่าล่อหลอกระหว่างกระต่ายปีเตอร์กับ "สุนัขจิ้งจอกเรดดี้" สัตว์ทั้งคู่เป็นคู่แค้น

ที่ตามห้ำหั่นกันโดยตลอด สุนัขจิ้งจอกเรดดี้ต้องการเนื้อกระต่ายเพื่อนำไปให้ย่าของมันที่กำลังป่วยซึ่งปฏิเสธที่จะกินเนื้อสัตว์อื่นใดนอกจากเนื้อกระต่ายอันโอชะเท่านั้น เจ้าจิ้งจอกเรดดี้จึงต้องตามจับกระต่ายปีเตอร์ให้ได้ การวางแผนไล่ล่าจึงเกิดขึ้น


เมื่อสายลมหรรษาพัดเข้ามาใกล้ เจ้าจิ้งจอกเจ้าเล่ห์ก็ร้องตะโกนถามว่า

"พวกเจ้าทำอะไรให้ข้าหน่อยได้ไหม"

"ได้สิ" สายลมหรรษาร้องตอบ พวกมันยินดีช่วยเหลือผู้อื่นอยู่เสมอ

"ข้าอยากให้พวกเจ้าตามหาเจ้ากระต่ายปีเตอร์และบอกเขาว่าข้าได้พบแปลงแครอตแห่งใหม่ในสวนผักของนายบราวน์ แครอตในแปลงนี้ทั้งอ่อน กรอบ มีรสชาติอร่อยเหาะ บอกเขาว่าข้าเชิญเขาไปที่นั่นกับข้าพรุ่งนี้เช้า ข้าจะไปรับเขาทันทีที่พระอาทิตย์ขึ้น"


กระต่ายปีเตอร์รู้ทันแผนการของจิ้งจอกเร้ดดี้ มันจึงแอบไปที่แปลงแครอตเพียงลำพังตั้งแต่เช้ามืดและจัดการกับแครอตเสียจนอิ่มแปล้


   จิ้งจอกเจ้าเล่ห์โกรธมากที่เป็นฝ่ายถูกหลอกแต่ข่มเก็บความโกรธนั้นไว้ มันขอร้องสายลมหรรษาให้บอกกระต่ายปีเตอร์อีกครั้งว่ามันอยากเชิญชวนเจ้าปีเตอร์ไปกินต้นถั่วหวานที่มันเพิ่งพบใกล้ต้นฮิกคอรใหญ่ มันจะไปรับเจ้าปีเตอร์ถึงที่พำนักในตอนเช้า

กระต่ายปีเตอร์รู้ทันตามเคย แอบไปที่ต้นถั่วหวานเพียงลำพัง ก่อนพระอาทิตย์ขึ้น มันบอกจิ้งจอกเรดดี้ว่า "ข้าอยากกินต้นถั่วหวานจนทนไม่ไหว จึงรอจนพระอาทิตย์ขึ้นไม่ได้ ข้าไปที่นั่นมาแล้วเมื่อสองชั่วโมงก่อน ข้าหวังว่าเจ้าคงให้อภัยข้า ข้าซาบซึ้งใจมากที่เจ้ามีเมตตาบอกข้าเรื่องแปลงต้นถั่วหวานแปลงใหม่"


จิ้งจอกเรดดี้ ยังไม่เข็ด คิดว่าครั้งหน้าจะไม่พลาดอีก มันนัดกระต่ายปีเตอร์เพื่อไปกินกะหล่ำปลีอีกครั้ง แต่ผลก็ออกมาเหมือนเดิมคือมันถูกกระต่ายปีเตอร์ใช้สติปัญญาล่อหลอกอีกครั้งหนึ่ง


จิ้งจอกไม่ละความพยายาม มันไปหาเจ้าวีเซิ้ล ซึ่งเป็นสัตว์ดุร้าย ชอบกินหนูและตัวเล็กพอที่จะบุกดงหนามเข้าไปยังที่พำนักของกระต่ายปีเตอร์เพื่อร่วมมือกันจัดการ แผนการในครั้งนี้คือให้เจ้าวีเซิ้ลบุกเข้าไปในรังของกระต่ายปีเตอร์ วิ่งไล่ล่าจนกระทั่งกระต่ายปีเตอร์หนีออกมาข้างนอกซึ่งมีจิ้งจอกรอคอยอยู่


กระต่ายปีเตอร์คาดการณ์เรื่องนี้ไว้อยู่แล้ว จึงสร้างทางแคบ ๆ ไว้หลายสายพาดตัดกันไปมาชวนสับสน เจ้าวีเซิ้ลวิ่งวนอยู่ในทางวกวนเหล่านี้กระทั่งพลาดลงไปตกบ่อน้ำเปียกปอน กระต่ายปีเตอร์รอดตัวไปอีกครั้ง ครั้งต่อมาจิ้งจอกเรดดี้ขอความช่วยเหลือจากนกตะขาบให้พาไปกระต่ายปีเตอร์ไปที่ขอนไม้กลวงซึ่งมันซ่อนอยู่ข้างใน แต่แผนการณ์นี้ล้มเหลวเช่นกัน แผนต่อมาของจิ้งจอกเจ้าเล่ห์คือการแกล้งตายซึ่งก็ไม่ได้ผลเช่นกัน


กระต่ายปีเตอร์โชคดีที่จอห์นนี่ ชัค ยื่นมือเข้าช่วยเหลือก่อนที่จิ้งจอกเฒ่าผู้เป็นย่าจะจัดการเรื่องนี้ด้วยตนเอง จอห์นนี่ ชัค หลอกให้จิ้งจอกเรดดี้วิ่งไปชนรังแตน ฝูงแตนจึงพากันฝังเหล็กในเข้าไปในเนื้อตัวเสียของจิ้งจอกเรดดี้จนบวมไปหมด


ช่วงท้าย ๆ ของนิทานก่อนนอนเล่มนี้คือเรื่องที่ว่าด้วยการจำศีล กระต่ายน้อยไม่เข้าใจที่สัตว์ต่าง ๆ พากันจำศีลในฤดูหนาว มันเลยลองทำดูบ้างแต่ปรากฎว่ามันทำไม่ได้เหมือนสัตว์อื่นเพราะธรรมชาติของมันไม่ใช่สัตว์จำศีล กระต่ายน้อยปีเตอร์ได้บทเรียนอีกบทหนึ่งว่ามันไม่ควรทำในสิ่งที่ธรรมชาติไม่ได้ปรารถนาจะให้มันทำ

 

 

 

บล็อกของ นาลกะ

นาลกะ
-1- หลานเกิดปีเดียวกับที่ผมเดินทางออกจากบ้าน มุ่งหาประสบการณ์และไล่คว้าหาความหมายของสิ่งที่เรียกว่าชีวิต  คืนวันของหลานที่เติบโตขึ้นด้วยความเอาใจใส่ของพ่อแม่คือจำนวนเวลาที่ผมจากบ้านเกิดเมืองนอน
นาลกะ
    คงเป็นเพราะรูปเล่มงามตาน่าหยิบจับและเครดิตก่อนเข้าสู่เนื้อเรื่องที่บอกว่า “เล็กน้อยมากจนสามารถนั่งอ่านข้าง ๆ เตียง ยิ่งใหญ่มากจนสามารถเปลี่ยนชีวิตทั้งชีวิต” เร้าความสนใจให้เปิดพลิกและลงมืออ่าน
นาลกะ
-1- ฉันเดินตัดผ่านสนามหลวงเพื่อไปขึ้นรถเมล์กลับหอพักเกือบทุกวัน เรื่องราวที่แทบจะเป็นแบบฉบับและเหตุการณ์ซ้ำ ๆ ที่ได้พบเห็นจากผู้คนแห่งสนามหลวงวันแล้ววันเล่า ทำให้เกิดภาพประทับในใจโดยไม่รู้ตัว เมื่อฉันได้รู้จักกับสนามหลวงมากขึ้น ฉันก็ได้พบว่าสถานที่แห่งนี้เปี่ยมไปด้วยสีสันและชีวิตชีวาอย่างแท้จริง ที่แห่งนี้มีเรื่องราวชีวิตของคนระดับล่างมากมาย แต่ละคน แต่ละชีวิตนั้นน่าจะปรากฏอยู่ในนิยายมากกว่าจะเป็นเรื่องจริง คนเหล่านี้ไม่ควรจะมีอยู่จริง!
นาลกะ
“ลูกผู้ชายหัวใจมีรัก(Man and Wife)” คือนิยายอันละเมียดบรรจงของ Tony Parsons เป็นผลงานภาคต่อจาก “ลูก(ผู้)ชายหัวใจคุณพ่อ (Man and Boy)” ซึ่งเคยสร้างความเกรียวกราวในแวดวงนักอ่านได้มากพอสมควร(ผมเคยวิจารณ์ไว้แล้วที่ http://blogazine.prachatai.com/user/nalaka/post/1562 ) ฝีมือแปลโดย ภัสรี สิงหเดช  
นาลกะ
โดยทั่วไปแล้ว หนังสือของสำนักพิมพ์ “ผีเสื้อ” สามารถการันตีคุณภาพ(แต่ไม่การันตียอดขาย) ได้ในระดับหนึ่ง เรียกได้ว่าไม่มีคำว่าผิดหวังในแทบทุกเล่มเพราะว่าโดยส่วนใหญ่แล้วเป็นวรรณกรรมแปล! “พ่อผมไม่เคยฆ่าใคร” ซึ่งเขียนโดย ฌ็อง-หลุยส์ ฟูร์นิเย่ร์ และแปลโดย วัลยา วิวัฒน์ศร ก็เช่นเดียวกัน
นาลกะ
วรรณกรรมเยาวชนรางวัลชมเชยประเภทบันเทิงคดีสำหรับเยาวชน ก่อนวัยรุ่น (12-14) จากคณะกรรมการพัฒนาหนังสือแห่งชาติปี 2530 และได้รับคัดเลือกเป็น 1 ใน 100 เล่ม ที่เด็กและเยาวชนไทยควรอ่าน โดยฝีมือการประพันธ์ของนักเขียนซึ่งเป็นรู้จักกันดี "อัศศิริ ธรรมโชติ"
นาลกะ
ด้วยชื่อเรื่องที่ไม่คุ้นหู และหน้าปกเป็นรูปน้ำตกกลางป่าสวยงาม วรรณกรรมเยาวชนเล่มนี้ชวนให้สะดุดใจและเปิดอ่าน ซึ่งก็ใช้เวลาอ่านไม่นานนักก็จบเล่มเพราะมีความหนาไม่ถึง 50 หน้ารวมภาพประกอบ
นาลกะ
ผลงานเรื่องนี้ได้รับรางวัลรองชนะเลิศ จากการประกวดวรรณกรรมเยาวชนรางวัลแว่นแก้ว ครั้งที่ 2 ผู้เขียนคือ “เก็ตตะหวา” วาดภาพประกอบโดย ธีระพงษ์ บัวระเพชร และจัดพิมพ์โดยสำนักพิมพ์นานมีบุ๊ค เจ้าเก่า แก่นแกนของเรื่องคือพัฒนาการของเด็กผู้หญิงที่ชื่อ “ผิงผิง” ซึ่งอาศัยอยู่กับพ่อแม่บุญธรรม และไม่ใคร่จะชอบพ่อที่แท้จริงนักเพราะคิดว่าพ่อทอดทิ้งเธอซ้ำยังปล่อยให้แม่ตาย แต่ที่จริงแล้วพ่อของเธอนั้นรักเธอมาก เหตุที่ต้องฝากเธอไว้กับคนอื่นนั้นเพราะหน้าที่การงานที่เป็นนักมายากลต้องตระเวณแสดงไปตามที่ต่าง ๆ ทั้งคนที่นำลูกไปฝากไว้นั้นก็เป็นเพื่อนเก่าและเป็นนายอำเภอที่ไม่มีลูกของตนเองสามารถดูแลผิงผิงได้
นาลกะ
  เรื่องเล่ามหาสนุกจากทุ่งหญ้าสีเขียว เป็นวรรณกรรมเด็กที่โด่งดังของธอร์นทัน ดับบลิว. เบอเกตส์ (Thornton W. Burgess) เขาได้แต่งเรื่องเล่าเกี่ยวกับสัตว์ป่าและธรรมชาติเป็นนิทานก่อนนอนสำหรับลูกชาย ปลูกฝังให้ลูกชายเติบโตขึ้นอย่างมีความมั่นคงทางอารมณ์และจิตใจ ต่อมาได้รับการตีพิมพ์เป็นหนังสือชุดรวม 20 เล่ม ได้รับผลสำเร็จอย่างมาก จนเขาได้แต่งเรื่องเล่าเพิ่มเติมรวม 170 เรื่อง
นาลกะ
  วันนี้ขอเปลี่ยนจากวรรณกรรมไทยมาเป็นวรรณกรรมต่างประเทศกันบ้าง หลังจากอ่านวรรณกรรมเล่มนี้จบแล้ว ยอมรับว่ารู้สึกได้ถึงความแตกต่างระหว่างวรรณกรรมเยาวชนของไทยและต่างประเทศ ทั้งสำนวนภาษา ทั้งเทคนิคลีลาการเล่าเรื่องและความเข้มข้นจัดจ้านของเนื้อหา ขอบ่นนิดหนึ่งว่าเท่าที่อ่านและเขียนถึงวรรณกรรมเยาวชนของไทย จำนวนไม่น้อยถ้าไม่เล่าเรื่องชนบทเรียบ ๆ ง่าย ๆ ไม่มีอะไรน่าตื่นเต้นติดตามแล้วก็มักจะบรรเจิดเพริศแพร้วในเรื่องจินตนาการมากเสียจนกลายเป็นนิทานก่อนนอนไปหรือไม่ก็เขียนสำหรับให้เยาวชนอ่านเท่านั้น ไม่ท้าทายผู้อ่านวัยอื่น ๆ แต่อย่างไรเสีย เชื่อว่าวรรณกรรมเยาวชนไทยคงจะได้พัฒนาขึ้นเป็นลำดับ…
นาลกะ
"โลกนี้ยังมีเพื่อน" คือหนังสือรวมนิทานยอดเยี่ยม รางวัลมูลนิธิเด็ก หนังสือเล่มนี้รวมนิทานไว้ทั้งหมด 7 เรื่องด้วยกัน ตั้งชื่อเล่มตามชื่อนิทานที่ได้รับรางวัลยอดเยี่ยมจากการประกวดในปีที่ 12 นอกจาก "โลกนี้ยังมีเพื่อน" ซึ่งได้รับรางวัลนิทานยอดเยี่ยมแล้ว ยังมีเรื่องนิทานเรื่อง "นักวาดพู่กันวิเศษ" ที่โดดเด่นจนได้รับรางวัลความคิดสร้างสรรค์ยอดเยี่ยม ส่วนที่เหลืออีก 5 เรื่องได้รับรางวัลชมเชย
นาลกะ
ลูกแม่น้ำโขง วรรณกรรมเยาวชนรางวัลพระราชทาน "แว่นแก้ว" ชนะเลิศรางวัลที่ 3 คืออีกหนึ่งผลงานจากนานมีบุ๊ค เขียนโดย "เขมชาติ" แม้ว่าลูกแม่น้ำโขงจะเดินตามขนบวรรรกรรมเยาวชนแบบที่เขียน ๆ กัน ที่มักพูดถึงชนบทอันงดงามที่ผู้คนพึ่งพาช่วยเหลือกัน สภาพธรรมชาติที่ผูกพันแวดล้อมวิถีชีวิต การเล่นซนของเด็ก ๆ และข้อคิดทางด้านคุณธรรม เป็นต้นว่า การไม่ฆ่าสัตว์ตัดชีวิต ความมีน้ำใจ  ถึงกระนั้น ลูกแม่น้ำโขง ก็ยังคงน่าอ่านด้วยการบรรยายอย่างมีชีวิตชีวา  เพราะแม่น้ำโขงแม้นจะไหลอย่างที่เคยไหลก็ยังคงน่ามองและมีเสน่ห์อยู่เสมอ