Skip to main content

ผลงานเรื่องนี้ได้รับรางวัลรองชนะเลิศ จากการประกวดวรรณกรรมเยาวชนรางวัลแว่นแก้ว ครั้งที่ 2 ผู้เขียนคือ “เก็ตตะหวา” วาดภาพประกอบโดย ธีระพงษ์ บัวระเพชร และจัดพิมพ์โดยสำนักพิมพ์นานมีบุ๊ค เจ้าเก่า


แก่นแกนของเรื่องคือพัฒนาการของเด็กผู้หญิงที่ชื่อ “ผิงผิง” ซึ่งอาศัยอยู่กับพ่อแม่บุญธรรม และไม่ใคร่จะชอบพ่อที่แท้จริงนักเพราะคิดว่าพ่อทอดทิ้งเธอซ้ำยังปล่อยให้แม่ตาย แต่ที่จริงแล้วพ่อของเธอนั้นรักเธอมาก เหตุที่ต้องฝากเธอไว้กับคนอื่นนั้นเพราะหน้าที่การงานที่เป็นนักมายากลต้องตระเวณแสดงไปตามที่ต่าง ๆ ทั้งคนที่นำลูกไปฝากไว้นั้นก็เป็นเพื่อนเก่าและเป็นนายอำเภอที่ไม่มีลูกของตนเองสามารถดูแลผิงผิงได้


อาปา-พ่อแท้ ๆ ของผิงผิงจะกลับมาหาตอนช่วงปิดเทอม และพาลูกไปไหนมาไหนด้วย ผิงผิงซึ่งเอาแต่ใจตนเองเสมอมาพบเจอเหตุการณ์หลายอย่างกระทั่งเกิดความเข้าใจพ่อ เข้าใจความรักที่พ่อมีต่อเธอ ผิงผิงมองพ่อด้วยความรู้สึกแบบใหม่ ก่อนที่พ่อจะจากเธอไปตลอดกาล


นอกจากประเด็นเรื่องความรักของพ่อ-ลูกแล้ว ตัวละครผิงผิงยังมีพัฒนาการในด้านอื่น ๆ ด้วย ทั้งเรื่องรัก ๆ ใคร่ ๆ การใช้เวลาว่างอย่างสร้างสรรค์ด้วยการเล่นดนตรีและไปไกลกระทั่งเป็นผู้นำประท้วงในเรื่องสิ่งแวดล้อม ต่อต้านทุนนิยม


วรรณกรรมเรื่อง “หัวใจทองในใจเธอ” มีจุดเด่นและจุดด้อยอยู่หลายส่วนด้วยกัน มีทั้งส่วนที่สนุกและส่วนที่น่าเบื่อ จะขอพูดถึงจุดเด่นหรือข้อดีก่อน


1.
ผู้เขียนมีความรู้พอสมควรเกี่ยวกับวัฒนธรรมล้านนา และวัฒนธรรมจีน อาทิเช่นเรื่องภาษา เครื่องดนตรี และสามารถนำวัฒนธรรมทั้งสองส่วนมาผสมกลมกลืนเข้าด้วยกันได้ดีพอสมควร ซึ่งก่อให้เกิดบรรยากาศแปลก ๆ ที่หาอ่านได้ยากในวรรณกรรมเยาวชนอื่น ๆ


2.
ผู้เขียนมีความเชี่ยวชาญทางภาษาในระดับหนึ่ง มีสำนวนและคำพังเพยโบราณที่น่าสนใจ บางตอนยกระดับการพรรณาจนเป็นเหมือนบทกวี บางตอนสอดแทรกบทกวีไว้น่าอ่าน

ฟ้ากว้างสว่างด้วยดาวหมื่นพัน
            แก้วตาฟ้าฝากฝันของพ่อไว้

            นิ่งสนิทนิทราเถิดยอดดวงใจ
            มือของพ่อจะคุ้มภัยเจ้านิรันดร์”
(หน้า 79)


3.
มีประเด็นมากมาย ที่บรรจุอยู่ในวรรณกรรมเล่มนี้ตั้งแต่เรื่องส่วนตัวอย่างความรักของพ่อ-ลูกไปจนถึงประเด็นส่วนรวมอย่างปัญหาการรุกล้ำของทุนนิยม หรือปัญหาการพัฒนาไปสู่วิถีชีวิตปกติของคนต่างจังหวัด รวมถึงปัญหาทางสังคมอย่างเรื่องปัญหาของเยาวชนเรื่องยาเสพติดก็ถูกใส่แทรกไว้ในหลายบทหลายตอน


ส่วนจุดด้อยหรือข้อที่ควรปรับปรุงเพื่อทำให้การเขียนวรรณกรรมเยาวชนดียิ่ง ๆ ขึ้นนั้นก็มีหลายจุดด้วยกันคือ


1.
การจงใจใช้ภาษาให้อ่านยากโดยไม่จำเป็น วรรณกรรมเยาวชนซึ่งเข้าใจว่ามุ่งหวังให้เยาวชนอ่านนั้นควรจะสร้างแรงดึงดูดใจด้วยการบรรยายอย่างง่าย ๆ แต่น่าติดตาม และเล่าออกมาด้วยภาษาเรียบง่ายแต่ฉลาด ไม่จำเป็นอะไรเลยที่ต้องยกคำแปลก ๆ มาใช้ เช่นการตั้งชื่อตอนว่า “ฤารอยร้าวรู้ร้างจางหาย” “ทิพยดุริยางค์ประโลมใจ” ฯลฯ ถ้อยคำเหล่านี้จะทำให้วรรณกรรมเยาวชนดูห่างไกลจากเยาวชนมากยิ่งขึ้น


2.
การใส่เหตุการณ์และเรื่องราวหลากหลายเข้าไปมากเกินไป แตกประเด็นมากมายยิบย่อย เพิ่มตัวละครหลายตัวจนน่าจะเขียนเป็นนวนิยายขนาดยาวสำหรับผู้ใหญ่ มากกว่าจะเป็นวรรณกรรมเยาวชน เช่น ชีวิตคู่ที่ระหองระแหงของพ่อแม่บุญธรรมของผิงผิงโดยมีแม่ม่ายคนงามเข้ามาเกี่ยวข้องและเชื่อมโยงไปยังเรื่องการสร้างห้องอาหารหรูในสวนสาธารณะ


3.
พัฒนาการของผิงผิงที่จริงน่าสนใจ อย่างไรก็ตาม การเร่งให้ผิงผิง “โตเร็วเกินไป” นอกจากจะไม่สมจริงไม่น่าเชื่อแล้ว ทำให้ตัวละครขาดชีวิตชีวา ขาดความลึก กลายเป็นการยัดเยียดจากผู้เขียนไป เช่น การให้ผิงผิงเป็นผู้นำการประท้วงการก่อสร้างห้องอาหาร ต่อต้านการพัฒนา ซึ่งที่จริงแล้วการประท้วง “ความเจริญ” นั้นเป็นเรื่องละเอียดซับซ้อนแต่กลับถูกลดความซับซ้อนลงให้เป็นเรื่องง่าย ๆ ของเด็ก ทั้งยังเป็นการตอกย้ำทัศนคติ (ที่ผิด ๆ) ในเรื่องการพัฒนาหรือการต่อต้านความเจริญ ผิงผิงจึงดูเป็นเด็กที่แก่แดด ไม่น่ารักตามวัย


ในตอนนี้ผู้เขียนไปไกลถึงขนาดตั้งชื่อตอนว่า “พลังประชาเด็ดดอกหญ้าสะเทือนถึงดวงดาว” ซึ่งจากชื่อแล้วน่าจะเป็นบทความหรือนวนิยายเกี่ยวกับการการต่อสู้ของประชาชนเสียมากกว่า


4.
การแยกเด็ดขาดระหว่างโลกสองโลก คือโลกที่มีสีขาวกับสีดำ ตัวละครฝ่ายดีนั้นดีหมดไม่ว่าจะขยับตัวทำอะไร ในขณะที่ตัวละครฝ่ายเลวก็เลวไปเสียทุกเรื่อง


เลิศศักดิ์” ตัวละครฝ่ายเลว เป็นลูกชายเสี่ย เคยเข้าไปอยู่สถานพินิจควบคุมความประพฤติ เป็นแบบอย่างของความเลวที่พบได้บ่อยจนน่าระอา คือรวย ไม่ตั้งใจเรียน ทำผิดกฏหมาย ใช้อำนาจเงินซื้อทุกอย่าง มีพ่อคอยให้ท้าย เป็นอันธพาล ฯลฯ ผิงผิงอาศัยความเลวอันสมบูรณ์แบบของเขานี่เองในการระบุว่าตนเองอยู่ฝ่ายดี


เขาพูดกับผิงผิงตามแบบฉบับว่า

เงินน่ะ... น้องสาว มันมีอำนาจเสมอแหละ เหมือน ๆ กับที่มันมีอำนาจจะทำลายสวนสวรรค์ของเธอทิ้งยังไงล่ะ” (หน้า 113)

ไม่ว่าผมจะทำผิดสักกี่ครั้ง... ผมก็มีเตี่ยคอยปกป้องเพราะผมเป็นลูกชายคนเดียวของเตี่ย ผมจึงถูกเสมอ เดี๋ยวเตี่ยก็วิ่งเต้นเสียเงินนิดหน่อยก็ช่วยผมออกมาอีกจนได้” (หน้า 148)

------------

ด้วยศักยภาพของผู้เขียน เชื่อว่าจะสร้างวรรณกรรมเยาวชนออกมาได้ดียิ่งขึ้น แล้วจะรอคอยอ่าน.

 

 

 

บล็อกของ นาลกะ

นาลกะ
-1- หลานเกิดปีเดียวกับที่ผมเดินทางออกจากบ้าน มุ่งหาประสบการณ์และไล่คว้าหาความหมายของสิ่งที่เรียกว่าชีวิต  คืนวันของหลานที่เติบโตขึ้นด้วยความเอาใจใส่ของพ่อแม่คือจำนวนเวลาที่ผมจากบ้านเกิดเมืองนอน
นาลกะ
    คงเป็นเพราะรูปเล่มงามตาน่าหยิบจับและเครดิตก่อนเข้าสู่เนื้อเรื่องที่บอกว่า “เล็กน้อยมากจนสามารถนั่งอ่านข้าง ๆ เตียง ยิ่งใหญ่มากจนสามารถเปลี่ยนชีวิตทั้งชีวิต” เร้าความสนใจให้เปิดพลิกและลงมืออ่าน
นาลกะ
-1- ฉันเดินตัดผ่านสนามหลวงเพื่อไปขึ้นรถเมล์กลับหอพักเกือบทุกวัน เรื่องราวที่แทบจะเป็นแบบฉบับและเหตุการณ์ซ้ำ ๆ ที่ได้พบเห็นจากผู้คนแห่งสนามหลวงวันแล้ววันเล่า ทำให้เกิดภาพประทับในใจโดยไม่รู้ตัว เมื่อฉันได้รู้จักกับสนามหลวงมากขึ้น ฉันก็ได้พบว่าสถานที่แห่งนี้เปี่ยมไปด้วยสีสันและชีวิตชีวาอย่างแท้จริง ที่แห่งนี้มีเรื่องราวชีวิตของคนระดับล่างมากมาย แต่ละคน แต่ละชีวิตนั้นน่าจะปรากฏอยู่ในนิยายมากกว่าจะเป็นเรื่องจริง คนเหล่านี้ไม่ควรจะมีอยู่จริง!
นาลกะ
“ลูกผู้ชายหัวใจมีรัก(Man and Wife)” คือนิยายอันละเมียดบรรจงของ Tony Parsons เป็นผลงานภาคต่อจาก “ลูก(ผู้)ชายหัวใจคุณพ่อ (Man and Boy)” ซึ่งเคยสร้างความเกรียวกราวในแวดวงนักอ่านได้มากพอสมควร(ผมเคยวิจารณ์ไว้แล้วที่ http://blogazine.prachatai.com/user/nalaka/post/1562 ) ฝีมือแปลโดย ภัสรี สิงหเดช  
นาลกะ
โดยทั่วไปแล้ว หนังสือของสำนักพิมพ์ “ผีเสื้อ” สามารถการันตีคุณภาพ(แต่ไม่การันตียอดขาย) ได้ในระดับหนึ่ง เรียกได้ว่าไม่มีคำว่าผิดหวังในแทบทุกเล่มเพราะว่าโดยส่วนใหญ่แล้วเป็นวรรณกรรมแปล! “พ่อผมไม่เคยฆ่าใคร” ซึ่งเขียนโดย ฌ็อง-หลุยส์ ฟูร์นิเย่ร์ และแปลโดย วัลยา วิวัฒน์ศร ก็เช่นเดียวกัน
นาลกะ
วรรณกรรมเยาวชนรางวัลชมเชยประเภทบันเทิงคดีสำหรับเยาวชน ก่อนวัยรุ่น (12-14) จากคณะกรรมการพัฒนาหนังสือแห่งชาติปี 2530 และได้รับคัดเลือกเป็น 1 ใน 100 เล่ม ที่เด็กและเยาวชนไทยควรอ่าน โดยฝีมือการประพันธ์ของนักเขียนซึ่งเป็นรู้จักกันดี "อัศศิริ ธรรมโชติ"
นาลกะ
ด้วยชื่อเรื่องที่ไม่คุ้นหู และหน้าปกเป็นรูปน้ำตกกลางป่าสวยงาม วรรณกรรมเยาวชนเล่มนี้ชวนให้สะดุดใจและเปิดอ่าน ซึ่งก็ใช้เวลาอ่านไม่นานนักก็จบเล่มเพราะมีความหนาไม่ถึง 50 หน้ารวมภาพประกอบ
นาลกะ
ผลงานเรื่องนี้ได้รับรางวัลรองชนะเลิศ จากการประกวดวรรณกรรมเยาวชนรางวัลแว่นแก้ว ครั้งที่ 2 ผู้เขียนคือ “เก็ตตะหวา” วาดภาพประกอบโดย ธีระพงษ์ บัวระเพชร และจัดพิมพ์โดยสำนักพิมพ์นานมีบุ๊ค เจ้าเก่า แก่นแกนของเรื่องคือพัฒนาการของเด็กผู้หญิงที่ชื่อ “ผิงผิง” ซึ่งอาศัยอยู่กับพ่อแม่บุญธรรม และไม่ใคร่จะชอบพ่อที่แท้จริงนักเพราะคิดว่าพ่อทอดทิ้งเธอซ้ำยังปล่อยให้แม่ตาย แต่ที่จริงแล้วพ่อของเธอนั้นรักเธอมาก เหตุที่ต้องฝากเธอไว้กับคนอื่นนั้นเพราะหน้าที่การงานที่เป็นนักมายากลต้องตระเวณแสดงไปตามที่ต่าง ๆ ทั้งคนที่นำลูกไปฝากไว้นั้นก็เป็นเพื่อนเก่าและเป็นนายอำเภอที่ไม่มีลูกของตนเองสามารถดูแลผิงผิงได้
นาลกะ
  เรื่องเล่ามหาสนุกจากทุ่งหญ้าสีเขียว เป็นวรรณกรรมเด็กที่โด่งดังของธอร์นทัน ดับบลิว. เบอเกตส์ (Thornton W. Burgess) เขาได้แต่งเรื่องเล่าเกี่ยวกับสัตว์ป่าและธรรมชาติเป็นนิทานก่อนนอนสำหรับลูกชาย ปลูกฝังให้ลูกชายเติบโตขึ้นอย่างมีความมั่นคงทางอารมณ์และจิตใจ ต่อมาได้รับการตีพิมพ์เป็นหนังสือชุดรวม 20 เล่ม ได้รับผลสำเร็จอย่างมาก จนเขาได้แต่งเรื่องเล่าเพิ่มเติมรวม 170 เรื่อง
นาลกะ
  วันนี้ขอเปลี่ยนจากวรรณกรรมไทยมาเป็นวรรณกรรมต่างประเทศกันบ้าง หลังจากอ่านวรรณกรรมเล่มนี้จบแล้ว ยอมรับว่ารู้สึกได้ถึงความแตกต่างระหว่างวรรณกรรมเยาวชนของไทยและต่างประเทศ ทั้งสำนวนภาษา ทั้งเทคนิคลีลาการเล่าเรื่องและความเข้มข้นจัดจ้านของเนื้อหา ขอบ่นนิดหนึ่งว่าเท่าที่อ่านและเขียนถึงวรรณกรรมเยาวชนของไทย จำนวนไม่น้อยถ้าไม่เล่าเรื่องชนบทเรียบ ๆ ง่าย ๆ ไม่มีอะไรน่าตื่นเต้นติดตามแล้วก็มักจะบรรเจิดเพริศแพร้วในเรื่องจินตนาการมากเสียจนกลายเป็นนิทานก่อนนอนไปหรือไม่ก็เขียนสำหรับให้เยาวชนอ่านเท่านั้น ไม่ท้าทายผู้อ่านวัยอื่น ๆ แต่อย่างไรเสีย เชื่อว่าวรรณกรรมเยาวชนไทยคงจะได้พัฒนาขึ้นเป็นลำดับ…
นาลกะ
"โลกนี้ยังมีเพื่อน" คือหนังสือรวมนิทานยอดเยี่ยม รางวัลมูลนิธิเด็ก หนังสือเล่มนี้รวมนิทานไว้ทั้งหมด 7 เรื่องด้วยกัน ตั้งชื่อเล่มตามชื่อนิทานที่ได้รับรางวัลยอดเยี่ยมจากการประกวดในปีที่ 12 นอกจาก "โลกนี้ยังมีเพื่อน" ซึ่งได้รับรางวัลนิทานยอดเยี่ยมแล้ว ยังมีเรื่องนิทานเรื่อง "นักวาดพู่กันวิเศษ" ที่โดดเด่นจนได้รับรางวัลความคิดสร้างสรรค์ยอดเยี่ยม ส่วนที่เหลืออีก 5 เรื่องได้รับรางวัลชมเชย
นาลกะ
ลูกแม่น้ำโขง วรรณกรรมเยาวชนรางวัลพระราชทาน "แว่นแก้ว" ชนะเลิศรางวัลที่ 3 คืออีกหนึ่งผลงานจากนานมีบุ๊ค เขียนโดย "เขมชาติ" แม้ว่าลูกแม่น้ำโขงจะเดินตามขนบวรรรกรรมเยาวชนแบบที่เขียน ๆ กัน ที่มักพูดถึงชนบทอันงดงามที่ผู้คนพึ่งพาช่วยเหลือกัน สภาพธรรมชาติที่ผูกพันแวดล้อมวิถีชีวิต การเล่นซนของเด็ก ๆ และข้อคิดทางด้านคุณธรรม เป็นต้นว่า การไม่ฆ่าสัตว์ตัดชีวิต ความมีน้ำใจ  ถึงกระนั้น ลูกแม่น้ำโขง ก็ยังคงน่าอ่านด้วยการบรรยายอย่างมีชีวิตชีวา  เพราะแม่น้ำโขงแม้นจะไหลอย่างที่เคยไหลก็ยังคงน่ามองและมีเสน่ห์อยู่เสมอ