Skip to main content

ด้วยชื่อเรื่องที่ไม่คุ้นหู และหน้าปกเป็นรูปน้ำตกกลางป่าสวยงาม วรรณกรรมเยาวชนเล่มนี้ชวนให้สะดุดใจและเปิดอ่าน ซึ่งก็ใช้เวลาอ่านไม่นานนักก็จบเล่มเพราะมีความหนาไม่ถึง 50 หน้ารวมภาพประกอบ


"เจ๊าะเกอโด่ เด็กบ้านดอย" เป็นอีกเล่มหนึ่งที่ผ่านการคัดสรรจากโครงการวรรณกรรมเยาวชนรางวัลพระราชทาน แว่นแก้ว จัดพิมพ์โดยไม่กลัวขาดทุนโดย "นานมีบุ๊ค" เจ้าเก่า และเรียบเรียงโดย "อุดร วงษ์ทับทิม"


วรรณกรรมเรื่องนี้กล่าวถึงความเป็นอยู่ของ "ปาเกอะญอ" ซึ่งเป็นกลุ่มชาติพันธุ์หนึ่งที่อาศัยอยู่ตามเชิงเขาหรือที่เรียกกันโดยทั่วไปว่า "ชาวเขา" ผ่านสายตาของคนที่ไม่ใช่ "คนใน" หรือไม่ใช่ชาว "ปาเกอะญอ" จะมากจะน้อยเรื่องเล่าเกี่ยวกับชาว "ปาเกอะญอ" จึงผ่านการ "ตีความ" แล้ว


อย่างไรก็ตาม จากเนื้อหาแล้วแสดงให้เห็นว่าผู้เรียบเรียงใกล้ชิดผูกพันกับชาว"ปาเกอะญอ" ดีพอสมควร คลุกคลีอยู่นานพอที่จะรู้จักลำนำ นิทานหลายบทและออกจะชื่นชมวัฒนธรรมของชาว "ปาเกอะญอ" อยู่ไม่น้อย


"เจ๊าะเกอโด่" คือชื่อของเด็กชายชาว "ปาเกอะญอ" แห่งบ้าน "กะชอเร" ที่ได้รับการปลูกฝังให้ภาคภูมิในคุณค่าวัฒนธรรมของตนเองจากปู่ ย่า ผู้อาวุโสในหมู่บ้าน เขาไม่มีความน้อยเนื้อต่ำใจในการเป็น "ชนกลุ่มน้อย" หรือเป็น "ชาวเขา" หากแต่ยินดีที่จะสืบทอดคุณค่าดั้งเดิมที่สั่งสมมาหลายชั่วอายุคน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการนับถือผีตามแบบอย่างบรรพบุรุษในขณะที่ "ปาเกอะญอ" หลายครอบครัวเปลี่ยนไปเข้ารีตกับศาสนาใหม่เพราะแรงจูงใจทางด้านสังคมสงเคราะห์ และแรงยั่วเย้าของความทันสมัย


ความเป็นอยู่และกิจกรรมในชีวิตประจำวัน

ของชาว "ปาเกอะญอ" ตามเนื้อเรื่องนั้นมีลำธาร

เป็นแกนกลางที่คอยหล่อเลี้ยงและให้บทเรียนแก่ชีวิต


"เจ๊าะเกอโด่รู้สึกว่าแม่พลอโกรคือสายน้ำ

แห่งความรัก และสันติสุขที่ธรรมชาติได้มอบให้

แก่พี่น้องปาเกอะญอแห่งบ้านกะชอเรทุกคน

โดยไม่แบ่งแยกว่าใครจะอยู่ฟากฝั่งไหนของแม่น้ำ

จะยังคงนับถือผีตามอย่างปู่ย่าตาทวด

หรือว่าแปรเปลี่ยนไปนับถือศาสนาอื่นใด" (หน้า 26)


ลำธารสอนให้รู้จักการอ่อนน้อมถ่อมตน

ต่อธรรมชาติซึ่งมนุษย์ต้องพึ่งพาและมอบความรักให้ทุกคนอย่างเท่าเทียมโดยไม่แบ่งแยกศาสนา เชื้อชาติ


ปาเกอะญอรุ่มรวยด้วยลำนำ เรื่องเล่าที่เป็นนิทานสอนใจซึ่งเป็นกลวิธีหนึ่งในการปลูกฝังเด็ก ๆ มีลำนำอยู่บทหนึ่ง ซึ่งให้ข้อคิด น่าสนใจ

"แม่น้ำสาละวิน หลงตัวว่าใหญ่เอง"

"แม่น้ำโขงใหญ่ หลงตัวว่าใหญ่เอง"

"ใหญ่เพราะห้วยเล็ก ๆ ไหลลงสู่"

"เล็ก ๆ ไม่ไหลลงสู่ ใหญ่ ๆ ก็จะขอดแห้ง" (หน้า 18)


ความน่าสนใจของ "เจ๊าะเกอโด่ เด็กบ้านดอย" น่าจะอยู่ที่ความเรียบง่าย ใสสะอาดของการดำเนินชีวิต ความงดงามแห่งธรรมชาติ คุณค่าแห่งชีวิตดั้งเดิมที่คนรุ่นหลังควรจะสืบทอดและความรุ่มรวยทางด้านวัฒนธรรม ตลอดจนความรอบรู้ของผู้เรียบเรียงเกี่ยวกับวัฒนธรรมของชาว "ปาเกอะญอ"


อย่างไรก็ตาม วรรณกรรมเยาวชนแล่มนี้มีส่วนที่จะเพิ่มเติมและปรับปรุงในหลาย ๆ ส่วนด้วยกันคือ

1.เนื้อหา ดูเหมือนว่า "เจ๊าะเกอโด่ เด็กบ้านดอย" จะเป็นวรรณกรรมที่ไม่มี "โครงเรื่อง" (plot) ไม่มีจุดเริ่มต้น ไม่มีปมให้คลี่คลาย ไม่มีจุดจบของเรื่อง ผู้เรียบเรียงได้แต่เล่าไปเรื่อย ๆ เหมือนไม่รู้จะเล่าอะไร ซึ่งทำให้ "เจ๊าะเกอโด่ เด็กบ้านดอย" ขาดความน่าติดตามเพราะไม่มีอะไรให้ต้องติดตาม


2.ความเชื่อมโยง จากการที่ "เจ๊าะเกอโด่ เด็กบ้านดอย" ไม่มีโครงเรื่อง จึงทำให้ในแต่ละบทขาดความเชื่อมโยง ไม่มีทิศทางและเป้าหมาย มีแต่การบรรยายฉากและรำพึงรำพันไปเรื่อย ๆ เท่านั้น


ผมอยากจะขอยกตัวอย่างโครงเรื่องหรือ plot ที่สามารถจะใส่เข้าไปในวรรณกรรมเล่มนี้ได้ เช่น การต่อสู้เพื่อปกป้องวัฒนธรรมดั้งเดิมจากความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในหมู่บ้านอย่างรวดเร็ว หรือ ความพยายามที่ตัวละครที่จะหาทางเรียนต่อในระดับสูง ๆ ขึ้น หรือการเดินทางเพื่อไปหาแหล่งต้นน้ำ ในระหว่างทางอาจพบเจอกับเรื่องสนุก ๆ ได้ผจญภัยระหว่างเดินทางพอหอมปากหอมคอ


3.ความสนุกสนาน ความมีชีวิตชีวา จาก 2 ประการในข้างต้นส่งผลให้ "เจ๊าะเกอโด่ เด็กบ้านดอย" ขาดความมีชีวิตชีวาและไม่สนุก ไม่มีอะไรให้ลุ้น


กระนั้นก็ตาม ขอให้กำลังใจและหวังว่าคงจะได้อ่านวรรณกรรมเยาวชนจากผู้เรียบเรียงท่านนี้อีก.

 

 

 

บล็อกของ นาลกะ

นาลกะ
-1- หลานเกิดปีเดียวกับที่ผมเดินทางออกจากบ้าน มุ่งหาประสบการณ์และไล่คว้าหาความหมายของสิ่งที่เรียกว่าชีวิต  คืนวันของหลานที่เติบโตขึ้นด้วยความเอาใจใส่ของพ่อแม่คือจำนวนเวลาที่ผมจากบ้านเกิดเมืองนอน
นาลกะ
    คงเป็นเพราะรูปเล่มงามตาน่าหยิบจับและเครดิตก่อนเข้าสู่เนื้อเรื่องที่บอกว่า “เล็กน้อยมากจนสามารถนั่งอ่านข้าง ๆ เตียง ยิ่งใหญ่มากจนสามารถเปลี่ยนชีวิตทั้งชีวิต” เร้าความสนใจให้เปิดพลิกและลงมืออ่าน
นาลกะ
-1- ฉันเดินตัดผ่านสนามหลวงเพื่อไปขึ้นรถเมล์กลับหอพักเกือบทุกวัน เรื่องราวที่แทบจะเป็นแบบฉบับและเหตุการณ์ซ้ำ ๆ ที่ได้พบเห็นจากผู้คนแห่งสนามหลวงวันแล้ววันเล่า ทำให้เกิดภาพประทับในใจโดยไม่รู้ตัว เมื่อฉันได้รู้จักกับสนามหลวงมากขึ้น ฉันก็ได้พบว่าสถานที่แห่งนี้เปี่ยมไปด้วยสีสันและชีวิตชีวาอย่างแท้จริง ที่แห่งนี้มีเรื่องราวชีวิตของคนระดับล่างมากมาย แต่ละคน แต่ละชีวิตนั้นน่าจะปรากฏอยู่ในนิยายมากกว่าจะเป็นเรื่องจริง คนเหล่านี้ไม่ควรจะมีอยู่จริง!
นาลกะ
“ลูกผู้ชายหัวใจมีรัก(Man and Wife)” คือนิยายอันละเมียดบรรจงของ Tony Parsons เป็นผลงานภาคต่อจาก “ลูก(ผู้)ชายหัวใจคุณพ่อ (Man and Boy)” ซึ่งเคยสร้างความเกรียวกราวในแวดวงนักอ่านได้มากพอสมควร(ผมเคยวิจารณ์ไว้แล้วที่ http://blogazine.prachatai.com/user/nalaka/post/1562 ) ฝีมือแปลโดย ภัสรี สิงหเดช  
นาลกะ
โดยทั่วไปแล้ว หนังสือของสำนักพิมพ์ “ผีเสื้อ” สามารถการันตีคุณภาพ(แต่ไม่การันตียอดขาย) ได้ในระดับหนึ่ง เรียกได้ว่าไม่มีคำว่าผิดหวังในแทบทุกเล่มเพราะว่าโดยส่วนใหญ่แล้วเป็นวรรณกรรมแปล! “พ่อผมไม่เคยฆ่าใคร” ซึ่งเขียนโดย ฌ็อง-หลุยส์ ฟูร์นิเย่ร์ และแปลโดย วัลยา วิวัฒน์ศร ก็เช่นเดียวกัน
นาลกะ
วรรณกรรมเยาวชนรางวัลชมเชยประเภทบันเทิงคดีสำหรับเยาวชน ก่อนวัยรุ่น (12-14) จากคณะกรรมการพัฒนาหนังสือแห่งชาติปี 2530 และได้รับคัดเลือกเป็น 1 ใน 100 เล่ม ที่เด็กและเยาวชนไทยควรอ่าน โดยฝีมือการประพันธ์ของนักเขียนซึ่งเป็นรู้จักกันดี "อัศศิริ ธรรมโชติ"
นาลกะ
ด้วยชื่อเรื่องที่ไม่คุ้นหู และหน้าปกเป็นรูปน้ำตกกลางป่าสวยงาม วรรณกรรมเยาวชนเล่มนี้ชวนให้สะดุดใจและเปิดอ่าน ซึ่งก็ใช้เวลาอ่านไม่นานนักก็จบเล่มเพราะมีความหนาไม่ถึง 50 หน้ารวมภาพประกอบ
นาลกะ
ผลงานเรื่องนี้ได้รับรางวัลรองชนะเลิศ จากการประกวดวรรณกรรมเยาวชนรางวัลแว่นแก้ว ครั้งที่ 2 ผู้เขียนคือ “เก็ตตะหวา” วาดภาพประกอบโดย ธีระพงษ์ บัวระเพชร และจัดพิมพ์โดยสำนักพิมพ์นานมีบุ๊ค เจ้าเก่า แก่นแกนของเรื่องคือพัฒนาการของเด็กผู้หญิงที่ชื่อ “ผิงผิง” ซึ่งอาศัยอยู่กับพ่อแม่บุญธรรม และไม่ใคร่จะชอบพ่อที่แท้จริงนักเพราะคิดว่าพ่อทอดทิ้งเธอซ้ำยังปล่อยให้แม่ตาย แต่ที่จริงแล้วพ่อของเธอนั้นรักเธอมาก เหตุที่ต้องฝากเธอไว้กับคนอื่นนั้นเพราะหน้าที่การงานที่เป็นนักมายากลต้องตระเวณแสดงไปตามที่ต่าง ๆ ทั้งคนที่นำลูกไปฝากไว้นั้นก็เป็นเพื่อนเก่าและเป็นนายอำเภอที่ไม่มีลูกของตนเองสามารถดูแลผิงผิงได้
นาลกะ
  เรื่องเล่ามหาสนุกจากทุ่งหญ้าสีเขียว เป็นวรรณกรรมเด็กที่โด่งดังของธอร์นทัน ดับบลิว. เบอเกตส์ (Thornton W. Burgess) เขาได้แต่งเรื่องเล่าเกี่ยวกับสัตว์ป่าและธรรมชาติเป็นนิทานก่อนนอนสำหรับลูกชาย ปลูกฝังให้ลูกชายเติบโตขึ้นอย่างมีความมั่นคงทางอารมณ์และจิตใจ ต่อมาได้รับการตีพิมพ์เป็นหนังสือชุดรวม 20 เล่ม ได้รับผลสำเร็จอย่างมาก จนเขาได้แต่งเรื่องเล่าเพิ่มเติมรวม 170 เรื่อง
นาลกะ
  วันนี้ขอเปลี่ยนจากวรรณกรรมไทยมาเป็นวรรณกรรมต่างประเทศกันบ้าง หลังจากอ่านวรรณกรรมเล่มนี้จบแล้ว ยอมรับว่ารู้สึกได้ถึงความแตกต่างระหว่างวรรณกรรมเยาวชนของไทยและต่างประเทศ ทั้งสำนวนภาษา ทั้งเทคนิคลีลาการเล่าเรื่องและความเข้มข้นจัดจ้านของเนื้อหา ขอบ่นนิดหนึ่งว่าเท่าที่อ่านและเขียนถึงวรรณกรรมเยาวชนของไทย จำนวนไม่น้อยถ้าไม่เล่าเรื่องชนบทเรียบ ๆ ง่าย ๆ ไม่มีอะไรน่าตื่นเต้นติดตามแล้วก็มักจะบรรเจิดเพริศแพร้วในเรื่องจินตนาการมากเสียจนกลายเป็นนิทานก่อนนอนไปหรือไม่ก็เขียนสำหรับให้เยาวชนอ่านเท่านั้น ไม่ท้าทายผู้อ่านวัยอื่น ๆ แต่อย่างไรเสีย เชื่อว่าวรรณกรรมเยาวชนไทยคงจะได้พัฒนาขึ้นเป็นลำดับ…
นาลกะ
"โลกนี้ยังมีเพื่อน" คือหนังสือรวมนิทานยอดเยี่ยม รางวัลมูลนิธิเด็ก หนังสือเล่มนี้รวมนิทานไว้ทั้งหมด 7 เรื่องด้วยกัน ตั้งชื่อเล่มตามชื่อนิทานที่ได้รับรางวัลยอดเยี่ยมจากการประกวดในปีที่ 12 นอกจาก "โลกนี้ยังมีเพื่อน" ซึ่งได้รับรางวัลนิทานยอดเยี่ยมแล้ว ยังมีเรื่องนิทานเรื่อง "นักวาดพู่กันวิเศษ" ที่โดดเด่นจนได้รับรางวัลความคิดสร้างสรรค์ยอดเยี่ยม ส่วนที่เหลืออีก 5 เรื่องได้รับรางวัลชมเชย
นาลกะ
ลูกแม่น้ำโขง วรรณกรรมเยาวชนรางวัลพระราชทาน "แว่นแก้ว" ชนะเลิศรางวัลที่ 3 คืออีกหนึ่งผลงานจากนานมีบุ๊ค เขียนโดย "เขมชาติ" แม้ว่าลูกแม่น้ำโขงจะเดินตามขนบวรรรกรรมเยาวชนแบบที่เขียน ๆ กัน ที่มักพูดถึงชนบทอันงดงามที่ผู้คนพึ่งพาช่วยเหลือกัน สภาพธรรมชาติที่ผูกพันแวดล้อมวิถีชีวิต การเล่นซนของเด็ก ๆ และข้อคิดทางด้านคุณธรรม เป็นต้นว่า การไม่ฆ่าสัตว์ตัดชีวิต ความมีน้ำใจ  ถึงกระนั้น ลูกแม่น้ำโขง ก็ยังคงน่าอ่านด้วยการบรรยายอย่างมีชีวิตชีวา  เพราะแม่น้ำโขงแม้นจะไหลอย่างที่เคยไหลก็ยังคงน่ามองและมีเสน่ห์อยู่เสมอ