พ่อผมไม่เคยฆ่าใคร : เรื่องเล่าของเด็ก ตลกร้ายของผู้ใหญ่

16 September, 2009 - 00:00 -- nalaka

โดยทั่วไปแล้ว หนังสือของสำนักพิมพ์ “ผีเสื้อ” สามารถการันตีคุณภาพ(แต่ไม่การันตียอดขาย) ได้ในระดับหนึ่ง เรียกได้ว่าไม่มีคำว่าผิดหวังในแทบทุกเล่มเพราะว่าโดยส่วนใหญ่แล้วเป็นวรรณกรรมแปล! “พ่อผมไม่เคยฆ่าใคร” ซึ่งเขียนโดย ฌ็อง-หลุยส์ ฟูร์นิเย่ร์ และแปลโดย วัลยา วิวัฒน์ศร ก็เช่นเดียวกัน

ไม่จำเป็นต้องมีโครงเรื่องที่แข็งแรง ไม่จำเป็นต้องใช้ภาษาซับซ้อน เล่าไปเรื่อย ๆ ถึงสิ่งที่พบเห็นหรือเกิดขึ้นในชีวิตประจำวันตามหัวเรื่องที่ตั้งไว้ด้วยถ้อยคำง่าย ๆ ไม่กี่ประโยค (เพราะว่าเด็กควรจะพูดอะไรที่มันง่าย ๆ) ตัดเอาคำบรรยายหรือการพรรณาที่ไม่จำเป็นออกไป ประณีตในการเลือกสรรคำเพื่อให้เกิดพลังและจินตภาพ


อย่างไรก็ตาม (ขอนอกเรื่องนิดนึง) ชื่อของ มกุฏ อรฤดี ผู้จัดการสำนักพิมพ์ผีเสื้อ ดูจะเสียเครดิตในวงวรรณกรรมไปไม่น้อยเมื่อครั้งที่เขาจัดการประกวด “วรรณกรรมสึนามิ” เชิญชวนให้ผู้สนใจงานเขียนส่งเรื่องสั้นที่เกี่ยวกับคลื่นยักษ์สึนามิเข้าประกวด แต่พอใกล้จะถึงวันประกาศผลตัดสินรางวัล มกุฏ อรฤดี กลับส่งหนังสือแจ้งยกเลิกการประกวดเสียปุบปับอ้างว่าเป็นเรื่องทางการเมือง เพราะมีการเปลี่ยนรัฐบาล (โทษนักการเมือง)


แทนที่จะหาทางออกอย่างเหมาะสม (อาทิ เช่น มกุฏ อรดี และสำนักพิมพ์ผีเสื้อตั้งคณะกรรมการขึ้นมาพิจารณาผลงานเอง รวมเล่มผลงานที่ผ่านการพิจารณาในนามของสำนักพิมพ์ผีเสื้อโดยไม่ต้องให้รางวัลก็ได้) มกุฏ อรฤดี ผู้รับผิดชอบการประกวดรางวัลนี้แก้ปัญหาด้วยกันส่ง “สมุดบันทึก” ให้ผู้ส่งผลงานเข้าประกวดคนละเล่มเป็นการปลอบใจ!


หลังจากนั้นเป็นต้นมาผมแทบไม่อยากหยิบจับหนังสือของสำนักพิมพ์ผีเสื้อ แม้ว่าจะยอมรับในคุณภาพก็ตาม


กลับมาที่ “พ่อผมไม่เคยฆ่าใคร” เหตุที่ผมสนใจหนังสือเล่มนี้ของสำนักพิมพ์ผีเสื้อก็เพราะว่ามันเป็นวรรณกรรมเยาวชน ทั้งเชื่อในฝีมือของผู้แปล จะว่าไปความนำสำนักพิมพ์ก็มีส่วนอยู่ไม่น้อย


นี่คือหนังสือซึ่งใครก็ตาม ผู้เป็นพ่อควรซื้อไว้แอบอ่านและเก็บไว้เป็นมรดกให้ลูกเมื่อเด็ก ๆ โตขึ้น นี่คือหนังสือที่ลูกควรซื้อมอบแก่พ่อเพื่อเป็นของขวัญในทุกวาระทุกโอกาส นี่คือหนังสือที่สตรีผู้มีเหย้าและคิดจะมีคู่ควรอ่านด้วยตั้งใจและนี่คือหนังสือที่ทุกคนผู้ปรารถนาสิ่งดีในชีวิตต้องอ่าน” (ความนำสำนักพิมพ์)


ผู้แปลแนะนำให้รู้จักกับผู้เขียนต้นฉบับสั้น ๆ พร้อมผลงานที่เห็นเพียงชื่อก็น่าสนใจ เป็นต้นว่า “ข้าจะสอนเอ็งให้รู้จักความสุภาพ ไอ้เฮี่ย” “เช็ดน้ำมูกให้ลูกขี้มูกไหลของเรา” “ภาพวาดสีน้ำมันใส่น้ำส้มสายชู” “ไวยากรณ์ฝรั่งเศสอ่อนประเด็น”


พ่อผมไม่เคยฆ่าใคร” เป็นเรื่องเล่าในครอบครัวของเด็กคนหนึ่งที่พูดถึงพ่อของเขา พ่อมีอาชีพเป็นหมอ แต่ดูเหมือนว่าความโด่งดังของพ่อในฐานะที่เป็นหมออาจจะไม่ค่อยเป็นที่เลื่องลือกันเท่ากับที่เป็นขี้เมา


ประเด็นปัญหาหรือความขัดแย้งเล็ก ๆ น้อย ๆ ความไม่สบายอกสบายใจในครอบครัวถูกทำให้เบาลงด้วยการเล่าผ่านสายตาของเด็ก ความทุกข์ของใจแม่ในความขี้เหล้าของพ่อก็เป็นเรื่องตลก ๆ ไปเสีย เพียงแต่มันเป็นตลกร้าย


การเขียนวรรณกรรมเชิงเสียดสีให้มีศิลปะเป็นเรื่องยาก การเล่าผ่านตัวละครเด็กดังเช่นเรื่องนี้ก็เป็นเทคนิควิธีอย่างหนึ่ง ต้องไม่มากเกินไปจนเหมือนเอาคำพูดยัดปากตัวละครเด็กหรือดูเป็นเด็กแก่แดดทั้งต้องไม่เบาหวิวจนไม่เหลือสาระและสไตล์


พ่อผมไม่เคยฆ่าใคร” ซอยแบ่งเป็นเรื่องย่อย ๆ ถึง 72 เรื่อง! ซึ่งไม่ค่อยพบเห็นนักในวรรณกรรมเยาวชน ทั้งส่วนใหญ่แล้วแต่ละเรื่องมีความยาวเพียงหน้าเดียว! มันชวนให้นึกถึงบทกวีเสียมากกว่าอย่างอื่น อย่างไรก็ตาม แต่ละเรื่องล้วนเชื่อมโยงกันและวนอยู่รอบ ๆ ผู้เป็นพ่อ


แม้จะจบลงด้วยความตายก่อนวัยอันควรของพ่อเพราะดื่มอย่างหนัก แต่ไม่ได้รู้สึกเศร้าหรือสะเทือนใจมากนักทั้งนี้เพราะเป็นอะไรที่พอจะเดาได้ตั้งแต่ต้น คนที่เอาแต่ดื่มแม้แต่ในตอนที่รักษาคนไข้ หลังเลิกงาน ปล่อยปละละเลยลูกเมีย จะมีจุดจบในวรรณกรรมเป็นอื่นไปไม่ได้นอกจากโศกนาฎกรรมหรือความตาย


ในที่นี้จะหยิบยกมาให้ลองมาอ่านดูสักเรื่องจาก 72 เรื่อง

พ่อบนกองฟืน”


           
คืนหนึ่ง เราได้ยินเสียงดังจากลานบ้านและเสียงคนร้อง

แม่ลุกขึ้น เปิดหน้าต่าง มองลงไปในสวน พ่อนั่นเอง

เหตุเพราะพ่อรู้สึกร้อนมากขณะอยู่บนเตียงจึงตัดสินใจออกไปข้างนอก

พ่อนอนเหยียดอยู่บนกองฟืน แล้วหลับไป

แต่พ่อตื่นขึ้นกลางดึก ขณะขยับตัว ทำให้ท่อนฟืนที่อยู่สูงตกลงมา

ท่อนฟืนกลิ้งหลุน ๆ ใส่พ่อ

พ่อโกรธมาก จึงสบถสาบานเหมือนกัปตันแฮดด็อค แต่หยาบคายกว่า

พ่อทำให้เราตื่นกันทั้งบ้าน พ่อด่าท่อนฟืน สบถหลายครั้งว่าพระเจ้าห่าเหว

พ่อพูดคำหยาบบรรดามีทุกคำที่เราไม่มีสิทธิ์พูด

ยายบอกให้เราสวดมนต์ เพื่อพ่อจะได้ไม่ตกนรก

ยายพูดเสียงดัง เพื่อไม่ให้พวกเราได้ยินคำหยาบจากปากพ่อ

แต่ก็ได้ยินอยู่ดีเพราะพ่อตะโกนเสียงดังกว่า

ผมแน่ใจ มีตอนหนึ่งพ่อด่ายายว่า ‘หุบปากซะยายแก่’.

ลองไปหาอ่านกันดูครับ หนังสือคุณภาพของสำนักพิมพ์ผีเสื้อ เสียตังค์ร้อยกว่าบาทซื้อหนังสือที่เก็บไว้ได้นาน อ่านแล้วเพลิดเพลินเจริญใจดีกว่าเอาเงินไปดูหนังตลกหรือหนังผีเป็นไหน ๆ.

 

 

 

ความเห็น

Submitted by ยืนยง on

เคยเห็น "พ่อผมไม่เคยฆ่าใครฯ " แต่ยังไม่ได้อ่านเลย
ดีจังที่คุณนาลกะเขียนถึง จะได้ไปหามาอ่าน
ท่าทางน่าสนใจนะ สำนักพิมพ์ผีเสื้อการันตีอยู่แล้ว

หลานที่จากไป

26 March, 2010 - 00:00 -- nalaka

-1-

หลานเกิดปีเดียวกับที่ผมเดินทางออกจากบ้าน มุ่งหาประสบการณ์และไล่คว้าหาความหมายของสิ่งที่เรียกว่าชีวิต  คืนวันของหลานที่เติบโตขึ้นด้วยความเอาใจใส่ของพ่อแม่คือจำนวนเวลาที่ผมจากบ้านเกิดเมืองนอน

เล็กน้อยอย่างที่เห็นแต่เป็นโลกทั้งใบ

14 March, 2010 - 00:00 -- nalaka

 

 
คงเป็นเพราะรูปเล่มงามตาน่าหยิบจับและเครดิตก่อนเข้าสู่เนื้อเรื่องที่บอกว่า
เล็กน้อยมากจนสามารถนั่งอ่านข้าง ๆ เตียง ยิ่งใหญ่มากจนสามารถเปลี่ยนชีวิตทั้งชีวิตเร้าความสนใจให้เปิดพลิกและลงมืออ่าน

สนามหลวงไม่เหมือนเก่า

1 March, 2010 - 00:00 -- nalaka

-1-

ฉันเดินตัดผ่านสนามหลวงเพื่อไปขึ้นรถเมล์กลับหอพักเกือบทุกวัน เรื่องราวที่แทบจะเป็นแบบฉบับและเหตุการณ์ซ้ำ ๆ ที่ได้พบเห็นจากผู้คนแห่งสนามหลวงวันแล้ววันเล่า ทำให้เกิดภาพประทับในใจโดยไม่รู้ตัว


เมื่อฉันได้รู้จักกับสนามหลวงมากขึ้น ฉันก็ได้พบว่าสถานที่แห่งนี้เปี่ยมไปด้วยสีสันและชีวิตชีวาอย่างแท้จริง ที่แห่งนี้มีเรื่องราวชีวิตของคนระดับล่างมากมาย แต่ละคน แต่ละชีวิตนั้นน่าจะปรากฏอยู่ในนิยายมากกว่าจะเป็นเรื่องจริง คนเหล่านี้ไม่ควรจะมีอยู่จริง!

ลูกผู้ชายหัวใจมีรัก : หัวใจที่ไม่เคยอิ่มเต็ม

21 October, 2009 - 00:00 -- nalaka

ลูกผู้ชายหัวใจมีรัก(Man and Wife)” คือนิยายอันละเมียดบรรจงของ Tony Parsons เป็นผลงานภาคต่อจาก “ลูก(ผู้)ชายหัวใจคุณพ่อ (Man and Boy)” ซึ่งเคยสร้างความเกรียวกราวในแวดวงนักอ่านได้มากพอสมควร(ผมเคยวิจารณ์ไว้แล้วที่ http://blogazine.prachatai.com/user/nalaka/post/1562 ) ฝีมือแปลโดย ภัสรี สิงหเดช

 

พ่อผมไม่เคยฆ่าใคร : เรื่องเล่าของเด็ก ตลกร้ายของผู้ใหญ่

16 September, 2009 - 00:00 -- nalaka

โดยทั่วไปแล้ว หนังสือของสำนักพิมพ์ “ผีเสื้อ” สามารถการันตีคุณภาพ(แต่ไม่การันตียอดขาย) ได้ในระดับหนึ่ง เรียกได้ว่าไม่มีคำว่าผิดหวังในแทบทุกเล่มเพราะว่าโดยส่วนใหญ่แล้วเป็นวรรณกรรมแปล! “พ่อผมไม่เคยฆ่าใคร” ซึ่งเขียนโดย ฌ็อง-หลุยส์ ฟูร์นิเย่ร์ และแปลโดย วัลยา วิวัฒน์ศร ก็เช่นเดียวกัน