Skip to main content

-1-


ฉันเดินตัดผ่านสนามหลวงเพื่อไปขึ้นรถเมล์กลับหอพักเกือบทุกวัน เรื่องราวที่แทบจะเป็นแบบฉบับและเหตุการณ์ซ้ำ ๆ ที่ได้พบเห็นจากผู้คนแห่งสนามหลวงวันแล้ววันเล่า ทำให้เกิดภาพประทับในใจโดยไม่รู้ตัว


เมื่อฉันได้รู้จักกับสนามหลวงมากขึ้น ฉันก็ได้พบว่าสถานที่แห่งนี้เปี่ยมไปด้วยสีสันและชีวิตชีวาอย่างแท้จริง ที่แห่งนี้มีเรื่องราวชีวิตของคนระดับล่างมากมาย แต่ละคน แต่ละชีวิตนั้นน่าจะปรากฏอยู่ในนิยายมากกว่าจะเป็นเรื่องจริง คนเหล่านี้ไม่ควรจะมีอยู่จริง!


ฉันคิดว่าผู้ที่เป็นนักเขียน คงจะมองเห็นวัตถุดิบชั้นดีเหลือเฟือสำหรับรังสรรค์วรรณกรรมชิ้นเยี่ยมออกมาสักชิ้นหรือหลาย ๆ ชิ้น ฉันรู้ทีเดียวว่าสภาพเช่นนี้แหละที่จะฟูมฟักให้กำเนิดนักเขียนที่มีคุณภาพและงานเขียนที่มีน้ำเนื้อเปี่ยมสาระออกมา เพียงแต่อย่าเขียนออกมาให้มันเชย นักเขียนควรสรรหาวิธีการใหม่ ๆ ในการบอกเล่า


ชีวิตของคนสนามหลวงคือถ้อยคำที่มีเนื้อหาหนักแน่น น่าสนใจแต่สะเปะสะปะ ไร้ทิศทาง ศิลปะจะช่วยยกระดับของถ้อยคำเหล่านี้ให้กลายเป็นวรรณกรรมได้


สายตาแบบคนชั้นกลางคงจะมองเห็นว่าท้องสนามหลวงเป็นสถานที่อันอุดมด้วยความคับแค้น มีชีวิตสีเทากระทั่งหมิ่นเหม่ต่อการทำผิดกฎหมายและครรลองคลองธรรมนานาชนิด ดูเหมือนว่าภาพร่างแห่งความล้มเหลวของชนบทและส่วนที่เลวร้ายด้านต่าง ๆ ของสังคมเมืองได้มาบรรจบกันและถูกนำมากองรวมไว้ในที่แห่งนี้


บางทีเมื่อมีโอกาส ฉันก็พูดคุยทำความรู้จักกับผู้คนสนามหลวง ซึ่งการเป็นเรื่องของอัตวิสัยล้วน ๆ ฉันสังเกตทุกอย่างอย่างละเอียดลออไม่ว่าจะเป็น เด็กขายอาหารนกพิราบ, วณิพก, คนไร้บ้าน, เด็กที่ครอบครัวแตกแยก, โสเภณีหลากหลายแบบ, คนพลัดถิ่นผู้ซึ่งเสี่ยงโชคเข้ามาหางานทำในมหานครกรุงเทพ ฯลฯ เกือบทุกครั้งที่ได้แลกเปลี่ยนพูดคุย ฉันมักได้แรงดลใจหลายอย่างรวมทั้งความปรารถนาที่จะเรียงร้อยภาพเหล่านั้นออกมาเป็นตัวอักษร แต่ที่สำคัญไปกว่านั้นคือชีวิตคนสนามหลวงทำให้ฉันเรียนรู้เกี่ยวกับตัวเอง


อย่างไรก็ตาม การทำความรู้จักกับคนสนามหลวงนั้นต้องใช้ความอดทนและพยายามอยู่พอสมควร หลายคนพูดจาหยาบคายแทบทนไม่ได้ทั้งที่ยังเป็นเด็กอยู่ด้วยซ้ำ หนูน้อยใช้คำว่า “เหี้ย” “สัตว์” “ค-ย” อย่างเป็นปกติธรรมชาติ ผู้หญิงบางคนชวนฉันไปนอนด้วย ในขณะที่บางคนมองโลกในแง่ร้ายอย่างไม่น่าเชื่อ บางคนพูดถึงความจริงง่าย ๆ ทว่าลึกซึ้งซึ่งฉันไม่คิดว่าจะไม่ได้ยินจากที่ไหนนอกจากที่นี่ที่เดียว

ด้วยความที่ฉันผ่านสนามหลวงอยู่ทุกวี่วัน ฉันจึงสามารถสร้างความคุ้นเคยกับคนสนามหลวงได้โดยไม่ยากเย็นนัก มิตรภาพที่ไม่เรียกร้องอะไรสามารถเกิดขึ้นได้ง่าย ๆ เพียงเปิดใจรับฟังผู้อื่นบ้าง แล้วความรู้สึกดี ๆ ก็จะตอบกลับมา


-2-


ยามเย็นที่แสงเศร้าแห่งอาทิตย์ทอทาบยอดหญ้า ฉันเดินตัดผ่านสนามหลวงอีกครั้ง แต่บัดนี้สนามหลวงไม่เหมือนเดิมอีกแล้ว สนามหลวงร้างไร้ผู้คน ไม่มีเด็กมอมแมมเร่งเร้าให้ซื้ออาหารนกพิราบ แทบไม่เหลือร่องรอยฝูงนกพิราบที่ก่อความรำคาญ ไม่มีหมอนวดไร้สังกัด คนเก็บของเก่าขาย คนชินตาเหล่านี้หายไปแล้ว พวกเขาหายไปเพื่อมีชีวิตที่ดีกว่า ?


ผู้มีอำนาจเห็นตรงกันมานานแล้วว่า ผู้คนที่หากินหลับนอนอยู่ที่ท้องสนามหลวงคือความอัปลักษณ์และด้านมืดของเมือง มีความพยายามหลายต่อหลายครั้งที่จะขจัดภาพลักษณ์ด้านลบของเมืองออกไปแต่ไม่เคยทำได้สำเร็จอย่างแท้จริง เพราะคงไม่มีที่ไหนในประเทศไทยจะเหมือนที่แห่งนี้


สนามหลวงซึ่งตั้งอยู่ใจกลางเมืองกรุงเป็นดั่งแม่เหล็กดึงดูดผู้คนชายขอบจากส่วนต่าง ๆ ของประเทศเข้ามารุ่นแล้วรุ่นเล่า มันสะท้อนให้เห็นถึงความพิกลพิการและความล้มเหลวของประเทศ ความล้มเหลวของผู้มีอำนาจ


ครั้งหนึ่งฉันได้ยินบทสนทนาของคนสนามหลวงซึ่งทำให้ฉันฉุกคิดอะไรบางอย่างขึ้นมาได้ พ่อแม่ลูกครอบครัวหนึ่งยึดสนามหลวงเป็นที่พักอาศัย ขณะที่ฉันเดินเข้าไปใกล้นั้น ฉันได้ยินหนูน้อยร้องขออนุญาตพ่อออกไปวิ่งเล่น ผู้เป็นพ่อตอบว่า

เล่นเสร็จแล้วให้รีบกลับบ้านนะ”


ฉันฉงนใจที่เขาเรียกกองสัมภาระซึ่งมีกระเป๋าเพียงสองใบกับเสื่อปูนอนว่า “บ้าน” ในตอนนั้นฉันมีคำถามในใจว่าลักษณะที่ว่าจะเป็น “บ้าน” ได้อย่างไร อย่างไรก็ตามฉันทำความเข้าใจเรื่องนี้อยู่นาน ฉันคิดว่าคนชั้นกลางไม่อาจเข้าใจนิยาม “บ้าน” ของคนสนามหลวงได้เช่นเดียวกับฉัน


คนชั้นกลางอาจรู้สึกละอายใจกับคนสนามหลวง บางทีมันอาจทำให้พวกคนที่อ่อนไหวรู้สึกแย่กับตนเอง เพราะได้เห็นเด็กเล็ก ๆ ยืนดมกาวในถุงพลาสติก คนกำลังคุ้ยถังขยะเพื่อหาขวดสักใบ หญิงนั่งฉี่กลางสนามโดยไม่สนใจอะไร ผู้ชายเสียสตินอนแก้ผ้า เรื่องแบบนี้เป็นความจริงเกินไป ไม่แปลกอะไรที่ผู้ว่า ฯ กทม. ต้องการกวาดล้างหรือเรียกให้ไพเราะว่าปรับปรุงพื้นที่สนามหลวง


วันนี้ก็เหมือนวันอื่น ๆ ที่ฉันต้องเดินผ่านสนามหลวงเพื่อไปขึ้นรถเมล์กลับหอพัก แต่ฉันสัมผัสได้ว่าสนามหลวงไม่เหมือนเก่า เมื่อไม่มีคนสนามหลวงมันก็เป็นแค่ทุ่งโล่งไร้ชีวิตชีวาที่มีไว้สำหรับจัดงานประจำปีเท่านั้น.

บล็อกของ นาลกะ

นาลกะ
-1- หลานเกิดปีเดียวกับที่ผมเดินทางออกจากบ้าน มุ่งหาประสบการณ์และไล่คว้าหาความหมายของสิ่งที่เรียกว่าชีวิต  คืนวันของหลานที่เติบโตขึ้นด้วยความเอาใจใส่ของพ่อแม่คือจำนวนเวลาที่ผมจากบ้านเกิดเมืองนอน
นาลกะ
    คงเป็นเพราะรูปเล่มงามตาน่าหยิบจับและเครดิตก่อนเข้าสู่เนื้อเรื่องที่บอกว่า “เล็กน้อยมากจนสามารถนั่งอ่านข้าง ๆ เตียง ยิ่งใหญ่มากจนสามารถเปลี่ยนชีวิตทั้งชีวิต” เร้าความสนใจให้เปิดพลิกและลงมืออ่าน
นาลกะ
-1- ฉันเดินตัดผ่านสนามหลวงเพื่อไปขึ้นรถเมล์กลับหอพักเกือบทุกวัน เรื่องราวที่แทบจะเป็นแบบฉบับและเหตุการณ์ซ้ำ ๆ ที่ได้พบเห็นจากผู้คนแห่งสนามหลวงวันแล้ววันเล่า ทำให้เกิดภาพประทับในใจโดยไม่รู้ตัว เมื่อฉันได้รู้จักกับสนามหลวงมากขึ้น ฉันก็ได้พบว่าสถานที่แห่งนี้เปี่ยมไปด้วยสีสันและชีวิตชีวาอย่างแท้จริง ที่แห่งนี้มีเรื่องราวชีวิตของคนระดับล่างมากมาย แต่ละคน แต่ละชีวิตนั้นน่าจะปรากฏอยู่ในนิยายมากกว่าจะเป็นเรื่องจริง คนเหล่านี้ไม่ควรจะมีอยู่จริง!
นาลกะ
“ลูกผู้ชายหัวใจมีรัก(Man and Wife)” คือนิยายอันละเมียดบรรจงของ Tony Parsons เป็นผลงานภาคต่อจาก “ลูก(ผู้)ชายหัวใจคุณพ่อ (Man and Boy)” ซึ่งเคยสร้างความเกรียวกราวในแวดวงนักอ่านได้มากพอสมควร(ผมเคยวิจารณ์ไว้แล้วที่ http://blogazine.prachatai.com/user/nalaka/post/1562 ) ฝีมือแปลโดย ภัสรี สิงหเดช  
นาลกะ
โดยทั่วไปแล้ว หนังสือของสำนักพิมพ์ “ผีเสื้อ” สามารถการันตีคุณภาพ(แต่ไม่การันตียอดขาย) ได้ในระดับหนึ่ง เรียกได้ว่าไม่มีคำว่าผิดหวังในแทบทุกเล่มเพราะว่าโดยส่วนใหญ่แล้วเป็นวรรณกรรมแปล! “พ่อผมไม่เคยฆ่าใคร” ซึ่งเขียนโดย ฌ็อง-หลุยส์ ฟูร์นิเย่ร์ และแปลโดย วัลยา วิวัฒน์ศร ก็เช่นเดียวกัน
นาลกะ
วรรณกรรมเยาวชนรางวัลชมเชยประเภทบันเทิงคดีสำหรับเยาวชน ก่อนวัยรุ่น (12-14) จากคณะกรรมการพัฒนาหนังสือแห่งชาติปี 2530 และได้รับคัดเลือกเป็น 1 ใน 100 เล่ม ที่เด็กและเยาวชนไทยควรอ่าน โดยฝีมือการประพันธ์ของนักเขียนซึ่งเป็นรู้จักกันดี "อัศศิริ ธรรมโชติ"
นาลกะ
ด้วยชื่อเรื่องที่ไม่คุ้นหู และหน้าปกเป็นรูปน้ำตกกลางป่าสวยงาม วรรณกรรมเยาวชนเล่มนี้ชวนให้สะดุดใจและเปิดอ่าน ซึ่งก็ใช้เวลาอ่านไม่นานนักก็จบเล่มเพราะมีความหนาไม่ถึง 50 หน้ารวมภาพประกอบ
นาลกะ
ผลงานเรื่องนี้ได้รับรางวัลรองชนะเลิศ จากการประกวดวรรณกรรมเยาวชนรางวัลแว่นแก้ว ครั้งที่ 2 ผู้เขียนคือ “เก็ตตะหวา” วาดภาพประกอบโดย ธีระพงษ์ บัวระเพชร และจัดพิมพ์โดยสำนักพิมพ์นานมีบุ๊ค เจ้าเก่า แก่นแกนของเรื่องคือพัฒนาการของเด็กผู้หญิงที่ชื่อ “ผิงผิง” ซึ่งอาศัยอยู่กับพ่อแม่บุญธรรม และไม่ใคร่จะชอบพ่อที่แท้จริงนักเพราะคิดว่าพ่อทอดทิ้งเธอซ้ำยังปล่อยให้แม่ตาย แต่ที่จริงแล้วพ่อของเธอนั้นรักเธอมาก เหตุที่ต้องฝากเธอไว้กับคนอื่นนั้นเพราะหน้าที่การงานที่เป็นนักมายากลต้องตระเวณแสดงไปตามที่ต่าง ๆ ทั้งคนที่นำลูกไปฝากไว้นั้นก็เป็นเพื่อนเก่าและเป็นนายอำเภอที่ไม่มีลูกของตนเองสามารถดูแลผิงผิงได้
นาลกะ
  เรื่องเล่ามหาสนุกจากทุ่งหญ้าสีเขียว เป็นวรรณกรรมเด็กที่โด่งดังของธอร์นทัน ดับบลิว. เบอเกตส์ (Thornton W. Burgess) เขาได้แต่งเรื่องเล่าเกี่ยวกับสัตว์ป่าและธรรมชาติเป็นนิทานก่อนนอนสำหรับลูกชาย ปลูกฝังให้ลูกชายเติบโตขึ้นอย่างมีความมั่นคงทางอารมณ์และจิตใจ ต่อมาได้รับการตีพิมพ์เป็นหนังสือชุดรวม 20 เล่ม ได้รับผลสำเร็จอย่างมาก จนเขาได้แต่งเรื่องเล่าเพิ่มเติมรวม 170 เรื่อง
นาลกะ
  วันนี้ขอเปลี่ยนจากวรรณกรรมไทยมาเป็นวรรณกรรมต่างประเทศกันบ้าง หลังจากอ่านวรรณกรรมเล่มนี้จบแล้ว ยอมรับว่ารู้สึกได้ถึงความแตกต่างระหว่างวรรณกรรมเยาวชนของไทยและต่างประเทศ ทั้งสำนวนภาษา ทั้งเทคนิคลีลาการเล่าเรื่องและความเข้มข้นจัดจ้านของเนื้อหา ขอบ่นนิดหนึ่งว่าเท่าที่อ่านและเขียนถึงวรรณกรรมเยาวชนของไทย จำนวนไม่น้อยถ้าไม่เล่าเรื่องชนบทเรียบ ๆ ง่าย ๆ ไม่มีอะไรน่าตื่นเต้นติดตามแล้วก็มักจะบรรเจิดเพริศแพร้วในเรื่องจินตนาการมากเสียจนกลายเป็นนิทานก่อนนอนไปหรือไม่ก็เขียนสำหรับให้เยาวชนอ่านเท่านั้น ไม่ท้าทายผู้อ่านวัยอื่น ๆ แต่อย่างไรเสีย เชื่อว่าวรรณกรรมเยาวชนไทยคงจะได้พัฒนาขึ้นเป็นลำดับ…
นาลกะ
"โลกนี้ยังมีเพื่อน" คือหนังสือรวมนิทานยอดเยี่ยม รางวัลมูลนิธิเด็ก หนังสือเล่มนี้รวมนิทานไว้ทั้งหมด 7 เรื่องด้วยกัน ตั้งชื่อเล่มตามชื่อนิทานที่ได้รับรางวัลยอดเยี่ยมจากการประกวดในปีที่ 12 นอกจาก "โลกนี้ยังมีเพื่อน" ซึ่งได้รับรางวัลนิทานยอดเยี่ยมแล้ว ยังมีเรื่องนิทานเรื่อง "นักวาดพู่กันวิเศษ" ที่โดดเด่นจนได้รับรางวัลความคิดสร้างสรรค์ยอดเยี่ยม ส่วนที่เหลืออีก 5 เรื่องได้รับรางวัลชมเชย
นาลกะ
ลูกแม่น้ำโขง วรรณกรรมเยาวชนรางวัลพระราชทาน "แว่นแก้ว" ชนะเลิศรางวัลที่ 3 คืออีกหนึ่งผลงานจากนานมีบุ๊ค เขียนโดย "เขมชาติ" แม้ว่าลูกแม่น้ำโขงจะเดินตามขนบวรรรกรรมเยาวชนแบบที่เขียน ๆ กัน ที่มักพูดถึงชนบทอันงดงามที่ผู้คนพึ่งพาช่วยเหลือกัน สภาพธรรมชาติที่ผูกพันแวดล้อมวิถีชีวิต การเล่นซนของเด็ก ๆ และข้อคิดทางด้านคุณธรรม เป็นต้นว่า การไม่ฆ่าสัตว์ตัดชีวิต ความมีน้ำใจ  ถึงกระนั้น ลูกแม่น้ำโขง ก็ยังคงน่าอ่านด้วยการบรรยายอย่างมีชีวิตชีวา  เพราะแม่น้ำโขงแม้นจะไหลอย่างที่เคยไหลก็ยังคงน่ามองและมีเสน่ห์อยู่เสมอ