Skip to main content

คุณตาและน้ามลมาที่บ้านสายรุ้งบ่อยขึ้น เพราะแม่ของสายรุ้งไม่สบาย แม่เป็นลมหมดสติขณะกำลังทำงาน โชคดีที่ตอนนั้นสายรุ้งอยู่ที่บ้านด้วย สายรุ้งตกใจมากที่เห็นแม่ล้มลงและหมดสติเขาวิ่งไปตามคุณตาและน้ามล

สายรุ้งไม่เข้าใจเลยว่าแม่ล้มป่วยได้อย่างไรในเมื่อดูแลตัวเองดีมาโดยตลอด  แม่เคร่งครัดต่อวิถีชีวิตประจำวันอย่างมาก นอนและตื่นตรงเวลาเหมือนกันทุกวัน ระวังให้ไม่โดนแดด โดนฝน แม่เลือกทานอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายเท่านั้น อาหารที่ผ่านการหมักดองแม่ไม่ทานเด็ดขาด ผัก ผลไม้ที่ซื้อมาจากตลาดแม่ล้างแล้วล้างอีก อาหารทอดหรือปิ้งย่าง แม่ก็ไม่ทาน ทั้งแม่ยังออกกำลังกายเป็นประจำอีกด้วย

สายรุ้งคิดว่าโรคภัยไข้เจ็บเป็นสิ่งที่เข้าใจยาก คนบางคนอาจล้มป่วยลงโดยไม่มีลางบอกเหตุอะไรเลยหรือบางทีก็หาสาเหตุไม่ได้ เขาเคยเห็นคนในชุมชนกลายเป็นอัมพาตอย่างเฉียบพลันทันใดทั้งที่ก่อนหน้านี้แข็งแรงปกติ ดังนั้นการที่คุณตาพูดอยู่เสมอว่า “การไม่มีโรคเป็นลาภอันประเสริฐ” นั้นเป็นเรื่องจริงทีเดียว

น้ามลเฝ้าคอยดูแลแม่ บางคืนน้ามลก็มานอนค้างด้วย ชวนแม่คุยสัพเพเหระ น้ามลกับแม่คุยกันถึงเรื่องในวัยเด็กที่เติบโตมาด้วยกัน

“เธอจำได้ไหมว่าเธอสับสนระหว่างโคมไฟกับดวงจันทร์”     
“จำได้สิ”
“เธอจำได้ไหมว่าเธอสับสนระหว่างแสงหิ่งห้อยกับดวงดาว”    
“แน่นอน ฉันจำได้”
“เธอเคยร้องไห้เมื่อทำให้ปีกบางของผีเสื้อขาด”
“ฉันจำวัยเด็กของฉันได้ดีทีเดียวแหละ”
แม่พูด

ส่วนเด่นพยายามชวนสายรุ้งเล่น เด่นไม่อยากให้สายรุ้งกังวลใจที่แม่ไม่สบาย เด่นมองเห็นความโศกเศร้าของสายรุ้งแล้วก็พาให้รู้สึกไม่สบายใจไปด้วย  เด่นคิดและรู้ว่าสายรุ้งต่างจากเขา ดังนั้นจึงควรได้รับการเอาใจใส่

เด่นรู้ดีว่าแม่ของสายรุ้งล้มป่วยด้วยโรคอะไร และรู้ดีว่าวันข้างหน้าสายรุ้งก็อาจจะป่วยด้วยสาเหตุเดียวกัน เด่นเก็บความลับไว้เรื่องนี้ไว้กับตัวอย่างดี แม้ว่าเขาจะเป็นเด็กแต่เขาก็เข้าใจสถานการณ์ แม่ของเขาได้สอนไว้แล้วในเรื่องนี้   

เด่นคิดว่าสายรุ้งต่างหากที่ไม่รู้ว่าอะไรเป็นอะไร ซึ่งจะว่าไปก็อาจจะเป็นเรื่องดีก็ได้ แต่เมื่อโตขึ้นอีกหน่อย สายรุ้งควรจะรู้เกี่ยวกับตัวเองเพื่อจะจัดการได้อย่างเหมาะสมเพราะมีแต่ตัวเองเท่านั้นที่รู้จักร่างกายของตัวเองดีที่สุด

นอกจากการรักษาโดยแพทย์แผนใหม่ ทานยาจากโรงพยาบาลอย่างเคร่งครัดและการดูแลเอาใจใส่จากคนรอบข้างแล้ว ปู่ยังบนบานศาลกล่าวกับสิ่งศักดิ์สิทธิขอให้แม่หายจากอาการป่วย นี่เป็นวิธีที่ปู่จะใช้เวลาที่เกิดเรื่องสำคัญซึ่งอาจต้องพึ่งพาโชคหรือสิ่งศักดิ์สิทธิ

“สิ่งศักดิ์สิทธิ์จะดลให้แม่หายป่วย”
ปู่บอกกับสายรุ้ง
“แม่ทานยาอยู่แล้วนี่ครับ”
“ยารักษาไม่ได้ทั้งหมดหรอก”
ปู่ว่า “บางทีคนเราก็สามารถหายป่วยโดยที่ไม่ต้องพึ่งยาหรือหมอ”
“แม่จะต้องหายป่วย”
สายรุ้งพูด “เพราะสิ่งศักดิ์สิทธิ์จะช่วยแม่”
 
แม่อ่อนเพลีย ผิวของแม่ซีดลง แต่ดวงตาของแม่ยังแจ่มใสและเปี่ยมไปด้วยความรักยามที่มองสายรุ้ง

สายรุ้งนั่งเฝ้าแม่ไม่ไปไหน คอยดูแลเอาใจใส่ ดูแลให้แม่กินยาตรงเวลาและต่อเนื่องซึ่งก่อนหน้านี้แม่จะกำชับสายรุ้งในเรื่องนี้แต่ตอนนี้สายรุ้งกลับเป็นฝ่ายต้องดูแลแม่ เขาหวั่นใจเหลือเกินว่าอาจเกิดเรื่องร้ายแรงขึ้น

สายรุ้งแทบไม่พูดอะไรเลย หัวใจของเขาและแม่สื่อสารกันโดยไม่ต้องพูด ความรักที่ท่วมท้นอยู่ในอกนั้นทำให้คำพูดสูญเสียความสำคัญไป

สายรุ้งป้อนข้าว ป้อนน้ำให้แม่ เขาพยายามไม่แสดงความอ่อนแอให้แม่เห็น ถึงเวลาที่เขาจะต้องเข้มแข็งแล้ว เพราะถ้าเขาไม่เข็มแข็งก็อาจจะทำให้แม่เป็นกังวล เขารู้ว่าแม่รักเขามาก แม่เคยบอกว่าแม่รักเขามากกว่าที่แม่รักตัวเองเสียอีก ดังนั้นเขาจะอ่อนแอไม่ได้

แม่น้ำตาซึมด้วยความตื้นตันที่สายรุ้งแสดงความห่วงใยออกมา อะไรจะทำให้ซาบซึ้งใจเท่ากับความรักและความกตัญญูรู้คุณที่ลูกแสดงออกมา

แม่พยายามไม่อ่อนแอเช่นเดียวกัน นี่ไม่ใช่เวลาที่จะอ่อนแอ สายรุ้งคงไม่สบายใจหากว่าแม่ปล่อยให้น้ำตาเอ่อล้นออกมา

คุณตา น้ามล และเด่นมองสายรุ้งและแม่ด้วยความสะเทือนใจ ประหวั่นพรั่นพรึงถึงโศกนาฏกรรมที่อาจเกิดขึ้นต่อคนทั้งสอง
                                    

บล็อกของ นาลกะ

นาลกะ
-1- หลานเกิดปีเดียวกับที่ผมเดินทางออกจากบ้าน มุ่งหาประสบการณ์และไล่คว้าหาความหมายของสิ่งที่เรียกว่าชีวิต  คืนวันของหลานที่เติบโตขึ้นด้วยความเอาใจใส่ของพ่อแม่คือจำนวนเวลาที่ผมจากบ้านเกิดเมืองนอน
นาลกะ
    คงเป็นเพราะรูปเล่มงามตาน่าหยิบจับและเครดิตก่อนเข้าสู่เนื้อเรื่องที่บอกว่า “เล็กน้อยมากจนสามารถนั่งอ่านข้าง ๆ เตียง ยิ่งใหญ่มากจนสามารถเปลี่ยนชีวิตทั้งชีวิต” เร้าความสนใจให้เปิดพลิกและลงมืออ่าน
นาลกะ
-1- ฉันเดินตัดผ่านสนามหลวงเพื่อไปขึ้นรถเมล์กลับหอพักเกือบทุกวัน เรื่องราวที่แทบจะเป็นแบบฉบับและเหตุการณ์ซ้ำ ๆ ที่ได้พบเห็นจากผู้คนแห่งสนามหลวงวันแล้ววันเล่า ทำให้เกิดภาพประทับในใจโดยไม่รู้ตัว เมื่อฉันได้รู้จักกับสนามหลวงมากขึ้น ฉันก็ได้พบว่าสถานที่แห่งนี้เปี่ยมไปด้วยสีสันและชีวิตชีวาอย่างแท้จริง ที่แห่งนี้มีเรื่องราวชีวิตของคนระดับล่างมากมาย แต่ละคน แต่ละชีวิตนั้นน่าจะปรากฏอยู่ในนิยายมากกว่าจะเป็นเรื่องจริง คนเหล่านี้ไม่ควรจะมีอยู่จริง!
นาลกะ
“ลูกผู้ชายหัวใจมีรัก(Man and Wife)” คือนิยายอันละเมียดบรรจงของ Tony Parsons เป็นผลงานภาคต่อจาก “ลูก(ผู้)ชายหัวใจคุณพ่อ (Man and Boy)” ซึ่งเคยสร้างความเกรียวกราวในแวดวงนักอ่านได้มากพอสมควร(ผมเคยวิจารณ์ไว้แล้วที่ http://blogazine.prachatai.com/user/nalaka/post/1562 ) ฝีมือแปลโดย ภัสรี สิงหเดช  
นาลกะ
โดยทั่วไปแล้ว หนังสือของสำนักพิมพ์ “ผีเสื้อ” สามารถการันตีคุณภาพ(แต่ไม่การันตียอดขาย) ได้ในระดับหนึ่ง เรียกได้ว่าไม่มีคำว่าผิดหวังในแทบทุกเล่มเพราะว่าโดยส่วนใหญ่แล้วเป็นวรรณกรรมแปล! “พ่อผมไม่เคยฆ่าใคร” ซึ่งเขียนโดย ฌ็อง-หลุยส์ ฟูร์นิเย่ร์ และแปลโดย วัลยา วิวัฒน์ศร ก็เช่นเดียวกัน
นาลกะ
วรรณกรรมเยาวชนรางวัลชมเชยประเภทบันเทิงคดีสำหรับเยาวชน ก่อนวัยรุ่น (12-14) จากคณะกรรมการพัฒนาหนังสือแห่งชาติปี 2530 และได้รับคัดเลือกเป็น 1 ใน 100 เล่ม ที่เด็กและเยาวชนไทยควรอ่าน โดยฝีมือการประพันธ์ของนักเขียนซึ่งเป็นรู้จักกันดี "อัศศิริ ธรรมโชติ"
นาลกะ
ด้วยชื่อเรื่องที่ไม่คุ้นหู และหน้าปกเป็นรูปน้ำตกกลางป่าสวยงาม วรรณกรรมเยาวชนเล่มนี้ชวนให้สะดุดใจและเปิดอ่าน ซึ่งก็ใช้เวลาอ่านไม่นานนักก็จบเล่มเพราะมีความหนาไม่ถึง 50 หน้ารวมภาพประกอบ
นาลกะ
ผลงานเรื่องนี้ได้รับรางวัลรองชนะเลิศ จากการประกวดวรรณกรรมเยาวชนรางวัลแว่นแก้ว ครั้งที่ 2 ผู้เขียนคือ “เก็ตตะหวา” วาดภาพประกอบโดย ธีระพงษ์ บัวระเพชร และจัดพิมพ์โดยสำนักพิมพ์นานมีบุ๊ค เจ้าเก่า แก่นแกนของเรื่องคือพัฒนาการของเด็กผู้หญิงที่ชื่อ “ผิงผิง” ซึ่งอาศัยอยู่กับพ่อแม่บุญธรรม และไม่ใคร่จะชอบพ่อที่แท้จริงนักเพราะคิดว่าพ่อทอดทิ้งเธอซ้ำยังปล่อยให้แม่ตาย แต่ที่จริงแล้วพ่อของเธอนั้นรักเธอมาก เหตุที่ต้องฝากเธอไว้กับคนอื่นนั้นเพราะหน้าที่การงานที่เป็นนักมายากลต้องตระเวณแสดงไปตามที่ต่าง ๆ ทั้งคนที่นำลูกไปฝากไว้นั้นก็เป็นเพื่อนเก่าและเป็นนายอำเภอที่ไม่มีลูกของตนเองสามารถดูแลผิงผิงได้
นาลกะ
  เรื่องเล่ามหาสนุกจากทุ่งหญ้าสีเขียว เป็นวรรณกรรมเด็กที่โด่งดังของธอร์นทัน ดับบลิว. เบอเกตส์ (Thornton W. Burgess) เขาได้แต่งเรื่องเล่าเกี่ยวกับสัตว์ป่าและธรรมชาติเป็นนิทานก่อนนอนสำหรับลูกชาย ปลูกฝังให้ลูกชายเติบโตขึ้นอย่างมีความมั่นคงทางอารมณ์และจิตใจ ต่อมาได้รับการตีพิมพ์เป็นหนังสือชุดรวม 20 เล่ม ได้รับผลสำเร็จอย่างมาก จนเขาได้แต่งเรื่องเล่าเพิ่มเติมรวม 170 เรื่อง
นาลกะ
  วันนี้ขอเปลี่ยนจากวรรณกรรมไทยมาเป็นวรรณกรรมต่างประเทศกันบ้าง หลังจากอ่านวรรณกรรมเล่มนี้จบแล้ว ยอมรับว่ารู้สึกได้ถึงความแตกต่างระหว่างวรรณกรรมเยาวชนของไทยและต่างประเทศ ทั้งสำนวนภาษา ทั้งเทคนิคลีลาการเล่าเรื่องและความเข้มข้นจัดจ้านของเนื้อหา ขอบ่นนิดหนึ่งว่าเท่าที่อ่านและเขียนถึงวรรณกรรมเยาวชนของไทย จำนวนไม่น้อยถ้าไม่เล่าเรื่องชนบทเรียบ ๆ ง่าย ๆ ไม่มีอะไรน่าตื่นเต้นติดตามแล้วก็มักจะบรรเจิดเพริศแพร้วในเรื่องจินตนาการมากเสียจนกลายเป็นนิทานก่อนนอนไปหรือไม่ก็เขียนสำหรับให้เยาวชนอ่านเท่านั้น ไม่ท้าทายผู้อ่านวัยอื่น ๆ แต่อย่างไรเสีย เชื่อว่าวรรณกรรมเยาวชนไทยคงจะได้พัฒนาขึ้นเป็นลำดับ…
นาลกะ
"โลกนี้ยังมีเพื่อน" คือหนังสือรวมนิทานยอดเยี่ยม รางวัลมูลนิธิเด็ก หนังสือเล่มนี้รวมนิทานไว้ทั้งหมด 7 เรื่องด้วยกัน ตั้งชื่อเล่มตามชื่อนิทานที่ได้รับรางวัลยอดเยี่ยมจากการประกวดในปีที่ 12 นอกจาก "โลกนี้ยังมีเพื่อน" ซึ่งได้รับรางวัลนิทานยอดเยี่ยมแล้ว ยังมีเรื่องนิทานเรื่อง "นักวาดพู่กันวิเศษ" ที่โดดเด่นจนได้รับรางวัลความคิดสร้างสรรค์ยอดเยี่ยม ส่วนที่เหลืออีก 5 เรื่องได้รับรางวัลชมเชย
นาลกะ
ลูกแม่น้ำโขง วรรณกรรมเยาวชนรางวัลพระราชทาน "แว่นแก้ว" ชนะเลิศรางวัลที่ 3 คืออีกหนึ่งผลงานจากนานมีบุ๊ค เขียนโดย "เขมชาติ" แม้ว่าลูกแม่น้ำโขงจะเดินตามขนบวรรรกรรมเยาวชนแบบที่เขียน ๆ กัน ที่มักพูดถึงชนบทอันงดงามที่ผู้คนพึ่งพาช่วยเหลือกัน สภาพธรรมชาติที่ผูกพันแวดล้อมวิถีชีวิต การเล่นซนของเด็ก ๆ และข้อคิดทางด้านคุณธรรม เป็นต้นว่า การไม่ฆ่าสัตว์ตัดชีวิต ความมีน้ำใจ  ถึงกระนั้น ลูกแม่น้ำโขง ก็ยังคงน่าอ่านด้วยการบรรยายอย่างมีชีวิตชีวา  เพราะแม่น้ำโขงแม้นจะไหลอย่างที่เคยไหลก็ยังคงน่ามองและมีเสน่ห์อยู่เสมอ