จันทร์เสี้ยว (The Crescent Moon)

20 April, 2008 - 08:27 -- nalaka

20080420

“รพินทรนาถ ฐากูร” เขียน
“วิทุร  แสงสิงแก้ว” แปล
“ปรีชา  ช่อปทุมมา” แปล

“เยี่ยมหน้าให้เขายล อ้ายหนูเอ๋ย
เพื่อว่าพวกเขาจะได้ซึมซาบในความหมาย
แห่งสรรพสิ่ง จงทำตัวให้พวกเขารัก
เพื่อว่าพวกเขาจะได้รู้จักรักใคร่ซึ่งกันและกันบ้าง”
(สำนวนแปลของปรีชา ช่อปทุมมา)

นอกจากปรีชา ช่อปทุมมา ศิษย์แห่ง “สำนักศานตินิเกตัน” โดยตรงซึ่งพิมพ์รวมเล่มครั้งแรกในปีพ.ศ. 2526 แล้วยังมีนายแพทย์วิทุร  แสงสิงแก้ว อีกผู้หนึ่ง ที่แปลบทกวีล้ำค่าเรื่องนี้ไว้ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2512 ทั้งยังเคยได้รับเลือกให้เป็นหนังสืออ่านประกอบวิชาภาษาไทยในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เมื่อหลายปีมาแล้ว

แม้ว่าบทกวี “จันทร์เสี้ยว” นี้จะพูดถึงเรื่องเด็ก ตลอดจนความสัมพันธ์อันลึกล้ำระหว่างแม่กับลูก (หรืออาจเป็นพ่อกับลูกก็ได้แล้วแต่จินตนาการและความต้องการของผู้อ่าน) แต่ก็เป็นหนังสือที่เหมาะสำหรับใครก็ตามที่กำลังค้นหาแรงดลใจจากคุณค่าชีวิต  จากความสัมพันธ์อ่อนโยนระหว่างมนุษย์พึงมีกับมนุษย์

จำได้ว่า บทกวี “จันทร์เสี้ยว” นี้ ข้าพเจ้าเคยนำติดตัวอยู่เสมอในยามเดินทางท่องไปในวัยหนุ่มราวกับเป็นคัมภีร์ชีวิต สะท้อนสะท้านใจกับโลกของความเป็นเด็ก(ที่หลบซ่อนอยู่ในส่วนใดส่วนหนึ่งในตัวเอง) ตลอดจนความรักที่ผู้เป็นพ่อหรือแม่มีต่อลูกน้อย และรู้สึกประหลาดใจกับความสามารถของผู้ประพันธ์ที่วาดแต่งจินตนาการแห่งความเป็นเด็กใส่ไว้ในโลกของภาษาอย่างไพเราะ

บทกวี “จันทร์เสี้ยว” ทำให้เชื่อว่าความงามแห่งความเป็นมนุษย์และความรักอันสูงส่งนั้นมีอยู่จริงซึ่งไม่ต้องไปหาที่ไหนไกล หากแต่สามารถหาได้จากความสัมพันธ์กับคนใกล้ตัวซึ่งในที่นี้คือแม่กับลูกน้อย

ข้าพเจ้าอ่านจนจำได้ขึ้นใจว่าแต่ละบทแต่ละคำนั้นไพเราะอย่างไร  จินตนาการของผู้ประพันธ์เกี่ยวกับเด็กนั้นช่างน่าพิศวงซึ่งมีแต่กวีที่แท้จริงเท่านั้นที่ทำได้ คนที่แสร้งทำเป็นกวีหรือนักแกะสลักถ้อยคำโดยทั่วไปนั้นไม่อาจทำเช่นที่ “รพินทรนาถ ฐากูร” กวีรางวัลโนเบลที่น่าภาคภูมิใจของโลกตะวันออกทำได้

อย่างไรก็ตาม ส่วนหนึ่งต้องยกความดีให้กับผู้แปลทั้งสองท่านด้วยที่นอกจากมีรสนิยมในการอ่าน การแปลแล้ว ยังสามารถในการเลือกสรรคำร้อยเรียงออกมาเป็นภาษาไทยซึ่งใครจะชอบสำนวนแปลของใครมากกว่ากันนั้นก็แล้วแต่ผู้อ่าน

คำว่า “จันทร์เสี้ยว” นั้น ผู้รู้บางท่านให้ความหมายว่าคือสิ่งสวยงามที่จุติมาครั้งแรกด้วยความบริสุทธิ์ผุดผ่องและจะต้องเติบโตขึ้นไปจนเต็มที่ตามวันเวลาที่ผ่านไป เช่นเดียวกับความงามของพระจันทร์วันเพ็ญซึ่งค่อย ๆ สว่างมาจากรัศมีของพระจันทร์เสี้ยวในคืนแรก ๆ ที่ปรากฏขึ้นบนขอบฟ้า

ข้าพเจ้าขอยกบทกวีมาให้อ่านสักบทหนึ่งซึ่งแสดงให้เห็นถึงจินตนาการของผู้ประพันธ์ที่เสมือนเข้าไปนั่งอยู่ในความรู้สึกนึกคิดของเด็ก

ความเห็นใจ

ถ้าผมเป็นเพียงลูกหมาตัวเล็ก ๆ ไม่ใช่ลูกแม่ละก้อ เมื่อผมพยายามจะกินอาหารจากจาน แม่ครับ, แม่จะพูดไหมว่า “ไม่เอานะ”
แม่จะไล่ผม และตวาดไหมว่า “ไปให้พ้น ไอ้ลูกหมาซุกซน”
ไปซิครับแม่ ผมจะไปเด็ด ๆ ! จะไม่เดินเข้ามาหาเมื่อแม่เรียก จะไม่ยอมให้แม่เลี้ยงอีกเลย
ถ้าผมเป็นเพียงนกแก้วขนเขียวตัวเล็ก ๆ ไม่ใช่ลูกแม่ละก้อ แม่ครับ, แม่จะล่ามโซ่เพราะเกรงว่าผมจะบินหนีไหม แม่จะชี้นิ้วและดุไหมว่า “ไอ้นกเนรคุณ จิกโซ่ได้ทั้งวันทั้งคืน”
ไปซิครับแม่, ผมจะไปจริง ๆ ! จะบินเข้าป่า ไม่ยอมให้แม่กอดอีกแล้ว.
                    (สำนวนแปล ปรีชา ช่อปทุมมา)

ความไร้เดียงสาน่ารักในวัยเด็กถูกแปรรูป และยกระดับขึ้นให้กลายเป็นความงดงามที่จรรโลงใจโดยถ้อยคำง่าย ๆ ลองดูอีกบทหนึ่ง

เมื่อใดและทำไม

เมื่อใดที่พ่อนำของเล่นสารพัดสีมาฝากเจ้า ลูกเอ๋ย พ่อเกิดความเข้าใจขึ้นว่า ทำไมจึงมีการเล่นสีสันบนก้อนเมฆ บนท้องฟ้าและบนกลีบผกา...เมื่อพ่อนำของเล่นสารพัดสีมาฝากเจ้านั่นแหละ
เมื่อใดที่พ่อร้องเพลงเพื่อเป็นจังหวะให้เจ้าเต้น พ่อรู้ชัดว่าทำไมจึงมีเสียงดนตรีจากใบไม้และทำไมคลื่นจึงประสานเสียงบำเรอโสตแห่งแผ่นดิน...เมื่อพ่อร้องเพลงเป็นจังหวะให้เจ้าเต้นนั่นแหละ
เมื่อใดที่พ่อยื่นขนมใส่มือตะกละของเจ้า    พ่อรู้ชัดว่าทำไมจึงมีน้ำหวานในกระเปาะดอกไม้และทำไมผลไม้แผกพันธุ์จึงถูกเติมด้วยรสเลิศอย่างลึกลับ...เมื่อพ่อยื่นขนมใส่มือตะกละของเจ้านั่นแหละ
เมื่อใดที่พ่อจูบแก้มเจ้าเพื่อเย้าให้ยิ้ม ลูกเอ๋ย พ่อเกิดความรู้สึกว่าลำแสง จากท้องฟ้ายามเช้าและสายลมเย็นแห่งคิมหันต์นำความสุขเพียงใดมาสู่พ่อ...เมื่อพ่อจูบแก้มเจ้าเพื่อเย้าให้ยิ้มนั่นแหละ

                                   (สำนวนแปล ปรีชา  ช่อปทุมมา)

ข้าพเจ้ากลับมาอ่าน “จันทร์เสี้ยว” อีกครั้งหนึ่งเพื่อค้นหาแรงดลใจให้กับตัวเอง กลับบ้านหนนี้ข้าพเจ้าจึงนำ “จันทร์เสี้ยว” ติดตัวไปด้วย
                                                 

ความเห็น

Submitted by จส 100 on

"My mother is waiting for me at home," I say. "How can I leave her and come?"

Submitted by จส 100 on

PAPER BOATS

DAY by day I float my paper boats one by one down the running stream.

In big black letters I write my name on them and the name of the village where I live.

I hope that someone in some strange land will find them and know who I am.

I load my little boats with shiuli flowers from our garden, and hope that these blooms of the dawn will be carried safely to land in the night.

I launch my paper boats and look up into the sky and see the little clouds setting their white bulging sails.

I know not what playmate of mine in the sky sends them down the air to race with my boats!

When night comes I bury my face in my arms and dream that my paper boats float on and on under the midnight stars.

The fairies of sleep are sailing in them, and the lading is their baskets full of dreams.

Submitted by ถนอม ไชยวงษ์แก้ว on

นอกจาก คนสวน และ นกเถื่อน ของ รพินทรนารถฐากูร จันทร์เสี้ยว เป็นหนังสือของท่านอีกเล่มหนึ่งที่ผมชอบ มันเป็นหนังสือที่อ่านแล้ว มันน่าจะเป็นงานของพระเจ้ามากกว่างานของมนุษย์ เช่นเดียวกับเมื่อได้อ่าน ปรัชญาชีวิต ของคาลิลยิบราน

หลานที่จากไป

26 March, 2010 - 00:00 -- nalaka

-1-

หลานเกิดปีเดียวกับที่ผมเดินทางออกจากบ้าน มุ่งหาประสบการณ์และไล่คว้าหาความหมายของสิ่งที่เรียกว่าชีวิต  คืนวันของหลานที่เติบโตขึ้นด้วยความเอาใจใส่ของพ่อแม่คือจำนวนเวลาที่ผมจากบ้านเกิดเมืองนอน

เล็กน้อยอย่างที่เห็นแต่เป็นโลกทั้งใบ

14 March, 2010 - 00:00 -- nalaka

 

 
คงเป็นเพราะรูปเล่มงามตาน่าหยิบจับและเครดิตก่อนเข้าสู่เนื้อเรื่องที่บอกว่า
เล็กน้อยมากจนสามารถนั่งอ่านข้าง ๆ เตียง ยิ่งใหญ่มากจนสามารถเปลี่ยนชีวิตทั้งชีวิตเร้าความสนใจให้เปิดพลิกและลงมืออ่าน

สนามหลวงไม่เหมือนเก่า

1 March, 2010 - 00:00 -- nalaka

-1-

ฉันเดินตัดผ่านสนามหลวงเพื่อไปขึ้นรถเมล์กลับหอพักเกือบทุกวัน เรื่องราวที่แทบจะเป็นแบบฉบับและเหตุการณ์ซ้ำ ๆ ที่ได้พบเห็นจากผู้คนแห่งสนามหลวงวันแล้ววันเล่า ทำให้เกิดภาพประทับในใจโดยไม่รู้ตัว


เมื่อฉันได้รู้จักกับสนามหลวงมากขึ้น ฉันก็ได้พบว่าสถานที่แห่งนี้เปี่ยมไปด้วยสีสันและชีวิตชีวาอย่างแท้จริง ที่แห่งนี้มีเรื่องราวชีวิตของคนระดับล่างมากมาย แต่ละคน แต่ละชีวิตนั้นน่าจะปรากฏอยู่ในนิยายมากกว่าจะเป็นเรื่องจริง คนเหล่านี้ไม่ควรจะมีอยู่จริง!

ลูกผู้ชายหัวใจมีรัก : หัวใจที่ไม่เคยอิ่มเต็ม

21 October, 2009 - 00:00 -- nalaka

ลูกผู้ชายหัวใจมีรัก(Man and Wife)” คือนิยายอันละเมียดบรรจงของ Tony Parsons เป็นผลงานภาคต่อจาก “ลูก(ผู้)ชายหัวใจคุณพ่อ (Man and Boy)” ซึ่งเคยสร้างความเกรียวกราวในแวดวงนักอ่านได้มากพอสมควร(ผมเคยวิจารณ์ไว้แล้วที่ http://blogazine.prachatai.com/user/nalaka/post/1562 ) ฝีมือแปลโดย ภัสรี สิงหเดช

 

พ่อผมไม่เคยฆ่าใคร : เรื่องเล่าของเด็ก ตลกร้ายของผู้ใหญ่

16 September, 2009 - 00:00 -- nalaka

โดยทั่วไปแล้ว หนังสือของสำนักพิมพ์ “ผีเสื้อ” สามารถการันตีคุณภาพ(แต่ไม่การันตียอดขาย) ได้ในระดับหนึ่ง เรียกได้ว่าไม่มีคำว่าผิดหวังในแทบทุกเล่มเพราะว่าโดยส่วนใหญ่แล้วเป็นวรรณกรรมแปล! “พ่อผมไม่เคยฆ่าใคร” ซึ่งเขียนโดย ฌ็อง-หลุยส์ ฟูร์นิเย่ร์ และแปลโดย วัลยา วิวัฒน์ศร ก็เช่นเดียวกัน