Skip to main content

หลังจากผมมาถึงเมืองเคมบริดจ์เป็นเดือน เริ่มจากการหาที่พัก ไปประชุมที่วอชิงตัน ดีซี หาซื้อเสื้อผ้ารับความหนาว รองเท้า จัดการเรื่องอาหารการกิน มีเรื่องเล็กๆ น้อยๆ งานเอกสาร ตลอดจนตั้งสถานีทำงานที่บ้าน จนได้ห้องใต้หลังคาของบ้านอายุกว่าร้อยไป ห่างจาก Harvard University สองสถานีรถไฟใต้ดิน ก็เริ่มตั้งหลักทำงานได้เป็นเรื่องเป็นราว

ในช่วงแรกผมได้ความช่วยเหลือจากอาจารย์พิชญ์ พงษ์สวัสดิ์ สละที่นอนแสนนุ่มให้นับสิบวัน แถมด้วยอาหารรสชาติอร่อยอีก อาจารย์พิชญ์นับว่าเป็นยอดฝีมือด้านการทำกับข้าวจริงๆ (แผล่บๆ)

บ้านผมอยู่ใกล้สถานี Davis Square มาก โชคดีที่ อาจารย์พิชญ์ และอาจารย์อรัญญา ศิริผล จากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มาอยู่ก่อนผม การหาบ้านเลยเป็นเรื่องง่ายมากขึ้น ถึงที่สุดเราอาจช่วยกันเขียนคู่มือการใช้ชีวิตที่นี่สำหรับนักศึกษาและนักวิชาการรุ่นถัดไปได้แน่ๆ อาจารย์อภิวัฒน์ รัตนะวราหะจากคณะสถาปัตยกรรม จุฬาลงกรณ์ก็เป็นผู้รอบรู้ที่ช่วยให้ผมตัดสินใจเรื่องต่างๆ ได้ง่ายมากขึ้น แถมยังเป็นพหูสูตรด้านความเป็นมาของเมืองและการผังเมือง ผมเลยได้ความรู้มากมาย ต้องขอบคุณเพื่อนอาจารย์ทั้งสาม ณ ที่นี้ ด้วยครับ

การหาบ้านพักระยะสั้นสำหรับคนที่มาทำวิจัยเพียงสี่เดือนไม่ใช่เรื่องง่าย ส่วนใหญ่เจ้าบ้านมักจะขอให้เช่าทั้งปี หรืออย่างน้อยหกเดือน ราคาก็ไม่ถูกเลยครับ ส่วนใหญ่เกิน 1600 เหรียญทั้งนั้น ยิ่งใกล้ ยิ่งดี ยิ่งแพง

นิสัยอย่างหนึ่งของผมก็คือไม่อยากแชร์ผนังบ้านแบบร่วมกับใครอีกก็เลยยุ่งยากขึ้น โชคดีที่ Craiglist ซึ่งเป็นเว็บไซต์ประกาศเรื่องสารพันรวมทั้งเรื่องบ้านเช่า หารูมเมท ขายของ หาของ ฯลฯ ช่วยทำให้ผมได้ห้องใต้หลังคาห้องนี้ ทั้งชั้นอยู่คนเดียวจึงเงียบเหงาหน่อย 

ย่านที่ผมอยู่มีร้านอาหาร ร้านกาแฟและใกล้มหาวิทยาลัยทัฟส์ (Tufts University) จึงน่าอยู่มากครับ ติดอย่างเดียวว่าบ้านเก่ามาก พื้นบ้านก็เอียงกะเท่เร่ จนต้องหามุมทำงาน ผมเลือกมุมส่วนรับแขกตั้งโต๊ะทำงาน ทิ้งส่วนครัวและห้องน้ำไว้โล่งๆ กับโต๊ะวางหนังสือ ส่วนห้องนอนเป็นห้องเล็กๆ ด้านหลัง ซึ่งมีข้อดีเพราะขนาดพอดีที่จะเปิดเครื่องทำความร้อนเครื่องเดียวทำให้ประหยัดพลังงานมากขึ้น (ประหยัดเงินได้นิดหน่อย)

วันนี้มีเวลา ผมก็ได้ฤกษ์ทำงานในวันเหมายัน (เห-มา-ยัน หรือ Winter solstice) ที่ห้วงกลางวันจะสั้นกว่าปกติในรอบปี ผมเข้าไปยืมหนังสือจากชั้นหนังสือของหอสมุด (Widener Library) หรือหอกลางที่ฮาร์วาร์ดและหอสมุดลามองต์ (Lamont Library)

ห้องสมุดไวด์เนอร์ยังมีส่วนที่เป็นห้องหนังสือของนาย Widener ที่เสียชีวิตไปกับเรือไตตานิค แต่รักฮาร์วาร์ดมาก ดังนั้นครอบครัวของเขาจึงบริจาคเงินก้อนใหญ่เพื่อรำลึกถึงเขา

 

บรรยากาศที่นี่ต่างไปจากบ้านเราแน่ๆ ห้องสมุดที่นี่ไม่อนุญาตให้คนนอกเข้าใช้ เพราะถ้าปล่อยให้เข้าก็อาจจะมีนักท่องเที่ยวเข้ามาเยอะจนอาจรบกวนผู้ใช้ห้องสมุดแน่ๆ จึงมีระบบ scan บัตรอย่างเข้มงวดที่ประตูหอสมุด 

ทุกวัน ผมเห็นนักท่องเที่ยวมาชมมหาวิทยาลัยและพยายามขอเข้าชมห้องสมุดเป็นระยะๆ ซึ่งได้แค่ถ่ายที่บันไดเท่านั้น

หากจะเข้าไปหยิบหนังสือจากชั้นวางหนังสือ (stacks) เองก็ต้อง scan บัตรอีกครั้งหนึ่งที่ทางเข้า

ที่นี่มีชั้นใต้ดินเก็บหนังสืออย่างเป็นระเบียบและมีทางใต้ดินไปยังห้องสมุด Pusey Library ที่เก็บหนังสืออีกสามชั้นอีกด้วย 

หนังสือที่ผมใช้อยู่ใต้ดิน ฝั่ง Pusey จึงต้องลงลิฟต์ เดินไปอุโมงค์ใต้ดินสั้นๆ จนถึงชั้นวางหนังสือ 

ในบรรดาชั้นวางหนังสือเหล่านั้น มีระบบไฟอัตโนมัติคอยเปิดเมื่อมีคนเดินผ่าน และปิดเมื่อไม่มีการเคลื่อนไหว

ในส่วนเก็บวารสารมีตู้แบบรางเลื่อนไฟฟ้า ที่ช่วยให้ประหยัดเนื้อที่ได้มากทีเดียว

 

ปกติแล้ว เราไม่จำเป็นต้องไปหยิบหนังสือที่ชั้นครับ เพราะสามารถเรียก (request) หนังสือให้ไปไว้ที่ชั้นตามหอสมุดต่างๆที่เราต้องการเข้าไปรับหนังสือได้ทั่ว campus เพียงแต่ผมอยากลองดูว่าการหาหนังสือที่นี่จะยุ่งยากไหม ถ้าเทียบกับที่มหาวิทยาลัยแห่งรัฐฮาวายอิที่ผมเคยเรียนก็ต่างกันพอสมควร เพราะที่ฮาวายอิเป็นชั้นเปิด ผู้ใช้ห้องสมุดสามารถเข้าไปถึงชั้นหนังสือได้เลย แต่ก็เปลืองพื้นที่จัดเก็บกว่า ระบบที่นี่ช่วยประหยัดเวลาของนักวิจัยและนักศึกษา แต่ก็ต้องใช้ระบบการค้นหาออนไลน์เพื่อเรียกหนังสือแล้วไปรับหนังสือ
นอกจากนี้ยังมีบริการ scan หนังสือเป็นบางบทให้ด้วย (scan ทั้งเล่มไม่ได้เพราะเหตุผลเรื่องลิขสิทธิ์ครับ) 

สำหรับเอกสารที่เป็นบทความก็สามารถ load ได้จากที่บ้านก็ได้ โดยใช้ช่องทางอินเตอร์เน็ตผ่าน browser ที่มีระบบ log in โดยใช้ id ของที่นี่

 

อันที่จริงผมไปเดินร้านหนังสือมือสองของที่นี่ ชื่อร้าน Raven Books ไปสองครั้งก็ตัวเบาเลย มีหนังสือดีๆ มากมาย ผมซื้อเพราะคิดว่าต้องเอากลับไปใช้ที่เมืองไทยสำหรับการเรียนการสอนและวิจัยแน่ๆ ไม่่นับว่าวันก่อนไปซื้อหนังสือลดราคาจาก MIT อีก (คงต้องไปเสียสตางค์อีกแน่ๆ) วันนี้ก็ออกไปร้านของมือสองข้างบ้านได้หนังสือมาอีกสี่เล่ม อยู่นานๆ ไปคงไม่ต้องเดาว่าเงินจะหมดไปกับอะไร

ตอนนี้มีหนังสือพร้อมทำงานแล้วครับ

ป.ล. ขอเล่าอีกทีนะครับว่า ผมขออนุญาตชี้แจงเล็กน้อยนะครับว่าผมมาทำวิจัยที่ Harvard University เป็นเวลาประมาณ 4 เดือน และกลับมาปีหน้านั้นเป็นเรื่องที่ผมเตรียมการไปนานแล้วตั้งแต่เดือนกันยายน 2556 (2013) เป็นการเตรียมการวิจัยที่ผมสนใจมาตลอดในหลายปีมานี้ (เดี๋ยวจะอธิบายในโอกาสหน้าครับ) แต่ผมได้สมัครทุนฟุลไบรท์ที่ให้โอกาสนักวิชาการระดับ mid carreer ไปวิจัยเกี่ยวกับอาเซียนและสหรัฐในระยะเวลาสั้นๆ จึงเป็นทุนที่เรียกว่า US-ASEAN visiting Scholar ประจำปี 2014 ซึ่งผมได้รับการตอบรับหลังจากการรัฐประหาร 22 พฤษภาคม 2557

เนื่องจากผมสอนหนังสือเป็นเวลา 8 ปีแล้ว จึงเป็นเวลาที่เหมาะสมต่อการหาความรู้เพิ่มเติมจึงขอใช้สิทธิ sabbatical leave เป็นเวลา 12 เดือน แล้วจะกลับมาทำงานที่รามคำแหงต่อครับ ทั้งนี้ผมยังอยู่ในระยะการชดใช้ทุนรัฐบาลตามเงื่อนไขที่จบปริญญาเอกมาจาก University of Hawaii นะครับ

การลาครั้งนี้ได้รับอนุมัติตามขั้นตอนจากทางราชการจากมหาวิทยาลัยรามคำแหงและคณะรัฐศาสตร์ 
และผมได้รับความสนับสนุนจากผู้บริหารรามคำแหงเป็นอย่างดีครับ

จึงเท่ากับว่าผมเดินทางไปทำวิจัยที่สหรัฐอเมริกาสี่เดือนเศษ (รวมเวลาเดินทาง) แล้วจะกลับมาตามสัญญานะครับ

ในโอกาสนี้ขอขอบคุณมูลนิธิการศึกษาไทยอเมริกัน Fulbright Thailand Tusef มาด้วยนะครับ ที่ให้โอกาสผมไปแสวงหาความรู้เพิ่มเติม ขอขอบคุณ อ. Michael Herzfeld แห่งโครงการ Thai Studies Program, Harvard University ที่ให้การรับรองผมในฐานะ Thai Visiting Scholar คนแรกของโปรแกรม

 

 
 
 
 

 

บล็อกของ บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ

บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
วันนี้ (31 พฤษภาคม) เป็นวันที่ 17 นับจากวันเลือกตั้งจบลง โดยคณะกรรมการการเลือกตั้งยังมีเวลาเหลืออีก กว่า 43 วัน ที่จะประกาศรับรองผลการเลือกตั้งอย่างน้อย ร้อยละ 95 ของจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบเขตและบัญชีรายชื่อ เพื่อให่้ระบอบการเมืองเดินไปอย่างต่อเนื่องและไม่ขาดต
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
ช่วงที่พ่อแม่มาอยู่ด้วย ผมจะพาพ่อแม่ไปเที่ยวใกล้บ้าง ไกลบ้าง เพื่อเปลี่ยนบรรยากาศบ้าง เพราะการพาคนแก่มาอยู่เมืองที่ไม่มีเพื่อนฝูงที่สนิทกันคงไม่ใช่เรื่องสนุกอาทิตย์ก่อนก็ขับออกไปพุทธมลฑลแล้วไปพระปฐมเจดีย์ วกออกไปทางบ้านแพ้ว ออกมาพระรามสอง ก็เจอรถติดยาว ในสั
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
บทความนี้เขียนเร็วๆ จากบทสนทนาในไลน์กลุ่มที่ผู้เขียนเป็นสมาชิก เพื่อตอบคำถามสองส่วน ส่วนแรกคือเสถียรภาพทางการเมืองขึ้นอยู่กับความได้สัดส่วนระหว่างขีดความสามารถของรัฐกับความคาดหวังจากสังคม ส่วนที่สองคือรัฐกำลังทำผิดรัฐธรรมนูญขึ้นเรื่อยๆ 
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
เมื่อเช้ายังงัวเงียอยู่ (เพราะนอนดึก) มิตรสหายในไลน์กลุ่มก็ชวนคุยว่า จะเปลี่ยนนายกรัฐมนตรีไปทำไม่ ดูอย่างอเมริกาสิ ขนาดเปลี่ยนทรัมป์ออกไปเป็นโจ ไบเด็น ถึงวันนี้คนยังติดโควิดสูง แม้กระทั่งในทำเนียบขาว ผมเลยชวนดีเบตว่าเอาไหม ในที่สุด บทสนทนาก็มาถึงจุดที่ว่า เราไม่ควรเปลี่ยนตัวนายกรัฐมนตรี
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
 คนเราจะวัดความเป็นรัฐบุรุษที่แท้ได้ก็เมื่อวิกฤตการณ์มาถึง แล้วเขาสนองตอบต่อวิกฤตการณ์นั้นอย่างไร
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
ในวันที่ 2 มีนาคม 1757 (2300) เดเมียนส์ผู้ปลงพระชนม์ถูกตัดสินว่าให้ "กระทำการสารภาพผิด (amende honorable) หน้าประตูอาสนวิหารแห่งปารีส" เป็นที่ซึ่งเขาจะถูกเอาตัวไปและส่งไปกับล้อเลื่อน โดยสวมแต่เพียงเสื้อเชิ้ต ถือคบเพลิงที่มีขี้ผึ้งเป็นเชื้อหนังสองปอนด์ (ราว 1 กิโลกรัม) จากนั้นเขาจะถูกนำตัวไปบนล้อเ