Skip to main content

ผมเขียนบทความชุดนี้มาหลายเดือน มาถึงตอนนี้ นับว่าเป็นชุดบทความที่ยาวไม่น้อย 

เมื่อผมอ่านทวนย้อนตอนที่ 12 พบว่าน้ำเสียงของบทความดูหม่นเศร้าหดหู่อยู่ไม่น้อย แต่ก็เป็นความรู้สึกที่เกิดขึ้นจริงๆ ในยามพลัดพรากจากบ้านเกิดเมืองนอน ไปพบกับบางสิ่งบางอย่างที่รู้ว่าเราไม่สามารถไปถึงได้ก็ยิ่งกดข่มความรู้สึกอยู่บ้าง 

ในสมัยที่ผมเรียนปริญญาเอกที่ฮาวายอิ มีนิทรรศการศิลปะชื่อ "Japan-Paris" ซึ่งเป็นการรวบรวมผลงานของศิลปินญี่ปุ่นที่ออกไปเผชิญกับศิลปะสมัยใหม่ (Modern Art) ซึ่งขณะนั้นอยู่ในยุคสมัยที่เราเรียกขานว่า "ยุคสมัยใหม่" ในท่ามกลางความตื่นตาตื่นใจในเทคนิคและวิทยาการของโลกตะวันตก ศิลปินชาวญี่ปุ่นจำนวนไม่น้อยสามารถดูดซับ และผนวกเอาศิลปะสมัยใหม่เข้าเป็นแนวทางของตัวเองได้ในที่สุด 

แต่ก็มีศิลปินจำนวนไม่น้อยที่พ่ายแพ้ให้กับความแตกต่างและแรงปะทะประสานระหว่างโลกศิลปะจากฝั่งตะวันออกกับฝั่งตะวันตก

การเผชิญหน้าครั้งนั้น เป็นแรงบันดาลใจให้ผมเขียนบันทึกเป็นส่วนหนึ่งของงานวิทยานิพนธ์และขยายเป็นวิจัยชุดภาวะสมัยใหม่ที่ ศ. ดร. ธเนศ อาภรณ์สุวรรณ กรุณาชักชวนให้ผมไปมีส่วนร่วม และดำเนินมาถึงจุดหนึ่งแล้ว ปัจจุบันโครงการวิจัยชิ้นนี้กำลังถึงตอนที่ผมพยายามเรียนรู้จากประสบการณ์ของญี่ปุ่นเพราะพวกเขาเผชิญกับ "ภาวะสมัยใหม่" ในระดับแนวหน้า

ในขณะที่ "ศิลปะสมัยใหม่" ของไทยนั้น เราได้รับผ่านประสบการณ์ของชนชั้นนำสยามที่เดินทางไปเรียน ไปค้าขายและดำเนินกิจการการทูตกับโลกตะวันตก 

อาจจะมีเพียงพระสรลักษณ์ลิขิต ที่เป็นศิลปินราชสำนักได้มีโอกาสตามเสด็จไปยุโรป และเรียนศิลปะแบบตะวันตกโดยผ่านธรรมเนียมการ "คัดลอก" และ "เลียนแบบ"

แต่หลังจากนั้นก็ไม่มีการศึกษาถ่ายทอดอย่างเป็นทางการ เพราะในราชสำนักนั้น "พระราชนิยม" เป็นตัวกำหนดความเป็นไปของโลกศิลปะ

กระทั่งการมาของนายคอราโด เฟโรจี ที่ทางราชสำนักสยามต้องการช่างฝีมือที่จะเข้ามาทำงานในสยามทดแทนการจ้างช่างในยุโรปซึ่งมีราคาสูงและไม่ต้องด้วยความงามตามแบบสยาม

ในเวลาต่อมา นายเฟโรจีนี่เองที่กลายมาเป็นผู้วางรากฐานให้ศิลปินสยามและไทยได้เรียนรู้สิ่งที่เรียกว่า "ศิลปะสมัยใหม่" แต่ล้าหลังจากยุโรปไปหลายสิบปี มิพักต้องกล่าวถึงระยะการรับรู้แบบประสบการณ์ตรง กับประสบการณ์ทางอ้อมโดยผ่านการคัดกรองและกำกับของนายเฟโรจี

ในระหว่างที่ผมอยู่บอสตัน เมื่อมีแขกแก้วมาเยือน ผมมักจะพาไปชมงานศิลปะที่พิพิธภัณฑ์ศิลปะของฮาร์วาร์ด ซึ่งในฐานะ "คนใน" ผมสามารถรับรองแขกได้หนึ่งคน เท่ากับว่าบัตรประจำตัวของฮาร์วาร์ดสามารถพาแขกเข้าชมนิทรรศการและพิพิธภัณฑ์ต่างๆ ของมหาวิทยาลัย ซึ่งผมใช้สิทธินี้จนเกินคุ้ม เพราะในพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยาที่เก็บชุดดอกไม้แก้วก็ไปหลายครั้ง ทั้งพิพิธภัณฑ์มานุษยวิทยา พิพิธภัณฑ์อารยธรรมโบราณ (Semitic Museum) และหอศิลปซึ่งอยู่ใกล้บ้านอาจารย์พิชญ์ พงษ์สวัสดิ์มากๆ 

ในพิพิธภัณฑ์ศิลปะที่ฮาร์วาร์ดล่าสุดเป็นการรวมเอาสามพิพิธภัณฑ์ไว้เป็นหนึ่งเดียว คือพิพิธภัณฑ์ Fogg Museum, Busch-Reisinger Museum และ Arthur M.Sackler Museum เข้าไว้ด้วยกัน และเปิดก่อนหน้าผมจะไปถึงไม่นานนัก พิพิธภัณฑ์แห่งนี้ได้รวบรวมเอาผลงานสำคัญๆ ไว้มากมาย ไม่ว่าจะเป็นงานศิลปะสมัยใหม่อย่างปิคาสโซ กระทั่งงานของศิลปินรุ่นพ่อของ conceptual art อย่างโยเซฟ บอยส์ (Joseph Beuys) และกลุ่มฟลุกซูส (FLuxus) ก็มี ขณะที่งานศิลปะยุคก่อนประวัติศาสตร์ จนถึงอารยธรรมจีน อินเดีย เมโสโปเตเมีย กรีกและอารยธรรมอื่นๆ ก็มีให้ศึกษาจนไม่อาจกล่าวถึงได้หมด

แต่ใช่หรือไม่ว่า นี่คือคุณสมบัติของมหาวิทยาลัยที่พึงปรารถนา กล่าวคือ ถึงแม้ว่าชุดสะสมของฮาร์วาร์ดไม่ได้มี master pieces เยอะแยะ แต่ของที่มีก็เป็นงาน "ต้นฉบับ" ที่สำคัญๆ และมีงานของศิลปินชั้นยอดของโลกเอาไว้ให้ชมด้วยตาเปล่า เป็นประสบการณ์ตรง (ไม่ผ่านกระจกกันกระสุน) จึงได้เห็นฝีแปรงและรอยสีในระดับใกล้ชิดเอามากๆ 

งานที่ผมชอบมากๆ ก็คือ การมาถึงของรถไฟ (Arrival of a Train) ของ Claude Monet, French (Paris, France 1840 - 1926 Giverny, France) ซึ่งเป็นงานชิ้นเอกชิ้นหนึ่งในชุดสะสมของฮาร์วาร์ด 

ทุกครั้งที่ไปชม ผมอดไม่ได้ที่จะยืนมองนิ่งๆ และถ่ายรูปเก็บไว้ แต่ยังไงเสีย ก็ไม่มีทางเก็บเอาความรู้สึกจริงๆ ที่เห็นภาพนี้

 

ความงามของภาพนี้ในทัศนะของผมก็คือ การแสดงให้เห็นถึงเครื่องจักรสมัยใหม่ที่พามนุษย์เดินทางไปมาหาสู่กันได้ทีละมากๆ และขนส่งสินค้าได้ไกลๆ มีความปลอดภัยสูง 

โดยที่พวยควันจากปล่องไอน้ำของรถไฟ ลอยออกมาเป็นสาย ฟุ้งกระจายทั่วชานชาลา เป็นทั้งพลังและอหังการ์ของศิลปินที่เลือกเขียนภาพนี้ เพราะไม่ง่ายเลยที่จะจับอารมณ์ของรถไฟที่พุ่งตรงเข้ามา มีอาคารเป็นพื้นหลัง มีชานชาลาที่กลุ่มคนยืนรออยู่ห่างๆ และมีคนงานยืนอยู่เบื้องหน้า (http://www.harvardartmuseums.org/art/228649)

รถไฟสื่อสะท้อนถึงความมุ่งมั่นที่จะเปลี่ยนสังคมจากเกษตรกรรมสู่อุตสาหกรรม และชื่นชมวัตถุจากวิทยาการใหม่ที่ทำให้มนุษย์เอาชนะขีดจำกัดด้านกายภาพและเวลา เป็นมนุษย์ที่มีชัยชนะเหนือพลังที่ธรรมชาติให้มาด้วยปัญญาของมนุษย์เอง

ภาพนี้จึงจับใจและความรู้สึกผมมาก และถูกเขียนขึ้นเมื่อ ค.ศ. 1877 หรือ พ.ศ. 2420 ซึ่งเราก็ใกล้จะมีรถไฟในรัชสมัยของรัชกาลที่ 5(คงไม่ต้องบอกว่า เวลาผมดูภาพนี้แล้ว ในสมองผมมีแต่คำว่า "ลูกรัง" ก้องอยู่เป็นฝันร้ายจริงๆ)

(หากสนใจงานศิลปะชิ้นอื่นๆ สามารถลองชมผ่านเว็บได้ครับ ตามลิงค์นี้ http://www.harvardartmuseums.org/collections ครับ)

 

ถ้าจะบอกว่านี่คือมหาวิทยาลัยชั้นนำของโลก ลำพังชื่อเสียงทางทางวิชาการผมก็เชื่อแล้ว แต่มาประจักษ์ชัดเมื่อได้เห็น "เบื้องหลัง" ของการสั่งสมความรู้และคลังอาวุธทางปัญญาในพิพิธภัณฑ์ทั้งหลายที่มีอยู่ก็เรียกได้ว่านอนตายตาหลับ แต่จะนอนไม่หลับก็เพราะลูกรังและโคลนทางปัญญาอันต่ำตมที่พอกเอาล้องัวของเราในหล่มโคลนของภาวะสมัยใหม่มานานนมเต็มที

ว่าจะไม่เขียนอะไรที่อ่านแล้วสิ้นหวังหดหู่ แต่ก็ยังหนีไม่พ้นจริงๆ

 

 

 

 

บล็อกของ บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ

บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
วันนี้ (31 พฤษภาคม) เป็นวันที่ 17 นับจากวันเลือกตั้งจบลง โดยคณะกรรมการการเลือกตั้งยังมีเวลาเหลืออีก กว่า 43 วัน ที่จะประกาศรับรองผลการเลือกตั้งอย่างน้อย ร้อยละ 95 ของจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบเขตและบัญชีรายชื่อ เพื่อให่้ระบอบการเมืองเดินไปอย่างต่อเนื่องและไม่ขาดต
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
ช่วงที่พ่อแม่มาอยู่ด้วย ผมจะพาพ่อแม่ไปเที่ยวใกล้บ้าง ไกลบ้าง เพื่อเปลี่ยนบรรยากาศบ้าง เพราะการพาคนแก่มาอยู่เมืองที่ไม่มีเพื่อนฝูงที่สนิทกันคงไม่ใช่เรื่องสนุกอาทิตย์ก่อนก็ขับออกไปพุทธมลฑลแล้วไปพระปฐมเจดีย์ วกออกไปทางบ้านแพ้ว ออกมาพระรามสอง ก็เจอรถติดยาว ในสั
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
บทความนี้เขียนเร็วๆ จากบทสนทนาในไลน์กลุ่มที่ผู้เขียนเป็นสมาชิก เพื่อตอบคำถามสองส่วน ส่วนแรกคือเสถียรภาพทางการเมืองขึ้นอยู่กับความได้สัดส่วนระหว่างขีดความสามารถของรัฐกับความคาดหวังจากสังคม ส่วนที่สองคือรัฐกำลังทำผิดรัฐธรรมนูญขึ้นเรื่อยๆ 
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
เมื่อเช้ายังงัวเงียอยู่ (เพราะนอนดึก) มิตรสหายในไลน์กลุ่มก็ชวนคุยว่า จะเปลี่ยนนายกรัฐมนตรีไปทำไม่ ดูอย่างอเมริกาสิ ขนาดเปลี่ยนทรัมป์ออกไปเป็นโจ ไบเด็น ถึงวันนี้คนยังติดโควิดสูง แม้กระทั่งในทำเนียบขาว ผมเลยชวนดีเบตว่าเอาไหม ในที่สุด บทสนทนาก็มาถึงจุดที่ว่า เราไม่ควรเปลี่ยนตัวนายกรัฐมนตรี
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
 คนเราจะวัดความเป็นรัฐบุรุษที่แท้ได้ก็เมื่อวิกฤตการณ์มาถึง แล้วเขาสนองตอบต่อวิกฤตการณ์นั้นอย่างไร
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
ในวันที่ 2 มีนาคม 1757 (2300) เดเมียนส์ผู้ปลงพระชนม์ถูกตัดสินว่าให้ "กระทำการสารภาพผิด (amende honorable) หน้าประตูอาสนวิหารแห่งปารีส" เป็นที่ซึ่งเขาจะถูกเอาตัวไปและส่งไปกับล้อเลื่อน โดยสวมแต่เพียงเสื้อเชิ้ต ถือคบเพลิงที่มีขี้ผึ้งเป็นเชื้อหนังสองปอนด์ (ราว 1 กิโลกรัม) จากนั้นเขาจะถูกนำตัวไปบนล้อเ