Skip to main content

เกร็ดความรู้ : เหตุใดคณะนิติราษฎร์เสนอให้นิรโทษกรรมนักโทษการเมือง ในรูป "รัฐธรรมนูญ"

พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล

ตามข้อเสนอคณะนิติราษฎร์ให้ตรา "รัฐธรรมนูญว่าด้วยนิรโทษกรรมและการขจัดความขัดแย้ง" หลายท่านอาจเห็นว่า "ยุ่งยากซับซ้อน เพื่ออะไร?" ในข้อเขียนนี้จะชี้ประเด็นหนึ่งก่อนว่า ทำไมคณะนิติราษฎร์ไม่เสนอให้ตราเป็น "พระราชบัญญัตินิรโทษกรรม" เล่า? อธิบายข้อสงสัยชั้นต้นดังกล่าว ได้ดังนี้

ตามกระบวนการทั่วไป เวลาคุณตรา "พระราชบัญญัติ" ต้องโหวตผ่านทีละสภา คือ ผ่านกึ่งหนึ่งของ สภาผู้แทนราษฎร (เกินกึ่งหนึ่งของ ๕๐๐คน คือ ๒๕๑ คน) เมื่อผ่านแล้วไปถึง วุฒิสภา ต้องโหวตผ่านอีกด่านหนึ่ง (ต้องเกินกึ่งหนึ่งของ ๑๕๐ คน คือ ๗๖ คน) เบ็ดเสร็จ ออกแรงเสียเวลา ๒ ครั้ง ( "ลุ้น ๒ รอบ" ตอนโหวตในแต่ละสภา ) นับรวมทั้งสองสภาใช้เสียงทั้งสิ้น ๓๒๗ เสียง (กว่าจะเสร็จในแต่ละสภาใช้เวลานาน) จึงจะได้พระราชบัญญัติออกมาฉบับหนึ่ง

แต่เวลาคุณตรา "รัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม" คุณโหวตเพียงสภาเดียว คือ ยุบทั้งสองสภามาพิจารณาพร้อมกันเรียกเป็น "รัฐสภา" ใช้มติเกินกึ่งหนึ่งของรัฐสภา (เกินกึ่งหนึ่งของ ๖๕๐ คน คือ ๓๒๖ คน) ใช้คะแนนเสียงออกแรงลุ้นสภาเดียว ใช้จำนวนคนน้อยกว่า ๑ เสียงด้วยซ้ำ ใช้สภาเดียว (รัฐสภา) เคาะผลรวดเดียวเสร็จ ออกมาเป็นรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม

นอกจากนี้ กรณีตรารัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมนั้น ก็ไม่ต้องถูกตรวจสอบว่าเกี่ยวกับการเงินหรือไม่ (การดึงเช็งในสภา), ไม่ต้องถูกตรวจสอบความชอบด้วยรัฐธรรมนูญโดยศาลรัฐธรรมนูญ และกระบวนการของกรรมาธิการจุกจิกอีกมากมายที่ต้องผ่านในรูปแบบการตราพระราชบัญญัติธรรมดา

พูดง่ายๆก็คือ รัฐธรรมนูญไทย แก้ง่ายกว่า พระราชบัญญัติธรรมดา (ในแง่ของความรวดเร็ว กระบวนการ และคะแนนเสียงที่ใช้) เพียงแค่มีกระบวนการพิเศษ (ใช้รัฐสภารวดเดียวจบ,และจำนวนผู้มีสิทธิเสนอที่ต้องใช้มากกว่ากรณีเสนอตราพระราชบัญญัติธรรมดา) สำหรับแก้ไขเพิ่มเติมที่กำหนดเอาไว้แตกต่างไปจากการแก้ไขพระราชบัญญัติธรรมดาเท่านั้นเอง

เมื่อนำ "วิธีการ" (กระบวนการจัดทำรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม) มาทาบกับ "วัตถุประสงค์" (ปล่อยตัวนักโทษการเมืองให้ไวที่สุด) การนิรโทษกรรมผ่านกฎหมายในรูปของรัฐธรรมนูญ จึงเป็นข้อเสนอที่สมเหตุสมผลที่สุด (บนฐานของวัตถุประสงค์ดังกล่าว).

____________________________

ดู เว็บไซต์นิติราษฎร์, "ร่างรัฐธรรมนูญว่าด้วยนิรโทษกรรมและการขจัดความขัดแย้ง" ใน http://www.enlightened-jurists.com/blog/75

บล็อกของ พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล

พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
ปกิณกะเรื่อง ท่านประยุทธ์ ปยุตฺโตพุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
บทวิจารณ์ภาพยนตร์เรื่อง 'ดาวคะนอง'พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
บทวิจารณ์ร่าง พรบ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ :  ความเพิกเฉยต่อปัญหาการโยนภาระให้เอกชนแบกรับหน้าที่ให้บริการภายหลังสัญญาอนุญาตฯ/ใบอนุญาตฯสิ้นสุดเป็นการชั่วคราวพุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
ข้อสังเกตบางประการ : ร่างรัฐธรรมนูญฉบับมีชัย โดยสังเขป พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล หลังจากที่ผมได้อ่านร่างรัฐธรรมนูญฉบับมีชัย ( http://prachatai.org/journal/20
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
งบประมาณแผ่นดินสำหรับรักษาพระเกียรติยศของสถาบันกษัตริย์ พ.ศ. ๒๕๕๘พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
สำรวจข้อมูล : เรียน 'สาขาใด' มีโอกาสเป็น 'องคมนตรี' มากที่สุดพุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล, รวบรวม.
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
ข้อพิจารณาเรื่องความผิดฐานข่มขืนและความรับผิดทางกฎหมายอาญา: วิพากษ์การดำรงอยู่ของโทษประหารชีวิต (โดยสังเขป) พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล เมื่อเกิดข่าวคราวข่มขืน
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
"บวรศักดิ์" โต้ "บวรศักดิ์"พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
เมื่อบวรศักดิ์ อุวรรณโณ ตีความเสียงหัวเราะของ เสนีย์ ปราโมช (คดีอาชญากรสงคราม ๒๔๘๙)พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
กระบวนการปรุงนิยายให้กลายเป็นข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์: เรื่องพินัยกรรม ร.๕ คือ ให้ ร.๖ พระราชทานรัฐธรรมนูญ?พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
ข้อโต้แย้งการตราพระราชกำหนดว่าด้วยคณะกรรมการปฏิรูปการเมืองพุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
ตอบ 'ข้อโต้แย้งของ พระยานิติวิบัติดำน้ำลึก (กิตติศักดิ์ ปรกติ)' ภาค๒พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล