Skip to main content
แพรจารุ
 
 
 
 
ภาคใต้กำลังผจญกับปัญหาหมอกควัน เพราะประเทศเพื่อนบ้านเกิดไฟไหม้ป่า นี่แสดงให้เห็นว่า ปัญหาหมอกควันมีอยู่ทั่วไป ไม่ใช่แค่เมืองเชียงใหม่ ดังนั้นนอกจากเราจะพยายามกำจัดหมอกควันแล้วเราคงต้องคิดถึงการอยู่ร่วมกับหมอกควันด้วย ที่กล่าวเช่นนี้ไมได้หมายความว่า เราจะเฉยเมยและไม่คิดจะแก้ไขหรือทำอะไรให้ดีขึ้นนะ
 
ปัญหาหมอกควันมีอยู่ทั่วไปประเทศมหาอำนาจก็ต้องเผชิญกับปัญหานี้ และมีการใช้สารเคมีมาจัดการแล้วแต่ก็เอาไม่อยู่ ตอนนี้หันกลับมาใช้วิธีเดิม ๆ คือการ"ชิงเผา" หรือใช้วิธีเอาไฟจัดการกับไฟถือเป็นวิธีดั้งเดิมที่ถูกใช้มานาน
 
มาถึงเมืองไทยที่เชียงใหม่ หลังจากมีหมอกควันหนัก ๆ มาสองปี การแก้ปัญหามุ่งไปที่"วิธีไม่เผาไม่จุด" และการชิงเผา ทั้งสองวิธี  วิธีไม่เผาไม่จุดถูกใจผู้คนมาก และเป็นการรณรงค์ของรัฐด้วยมีงบประมาณติดป้ายทั้งเมือง (หมดไปเท่าไหร่ไม่รู้) ส่วนวิธีการชิงเผาไม่ค่อยได้รับการขานรับเพราะวิธีนี้ยุ่งยากและต้องเรียนรู้  เพราะจะต้องมีคำว่า เผาอย่างถูกวิธี และเหมาะสมกับวันเวลาและดินฟ้าอากาศ  และต้องรู้ว่าพื้นที่ไหนเผาได้ พื้นที่ไหนไม่ควรเผา
 
ในเมืองเชียงใหม่นั้นยังแบ่งออกเป็น ทำโดยคนของรัฐ หมายถึงว่า หน่วยดับไฟป่า และชาวบ้านซึ่งเขาต้องดูแลป่าคือดูแลบ้านตัวเองโดยมีเงินสนับสนุนจากรัฐอยู่บ้าง เช่นค่ากับข้าว (ข้าวเอาไปเองเพราะชาวบ้านชาวเขาปลูกข้าวอยู่แล้ว)
 
ต้นเดือนมิถุนายน 2555 หลังจากผ่านช่วงหมอกควันไปแล้วเข้าสู่หน้าฝน  มีน้อง ๆ ที่ทำงาน มูลนิธิเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน(ภาคเหนือ) และคณะทำงานเชียงใหม่จัดการตัวเอง ชวนขึ้นดอยเดินป่าไปดูชาวดอยจัดการไฟป่าเพื่อเตรียมการในปีต่อไป
 
เราไปที่หมู่บ้านในเขตป่า อยู่ในอำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ หมู่บ้านนี้อยู่ในอุทยานออบหลวง ถูกประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติเมื่อ 2534  หน้าแล้งช่วงเดือนมีนาคม-เมษายน ไปจนถึง พฤษภาคม จะเกิดไฟป่าเสมอ  จนเจ้าหน้าที่อุทยานหรือเจ้าหน้าที่ดับไฟทำงานไม่ไหว
 
เมื่อเป็นเช่นนี้ชาวบ้านก็ต้องเข้ามามีบทบาทมากขึ้น หากพื้นที่ไหนเจ้าหน้าที่ของรัฐกับชาวบ้านเข้ากันได้ดีการทำงานก็ดีขึ้นนี่ก็แป็นเรื่องธรรมดา
 
ไปหยุดที่บ้านขุนแตะ บ้านห้วยขนุน บ้านห้วยส้มป่อย บ้านห้วยมะนาว ซึ่งอยู่ในตำบลดอยแก้วอำเภอจอมทอง สามหมูบ้านที่เราไป มีผู้ใหญ่บ้านหรือในพื้นถิ่นเรียกว่าพ่อหลวงมาพูดคุย และมี สท.หมู่บ้านขุนแตะอีกหนึ่งคน
 
พื้นที่ตรงนี้เรียกว่าเขตป่าดิบ จึงใช้วิธีทำแนวกันไฟเพื่อไม่ไห้ไฟไหม้ป่า ตั้งหน่วยลาดตะเวณคอยดับไฟถ้ามีไฟลามเข้ามา และมีพิธีสาปแช่งคนทำไฟไหม้ป่าด้วย
 
มีเสียงบ่นอย่างเหนื่อยอ่อน เพราะนอกจากทำงานอย่างเหนื่อยหนักแล้ว ยังถูกกล่าวหาว่าชาวเขาเผาป่าทั้งๆที่จริงแล้วพวกเขาดูแลป่า
 
ในเขตป่าดิบพื้นที่สี่หมู่บ้านที่เราไปดูมานี้ใช้วิธีจัดการด้วยตัวเอง คือการทำแนวกันไฟ และจัดทีมลาดตะเวณของลูกบ้าน แต่พื้นล่างลงไปที่เป็นป่าเต็ง-รัง พวกเขาใช้วิธีชิงเผา เราไปดูพื้นที่ที่ใช้วิธีชิงเผากันต่อไป
 
 
พ่อหลวงบ้านแม่เตี๊ยะ ตำบลสบเตี๊ยะ ใช้วิธีชิงเผาในช่วงต้นเดือนกุมภาพันธ์ พ่อหลวงอธิบายว่า พวกเขามีวิธีการเผาอย่างเป็นระบบ  มีความชำนาญ มีทีมชาวบ้านช่วยกัน เผาก่อนที่จะเข้าสู่ฤดูร้อน
 
                 “ถ้าไม่เผาใครจะมาช่วยดับเวลาไฟติดขึ้นมา” พ่อหลวงถามอย่างจริงจัง

งานนี้มีนักวิชาการ นักวิจัยร่วมเดินทางไปด้วย อาจารย์จากคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ดร.วัชรพงษ์ ธัชยพงษ์ ได้เข้าไปทำงานวิจัยในพื้นที่ และเห็นด้วยกับการจัดการโดยวิธีนี้ ในเขตพื้นที่ป่าเต็งรัง เพราะในเขตพื้นที่นี้มีการย่อยสลายช้ากว่าป่าดิบ ซึ่งถ้าไม่เผานาน ๆ จะไม่สามารถรับคามร้อนจากเชื้อเพลิงที่ทับถมกันหลายปีไม่ไหว  และการชิงเผายังช่วยในการเติบโตของต้นไม้บางอย่างและช่วยป้องกันจุลินทรีย์ในดินที่อาจถูกทำลายไปหมดสิ้นหากไฟป่าเข้ามาเนื่องจากไฟป่าลุกไหม้นานกว่าวิธีการชิงเผา
 
การชิงเผาสามารถป้องกันไฟป่าได้อย่างดี  แต่ต้องไม่เผาพร้อมกัน และเผาอย่างเป็นระบบ และรู้จักช่วงเวลาด้วย  เพื่อลดความเข้มข้นของมลภาวะในอากาศ ”
 
ไฟและควันมาจากไหน  แน่นอนว่าไม่ใช่มาจากการเผาหรือไฟไหม้ป่าเท่านั้น จากสาเหตุอื่น เช่นโรงงานอุตสาหกรรม และการท่องเที่ยวด้วย การจราจรที่แน่นหนาอยู่บนถนน อีกทั้งเชียงใหม่เป็นเมืองแอ่งกระทะ ที่มีคนมาอยู่กันมากเกินที่เมืองจะรับได้ ควันจึงอบอวลอยู่ในแอ่งยาวนาน
 
แล้วหมอกควันในหน้าร้อนจะหายไปง่าย ๆ ไหม? เจ้าหน้าที่มูลนิธิเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน(ภาคเหนือ) คนหนึ่งบอกว่า "มันไม่หายไปง่าย ๆ  แต่เราสามารถทำให้มันลดลงได้ เช่นลดค่าความเข้มข้นของมันลง  หากหมู่บ้านในเขตชนบทของเชียงใหม่พันห้าร้อยหมู่บ้านได้จัดการตัวเอง ด้วยการสร้างแผนอย่างเป็นรูปธรรมในทุกหมู่บ้าน มีความรู้ ความเข้าใจ  มีข้อมูล  มีแผน และมีกลไกจัดการ คือต้องมาจากชาวบ้านวางแผนจากข้างล่างสู่ข้างบน ซึ่งมันก็คือการกระจายอำนาจนั่นเอง
 
นี่จึงเป็นประเด็นที่น่าสนใจ เพราะนโยบายที่มาจากส่วนกลาง อาจจะไม่มีความสอดคล้อง และการวิเคราะห์ปัญหาไม่ควรมองไปที่ปัญหาหนึ่งปัญหาใด แต่ต้องดูรอบด้านว่าสาเหตุของปัญหามาจากอะไรบ้าง และที่สำคัญก็คือควรมีความจริงใจในการแก้ปัญหาจริง ๆ ด้วย

 ----------------------------------  

บล็อกของ แพร จารุ

แพร จารุ
มีคำกล่าวว่า "อาหารอายุสั้น คนกินอายุยืน อาหารอายุยืน คนกินอายุสั้น" แรกที่ฟังก็รู้สึกรำคาญคนพูดนิด ๆ เพราะเรากำลังกินอาหารอายุยืนแต่เราไม่อยากอายุสั้น สงสัยใช่ไหมคะว่าอาหารแบบไหนที่อายุยืน อาหารที่ปรุงแต่งมาเรียบร้อยแล้ว แช่ตู้ไว้ได้นานๆ นั่นคืออาหารอายุยืน กินกันได้นานๆ แช่ไว้ในตู้เย็น อาหารพวกนี้คนกินอายุสั้น แต่อาหารอายุสั้นก็พวกเห็ด ผักบุ้ง พวกเหล่านี้เป็นอาหารอายุสั้นอยู่ได้ไม่นาน แต่คนกินอายุยืน แต่เดี๋ยวนี้มีมะเขือเทศอายุยืนด้วยนะคะ เป็นพวกตัดต่อพันธุกรรมแบบให้ผิวแข็งไม่บอบช้ำในระหว่างขนส่ง
แพร จารุ
  1   เป็นนักเขียนมีความสุขไหม   วันหนึ่งฉันต้องตอบคำถามนี้ “เป็นนักเขียนมีความสุขไหม” ผู้ที่ถามคำถามนี้เป็นเด็กนักเรียนตัวเล็กๆ ชั้นประถมปีที่ 5 ฉันรู้สึกดีใจที่มีเด็กถามเรื่องความสุขมากกว่าเรื่องรายได้
แพร จารุ
ฉันห่างกรุงเทพฯ มานานจริงๆ นานจนไปไหนไม่ถูก ก่อนฟ้าสางรถทัวร์จอดตรงหัวมุมถนน ฉันเดินตรงเข้าไปทางถนนข้าวสารตามพื้นถนนแฉะ หาที่นั่งรอหลานมารับแต่ก็หาไม่ได้ พื้นแฉะ ๆ ผู้คนกำลังล้างพื้นกันอยู่ จึงตัดสินใจ เดินออกจากถนนข้าวสารมุ่งตรงไปทางกองฉลากกินแบ่งรัฐบาล มีคนจรนอนห่มผ้าเก่า ๆ อยู่มากมาย ตามทางเดิน  
แพร จารุ
มีเพื่อนอย่างน้อยสองคนตกหล่นไปจากชีวิต ทั้งที่ก่อนหน้านั้นเราเขียนจดหมายคุยกันอยู่เสมอ ๆ ต่อมาฉันเลิกตอบจดหมายเพื่อนทั้งสองคน 
แพร จารุ
2 กันยายน 2552 นั่งกินมะขามหวานเพลิน ๆ มะขามก็เปรี้ยวขมขึ้นมาทันที เพื่อนโทรมาบอกว่า เธอไปที่โรงพยาบาลนครพิงค์ ได้ยินเสียงตามสายที่ รพ.ขอบริจาคเงินช่วยเหลือเด็กชาวเขาที่แม่มาคลอดตายที่โรงพยาบาล “แม่มาคลอดตายที่โรงพยาบาล แสดงว่าเธอตายระหว่างคลอด” เพื่อนตอบว่าใช่ “เด็กยังอยู่รอดปลอดภัย” “ใช่”    
แพร จารุ
"อะไรเอ่ยมันโผล่ขึ้นมาจากดิน" คำถามเล่น ๆ ของเด็ก ๆ สมัยก่อนเราจะตอบว่า ขอม เพราะเคยเรียนเรื่องพระร่วง  ตอนขอมดำดิน แต่ เดี๋ยวนี้ถ้าไปตอบว่า "ขอม" เด็กไม่เข้าใจ
แพร จารุ
1 วันก่อนไปท่ากาน (ท่ากานเป็นหมู่บ้านหนึ่ง ในอำเภอสันป่าตอง เชียงใหม่ ) พบเด็ก หญิงสองคน เอาก้านกล้วยมาแกว่งไปมากระโดดเล่นกัน ดูน่ารักดี เป็นการเล่นแบบหาของใกล้ตัวมาเล่นกัน
แพร จารุ
10 กันยายน 2552 น้องคนหนึ่งโทรศัพท์มาบอกว่า “มีเรื่องตลกเศร้ามาเล่าให้ฟัง” ฉันหัวเราะ ไม่อยากฟังเธอเล่าอะไรเลยเพราะกำลังเจ็บหูอย่างแรง กำลังจะไปหาหมอ แต่เธอรีบบอกก่อนว่า “พี่ยังไม่รู้ใช่ไหม ลุงหมื่นแกฝายพญาคำ กับพ่อหลวงสมบูรณ์ ผู้ช่วยแกฝาย เขาเซ็นยินยอมให้กรมชลประทานสร้างประตูระบายน้ำแล้ว”
แพร จารุ
   บก.สุชาติ สวัสดิ์ศรี เทียบเชิญฉันเขียนเรื่องสั้น ช่อการะเกด ฉบับเทียบเชิญนักเขียนเก่าที่เคยเขียนช่อการะเกด
แพร จารุ
เธอนิ่งเงียบหลังจากกินอาหารเสร็จ "เศร้าทำไม" ฉันถามเธอ "กำลังดูกระถางต้นไม้อยู่" เธอตอบไม่ตรงกับคำถาม ฉันมองไปที่กระถางต้นไม้ มีอะไรตายอยู่ในนั้นที่ทำให้เธอเศร้า หรือว่าเศร้าที่ต้องมากินอาหารใต้ที่เมืองเหนือทั้งที่เธอเพิ่งเดินทางมาจากสามจังหวัดชายแดนภาคใต้
แพร จารุ
 ผู้ชายคนหนึ่ง เลี้ยงปลวกเพื่อเอาปลวกไปเลี้ยงปลาดุก เขาบอกว่า เขาเฝ้ามองปลวกตัวอ้วน ๆ ที่ค่อยเติบโตขึ้น และเอาปลวกไปให้ปลาดุกกิน เขาอธิบายตัวเองว่าเป็นวิถีแห่งสัตว์โลก วิธีการใช้ชีวิตให้อยู่รอดฉันแค่สะดุดใจตรงที่เลี้ยงดูเขาไว้ก่อนแล้วค่อยจัดการ ฉันคิดว่า ถ้ามันกินกันเองตามวิถีชีวิตไม่เป็นไรฉันคิดถึงถ้อยคำหนึ่ง จำไม่ได้แล้วว่า ใครพูด "เขารัก...เหมือนคนเลี้ยงหมูรักหมูที่เลี้ยงไว้" นั่นหมายถึงรักและดูแลอย่างดีเพื่อเอาไว้ฆ่าและขาย
แพร จารุ
1  ฉันเขียนเรื่องราวเกี่ยวกับความตายครั้งแรกเมื่อพ่อตายจากไป ในวันที่แม่ พี่ ๆและ ญาติ ๆ ต่างช่วยกันจัดงานให้พ่อ ผู้หญิงเตรียมอาหาร ปอกหอมกระเทียม เด็ดก้านพริกขี้หนู หั่นตะไคร้ ผู้ชายเตรียมไม้ฟืนเพื่อทำอาหาร หุงข้าว ต้มแกง ต้องหุงข้าวด้วยกระทะใบใหญ่  ต้องทำอาหารจำนวนมากในเวลาหลายวัน เรามีญาติเยอะ มีเพื่อนบ้าน และคนรู้จักมากมาย เพราะเราไม่ได้มีพ่อที่ดีต่อลูกเท่านั้นแต่มีพ่อที่ดีต่อผู้อื่นด้วย