Skip to main content

ต้องขอโทษท่านผู้อ่าน ที่ติดตามคอลัมน์กรองกระแส ICT ที่บทความสำหรับอาทิตย์นี้ต้องล่าช้าสักหน่อย เนื่องจากข้าพเจ้าไม่ใคร่สบายเล็กน้อย ในช่วงวันเวลาที่จัดไว้สำหรับเขียนบทความ

ในบทความที่แล้ว ข้าพเจ้าพยายามชี้ให้ทุกท่านเห็น ปรากฏการณ์ที่ว่า
ICT เป็นตัวแปรต้นที่สำคัญ ซึ่งสร้างความเปลี่ยนแปลงมากมาย ให้กับองค์กรต่างๆ ทั้งในบริบทของผลกระทบจากภายนอกองค์กร ในรูปแบบของ การทำให้สภาพแวดล้อมในการแข่งขันเปลี่ยนแปลง และในบริบทของผลกระทบที่เกิดภายในองค์กร ในลักษณะของการทำให้ รูปแบบการทำงานและแนวการบริหารทรัพยากรองค์กร ต้องเปลี่ยนไป

บทความในวันนี้ เป็นหัวข้อซึ่งสืบเนื่องจากสัปดาห์ก่อน หากแต่ข้าพเจ้ามุ่งเน้นไปที่ แนวโน้มความนิยมแนวคิด การว่าจ้างแรงงานภายนอก หรือการ
Outsourcing ที่เพิ่มขึ้นขององค์กรต่างๆ เพื่อรับมือความกับความเปลี่ยนแปลงอันหลากหลาย หากแต่ก่อให้เกิดผลกระทบ ทั้งในระดับองค์กรและในระดับปัจเจกบุคคล ซึ่งเป็นสิ่งที่ทุกคนควรให้ความสนใจ

สาเหตุหลักของความนิยมแนวคิด
Outsourcing ขององค์กรต่างๆ มาจาก ความพยายามที่จะสร้างองค์กรของตน ให้สามารถปรับเปลี่ยนตัวเองได้อย่างยืดหยุ่น รวมถึงให้มีความสามารถที่จำเป็นอย่างเพียงพอ เพื่อรับมือกับความเปลี่ยนแปลงในด้านต่างๆ อย่างเท่าทัน โดยมีความอยู่รอด เป็นเป้าหมายสูงสุด

วิถีการ
Outsourcing สะท้อนภาพความพยายามลดขนาดองค์กรลง เพื่อลดต้นทุนด้านการจ้างแรงงานถาวรเพิ่มเติม และสะท้อนภาพความพยายามแก้ปัญหา การไม่สามารถพัฒนาบุคลากรภายในองค์ ให้สามารถปฏิบัติงานซึ่งต้องการองค์ความรู้ใหม่ๆ ได้ทันตามความต้องการ

หนึ่งในตัวแปรสำคัญ ที่ทำให้ความนิยมการ
Outsourcing เพิ่มขึ้น คือสภาพความจำเป็นที่องค์กรต้องนำ ICT มาประยุกต์ใช้ ในการดำเนินการด้านต่างๆเพิ่มมากขึ้น

พร้อมกันนี้ การที่เทคโนโลยี
ICT มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ก็ยิ่งเป็นผลผลักดันให้องค์กรต่างๆ มีแนวโน้มเลือกใช้การ Outsourcing เพิ่มขึ้น

เนื่องจาก การประยุกต์ใช้
ICT แต่ละประเภท ทำให้องค์กรมีความต้องการทรัพยากรบุคคล ที่มีความรู้ความสามารถ ซึ่งเหมาะสมและสอดคล้อง กับเทคโนโลยีที่นำมาใช้

นั่นหมายความว่า ในทุกครั้งที่ประสงค์นำเทคโนโลยีใหม่มาประยุกต์ใช้ องค์กรจำเป็นต้องดำเนินการ ไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง เพื่อจัดหาบุคคลที่มีความสามารถสอดคล้องกับเทคโนโลยี มาทำงานให้กับองค์กร

และเมื่อวิเคราะห์จากมุมมองความคุ้มค่าในการลงทุน องค์กรต่างๆมักมองว่า การว่าจ้างแรงงานระยะสั้นจากภายนอก ที่มีความสามารถตามต้องการ หรือการ
Outsourcing มีความคุ้มค่ากว่า การพัฒนาทรัพยากรบุคคลภายใน ให้มีความรู้และความสามารถ ในระดับที่องค์กรต้องการ เนื่องจากทางเลือกที่สอง มักถูกมองว่า เป็นทางเลือกที่ต้องใช้เวลาและใช้เงินลงทุน แต่ไม่อาจรับประกันความสำเร็จได้ว่า องค์กรจะได้บุคลากรที่มีความสามารถ ในระดับและได้ทันในเวลา ที่ต้องการ

การ
Outsourcing อาจเป็นแนวทาง ที่ช่วยให้องค์กรสามารถรับมือกับความต้องการใช้งาน ICT ที่เพิ่มมากขึ้น และสามารถรับมือกับทางเทคโนโลยี ICT ที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว

แต่การ
Outsourcing จะเป็นเพียงแค่การแก้ปัญหาเฉพาะหน้า ซึ่งอาจนำมาซึ่งปัญหาอื่นๆต่อไป หากแนวทางดังกล่าว มุ่งรับมือแค่เพียงอุปสรรคข้างต้น โดยไม่สนใจผลกระทบ ทั้งในระดับองค์กรและในระดับปัจเจกบุคคล อันเกิดจากการ Outsourcing

ผลกระทบในระดับองค์กรที่อาจเกิดขึ้น หากองค์กรใดขาดการวางแผนการ
Outsourcing อย่างรอบคอบ ก็คือ ความเสี่ยงต่อการสูญเสีย ความสามารถหลักในการแข่งขันขององค์กร

ความสามารถหลักในการแข่งขันขององค์กร หมายถึง ความรู้ ความสามารถ วิถีปฏิบัติ แนวความคิด รวมทั้งวัฒนธรรมและจิตวิญญาณองค์กร ที่ทำให้องค์กรยังคงสามารถแข่งขันได้ในตลาด หรือทำให้องค์กรมีความได้เปรียบในการแข่งขัน

หากองค์กรทำการ
Outsourcing การดำเนินงาน ที่ถือว่ามีความสำคัญ หรือมีคุณค่าต่อองค์กรออกไป องค์กรนั้นมีความเสี่ยงที่จะสูญเสีย ความรู้ ความสามารถ และวิถีปฏิบัติ ที่สำคัญและจำเป็นต่อการแข่งขันในตลาด ซึ่งถือเป็นหนึ่งในความสามารถหลักในการแข่งขันขององค์กร

หากองค์กรใช้การ
Outsourcing มากจนเกินไป อาจส่งผลให้ความเข้มแข็ง ของความสัมพันธ์ภายในองค์กรลดลง อันเนื่องจากสังคมการทำงานภายในองค์กร ถูกแทรกแทรงด้วยสังคมการทำงาน ของบุคลากรภายนอก ซึ่งอาจส่งผลให้องค์กร มีความเสี่ยงที่จะสูญเสีย วัฒนธรรมและจิตวิญญาณองค์กร ซึ่งถือเป็นหนึ่งในความสามารถหลักในการแข่งขันขององค์กร

นอกจากนี้ หากมองในด้านความสัมพันธ์ ระหว่างองค์กรและบุคลากรภายใน การ
Outsourcing มักทำให้ความสัมพันธ์นี้อ่อนแอลง อีกทั้งยังส่งผลให้พนักงานมีความรักองค์กรลดลงอีกด้วย ซึ่งความรักองค์กรนั้น ถือได้ว่าเป็นแนวคิดที่ทำให้องค์กรสามารถแข่งขันได้อย่างเข้มแข็ง

แนวโน้มการนำการ
Outsourcing มาใช้ สะท้อนภาพที่ว่า องค์กรต่างๆให้ความสำคัญ กับการได้มาซึ่งแรงงาน ที่มีความสามารถตามที่ต้องการ ในเวลาที่ต้องการ ซึ่งเป็นการให้ความสำคัญ กับผลประโยชน์ระยะสั้น มากกว่าการให้ความสำคัญกับบุคลากรภายใน โดยการพัฒนาบุคลากรภายใน ให้มีความรู้ความสามารถ ที่จำเป็นต่อการทำงานในปัจจุบัน ซึ่งเป็นผลประโยชน์ในระยะยาว

อีกทั้งการ
Outsourcing ยังก่อให้เกิดความเสี่ยง ในการสูญเสียบุคลากรผู้มีความสามารถสูง หรือที่เรียกว่า “ภาวะสมองไหล” อันเนื่องมาจากองค์กร มีแนวโน้มให้ความสำคัญกับบุคลากรภายในลดลง

ในขณะที่การ
Outsourcing ส่งผลกระทบในระดับองค์กร มันก็ส่งผลกระทบในระดับปัจเจกบุคคล ด้วยเช่นกัน

โดยผลกระทบในระดับปัจเจกบุคคล เกิดขึ้นในลักษณะของ ความไม่พร้อมของแต่ละปัจเจกบุคคล รวมทั้งความไม่พร้อมของกลไกทางสังคมต่างๆ เพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงไปของความสัมพันธ์ ระหว่างพนักงานผู้ถูกจ้างและองค์กรผู้ว่าจ้าง และการเปลี่ยนแปลงไปของตลาดแรงงาน

ภาพที่เกิดขึ้น คือ บุคลากรภายในองค์กร มีแนวโน้มได้รับการพัฒนา ศักยภาพในการทำงานน้อยลง และเริ่มมีการปลดพนักงานมากขึ้น เนื่องจากองค์กรต่างๆมุ่งลดขนาดองค์กรลง อีกทั้งรูปแบบองค์กรต่างๆเริ่มเปลี่ยนเป็นลักษณะของ องค์กรมืออาชีพที่มีความสามารถเฉพาะมากขึ้น

ความสัมพันธ์ระหว่าง พนักงานผู้ถูกจ้างและองค์กรผู้ว่าจ้าง จะเปลี่ยนแปลงไป โดยเป็นไปในลักษณะของความสัมพันธ์ระยะสั้นมากขึ้น นั้นคือ ผู้ว่าจ้างและผู้ถูกจ้าง จะทำงานร่วมกันเป็นรายโครงการ ตกลงร่วมงานกันโดยดูที่ ผลตอบแทนที่คุ้มค่ากับระดับความสามารถ ในการทำให้โครงการเกิดผลสัมฤทธิ์

ในปัจจุบัน ภาพเหล่านี้ถูกสะท้อนด้วย การเกิดขึ้นอย่างมากมายและการได้รับความนิยม ของบริษัทที่ปรึกษาหรือบริษัทรับเหมาทำงานเฉพาะด้าน
(Professional Services Organisation) ในด้านต่างๆ

นั่นหมายความว่า แต่ละปัจเจกบุคคลผู้กำลังเล่นบท ผู้ถูกว่าจ้าง มีแนวโน้มที่จักต้องรับผิดชอบพัฒนา ศักยภาพในการทำงานด้วยตนเอง และต้องพร้อมรับมือกับการเปลี่ยนแปลง ของรูปแบบและเงื่อนไขความสัมพันธ์ ระหว่างตนเองกับผู้ว่าจ้าง ซึ่งมีแนวโน้มเป็นความสัมพันธ์ระยะสั้นมากขึ้น

นอกจากนี้ หากมองจากมุมของตลาดแรงงาน จักต้องมีการนำกลไกใหม่ๆ เข้ามาใช้สนับสนุนการทำงานของตลาดแรงงาน เพื่อให้สามารถรับมือกับความเปลี่ยนแปลงข้างต้นได้

ตัวอย่างของกลไกดังกล่าว ได้แก่ กลไกการให้ความรู้ เกี่ยวกับปรากฏการณ์ดังกล่าว กับผู้กำลังเล่นบทผู้ถูกว่าจ้าง กลไกสนับสนุนผู้กำลังเล่นบทผู้ถูกว่าจ้าง ให้สามารถพัฒนาตนเอง อย่างเหมาะสมในสายอาชีพตน และกลไกอื่นๆ ที่สามารถช่วยรับมือกับ สถานการณ์ซึ่งผู้กำลังเล่นบทผู้ถูกว่าจ้าง ได้รับผลกระทบ จากการเปลี่ยนไปของตลาดแรงงาน เป็นต้น

นอกจาก
ICT จะเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญ ซึ่งมีผลโดยตรงกับปรากฏการณ์ทั้งหมดข้าง ความสามารถของมันยังเป็นตัวแปรสนับสนุน ซึ่งมีผลทางอ้อมกับปรากฏการณ์ดังกล่าวอีกด้วย

โดยความสามารถของ
ICT ที่ทำให้โลกทั้งใบสื่อสารถึงกันได้อย่างง่ายดาย ภายในระยะเวลาอันน้อยนิด และด้วยต้นทุนที่ต่ำลงอย่างมาก ทำให้องค์กรที่กำลังมองหาผู้เข้ามาดำเนินการ Outsourcing สามารถเข้าถึงตัวเลือกอย่างมากมาย อีกทั้งยังทำให้การประสานงาน ระหว่างผู้ต้องการและผู้รับการ Outsourcing ทำได้อย่างง่ายดาย รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ ซึ่งเงื่อนไขทั้งหมดนี้ ช่วยสนับสนุนให้องค์กรต่างๆ มีแนวโน้มเลือกใช้การ Outsourcing มากขึ้น

ภาพทั้งหมด ที่ข้าพเจ้าได้สะท้อนผ่านบทความนี้ มีจุดประสงค์เพื่อผลักดันทุกท่าน ให้เริ่มสนใจกับสถานการณ์และผลกระทบ อันเกิดจากความนิยมในการ
Outsourcing เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยใช้ตัวแปรที่เกี่ยวข้องกับ ICT เชื่อมโยงกับปรากฏการณ์ดังกล่าว ผ่านพื้นที่ของบทความนี้

อันที่จริง ยังมีตัวแปรอีกหลากหลาย นอกเหนือจากตัวแปรที่เกี่ยวข้องกับ
ICT ที่ทำให้ปรากฏการณ์การ Outsourcing ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

หากบทความนี้จะมีประโยชน์ ข้าพเจ้าของให้มันเป็นแรงผลักดัน ให้ทุกท่านเริ่มตระหนัก และเริ่มศึกษา ผลกระทบของการปรากฏการณ์
Outsourcing ที่มีต่อตัวท่านมากขึ้น ไม่ว่าทั้งจากบริบทของตัวแปรที่เกี่ยวข้องกับ ICT และจากบริบทอื่นๆ เพื่อให้ทุกท่านสามารถรับมือกับความเปลี่ยนแปลงนี้ ได้อย่างเท่าทัน


บล็อกของ SenseMaker

SenseMaker
น้ำมาถึงไหนแล้วหว่า...บ้านฉันน้ำจะท่วมมั้ยเนี่ย...จะหาข้อมูลที่จำเป็นได้จากที่ไหนบ้างหว่า...เวลาเดือดร้อนจะต้องแจ้งใคร...ทำไมโทรไป 1111 กด 5 แล้วถามอะไรไปก็ตอบไม่ได้... ........ใครก็ได้ช่วยบอกทีเหอะว่าฉันกับครอบครัวต้องทำยังไงบ้าง.......ข้อมูลประกอบการตัดสินใจอะไรๆก็ไม่มี ที่มีก็ไม่รู้จะเชื่อได้มากขนาดไหน เชื่อได้รึเปล่า.........
SenseMaker
ขอสวัสดีปีใหม่แด่ท่านผู้อ่านทุกท่าน ขออาราธนาคุณพระศรีรัตนตรัยจงอวยพรให้ทุกท่าน สุขกาย สบายใจมีเงินทองใช้ไม่ขาดมือ และมีสติในการดำเนินชีวิตอยู่เสมอ
SenseMaker
  จากที่สัญญาว่าในบทความนี้ ข้าพเจ้าจะมาต่อยอดบทความจากครั้งที่แล้วในหัวข้อ “ความร่ำรวยข้อมูล” ด้วยการวิเคราะห์ความจำเป็น ที่เราจักต้องพัฒนาทั้ง 3 ส่วนประกอบสำคัญ อันได้แก่ ความอุดมทางด้านข้อมูล ความยากง่ายในการเข้าถึงข้อมูล และมุมมองที่มีในการวางแผนโครงสร้างข้อมูลบนเว็บ ไปพร้อมๆกัน เพื่อทำให้ทุกท่านเข้าใจประเด็นดังกล่าวนี้เป็นรูปธรรมมากขึ้น
SenseMaker
เป็นอีกครั้งที่ข้าพเจ้าไม่สามารถส่งบทความเข้ามาได้ตามกำหนด โดยคราวนี้ทิ้งระยะไปนานมาก จนทำให้ข้าพเจ้ารู้สึกผิดต่อผู้อ่านและผู้บริหาร blogazine เป็นอย่างยิ่ง ข้าพเจ้าต้องขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วย
SenseMaker
ต่อเนื่องจากบทความที่แล้วในหัวข้อ ความเป็นส่วนตัวของคุณราคาเท่าไหร่ ข้าพเจ้าอยากชวนท่านผู้อ่านคิดต่อไปอีกนิดว่า ท่านจะรู้ได้อย่างไรว่า ข้อมูลส่วนตัวต่างๆ ที่ท่านเปิดเผยไว้บนพื้นที่ออนไลน์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเครือข่ายสังคมออนไลน์ (social network sites) ต่างๆ เช่น Facebook และ MySpace จะไม่ทำให้ท่านสูญเสียอะไร หรือเสียใจในอนาคต
SenseMaker
จากบทความที่แล้วในหัวข้อ การจัดระเบียบโลกใหม่ การเมืองไทย และICT ข้าพเจ้าได้ชี้ให้เห็นว่า เพราะความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ICT ในปัจจุบัน ทำให้ความสามารถของมนุษย์ ในการจัดการและจัดเก็บข้อมูล ซึ่งหากอาศัยเพียงประสาทสัมผัสของมนุษย์ จะไม่สามารถเข้าถึงและจัดการได้ และความด้วยความก้าวหน้านี้ ทำให้มนุษย์สามารถเห็นและรับรู้ ในข้อมูลที่เคยยากที่จะเห็นและรับรู้ อีกทั้งยังทำให้เข้าใจในสิ่งที่เคยยากต่อการวิเคราะห์
SenseMaker
ความก้าวหน้าทาง ICT ในปัจจุบัน ช่วยให้เราๆท่านๆ สามารถเข้าถึงข้อมูลต่างๆ ซึ่งยากที่จะเข้าถึงในอดีต ได้ง่ายขึ้น เช่น ข้อมูลของบุคคลหรือข้อมูลขององค์กรที่เราสนใจ ข้อมูลทางเศรษฐกิจและสังคม ของประเทศใดประเทศหนึ่ง รวมถึงองค์ความรู้ในด้านต่างๆ เป็นต้น
SenseMaker
หลังจากบทความที่เรียกได้ว่า บทบรรณาธิการแรก ได้ชี้แจงเป้าหมายการดำรงอยู่ ของพื้นที่ทางความคิดแห่งนี้ บัดนี้เวลาล่วงเลยมาครึ่งปี โอกาสแห่งการพูดคุย กับท่านผู้อ่านอีกครั้ง ก็มาถึงทุกๆ12 บทความ ที่ได้ทำหน้าที่ของมันผ่านพ้นไป ถือเป็นช่วงเวลาที่ดี ที่ผู้เขียนกับผู้อ่านจะได้แลกเปลี่ยนความคิดกัน เพื่อทำให้พื้นที่แห่งนี้ เป็นประโยชน์กับทุกๆคน อย่างแท้จริงในทัศนะของข้าพเจ้าแล้ว ICT เข้ามามีบทบาท ต่อชีวิตของเราทุกคน ในทุกวันนี้มากขึ้นทุกที แต่ละคนได้รับประโยชน์ ผลกระทบ และผลลัพธ์ ที่แตกต่างกันไป จากการเปลี่ยนแปลงรอบตัว ซึ่งมี ICT เป็นปัจจัยต้นเหตุ
SenseMaker
Peer Review อาจไม่ใช่คำในภาษาอังกฤษ ที่คนส่วนใหญ่ในสังคมคุ้นเคย แต่เป็นคำคุ้นเคยเป็นอย่างดีในสังคมนักวิชาการ อาจารย์ หรือ นักวิจัย เนื่องจากสังคมดังกล่าว มีวัฒนธรรมและกิจกรรมหลัก ในการสร้างองค์ความรู้ใหม่ ด้วยการต่อยอดองค์ความรู้ที่มีอยู่เดิม ผ่านการพัฒนาผลงานวิจัยใหม่ ซึ่งการยอมรับจากสมาชิกในสังคมเดียวกัน มีความสำคัญกับผลงานวิจัยแต่ละชิ้นมาก เนื่องจากไม่ว่าผลงานดังกล่าว จะมีคุณภาพในสายตาผู้พัฒนาเพียงใด แต่หากไม่ได้รับการตอบรับจากสมาชิกในสังคม ผลงานนั้นก็ถือได้ว่า ไม่ได้สร้างคุณค่าให้กับสังคมมากนัก
SenseMaker
ในอดีต การเกิดขึ้นของสังคม มักจะถูกจำกัดด้วยเส้นขอบเขตของเวลาและสถานที่ การเป็นส่วนหนึ่งในสังคม เกิดจากการมีส่วนร่วมอยู่ในเวลาและสถานที่เดียวกัน เช่น การอยู่ในหมู่บ้านเดียวกัน การไปโรงเรียนหรือสถานศึกษาเดียวกัน การทำงานในบริษัทหรือสถานที่ทำงานเดียวกัน หรือ การอยู่ในกลุ่มทำกิจกรรมเดียวกัน เป็นต้นแต่ด้วยความก้าวหน้าของ ICT และการขยายตัวของอินเตอร์เนต ทำให้ในปัจจุบัน การมีและเป็นส่วนหนึ่งของสังคม ของเราแต่ละคน ไม่ถูกจำกัดโดยสองข้อจำกัดข้างต้น อีกต่อไป และทำให้ในปัจจุบันนั้น เราแต่ละคน มีและเป็นส่วนหนึ่งของสังคม ที่ถูกสร้างขึ้นบนอินเตอร์เนต เพิ่มมากขึ้นๆทุกที
SenseMaker
  หลังจากหลายบทความในคอลัมน์แห่งนี้ ข้าพเจ้าได้ใช้พูดถึงการเปลี่ยนแปลงทางสังคม ที่นับวันดูเหมือนว่า "เป็นการยากสำหรับประชาชน ที่จะทำความเข้าใจถึงความเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ เพื่อการดำรงชีวิตอย่างเท่าทัน" บทความวันนี้ จึงถูกเขียนขึ้นเพื่อแสดงทัศนะเกี่ยวกับกลไกทางสังคม ที่มีความจำเป็นอย่างยิ่งในปัจจุบัน เพื่อทำหน้าที่คุ้มกันและช่วยเหลือประชาชน ซึ่งเป็นผู้ได้รับผลกระทบหรือถูกกระทำ จากความเปลี่ยนแปลงทางสังคมเหล่านี้ โดยไม่อาจป้องกันตนเองได้อย่างเท่าทัน หากขาดไปซึ่งกลไกทางสังคมที่จะขอกล่าวถึงในวันนี้เรามาเริ่มทบทวนกันก่อนว่าความเปลี่ยนแปลงทางสังคม ซึ่งถูกกล่าวถึงในคอลัมน์แห่งนี้…
SenseMaker
สุขสันต์ปีใหม่แด่ทุกท่าน ผู้ซึ่งให้เกียรติแวะเวียนเข้ามาอ่านบทความในคอลัมน์แห่งนี้ ทั้งขาประจำและขาจร ขออาราธนาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายในสากลโลก จงอำนวยอวยพรให้ทุกท่านมีความสุขกาย สบายใจ และสามารถดำรงชีวิตอย่างมีสติ (และมีสตางค์ใช้อย่างพอเพียง) ข้าพเจ้าขอเริ่มต้นปีใหม่ ด้วยอีกหนึ่งงานเขียนที่มุ่งสื่อสารให้ผู้คนในวงกว้าง ตระหนักถึงผลกระทบที่ ICT มีต่อการดำเนินชีวิตในทุกระดับ เพื่อให้ทุกท่านสามารถรับมือกับความเปลี่ยนแปลงดังกล่าวได้อย่างเท่าทัน อีกทั้งสามารถประยุกต์ใช้มันอย่างมีประโยชน์