Skip to main content

หากท่านผู้อ่านได้อ่านบทความก่อนๆ ไม่ว่าจะเป็นบทความเรื่อง “การเข้าถึงเทคโนโลยี ความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ ความแตกต่างทางสังคม และสังคมในแนวขนาน” หรือเรื่อง “เว็บยุค2.0 สื่อพลเมือง และการท้าทายกระแสหลัก” และเรื่อง “ICT ตัวการแห่งการเปลี่ยนแปลง และผลลัพท์ทางสังคมที่ย้อนแย้ง” ข้าพเจ้าเชื่อว่าบทความเหล่านี้ จะทำให้ทุกท่านที่อ่านเริ่มตระหนัก ข้อเท็จจริงที่ว่า ICT เป็นตัวแปรต้นของความเปลี่ยนแปลงทางสังคมที่ว่า สังคมของเราทุกวันนี้ มีความหลากหลายทางระบบความคิด ความเชื่อ และมีความแตกต่างทางด้านค่านิยมมากขึ้น


ความเปลี่ยนแปลงทางสังคมข้างต้น แน่นอนว่าไม่ได้ถูกผลักดัน ด้วยความก้าวหน้าทางด้าน ICT อย่างเดียวเท่านั้น หากแต่ข้าพเจ้าเห็นว่า ระดับความรู้และพื้นฐานการศึกษาที่สูงขึ้นของสมาชิกในสังคม ยังเป็นอีกตัวแปรหนึ่ง ที่ส่งเสริมความหลากหลายและความแตกต่างทางความคิด


กระนั้นก็ดีข้าพเจ้าไม่คิดว่า เราสามารถปฏิเสธบทบาทสำคัญของ ICT ที่ทำหน้าที่เป็นเครื่องมือ ซึ่งช่วยให้ความหลากหลายของ ระบบความคิด แนวความเชื่อ และค่านิยมในสังคม เกิดการสื่อสาร เผยแพร่ และกระจายตัว อย่างรวดเร็วและในวงกว้างทั่วสังคม


ในอดีตการเกิดขึ้นของความหลากหลายทางด้านระบบความคิด แนวความเชื่อ และค่านิยมในสังคม เป็นไปอย่างยากลำบาก อีกทั้งการเปลี่ยนแปลงของสิ่งที่ยึดถืออยู่เดิมในสังคมทำได้ยาก เนื่องจากการสื่อสารวงกว้างเพื่อพัฒนา เผยแพร่ และกระจาย ระบบความคิด และแนวความเชื่อใหม่ๆ ทำได้ยากและมีต้นทุนสูง


การเกิดและพัฒนาขึ้นของระบบความคิด แนวความเชื่อ และค่านิยมใหม่ทางสังคม ซึ่งนำมาสู่ความหลากหลายในบั้นปลาย ในอดีตนั้น เริ่มต้นจากการพบปะพูดคุยแลกเปลี่ยนทัศนะระหว่างผู้นำทางความคิด เพื่อก่อร่างสร้างแนวความคิดความเชื่อใหม่เบื้องต้น และเพื่อให้แนวความคิดความเชื่อดังกล่าว ได้รับการพัฒนา ยอมรับ และขยายผลในวงกว้าง จึงมีความจำเป็นต้องสื่อสารกับสังคม ซึ่งมีความยากลำบากตลอดกระบวนการดังกล่าว


เมื่อเปรียบเทียบกับปัจจุบัน ICT ได้ทำให้กระบวนการเกิดและพัฒนาขึ้นของระบบความคิด แนวความเชื่อ และค่านิยมใหม่ทางสังคม เป็นกระบวนการที่ง่ายและใช้ต้นทุนน้อยกว่าอย่างเห็นได้ชัด โดยแทนที่ผู้นำทางความคิด ต้องใช้เวลายาวนานในการติดต่อสื่อสารและเดินทาง เพื่อการตกผลึกทางความคิดร่วมกัน ปัจจุบันสามารถพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดกัน ผ่านช่องทางการติดต่อสื่อสารที่หลากหลายและราคาถูก ไม่ว่าจะเป็นการใช้อีเมล การใช้โปรแกรมข้อความโต้ตอบออนไลน์ต่างๆ เช่น Windows Live Messenger และ Google Talk หรือว่าการใช้ระบบโทรศัพท์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นระบบโทรศัพท์พื้นฐาน ระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่ หรือโปรแกรมโทรศัพท์ผ่านอินเตอร์เนต เช่น Skype และ IP telephony ต่างๆ


ในส่วนของขั้นตอนการสื่อสารกับสังคม เพื่อทำให้แนวความคิดใหม่ดังกล่าว ได้รับการพัฒนา ยอมรับ และขยายผลในวงกว้าง ความก้าวหน้าทาง ICT ในปัจจุบัน ได้ให้กำเนิดเครื่องมือซึ่งช่วยให้การแลกเปลี่ยนข้อมูลและสื่อสารกับมวลชนในวงกว้าง ทำได้อย่างง่ายดาย มีประสิทธิภาพ อย่างรวดเร็ว และด้วยต้นทุนต่ำ

ตัวอย่างเช่น จากอดีตที่การแลกเปลี่ยนข้อมูลและการสื่อสารมวลชน ต้องพึ่งสื่อสิ่งพิมพ์ สถานีวิทยุ และสถานีโทรทัศน์ ซึ่งมีอยู่อย่างจำกัด อันเป็นผลมาจากเทคโนโลยีเหล่านี้ต้องการการลงทุนที่สูง และส่วนใหญ่ถูกควบคุมโดยรัฐ มาสู่ยุคปัจจุบัน ที่มีการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ของจำนวนสมาชิกในสังคม ที่มีความสามารถครอบครองอุปกรณ์ ICT ต่างๆ ที่มีความสามารถในการจัดทำสื่อสิ่งพิมพ์ และการเชื่อมต่ออินเตอร์เนต เพื่อสร้างและเข้าถึงเครื่องมือสื่อสารมวลชนออนไลน์ต่างๆอย่างอิสระ เช่น สถานีวิทยุออนไลน์ สถานีโทรทัศน์ออนไลน์ การกระจายภาพและเสียงตามความต้องการ (Video and Audio on demand) กระดานข่าว (Web board) และพื้นที่บทความออนไลน์ (Blog)


ปรากฏการณ์ข้างต้น ทำให้ปัจจุบันระบบความคิด แนวความเชื่อ และค่านิยมเดิม ซึ่งเป็นมาตรฐานในสังคม ถูกท้าทายถี่ขึ้น รุนแรงขึ้น และมีแนวโน้มที่จะมีการเปลี่ยนแปลงได้ง่ายขึ้น อีกทั้งระบบความคิด แนวความเชื่อ และค่านิยมใหม่ สามารถเกิดได้เร็วขึ้น ในวงกว้าง และอย่างหลากหลาย


ปรากฏการณ์ดังกล่าว กำลังนำความเปลี่ยนแปลง ในระดับปัจจัยพื้นฐาน มาสู่ทุกสังคม อย่างรุนแรง หากผู้นำสังคมและสมาชิกทุกคนไม่ตระหนัก และเริ่มให้ความสำคัญกับการรับมือกับมัน เนื่องจากกลไกทางสังคมเดิมของแต่ละสังคม อาจไม่สามารถรองรับระบบความคิด แนวความเชื่อ และค่านิยมของสมาชิกแต่ละคน ซึ่งมีโอกาสแตกต่างกันไปได้อย่างมากมาย


กลไกทางสังคมที่เหมาะสมสำหรับยุคปัจจุบัน ในความคิดของข้าพเจ้า ไม่ใช่กลไกทางสังคมที่มุ่งควบคุม หรือสร้างมาตรฐานสังคม ให้ทุกคนคิดและทำตามในลักษณะเดียวกัน หากแต่ต้องเป็นกลไกที่ช่วยโอบอุ้มความหลากหลายทางระบบความคิด แนวความเชื่อ และค่านิยม ทำให้สมาชิกในสังคมอยู่ได้กับความหลากหลายนั้น และใช้ประโยชน์จากความหลากหลายทางสังคม เพื่อทำให้สังคมมีความสงบสุข และสามารถพัฒนาไปข้างหน้าได้อย่างต่อเนื่อง


ในขณะที่ ICT สร้างปรากฏการณ์และความเปลี่ยนแปลงดังกล่าวขึ้นมา ข้าพเจ้ามีความเห็นว่า ICT เองก็จะเป็นหนึ่งในเครื่องมือ ที่ช่วยสร้างทางออกให้กับปัญหาดังกล่าวด้วย


เนื่องจาก ICT คือเทคโนโลยีที่มนุษย์เป็นผู้สร้างและนำไปใช้ เพื่อสร้างผลลัพธ์ทางสังคม ดังนั้นผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นไม่ได้ขึ้นอยู่กับ ICT เอง แต่ผลลัพธ์นั้นจะเป็นไปตามวิสัยทัศน์ ของผู้สร้างและนำ ICT ไปใช้ (สามารถขยายความเพิ่มเติมได้จากบทความ “ICT เทคโนโลยีสะท้อนวิสัยทัศน์”)


นั่นหมายความว่า หากผู้นำในสังคมตระหนักถึงสถานการณ์ข้างต้น ICT ก็สามารถถูกนำมาใช้เพื่อรับมือกับความหลากหลายทางสังคมได้ โดยใช้ ICT เป็นเครื่องมือเพื่อพัฒนากลไกทางสังคม ซึ่งช่วยโอบอุ้มความหลากหลายทางระบบความคิด แนวความเชื่อ และค่านิยม ของสมาชิกทุกคนในสังคม ช่วยให้สมาชิกในสังคมทุกคน อยู่กับความหลากหลายได้อย่างมีความสุข และช่วยให้สังคมใช้ประโยชน์จากความหลากหลายทางสังคมนี้ได้


ในสถานการณ์ที่โลกใบนี้วุ่นวายสับสน จากความหลากหลายทางสังคม โดยมี ICT เป็นตัวเร่งผลักดันให้ความหลากหลายนั้นเกิดขึ้น ICT ก็จะเป็นเครื่องมือสำคัญ ที่ช่วยจัดการความหลากหลายนั้น แต่ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับผู้นำ ICT ไปใช้เพื่อสร้างผลลัพธ์ทางสังคม ซึ่งนั้นก็คือเราทุกคน ว่าต้องการอย่างไร


ถึงเวลาแล้วที่ทุกคนต้องอยู่กับความหลากหลายอย่างมีความสุข


บล็อกของ SenseMaker

SenseMaker
น้ำมาถึงไหนแล้วหว่า...บ้านฉันน้ำจะท่วมมั้ยเนี่ย...จะหาข้อมูลที่จำเป็นได้จากที่ไหนบ้างหว่า...เวลาเดือดร้อนจะต้องแจ้งใคร...ทำไมโทรไป 1111 กด 5 แล้วถามอะไรไปก็ตอบไม่ได้... ........ใครก็ได้ช่วยบอกทีเหอะว่าฉันกับครอบครัวต้องทำยังไงบ้าง.......ข้อมูลประกอบการตัดสินใจอะไรๆก็ไม่มี ที่มีก็ไม่รู้จะเชื่อได้มากขนาดไหน เชื่อได้รึเปล่า.........
SenseMaker
ขอสวัสดีปีใหม่แด่ท่านผู้อ่านทุกท่าน ขออาราธนาคุณพระศรีรัตนตรัยจงอวยพรให้ทุกท่าน สุขกาย สบายใจมีเงินทองใช้ไม่ขาดมือ และมีสติในการดำเนินชีวิตอยู่เสมอ
SenseMaker
  จากที่สัญญาว่าในบทความนี้ ข้าพเจ้าจะมาต่อยอดบทความจากครั้งที่แล้วในหัวข้อ “ความร่ำรวยข้อมูล” ด้วยการวิเคราะห์ความจำเป็น ที่เราจักต้องพัฒนาทั้ง 3 ส่วนประกอบสำคัญ อันได้แก่ ความอุดมทางด้านข้อมูล ความยากง่ายในการเข้าถึงข้อมูล และมุมมองที่มีในการวางแผนโครงสร้างข้อมูลบนเว็บ ไปพร้อมๆกัน เพื่อทำให้ทุกท่านเข้าใจประเด็นดังกล่าวนี้เป็นรูปธรรมมากขึ้น
SenseMaker
เป็นอีกครั้งที่ข้าพเจ้าไม่สามารถส่งบทความเข้ามาได้ตามกำหนด โดยคราวนี้ทิ้งระยะไปนานมาก จนทำให้ข้าพเจ้ารู้สึกผิดต่อผู้อ่านและผู้บริหาร blogazine เป็นอย่างยิ่ง ข้าพเจ้าต้องขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วย
SenseMaker
ต่อเนื่องจากบทความที่แล้วในหัวข้อ ความเป็นส่วนตัวของคุณราคาเท่าไหร่ ข้าพเจ้าอยากชวนท่านผู้อ่านคิดต่อไปอีกนิดว่า ท่านจะรู้ได้อย่างไรว่า ข้อมูลส่วนตัวต่างๆ ที่ท่านเปิดเผยไว้บนพื้นที่ออนไลน์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเครือข่ายสังคมออนไลน์ (social network sites) ต่างๆ เช่น Facebook และ MySpace จะไม่ทำให้ท่านสูญเสียอะไร หรือเสียใจในอนาคต
SenseMaker
จากบทความที่แล้วในหัวข้อ การจัดระเบียบโลกใหม่ การเมืองไทย และICT ข้าพเจ้าได้ชี้ให้เห็นว่า เพราะความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ICT ในปัจจุบัน ทำให้ความสามารถของมนุษย์ ในการจัดการและจัดเก็บข้อมูล ซึ่งหากอาศัยเพียงประสาทสัมผัสของมนุษย์ จะไม่สามารถเข้าถึงและจัดการได้ และความด้วยความก้าวหน้านี้ ทำให้มนุษย์สามารถเห็นและรับรู้ ในข้อมูลที่เคยยากที่จะเห็นและรับรู้ อีกทั้งยังทำให้เข้าใจในสิ่งที่เคยยากต่อการวิเคราะห์
SenseMaker
ความก้าวหน้าทาง ICT ในปัจจุบัน ช่วยให้เราๆท่านๆ สามารถเข้าถึงข้อมูลต่างๆ ซึ่งยากที่จะเข้าถึงในอดีต ได้ง่ายขึ้น เช่น ข้อมูลของบุคคลหรือข้อมูลขององค์กรที่เราสนใจ ข้อมูลทางเศรษฐกิจและสังคม ของประเทศใดประเทศหนึ่ง รวมถึงองค์ความรู้ในด้านต่างๆ เป็นต้น
SenseMaker
หลังจากบทความที่เรียกได้ว่า บทบรรณาธิการแรก ได้ชี้แจงเป้าหมายการดำรงอยู่ ของพื้นที่ทางความคิดแห่งนี้ บัดนี้เวลาล่วงเลยมาครึ่งปี โอกาสแห่งการพูดคุย กับท่านผู้อ่านอีกครั้ง ก็มาถึงทุกๆ12 บทความ ที่ได้ทำหน้าที่ของมันผ่านพ้นไป ถือเป็นช่วงเวลาที่ดี ที่ผู้เขียนกับผู้อ่านจะได้แลกเปลี่ยนความคิดกัน เพื่อทำให้พื้นที่แห่งนี้ เป็นประโยชน์กับทุกๆคน อย่างแท้จริงในทัศนะของข้าพเจ้าแล้ว ICT เข้ามามีบทบาท ต่อชีวิตของเราทุกคน ในทุกวันนี้มากขึ้นทุกที แต่ละคนได้รับประโยชน์ ผลกระทบ และผลลัพธ์ ที่แตกต่างกันไป จากการเปลี่ยนแปลงรอบตัว ซึ่งมี ICT เป็นปัจจัยต้นเหตุ
SenseMaker
Peer Review อาจไม่ใช่คำในภาษาอังกฤษ ที่คนส่วนใหญ่ในสังคมคุ้นเคย แต่เป็นคำคุ้นเคยเป็นอย่างดีในสังคมนักวิชาการ อาจารย์ หรือ นักวิจัย เนื่องจากสังคมดังกล่าว มีวัฒนธรรมและกิจกรรมหลัก ในการสร้างองค์ความรู้ใหม่ ด้วยการต่อยอดองค์ความรู้ที่มีอยู่เดิม ผ่านการพัฒนาผลงานวิจัยใหม่ ซึ่งการยอมรับจากสมาชิกในสังคมเดียวกัน มีความสำคัญกับผลงานวิจัยแต่ละชิ้นมาก เนื่องจากไม่ว่าผลงานดังกล่าว จะมีคุณภาพในสายตาผู้พัฒนาเพียงใด แต่หากไม่ได้รับการตอบรับจากสมาชิกในสังคม ผลงานนั้นก็ถือได้ว่า ไม่ได้สร้างคุณค่าให้กับสังคมมากนัก
SenseMaker
ในอดีต การเกิดขึ้นของสังคม มักจะถูกจำกัดด้วยเส้นขอบเขตของเวลาและสถานที่ การเป็นส่วนหนึ่งในสังคม เกิดจากการมีส่วนร่วมอยู่ในเวลาและสถานที่เดียวกัน เช่น การอยู่ในหมู่บ้านเดียวกัน การไปโรงเรียนหรือสถานศึกษาเดียวกัน การทำงานในบริษัทหรือสถานที่ทำงานเดียวกัน หรือ การอยู่ในกลุ่มทำกิจกรรมเดียวกัน เป็นต้นแต่ด้วยความก้าวหน้าของ ICT และการขยายตัวของอินเตอร์เนต ทำให้ในปัจจุบัน การมีและเป็นส่วนหนึ่งของสังคม ของเราแต่ละคน ไม่ถูกจำกัดโดยสองข้อจำกัดข้างต้น อีกต่อไป และทำให้ในปัจจุบันนั้น เราแต่ละคน มีและเป็นส่วนหนึ่งของสังคม ที่ถูกสร้างขึ้นบนอินเตอร์เนต เพิ่มมากขึ้นๆทุกที
SenseMaker
  หลังจากหลายบทความในคอลัมน์แห่งนี้ ข้าพเจ้าได้ใช้พูดถึงการเปลี่ยนแปลงทางสังคม ที่นับวันดูเหมือนว่า "เป็นการยากสำหรับประชาชน ที่จะทำความเข้าใจถึงความเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ เพื่อการดำรงชีวิตอย่างเท่าทัน" บทความวันนี้ จึงถูกเขียนขึ้นเพื่อแสดงทัศนะเกี่ยวกับกลไกทางสังคม ที่มีความจำเป็นอย่างยิ่งในปัจจุบัน เพื่อทำหน้าที่คุ้มกันและช่วยเหลือประชาชน ซึ่งเป็นผู้ได้รับผลกระทบหรือถูกกระทำ จากความเปลี่ยนแปลงทางสังคมเหล่านี้ โดยไม่อาจป้องกันตนเองได้อย่างเท่าทัน หากขาดไปซึ่งกลไกทางสังคมที่จะขอกล่าวถึงในวันนี้เรามาเริ่มทบทวนกันก่อนว่าความเปลี่ยนแปลงทางสังคม ซึ่งถูกกล่าวถึงในคอลัมน์แห่งนี้…
SenseMaker
สุขสันต์ปีใหม่แด่ทุกท่าน ผู้ซึ่งให้เกียรติแวะเวียนเข้ามาอ่านบทความในคอลัมน์แห่งนี้ ทั้งขาประจำและขาจร ขออาราธนาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายในสากลโลก จงอำนวยอวยพรให้ทุกท่านมีความสุขกาย สบายใจ และสามารถดำรงชีวิตอย่างมีสติ (และมีสตางค์ใช้อย่างพอเพียง) ข้าพเจ้าขอเริ่มต้นปีใหม่ ด้วยอีกหนึ่งงานเขียนที่มุ่งสื่อสารให้ผู้คนในวงกว้าง ตระหนักถึงผลกระทบที่ ICT มีต่อการดำเนินชีวิตในทุกระดับ เพื่อให้ทุกท่านสามารถรับมือกับความเปลี่ยนแปลงดังกล่าวได้อย่างเท่าทัน อีกทั้งสามารถประยุกต์ใช้มันอย่างมีประโยชน์