อยากรู้

หลังจากบทความที่เรียกได้ว่า บทบรรณาธิการแรก ได้ชี้แจงเป้าหมายการดำรงอยู่ ของพื้นที่ทางความคิดแห่งนี้ บัดนี้เวลาล่วงเลยมาครึ่งปี โอกาสแห่งการพูดคุย กับท่านผู้อ่านอีกครั้ง ก็มาถึง

ทุกๆ12 บทความ ที่ได้ทำหน้าที่ของมันผ่านพ้นไป ถือเป็นช่วงเวลาที่ดี ที่ผู้เขียนกับผู้อ่านจะได้แลกเปลี่ยนความคิดกัน เพื่อทำให้พื้นที่แห่งนี้ เป็นประโยชน์กับทุกๆคน อย่างแท้จริง

ในทัศนะของข้าพเจ้าแล้ว ICT เข้ามามีบทบาท ต่อชีวิตของเราทุกคน ในทุกวันนี้มากขึ้นทุกที แต่ละคนได้รับประโยชน์ ผลกระทบ และผลลัพธ์ ที่แตกต่างกันไป จากการเปลี่ยนแปลงรอบตัว ซึ่งมี ICT เป็นปัจจัยต้นเหตุ

นั่นทำให้บทความในพื้นที่แห่งนี้ มีความหลากหลายสูง ทั้งในส่วนของหัวข้อสนทนา และแง่มุมของการสนทนา

ที่ผ่านมา ถึงแม้บทความ จะมีความหลากหลาย หากแต่บทความทั้งหมดนี้ เกิดจากความตระหนัก และความเข้าใจโลกของข้าพเจ้า ที่เห็นว่าประเด็นเหล่านี้มีผลกระทบต่อคนในวงกว้าง และจำเป็นต้องนำมาวิพากษ์ ให้ท่านผู้อ่านได้รับรู้ เพื่อความเข้าใจ และเพื่อการแลกเปลี่ยนทัศนะเพิ่มเติมต่อไป

ดังนั้นจึงเป็นการสมควร หากข้าพเจ้า อยากให้ท่านผู้อ่านที่เห็นว่า พื้นที่นี้มีประโยชน์กับท่าน แต่ยังมีอีกหลายประเด็น ที่ยังไม่ได้วิพากษ์ถึง อีกหลายแง่มุมที่ท่านอยากรู้ และอยากใช้งานข้าพเจ้า ให้จับประเด็นเหล่านี้ มาวิพากษ์ในเบื้องต้น เพื่อให้ท่านได้นำไปคิดต่อ และแลกเปลี่ยนทัศนะกันต่อไป ได้แนะนำประเด็นต่างๆเข้ามากัน

เพราะความอยากรู้ของข้าพเจ้า ทำให้ข้าพเจ้ามีโอกาสได้ศึกษา ทั้งในเชิงวิชาการ และทั้งจากประสบการณ์ และนำความรู้ในด้านดังกล่าว มาตีแผ่นในพื้นที่แห่งนี้

ข้าพเจ้าจึงเห็นว่า ความอยากรู้ของท่านผู้อ่าน จะช่วยเติมเต็มให้พื้นที่แห่งนี้ ทำหน้าที่ของมันได้อย่างออกรส และเป็นประโยชน์กับผู้คนในวงกว้างมากขึ้นกว่าเดิม

ความก้าวหน้าทาง ICT ได้นำประเด็นต่างๆมากมาย มาสู่สังคม ตั้งแต่ประเด็นทางด้านเทคโนโลยี เช่นการเกิดขึ้นของเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่มีให้เราต้องติดตามกันทุกวัน เรื่อยมาถึงการที่ ICT สร้างความเปลี่ยนแปลงในระดับองค์กร ทั้งการเปลี่ยนรูปแบบการทำงาน โครงสร้างองค์กร โครงสร้างตลาด ตลอดจนวิธีการทำธุรกิจ ไปจนถึงการเป็นเครื่องมือสำคัญ ที่มีบทบาทต่อการพัฒนาในระดับประเทศ ทั้งในแง่ของเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง โดยทำหน้าที่เป็นตัวแปรสำคัญ ที่ทำให้ระบบโครงสร้าง ทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง เปลี่ยนแปลงไป ซึ่งการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ เป็นโอกาสที่ดี สำหรับการทบทวน แนวความคิดซึ่งใช้ผลักดันโครงสร้างต่างๆข้างต้น และเป็นโอกาสที่ดี ที่ประชาชนในวงกว้างจะมีส่วนร่วม กับการวางรากฐานต่างๆนี้ มากขึ้น

อย่างไรก็ดี ด้วยความที่ ประเด็นและความเปลี่ยนแปลงทั้งหลาย ที่มี ICT เป็นตัวนำเหล่านี้ เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ต่อเนื่อง และในวงกว้าง มันจึงไม่อนุญาตให้เรา ศึกษาผลกระทบ ทั้งผลดีและผลเสีย ได้อย่างรัดกุม ก่อนที่มันจะดำเนินไป อีกทั้ง ทุกสิ่งกำลังดำเนินไปขณะนี้ ไม่มีใครเป็นผู้ควบคุมได้อย่างเบ็ดเสร็จเด็ดขาด

ดังนั้นสิ่งที่ทำได้ดีที่สุด คือการเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด ทำความเข้าใจกับมัน ให้เร็วและดีที่สุด เพื่อการปรับตัว รับมือ และใช้ประโยชน์ จากปรากฏการณ์ที่กำลังเกิดขึ้นนี้ อย่างรัดกุม

ซึ่งการประสบความสำเร็จ ในการดำเนินการดังกล่าว ต้องการการมีส่วนร่วมของทุกคน ทั้งจากประชาชน ซึ่งเป็นผู้ที่กำลังเผชิญหน้ากับความเปลี่ยนแปลง และเป็นผู้ทำหน้าที่สำคัญ ในการส่งข้อมูลจากภาคปฏิบัติ กลับมาให้ผู้ทำงานทางด้านนโยบาย ไม่ว่าจะเป็นนักการเมือง เจ้าหน้าที่รัฐ และนักวิชาการ เพื่อร่วมกันทำการศึกษา วิจัย และพัฒนา องค์ความรู้ที่เกี่ยวข้อง แล้วส่งผ่านความรู้ดังกล่าว กลับไปให้ประชาชน เพื่อใช้เป็นเครื่องมือที่เหมาะสม ในการเป็นส่วนร่วมในการขับเคลื่อน เศรษฐกิจ สังคม และประเทศชาติ

การดำเนินการดังกล่าวข้างต้น จะดำเนินไปในลักษณะของวงจร ซึ่งต้องดำเนินอย่างต่อเนื่อง ควบคู่ไปกับความเปลี่ยนแปลงทางด้าน ICT ที่เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา

และพื้นที่แห่งนี้ ก็อยากจะเป็นส่วนร่วมในวงจรข้างต้นนี้

อย่าลืมแจ้งความอยากรู้และคำแนะนำ มาให้ข้าพเจ้าทราบ เพื่อมาร่วมมีบทบาทในวงจร ที่มีประโยชน์นี้ด้วยกัน โดยส่ง Email ถึงข้าพเจ้าได้ที่ sensemaking.writer ซึ่งเป็นที่อยู่ gmail.com ของข้าพเจ้า

หากต้องการอ่านบทความย้อนหลัง ท่านสามารถหาอ่านได้ที่ www.thesensemaker.org ซึ่งเป็นเว็บไซท์ของข้าพเจ้า

แล้วกลับมาพบกับบทความตามปกติ ในครั้งต่อไป

ไม่ได้อย่างใจ...เชื่อได้มั้ยอ่ะ

น้ำมาถึงไหนแล้วหว่า...บ้านฉันน้ำจะท่วมมั้ยเนี่ย...จะหาข้อมูลที่จำเป็นได้จากที่ไหนบ้างหว่า...เวลาเดือดร้อนจะต้องแจ้งใคร...ทำไมโทรไป 1111 กด 5 แล้วถามอะไรไปก็ตอบไม่ได้...

........ใครก็ได้ช่วยบอกทีเหอะว่าฉันกับครอบครัวต้องทำยังไงบ้าง.......ข้อมูลประกอบการตัดสินใจอะไรๆก็ไม่มี ที่มีก็ไม่รู้จะเชื่อได้มากขนาดไหน เชื่อได้รึเปล่า.........

การสร้างความร่ำรวยทางข้อมูล

ขอสวัสดีปีใหม่แด่ท่านผู้อ่านทุกท่าน ขออาราธนาคุณพระศรีรัตนตรัยจงอวยพรให้ทุกท่าน สุขกาย สบายใจมีเงินทองใช้ไม่ขาดมือ และมีสติในการดำเนินชีวิตอยู่เสมอ

แรงผลักดัน 3G ไทย ที่ (ไม่ได้) มาจากผู้บริโภค

 

จากที่สัญญาว่าในบทความนี้ ข้าพเจ้าจะมาต่อยอดบทความจากครั้งที่แล้วในหัวข้อ “ความร่ำรวยข้อมูล” ด้วยการวิเคราะห์ความจำเป็น ที่เราจักต้องพัฒนาทั้ง 3 ส่วนประกอบสำคัญ อันได้แก่ ความอุดมทางด้านข้อมูล ความยากง่ายในการเข้าถึงข้อมูล และมุมมองที่มีในการวางแผนโครงสร้างข้อมูลบนเว็บ ไปพร้อมๆกัน เพื่อทำให้ทุกท่านเข้าใจประเด็นดังกล่าวนี้เป็นรูปธรรมมากขึ้น

ความร่ำรวยข้อมูล

เป็นอีกครั้งที่ข้าพเจ้าไม่สามารถส่งบทความเข้ามาได้ตามกำหนด โดยคราวนี้ทิ้งระยะไปนานมาก จนทำให้ข้าพเจ้ารู้สึกผิดต่อผู้อ่านและผู้บริหาร blogazine เป็นอย่างยิ่ง ข้าพเจ้าต้องขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วย

การใช้ชีวิตผ่านเทคโนโลยี และ ชีวิตที่สูญเสียการควบคุม

ต่อเนื่องจากบทความที่แล้วในหัวข้อ ความเป็นส่วนตัวของคุณราคาเท่าไหร่ ข้าพเจ้าอยากชวนท่านผู้อ่านคิดต่อไปอีกนิดว่า ท่านจะรู้ได้อย่างไรว่า ข้อมูลส่วนตัวต่างๆ ที่ท่านเปิดเผยไว้บนพื้นที่ออนไลน์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเครือข่ายสังคมออนไลน์ (social network sites) ต่างๆ เช่น Facebook และ MySpace จะไม่ทำให้ท่านสูญเสียอะไร หรือเสียใจในอนาคต