แรงผลักดัน 3G ไทย ที่ (ไม่ได้) มาจากผู้บริโภค

 

จากที่สัญญาว่าในบทความนี้ ข้าพเจ้าจะมาต่อยอดบทความจากครั้งที่แล้วในหัวข้อ “ความร่ำรวยข้อมูล” ด้วยการวิเคราะห์ความจำเป็น ที่เราจักต้องพัฒนาทั้ง 3 ส่วนประกอบสำคัญ อันได้แก่ ความอุดมทางด้านข้อมูล ความยากง่ายในการเข้าถึงข้อมูล และมุมมองที่มีในการวางแผนโครงสร้างข้อมูลบนเว็บ ไปพร้อมๆกัน เพื่อทำให้ทุกท่านเข้าใจประเด็นดังกล่าวนี้เป็นรูปธรรมมากขึ้น

\<\/--break--\>

ข้าพเจ้าต้องขอขั้นด้วยบทความซึ่งสอดคล้องกับประเด็นที่ค่อนข้างมาแรงในช่วงหนึ่งเดือนหลังมานี้ นั่นก็คือประเด็นการเปิดประมูลใบอนุญาติผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ ในย่านความถี่ซึ่งรองรับเทคโนโลยียุค 3G

โดยในช่วงที่ผ่านมาประเด็นดังกล่าวถูกวิพากวิจารณ์อย่างกว้างขวางและจากหลายฝ่าย โดยเท่าที่ข้าพเจ้าติดตามนั้น 3 ประเด็นเกี่ยวเนื่องที่ถูกวิพากษ์อย่างมาก คือ

  1. การเปิดบริการ 3G ของเมืองไทยของเราล่าช้าและล้าหลังกว่าประเทศอื่นๆ ควรจะมีการเร่งให้เกิดขึ้นอย่างเร็วที่สุด

  2. กทช. ซึ่งกำลังทำหน้าที่สำคัญในการเป็นผู้ควบคุมการเปิดประมูลใบอนุญาติผู้ให้บริการ 3G มีอำนาจถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่อย่างไร

  3. การรประมูลดังกล่าวควรเปิดอย่างเสรีและอย่างเร็วที่สุด หรือ ควรตระหนักถึงความสูญเสียที่อาจเกิดขึ้นกับหน่วยงานทางด้านโทรคมนาคมของรัฐเช่น ทีโอที และ ซีเอที และวิเคราะห์อย่างรอบคอบที่สุดก่อนการเปิดประมูล

อย่างไรก็ดีประเด็นที่ข้าพเจ้าขอพูดถึงในวันนี้ เป็นประเด็นเกี่ยวเนื่องซึ่งแตกต่างออกไปจากประเด็นต่างๆข้างต้น และข้าพเจ้าคิดว่ามีประโยชน์หากถูกนำมาวิพากษ์ นั่นคือ คนไทยจำนวนมากมีความต้องการใช้บริการต่างๆบนเครือข่าย 3G แล้วจริงหรือ และ ประโยชน์ของการเปิดเครือข่าย 3G ในขณะนี้ตกอยู่กับใคร

โดยส่วนตัวของข้าพเจ้ามีความเห็นว่าก่อนตอบคำถามอื่นๆข้างต้น  ข้าพเจ้าเห็นว่าควรมีการศึกษาและตอบคำถามที่ข้าพเจ้าตั้งขึ้นมาในวันนี้เสียก่อน

เพื่อตอบคำถามที่ข้าพเจ้าตั้งในวันนี้ ข้าพเจ้าขอเริ่มต้นด้วยการชี้ให้เห็นประโยชน์สูงสุด ซึ่งเทคโนโลยีเครือข่าย 3G มีต่อเราๆท่านๆโดยทั่วไป นั่นคือเทคโนโลยี 3G อนุญาตให้เราสามารถเชื่อมต่ออินเตอร์เนตผ่านโครงข่ายโทรศัพท์มือถือได้อย่างต่อเนื่องมากขึ้นและด้วยอัตราการเชื่อมต่อที่สูงขึ้นหรือรวดเร็วขึ้น ซึ่งหมายความว่าเราๆท่านๆสามารถบริโภคข้อมูลผ่านโครงข่ายโทรศัพท์มือถือได้มากขึ้นและในรูปแบบที่หลากหลาย เช่น วิดีโอและภาพเคลื่อนไหวต่างๆ มากกว่าจะเป็นเพียงแค่ข้อความหรือภาพนิ่ง

นั่นหมายความว่าประโยชน์ของเทคโนโลยี 3G ที่เป็นหัวใจสำคัญคือ การอนุญาตให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงข้อมูลซึ่งสามารถถูกส่งผ่านทางอินเตอร์เนตได้จากทุกที่ ทุกเวลา และในทุกรูปแบบข้อมูล หากบริเวณที่ผู้ใช้งานอยู่ภายในพื้นที่ซึ่งโครงข่ายโทรศัพท์มือถือ 3G เข้าถึง

จากประโยชน์ที่มีข้างต้นหากอ่านดูแบบผิวเผินแล้ว  ทำให้เราๆท่านๆเชื่อได้อย่างง่ายดายว่าผู้ใช้เทคโนโลยี 3G จะได้รับประโยชน์อย่างมหาศาลจากการเข้าถึงข้อมูลที่ตนต้องการได้ในทุกครั้งที่ต้องการ

ซ้ำความเชื่อดังกล่าวยังได้รับแรงสนับสนุนจากผลการสำรวจในหลายๆประเทศที่บ่งชี้ว่า  การลงทุนทางด้านโทรคมนาคมซึ่งรวมถึงการลงทุนในเทคโนโลยี  3G เป็นกลไกสำคัญหนึ่งที่ผลักดันเศรษฐกิจให้เติบโตอย่างมหาศาล

ข้าพเจ้าก็เป็นหนึ่งในกลุ่มคนที่เชื่อในประโยชน์ที่การลงทุนทางด้านโทรคมนาคมมีต่อการเติบโตทางด้านเศรษฐกิจ หากแต่ข้าพเจ้าเลือกที่จะไม่เชื่อในแนวคิดดัวกล่าวอย่างผิวเผิน โดยพยายามคิดต่อว่าผลลัพธ์แห่งการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ได้รับโดยเฉพาะอย่างยิ่งจากการลงทุนในเทคโนโลยี 3G นั้น สุดท้ายผลประโยชน์ไปตกอยู่กับใคร

ในการนำเทคโนโลยี 3G มาใช้ ไม่ว่าผู้ประกอบการรายใดจะประมูลได้ แน่นอนว่าต้องใช้งบลงทุนมหาศาล และเพื่อให้ได้มาซึ่งผลตอบแทนการลงทุนอย่างรวดเร็วที่สุด ผู้ประกอบการทุกรายจะมุ่งเน้นไปที่การทุ่มทำการตลาดและประชาสัมพันธ์ เพื่อสร้างกระแสความต้องการใช้งานเทคโนโลยี 3G ให้เกิดขึ้น ซึ่งจักทำให้ video streaming กลายเป็นบริการหลักของโครงข่ายเทคโนโลยี 3G หากไม่นับบริการการโทรศัพท์ โดยผู้ที่ต้องการใช้งานเทคโนโลยี 3G จักต้องมีเครื่องโทรศัพท์มือถือที่ทำงานในช่วงความถี่ซึ่งรองรับเทคโนโลยี 3G

จากสถานการณ์ทั้งหมดที่มีแนวโน้มเกิดขึ้นข้างต้น ไม่ต้องสงสัยว่าเศรษฐกิจต้องมีการเติบโตขึ้นอย่างแน่นอน เนื่องจากการลงทุนมหาศาลในเทคโนโลยี 3G การทำการตลาดและโฆษณา การผลิตเนื้อหาเพื่อธุรกิจ video streaming และการผลิตและการบริโภคอุปกรณ์โทรศัพท์อันเกี่ยวเนื่องกับเทคโนโลยี 3G

แต่สิ่งที่ข้าพเจ้ามองเห็น คือการเติบโตทางเศรษฐกิจแบบไม่ยั่งยืน เนื่องจากข้าพเจ้าเชื่อว่าประชาชนจะใช้จ่ายเงินเพื่อแลกกับการใช้งานเทคโนโลยี 3G เพื่อประโยชน์ทางด้านความบันเทิงเป็นส่วนใหญ่เท่านั้น และความต้องการใช้งานนี้ส่วนใหญ่เกิดจากผลของการทุ่มทำการตลาดและโฆษณาของผู้ให้บริการโทรศัพท์และผู้ประกอบการต่างๆที่เกี่ยวข้อง ซึ่งในที่สุดเม็ดเงินที่เกิดจากการเติบโตทางเศรษฐกิจข้างต้น จักตกไปสู่นักลงทุนเพียงไม่กี่กลุ่มซึ่งได้แก่ กลุ่มธุรกิจผู้ให้บริการโทรศัพท์ กลุ่มธุรกิจผู้ผลิตอุปกรณ์โทรศัพท์ กลุ่มธุรกิจโฆษณา และกลุ่มธุรกิจด้านความบันเทิงซึ่งเป็นผู้ผลิตเนื้อหา video streaming

ในทัศนะของข้าพเจ้าแล้ว ประโยชน์ที่ประชาชนได้รับเพิ่มจากเทคโนโลยี 3G เมื่อเปรียบเทียบกับเทคโนโลยี 2.5 G ที่เรามีใช้กันในปัจจุบัน หากไม่นับรวมด้านความบันเทิงแล้ว มีเพียงน้อยนิดเท่านั้น แต่เทคโนโลยี 3G น่าจะสร้างประโยชน์ให้กับผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือมากกว่า ในวันที่กำไรจากบริการเดิมๆบนเทคโนโลยี 2.5 G เริ่มน้อยลงทุกทีๆ

สาเหตุที่ข้าพเจ้าเชื่อเช่นนั้น เนื่องจากธรรมชาติการใช้งานโทรศัพท์มือถือเพื่อเข้าถึงข้อมูลทุกที่ ทุกเวลา และในทุกรูปแบบข้อมูลนั้น จักถูกจำกัดด้วยสภาวะในการใช้งานของผู้ใช้ที่กำลังเคลื่อนที่ และด้วยลักษณะของอุปกรณ์มือถือที่มีขนาดเล็ก ซึ่งด้วยเงื่อนไขข้างต้นทำให้การใช้งานโทรศัพท์มือถือเพื่อเข้าถึงข้อมูล โดยปกติมีระยะเวลาไม่นาน และมักใช้กับกิจกรรมที่ไม่ต้องการการจัดการกับข้อมูลมากนัก

ซึ่งตรงนี้เองทำให้การใช้งานโทรศัพท์มือถือเพื่อเข้าถึงข้อมูลทุกค่อนข้างเหมาะกับการอ่านข่าวและเอกสารสั้นๆ การอ่านและตอบอีเมล์ การโต้ตอบทางข้อความ การดูวีดิโอและทีวี โดยเมื่อพิจารณาให้ดีจะพบว่าเทคโนโลยี 2.5 G ที่มีอยู่ในปัจจุบันก็ให้การตอบสนองกับกิจกรรมข้างต้นได้ค่อนข้างดีอยู่แล้ว ยกเว้นการดูวีดิโอและทีวี ที่ต้องการความเร็วในการรับส่งข้อมูลของเทคโนโลยี 3G

กระนั้นก็ดี หลายคนอาจอ้างถึงประโยชน์จากการลงทุนในเทคโนโลยี 3G ในแง่ที่ว่าจักทำให้การขยายตัวของอินเตอร์เนตความเร็วสูงเป็นไปอย่างรวดเร็ว โดยสามารถนำไปใช้ทดแทนการเชื่อมต่ออินเตอร์เนตความเร็วสูงในบริเวณที่การเชื่อมต่อทางสายไม่สามารถขยายได้ทันตามความต้องการ ซึ่งตรงจุดนี้ข้าพเจ้ามีทัศนะว่าในเบื้องต้นเทคโนโลยี 3G อาจเข้ามาช่วยหรือทดแทนการเชื่อมต่ออินเตอร์เนตความเร็วสูงทางสายได้ แต่ต้องไม่ลืมว่าระดับความเร็วในการรับส่งข้อมูลของเทคโนโลยี 3G ไม่อาจรรองรับรูปแบบกิจกรรมต่างๆซึ่งต้องการการเชื่อมต่อทางสายมากกว่า และต้องไม่ลืมว่าในพื้นที่ห่างไกลซึ่งการเชื่อมต่ออินเตอร์เนตความเร็วสูงทางสายขยายไปไม่ถึง ผู้ให้บริการโทรศัพท์ด้วยเทคโนโลยี 3G จะมีแรงจูงใจเพียงพอให้ไปลงทุนในพื้นที่เช่นนั้นหรือ

นอกจากนี้จากประสบการณ์ตรงที่ข้าพเจ้าได้ไปใช้ชีวิตอยู่ที่ประเทศอังกฤษ  ซึ่งเป็นประเทศที่เปิดให้มีการลงทุนในเทคโนโลยี  3G มาระยะหนึ่ง ข้าพเจ้ายังไม่เห็นประโยชน์ของเทคโนโลยี 3G ที่มีกับประชาชน และไม่เห็นความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับระบบเศรษฐกิจอย่างชัดเจน ภายหลังจากการเปิดให้บริการโทรศัพท์มือถือด้วยเทคโนโลยี 3G

ดังนั้นเมื่อลองพิจารณาถึงเหตุผลต่างๆอย่างรอบด้านแล้ว  ข้าพเจ้ามีความเห็นส่วนตัวว่าเทคโนโลยี  3G อาจจะสร้างความเติบโตทางเศรษฐกิจให้กับประเทศต่างๆได้จริง แต่ไม่ใช่ในระยะเวลาอันใกล้ อีกทั้งผู้ที่เกี่ยวข้องกับการตัดสินใจเดินหน้าลงทุนทางด้านเทคโนโลยี 3G คงต้องคิดอย่างถี่ถ้วนอีกครั้งหนึ่งว่า ในที่สุดแล้วผู้ที่ได้รับประโยชน์จากการลงทุนในครั้งนี้ คือประชาชนและประเทศชาติจริงหรือ และจะทำให้ประชาชนและประเทศชาติได้ประโยชน์จากเทคโนโลยี 3G ได้อย่างรวดเร็วและเต็มที่ได้อย่างไร

 

ติดตามบทความทั้งหมดได้ที่ www.thesensemaker.org หรือติดต่อข้าพเจ้าได้ที่ sensemaking.writer at gmail dot com

 

ไม่ได้อย่างใจ...เชื่อได้มั้ยอ่ะ

น้ำมาถึงไหนแล้วหว่า...บ้านฉันน้ำจะท่วมมั้ยเนี่ย...จะหาข้อมูลที่จำเป็นได้จากที่ไหนบ้างหว่า...เวลาเดือดร้อนจะต้องแจ้งใคร...ทำไมโทรไป 1111 กด 5 แล้วถามอะไรไปก็ตอบไม่ได้...

........ใครก็ได้ช่วยบอกทีเหอะว่าฉันกับครอบครัวต้องทำยังไงบ้าง.......ข้อมูลประกอบการตัดสินใจอะไรๆก็ไม่มี ที่มีก็ไม่รู้จะเชื่อได้มากขนาดไหน เชื่อได้รึเปล่า.........

การสร้างความร่ำรวยทางข้อมูล

ขอสวัสดีปีใหม่แด่ท่านผู้อ่านทุกท่าน ขออาราธนาคุณพระศรีรัตนตรัยจงอวยพรให้ทุกท่าน สุขกาย สบายใจมีเงินทองใช้ไม่ขาดมือ และมีสติในการดำเนินชีวิตอยู่เสมอ

แรงผลักดัน 3G ไทย ที่ (ไม่ได้) มาจากผู้บริโภค

 

จากที่สัญญาว่าในบทความนี้ ข้าพเจ้าจะมาต่อยอดบทความจากครั้งที่แล้วในหัวข้อ “ความร่ำรวยข้อมูล” ด้วยการวิเคราะห์ความจำเป็น ที่เราจักต้องพัฒนาทั้ง 3 ส่วนประกอบสำคัญ อันได้แก่ ความอุดมทางด้านข้อมูล ความยากง่ายในการเข้าถึงข้อมูล และมุมมองที่มีในการวางแผนโครงสร้างข้อมูลบนเว็บ ไปพร้อมๆกัน เพื่อทำให้ทุกท่านเข้าใจประเด็นดังกล่าวนี้เป็นรูปธรรมมากขึ้น

ความร่ำรวยข้อมูล

เป็นอีกครั้งที่ข้าพเจ้าไม่สามารถส่งบทความเข้ามาได้ตามกำหนด โดยคราวนี้ทิ้งระยะไปนานมาก จนทำให้ข้าพเจ้ารู้สึกผิดต่อผู้อ่านและผู้บริหาร blogazine เป็นอย่างยิ่ง ข้าพเจ้าต้องขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วย

การใช้ชีวิตผ่านเทคโนโลยี และ ชีวิตที่สูญเสียการควบคุม

ต่อเนื่องจากบทความที่แล้วในหัวข้อ ความเป็นส่วนตัวของคุณราคาเท่าไหร่ ข้าพเจ้าอยากชวนท่านผู้อ่านคิดต่อไปอีกนิดว่า ท่านจะรู้ได้อย่างไรว่า ข้อมูลส่วนตัวต่างๆ ที่ท่านเปิดเผยไว้บนพื้นที่ออนไลน์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเครือข่ายสังคมออนไลน์ (social network sites) ต่างๆ เช่น Facebook และ MySpace จะไม่ทำให้ท่านสูญเสียอะไร หรือเสียใจในอนาคต