Skip to main content

น้ำมาถึงไหนแล้วหว่า...บ้านฉันน้ำจะท่วมมั้ยเนี่ย...จะหาข้อมูลที่จำเป็นได้จากที่ไหนบ้างหว่า...เวลาเดือดร้อนจะต้องแจ้งใคร...ทำไมโทรไป 1111 กด 5 แล้วถามอะไรไปก็ตอบไม่ได้...

........ใครก็ได้ช่วยบอกทีเหอะว่าฉันกับครอบครัวต้องทำยังไงบ้าง.......ข้อมูลประกอบการตัดสินใจอะไรๆก็ไม่มี ที่มีก็ไม่รู้จะเชื่อได้มากขนาดไหน เชื่อได้รึเปล่า.........

เชื่อว่าประโยคต่างๆ ข้างต้นคงคุ้นหูใครหลายคนอยู่ในเวลานี้ และเชื่อว่าใครอีกหลายคนคงสบถประโยคเหล่านี้กับตัวเอง ทั้งแบบอยู่ในใจ หรือ แบบเสียงดังฟังชัด

วิกฤตอุทกภัยครั้งนี้ถือว่าหนักหนาสาหัสมากที่สุดในประวัติศาสตร์ชาติไทย ซึ่งนอกจากจะทำให้เกิดผลกระทบรุนแรงในวงกว้างต่อชีวิตคนไทยทุกคน นอกจากนั้น...อุทกภัยในครั้งนี้ยังสอนให้เราๆท่านๆ ประจักษ์ถึงอีกหนึ่งวิกฤตที่เกิดขึ้นและเป็นประวัติศาสตร์ชาติไทยเหมือนกัน นั่นคือ “การบริหารจัดการสารสนเทศในช่วงภัยพิบัติอย่างเบาปัญญา”

ตลอดช่วงวิกฤตครั้งนี้...ในขณะที่ประชาชนทุกคนต้องการข้อมูลที่รอบด้านและเชื่อถือได้อย่างมาก เพื่อใช้ประกอบการตัดสินใจวางแผนดูแลชีวิตและทรัพย์สินของสมาชิกในครอบครัว คนที่รัก และของตนเอง

แต่สิ่งที่เกิดขึ้นกลับกลายเป็นว่า...ประชาชนในวงกว้างกลับจำเป็นต้องตั้งคำถามถึงความชักช้าและไม่น่าเชื่อถือของข้อมูลต่างๆ ที่ได้รับจากภาครัฐ จนทำให้ประชาชนส่วนใหญ่มีความสงสัยเคลือบแคลงความสามารถในการแก้ปัญหาของรัฐบาล และนำมาซึ่งความรู้สึกที่ไม่อาจไว้วางใจในแนวทางซึ่งทางรัฐบาลเลือกใช้ในการบริการจัดการวิกฤตในครั้งนี้

และยิ่งถ้าใครได้รู้ว่า ขณะนี้ประเทศไทยมีระบบสารสนเทศภาครัฐที่มีการออกแบบ พัฒนา และใช้งานแบบบูรณาการ (อย่างที่ภาครัฐกล่าวอ้าง) แล้ว ยิ่งต้องตั้งคำถามอย่างหนักว่า ความล้มเหลวในการบริหารจัดการสารสนเทศในยามวิกฤตเช่นนี้เกิดจาก
1) ความไร้ประสิทธิภาพของระบบสารสนเทศภาครัฐ หรือ 2) เกิดจากการไร้ซึ่งความรู้ ความสามารถ และความเข้าใจในการบริหารสารสนเทศในยามวิกฤต

ทำไมสื่อสารอะไรมาให้กับประชาชนก็ไม่ชัดเจน...ทำไมการวางแผนจัดการและรับมือกับมวลน้ำในระยะต่างๆ จึงดูไร้ซึ่งความเข้าใจในสถานการณ์อย่างแท้จริง และทำไมการดำเนินการประเมินสถานการณ์ต่างๆ ก็ดูผิดไปหมด

เชื่อได้ว่า...ทั้งหมดทั้งสิ้นที่เกิดขึ้นนี้น่าจะสะท้อนให้เห็นถึงความบกพร่องและไร้ประสิทธิภาพของทั้งสองส่วนข้างต้นไปพร้อมกัน

เชื่อได้ว่า...หากระบบสารสนเทศภาครัฐมีการบูรณาการอย่างแท้จริง การเข้าถึงข้อมูลต่างๆ ที่จำเป็นต่อการวางแผนจัดการต่างๆ ของรัฐบาลอย่างรวดเร็ว ครบถ้วน และรอบด้าน ย่อมต้องส่งเสริมให้รัฐบาลสามารถตัดสินใจดำเนินการและไม่ดำเนินการใดๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากกว่านี้แน่นอน
และเชื่อได้ว่า...หากรัฐบาลมีความเข้าอกเข้าใจเป็นอย่างดี เกี่ยวกับการบริหารจัดการข้อมูลข่าวสารในช่วงวิกฤต โดยเฉพาะอย่างยิ่ง...ในยุคที่สื่อต่างๆ มีอยู่อย่างหลากหลาย อีกทั้งภาครัฐไม่สามารถควบคุมสื่อต่างๆ ได้อย่างเบ็ดเสร็จ รัฐบาลควรใส่ใจกับการบริหารจัดการสื่อต่างๆ เพื่อให้สามารถสื่อสารกับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องได้อย่างมีประสิทธิภาพ....นั่นคือ การสื่อสารด้วยข้อมูลที่ รวดเร็ว ถูกต้อง ครบถ้วน และ ตรงตามความต้องการของผู้รับสื่อแต่ละกลุ่ม

ที่ผ่านมาเชื่อว่า ประชาชนไม่เคยได้รับการสื่อสารที่ชัดเจนจากภาครัฐว่า พื้นที่ใดบ้างจะได้รับผลกระทบ พื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจะได้รับผลกระทบอย่างไรและนานขนาดไหน จะเข้าถึงข้อมูลสำคัญเฉพาะแต่ละพื้นที่ เช่น หน่วยงานกู้ภัยในพื้นที่ สถานที่อพยพฉุกเฉิน หรือแม้แต่ข้อมูลน้ำท่วมในพื้นที่ของตนได้อย่างไร

ทั้งยังไม่อาจรับรู้ได้ถึงการให้ข้อมูลที่จำเป็นสำหรับกลุ่มต่างๆ ในช่วงวิกฤต ซึ่งอาจแบ่งได้เป็น กลุ่มผู้ยังไม่ประสบภัย กลุ่มที่กำลังประสบภัย และกลุ่มผู้ประสบภัยแล้ว ว่าแต่ละกลุ่มต้องการข้อมูลอะไรและเมื่อใด

ซ้ำยังไม่มีการจัดให้มีสถานีวิทยุเฉพาะกิจเพื่อสื่อสารข้อมูลสำคัญต่างๆเกี่ยวกับภัยพิบัติในครั้งนี้ ให้กับประชาชนในวงกว้าง ทั้งที่สื่อวิทยุเป็นเพียงสื่อเดียวเท่านั้นในขณะนี้ ที่ประชนชนในทุกพื้นที่ของประเทศสามารถเข้าถึงได้

จนทำให้สิ่งที่เกิดขึ้นในขณะนี้คือ...ผู้คนในวงกว้างที่รู้จักและเข้าถึงสื่อใหม่หรือสื่อสังคม
(New/Social Media) รวมถึงสื่อทางเลือกจากภาคเอกชน...หันไปพึ่งสื่อต่างๆเหล่านี้ แทนที่จะใส่ใจและให้ความสำคัญกับสื่อจากภาครัฐ

หากภาครัฐตระหนักถึงสิ่งที่เกิดขึ้นเหล่านี้ (ซึ่งข้าพเจ้าขอให้เกิดขึ้นเถิด)...นี่จะเป็นบทเรียนครั้งสำคัญ...และนำไปสู่การตั้งคำถามสำคัญที่ว่า

“ทำไมกลไกในการสื่อสารกับประชาชนและภาคส่วนต่างๆ
ในระหว่างภัยพิบัติของภาครัฐจึงล้มเหลว”

และ

“ทำไมรัฐบาลจึงบริหารจัดการวิกฤตในครั้งนี้อย่างไร้ประสิทธิภาพ”
เชื่อว่า...ภัยพิบัติในครั้งนี้ คงทำให้ทั้งภาครัฐและประชาชน ได้ตระหนักและเรียนรู้อย่างมากมาย เกี่ยวกับความสำคัญของการบริการจัดการระบบสารสนเทศอย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงวิกฤต ว่ามีส่วนสำคัญอย่างไรในการบริหารจัดการบ้านเมือง...ขอให้อย่าเหมือนในอดีตอีกเลย ที่เราไม่เคยเรียนรู้จากความผิดพลาด และไม่เคยนำข้อบกพร่องต่างๆมาวิเคราะห์ เพื่อปรับปรุงพัฒนากลไกต่างๆของประเทศ ให้มีประสิทธิภาพดีขึ้น
ภายหลังจากวิกฤตในครั้งนี้ ข้าพเจ้าจะขอเป็นหนึ่งแรง ที่ผลักดันให้เกิดการพัฒนากรอบการบริหารจัดการสารสนเทศในระหว่างภัยพิบัติ และการพัฒนาให้ระบบสารสนเทศภาครัฐมีการทำงานแบบบูรณาการอย่างมีประสิทธิภาพมากกว่านี้ เพื่อช่วยให้ประเทศไทยของเราไม่ต้องเป็นเหยื่อความโง่เขลาในการบริหารต่อไปในอนาคต
แต่หากในอนาคตประเทศเราต้องเผชิญหน้ากับภัยพิบัติใดๆแบบหลีกเลี่ยงไม่ได้...และถึงแม้เราจะมีระบบสารสนเทศต่างๆที่มีประสิทธิภาพแล้ว...ทุกคนคงต้องภาวนาให้ประเทศไทยอย่ามีรัฐบาลที่ไร้ความเข้าใจในการบริหารจัดการระบบสารสนเทศและเบาปัญญาในการแก้ไขวิกฤต...อีกเลย
...เป็นกำลังใจให้กับคนไทยทุกคน ฝ่าฟันวิกฤตครั้งนี้ไปด้วยกัน...


 

บล็อกของ SenseMaker

SenseMaker
น้ำมาถึงไหนแล้วหว่า...บ้านฉันน้ำจะท่วมมั้ยเนี่ย...จะหาข้อมูลที่จำเป็นได้จากที่ไหนบ้างหว่า...เวลาเดือดร้อนจะต้องแจ้งใคร...ทำไมโทรไป 1111 กด 5 แล้วถามอะไรไปก็ตอบไม่ได้... ........ใครก็ได้ช่วยบอกทีเหอะว่าฉันกับครอบครัวต้องทำยังไงบ้าง.......ข้อมูลประกอบการตัดสินใจอะไรๆก็ไม่มี ที่มีก็ไม่รู้จะเชื่อได้มากขนาดไหน เชื่อได้รึเปล่า.........
SenseMaker
ขอสวัสดีปีใหม่แด่ท่านผู้อ่านทุกท่าน ขออาราธนาคุณพระศรีรัตนตรัยจงอวยพรให้ทุกท่าน สุขกาย สบายใจมีเงินทองใช้ไม่ขาดมือ และมีสติในการดำเนินชีวิตอยู่เสมอ
SenseMaker
  จากที่สัญญาว่าในบทความนี้ ข้าพเจ้าจะมาต่อยอดบทความจากครั้งที่แล้วในหัวข้อ “ความร่ำรวยข้อมูล” ด้วยการวิเคราะห์ความจำเป็น ที่เราจักต้องพัฒนาทั้ง 3 ส่วนประกอบสำคัญ อันได้แก่ ความอุดมทางด้านข้อมูล ความยากง่ายในการเข้าถึงข้อมูล และมุมมองที่มีในการวางแผนโครงสร้างข้อมูลบนเว็บ ไปพร้อมๆกัน เพื่อทำให้ทุกท่านเข้าใจประเด็นดังกล่าวนี้เป็นรูปธรรมมากขึ้น
SenseMaker
เป็นอีกครั้งที่ข้าพเจ้าไม่สามารถส่งบทความเข้ามาได้ตามกำหนด โดยคราวนี้ทิ้งระยะไปนานมาก จนทำให้ข้าพเจ้ารู้สึกผิดต่อผู้อ่านและผู้บริหาร blogazine เป็นอย่างยิ่ง ข้าพเจ้าต้องขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วย
SenseMaker
ต่อเนื่องจากบทความที่แล้วในหัวข้อ ความเป็นส่วนตัวของคุณราคาเท่าไหร่ ข้าพเจ้าอยากชวนท่านผู้อ่านคิดต่อไปอีกนิดว่า ท่านจะรู้ได้อย่างไรว่า ข้อมูลส่วนตัวต่างๆ ที่ท่านเปิดเผยไว้บนพื้นที่ออนไลน์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเครือข่ายสังคมออนไลน์ (social network sites) ต่างๆ เช่น Facebook และ MySpace จะไม่ทำให้ท่านสูญเสียอะไร หรือเสียใจในอนาคต
SenseMaker
จากบทความที่แล้วในหัวข้อ การจัดระเบียบโลกใหม่ การเมืองไทย และICT ข้าพเจ้าได้ชี้ให้เห็นว่า เพราะความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ICT ในปัจจุบัน ทำให้ความสามารถของมนุษย์ ในการจัดการและจัดเก็บข้อมูล ซึ่งหากอาศัยเพียงประสาทสัมผัสของมนุษย์ จะไม่สามารถเข้าถึงและจัดการได้ และความด้วยความก้าวหน้านี้ ทำให้มนุษย์สามารถเห็นและรับรู้ ในข้อมูลที่เคยยากที่จะเห็นและรับรู้ อีกทั้งยังทำให้เข้าใจในสิ่งที่เคยยากต่อการวิเคราะห์
SenseMaker
ความก้าวหน้าทาง ICT ในปัจจุบัน ช่วยให้เราๆท่านๆ สามารถเข้าถึงข้อมูลต่างๆ ซึ่งยากที่จะเข้าถึงในอดีต ได้ง่ายขึ้น เช่น ข้อมูลของบุคคลหรือข้อมูลขององค์กรที่เราสนใจ ข้อมูลทางเศรษฐกิจและสังคม ของประเทศใดประเทศหนึ่ง รวมถึงองค์ความรู้ในด้านต่างๆ เป็นต้น
SenseMaker
หลังจากบทความที่เรียกได้ว่า บทบรรณาธิการแรก ได้ชี้แจงเป้าหมายการดำรงอยู่ ของพื้นที่ทางความคิดแห่งนี้ บัดนี้เวลาล่วงเลยมาครึ่งปี โอกาสแห่งการพูดคุย กับท่านผู้อ่านอีกครั้ง ก็มาถึงทุกๆ12 บทความ ที่ได้ทำหน้าที่ของมันผ่านพ้นไป ถือเป็นช่วงเวลาที่ดี ที่ผู้เขียนกับผู้อ่านจะได้แลกเปลี่ยนความคิดกัน เพื่อทำให้พื้นที่แห่งนี้ เป็นประโยชน์กับทุกๆคน อย่างแท้จริงในทัศนะของข้าพเจ้าแล้ว ICT เข้ามามีบทบาท ต่อชีวิตของเราทุกคน ในทุกวันนี้มากขึ้นทุกที แต่ละคนได้รับประโยชน์ ผลกระทบ และผลลัพธ์ ที่แตกต่างกันไป จากการเปลี่ยนแปลงรอบตัว ซึ่งมี ICT เป็นปัจจัยต้นเหตุ
SenseMaker
Peer Review อาจไม่ใช่คำในภาษาอังกฤษ ที่คนส่วนใหญ่ในสังคมคุ้นเคย แต่เป็นคำคุ้นเคยเป็นอย่างดีในสังคมนักวิชาการ อาจารย์ หรือ นักวิจัย เนื่องจากสังคมดังกล่าว มีวัฒนธรรมและกิจกรรมหลัก ในการสร้างองค์ความรู้ใหม่ ด้วยการต่อยอดองค์ความรู้ที่มีอยู่เดิม ผ่านการพัฒนาผลงานวิจัยใหม่ ซึ่งการยอมรับจากสมาชิกในสังคมเดียวกัน มีความสำคัญกับผลงานวิจัยแต่ละชิ้นมาก เนื่องจากไม่ว่าผลงานดังกล่าว จะมีคุณภาพในสายตาผู้พัฒนาเพียงใด แต่หากไม่ได้รับการตอบรับจากสมาชิกในสังคม ผลงานนั้นก็ถือได้ว่า ไม่ได้สร้างคุณค่าให้กับสังคมมากนัก
SenseMaker
ในอดีต การเกิดขึ้นของสังคม มักจะถูกจำกัดด้วยเส้นขอบเขตของเวลาและสถานที่ การเป็นส่วนหนึ่งในสังคม เกิดจากการมีส่วนร่วมอยู่ในเวลาและสถานที่เดียวกัน เช่น การอยู่ในหมู่บ้านเดียวกัน การไปโรงเรียนหรือสถานศึกษาเดียวกัน การทำงานในบริษัทหรือสถานที่ทำงานเดียวกัน หรือ การอยู่ในกลุ่มทำกิจกรรมเดียวกัน เป็นต้นแต่ด้วยความก้าวหน้าของ ICT และการขยายตัวของอินเตอร์เนต ทำให้ในปัจจุบัน การมีและเป็นส่วนหนึ่งของสังคม ของเราแต่ละคน ไม่ถูกจำกัดโดยสองข้อจำกัดข้างต้น อีกต่อไป และทำให้ในปัจจุบันนั้น เราแต่ละคน มีและเป็นส่วนหนึ่งของสังคม ที่ถูกสร้างขึ้นบนอินเตอร์เนต เพิ่มมากขึ้นๆทุกที
SenseMaker
  หลังจากหลายบทความในคอลัมน์แห่งนี้ ข้าพเจ้าได้ใช้พูดถึงการเปลี่ยนแปลงทางสังคม ที่นับวันดูเหมือนว่า "เป็นการยากสำหรับประชาชน ที่จะทำความเข้าใจถึงความเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ เพื่อการดำรงชีวิตอย่างเท่าทัน" บทความวันนี้ จึงถูกเขียนขึ้นเพื่อแสดงทัศนะเกี่ยวกับกลไกทางสังคม ที่มีความจำเป็นอย่างยิ่งในปัจจุบัน เพื่อทำหน้าที่คุ้มกันและช่วยเหลือประชาชน ซึ่งเป็นผู้ได้รับผลกระทบหรือถูกกระทำ จากความเปลี่ยนแปลงทางสังคมเหล่านี้ โดยไม่อาจป้องกันตนเองได้อย่างเท่าทัน หากขาดไปซึ่งกลไกทางสังคมที่จะขอกล่าวถึงในวันนี้เรามาเริ่มทบทวนกันก่อนว่าความเปลี่ยนแปลงทางสังคม ซึ่งถูกกล่าวถึงในคอลัมน์แห่งนี้…
SenseMaker
สุขสันต์ปีใหม่แด่ทุกท่าน ผู้ซึ่งให้เกียรติแวะเวียนเข้ามาอ่านบทความในคอลัมน์แห่งนี้ ทั้งขาประจำและขาจร ขออาราธนาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายในสากลโลก จงอำนวยอวยพรให้ทุกท่านมีความสุขกาย สบายใจ และสามารถดำรงชีวิตอย่างมีสติ (และมีสตางค์ใช้อย่างพอเพียง) ข้าพเจ้าขอเริ่มต้นปีใหม่ ด้วยอีกหนึ่งงานเขียนที่มุ่งสื่อสารให้ผู้คนในวงกว้าง ตระหนักถึงผลกระทบที่ ICT มีต่อการดำเนินชีวิตในทุกระดับ เพื่อให้ทุกท่านสามารถรับมือกับความเปลี่ยนแปลงดังกล่าวได้อย่างเท่าทัน อีกทั้งสามารถประยุกต์ใช้มันอย่างมีประโยชน์