รำลึกสองปีเมษา-พฤษภาอำมหิต

“ให้นำคนผิดมาลงโทษ พอเถอะคะ ขอให้จบในยุคของพวกเรา ลูกหลานพวกเราจะได้ไม่ [ถูก] รักแก”

เจียม ทองมาก พูดถึงกรณีการปราบปรามผู้ชุมนุมปี ๒๕๕๓

ใครผิดมากกว่าใคร

http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1337408012&grpid=09&catid=&subcatid=

ในบทสัมภาษณ์จากประชาชาติธุรกิจ คุณกอบศักดิ์พูดว่า “มันต้องรับผิดชอบกันหมด พวกเราทำบ้านเมืองเราเจ๊งเองทุกฝ่าย” ตอนแรกฟังดูดีนะครับ แต่ความหมายอีกด้านหนึ่งของมันก็คือว่าทุกคนผิดเท่าๆกันในเหตุการณ์ความรุนแรงที่เกิดขึ้นและโดยเฉพาะเรื่องที่มีคนตายไปเกือบร้อยศพ

อันนี้ไม่ถูกนะครับ...จะมาเหมาเข่งแบบนี้ไม่ได้ครับ

จริงอยู่ทางฝ่าย นปช.ก็ผิด โดยเฉพาะพวกที่ยืนยันว่าจะชุมนุมต่อไปทั้งๆที่ควรจะยอมหยุดเพื่อรักษาเลือดเนื้อชีวิตของผู้ชุมนุม แต่ว่าความผิดนี้ย่อมน้อยกว่าการที่รัฐบาลสั่งให้มีการใช้อาวุธสงครามในการสลายการชุมนุมแทนที่จะเลือกยอมยุบสภา เพราะว่าการที่ นปช. เลือกที่จะชุมนุมต่อมันไม่ได้ทำให้ใครตายโดยตัวของมันเองนะครับ ในทางตรงกันข้ามการที่รัฐบาลสั่งสลายการชุมนุมด้วยรถถังและกระสุนจริงนั้นทำให้คนตายแน่นอน แปลว่าการตัดสินใจของนปช.นั้นเป็นปัจจัยเสริมในขณะที่คำสั่งของรัฐบาลนั้นเป็นปัจจัยหลัก ดังนั้นเราจึงสามารถพูดได้ว่าคำสั่งของรัฐบาลนั้นเป็นเหตุผลที่สำคัญที่สุดในความสูญเสียที่เกิดขึ้น

สมมุติว่ามีโครงการทำลายตึกด้วยการระเบิดนะครับ มีคนไปประท้วงด้วยการไม่ยอมออกมาจากอาคารแล้วฝ่ายจะระเบิดก็กดปุ่มไป ผลคือผู้ประท้วงนั้นเสียชีวิตไป อย่างนี้จะมาโทษว่าผู้ประท้วงเป็นเหตุแห่งความตายของตนเท่ากับคนกดระเบิดไม่ได้หรอกครับ เพราะตราบใดที่คุณไม่กด คนนั้นก็ไม่ตาย ฉันใดก็ฉันนั้น

เรื่องการแยกแยะเหตุผลทางประวัติศาสตร์อันนี้สำคัญมากนะครับ...ต้องพูดกันให้ชัดเพราะไม่เช่นนั้นรัฐบาลต่อๆไปจะมีหน้าไปพูดว่า การที่ผู้ชุมนุมไม่ยอมสลายตัวนั้นถือเป็นการออกใบอนุญาตฆ่าให้กับฝ่ายรัฐโดยอัตโนมัติ ...ไม่ได้ครับ

ต้องเรียนรู้และจดจำไม่ใช่ลืม

ผมคิดว่าคนหลายคนที่สนับสนุนคนเสื้อแดงคงไม่ค่อยชอบคำพูดของคุณทักษิณที่โฟนอินเข้ามาในทำนองทีว่าอยากจะให้ชาวบ้านลืมเรื่องที่ผ่านมา ให้ปรองดองหยุดเรียกร้อง และเสื้อแดงส่งคุณทักษิณถึงที่แล้ว หมดหน้าที่แล้ว

ผมคิดว่านี้เป็นคำพูดที่ผิดที่ผิดทางมาก...จะให้คนลืมได้อย่างไรในเมื่อความยุติธรรมก็ยังไม่ได้รับ กว่าหกสิบสองคนก็ยังอยู่ในคุก จะให้แม่น้องเกด พ่อน้องเฌอ ลืมเหตุการณ์อย่างนี้ไปได้อย่างไร ลืมไม่ได้หรอกครับจนกว่าความจริงจะปรากฏและคนผิดถูกลงโทษ เราอย่าไปสนับสนุนโรคขี้ลืมครับ เพราะเหตุการณ์ร้ายๆจะเกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำอีก และวันหนึ่งข้างหน้าเราหรือคนที่เรารักก็อาจจะเป็นผู้ต้องรับเคราะห์ก็ได้ ความสูญเสียที่ใหญ่หลวงที่เกิดขึ้นนั้นเราอย่าให้มันหายไปกับสายลมครับ ควรจะช่วยกันหาทางป้องกันไม่ให้มันเกิดขึ้นมาอีกด้วยมาตรการ อย่างน้อยสองอย่างคือหนึ่งลงโทษคนผิดเพื่อให้เป็นเยี่ยงอย่าง และสองรณรงค์ให้มีการจัดทำกฏหมายเพื่อการป้องกันการใช้อาวุธสงครามกับผู้ชุมนุมในอนาคต ทหารจะต้องถูกอบรม ให้ท่องทุกเช้าค่ำว่าเค้ามีหน้าที่ต้องฝ่าฝืนคำสั่งหากคำสั่งนั้นจะนำไปสู่การเข่นฆ่าประชาชน การให้อภัยกันนั้นทุกคนสนับสนุนอยู่แล้วแต่ว่าต้องให้ความยุติธรรมกับผู้สูญเสียและญาติด้วย

การเสริมความแข็งเกร่งให้กับขบวนการประชาธิปไตย

http://www.youtube.com/watch?v=h2bL1k6ShMQ

ในรายการ Intelligent เทปนี้ คุณเจียม ทองมาก แม่ค้าขายขนมถ้วยที่ได้เข้าร่วมชุมนุมและถูกจับกุมคุมขังด้วยข้อหาหนักหลายคดีอยู่เป็นเวลาถึงปีครึ่งโดยสุดท้ายแล้วศาลยกฟ้องหมดเว้นแต่คดีฝ่าฝืน พรก. (ก็คือติดคุกฟรีไปหนึ่งปี) แกพูดด้วยเสียงสั่นเครือว่ามาสู้เพื่อประชาธิไตยเพราะไม่ต้องการให้อำนาจของประชาชนถูกทหารทำลายและไม่ต้องการให้ลูกหลานในอนาคตต้องมาเจอการรัฐประหารอีก ผมคิดว่านี้เป็นความคิดที่น่ายกย่องมากนะครับ แสดงให้เห็นชัดเจนว่าสปิริตของการอภิวัฒน์ ๒๔๗๕ นั้นมันได้ค่อยๆเคลื่อนคล้อยมากจากพวกอีลีตในสมัยก่อน (มิถุนา ๒๔๗๕) จนมาถึงชนชั้นกลาง ( ตุลา ๑๖/๑๙ และ พฤษภา ๓๕) และในที่สุดก็คือคนรากหญ้า (เมษา-พฤษภา ๕๓) ผมคิดว่าคณะผู้อภิวัฒน์เช่น อ.ปรีดีคงจะดีใจมากถ้าหากท่านได้อยู่ฟังคำพูดเช่นนี้ อย่างไรก็ตามความรู้สึกนึกคิดนั้นอาจจะค่อยๆจืดจางลงได้หากไม่ได้มีโครงสร้างอะไรมารองรับไว้ ทางพรรคเพื่อไทยนั้นก็แสดงให้เห็นว่าสะท้อนความต้องการของประชาชนไม่เต็มที่เพราะเป้าหมายสูงสุดนั้นจริงๆก็อาจจะต่างกัน (ช่วยทักษิณ vs ประชาธิปไทย) ดังนั้นผมจึงเห็นว่าคนเสื้อแดงเช่นคุณเจียมและแกนนำคนอื่นๆ ที่อยากเห็นประชาธิปไตยแท้จริงควรจะพยายามสร้างโครงสร้างสถาบันเพื่อให้ความรู้สึกเช่นนี้มันมั่นคง แทนที่จะปล่อยให้มันค่อยๆลอยหายไปกับสายลม คำว่าสถาบันนี้ผมไม่ได้หมายถึงตัวองค์กรที่จับต้องได้นะครับแต่หมายถึงกฏเกณฑ์ที่เป็นที่ยอมรับกันและปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอเช่นการเรียกร้องให้รัฐบาลออก พรบนิรโทษกรรมนักโทษทางการเมืองทางความคิดทั้งหมด การประชุมกันเพื่อแสดงความคิดเห็นทางการเมืองอย่างสม่ำเสมอ การออกปากเสียงเรื่องตัวแทนพรรคที่จะลงเลือกตั้ง การชุมนุมเพื่อรำลึกถึงผู้บาดเจ็บเสียชีวิตในเหตุการณ์ในอดีตทุกๆปี การรณรงค์แก้ไขกฏหมายที่ไม่เป็นธรรมเช่น ป.อาญามาตรา๑๑๒ การปฏิรูประบบคุก เป็นต้น การประพฤติปฏิบัติอย่างนี้อย่างสม่ำเสมอต่างหากที่จะเป็นสถาบันที่มั่นคงถาวรที่แม้แต่ตุลาการภิวัฒน์ก็ยุบไม่ได้ และจะเป็นหัวใจสำคัญในทางที่จะช่วยให้ผู้ที่ได้อุตส่าห์เสียชีวิตเลือดเนื้อไปแล้วในการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยได้นอนตายตาหลับ

สุดซอยแสนสุข

๒๐ พฤษภา ๕๕

ความเห็น

Submitted by น้ำลัด on

ผมไม่ได้ดู ไม่ได้สนใจว่าทักษิณพูดอะไรบ้าง
ถ้าเขาพูดอย่างนั้นก็คิดว่า เขาไม่ฉลาดเลยที่ไปพูดอย่างนั้น

ว่ากันว่า "เป็นเรืออย่าทิ้งท่า เป็นเสืออย่าทิ้งป่า"
การที่ทักษิณพูดเช่นนั้น แสดงว่าแกมั่นใจว่าการปรองดองสำเร็จแล้ว
แกจึงพูดเพื่อให้ยุติ โดยที่แกสำคัญผิดคิดว่าทั้งหมดทั้งมวลนั้นต่อสู้เพื่อแก
แต่ทักษิณอาจจะรู้จักอำมาตย์น้อยไปงานนี้...

ทักษิณพลาดท่าซ้ำแล้วซ้ำเล่า
เขาอาจจะประสพความสำเร็จในธุรกิจในวิธีการของเขา
แต่เขาไม่อาจประสพผลสำเร็จในทางการเมืองได้ง่ายๆด้วยวิธีเดียวกัน
ล้มลุกคลุกคลานกับการเมืองรอบแล้วรอบเล่า แต่ก็ไม่ยอมเข็ด

งานนี้ทักษิณมีโอกาสโดนลงหวายอีกรอบหนึ่ง
และอาจเป็นการโดนลงหวายที่จะว้าเหว่บ้างพอสมควร
ท่ามกลางการเยาะเย้ยหยันจากฝ่ายอำมาตย์ที่อยู่ในภาวะได้เปรียบ
ประชาธิปัตย์อาจได้ส้มหล่นอีกรอบก็คราวนี้

ผมเข้าใจว่าคนเสื้อแดงจำนวนไม่น้อยไม่ได้ต่อสู้เพื่อทักษิณ
และก็ไม่ได้เป็นคอมมิวนิสต์ ไม่ได้คิดล้มสถาบันแต่อย่างใด
เพียงต้องการเรียกร้องความเป็นธรรมในวิธีการปฏิบัติในทางการเมืองเท่านั้น
ที่ผ่านมาประชาชนถูกปล้นอำนาจไป แล้วนำไปใช้อย่างผิดๆเพี้ยน แต่บอกว่าอยู่ในหลักการ

เมืองไทยมันใหญ่กว่า "ดุสิตธานี" มากมายนัก
ประชาธิปไตยแท้จริงมันไม่ใช่ของเล่นสำหรับคนชั้นสูงในสังคม
แต่มันควรจะเป็นอำนาจที่มาอยู่ในมือของประชาชนจริงๆ
ไม่ใช่ประชาชนเลือกมาแล้ว แต่กลับถูกอำนาจองค์กรอิสระ
ถูกอำนาจตุลาการจัดการเล่นงานเสียจนไม่รู้ว่าแท้จริงอำนาจบ้านนี้เมืองนี้มันอยู่ที่ใคร?

ว่าด้วยการปิดประตูใส่หน้าผู้แทนพระองค์และประเพณีการกระชากประธานสภาในเมืองผู้ดี

เหตุการณ์ความวุ่นวายทางการเมืองสองสามวันมานี้ทั้งที่อยู่ในและนอกสภาและทั้งที่มาจากศาลรัฐธรรมนูญทำให้ผมนึกถึงประเพณี “แปลกๆ” สองสามอย่างในสภาสหราชอาณาจักร (อังกฤษ ฯลฯ)*จะขอเล่าให้ฟังคราวๆดังนี้ครับ

เรื่องราวของ Jean Calas และข้อเสนอเฉพาะหน้ากรณีนักโทษคดีหมิ่น

เมื่อไม่นานมานี้ผมได้มีโอกาสอ่านเรื่องราวที่มีความคล้ายคลึงกับกรณีอากง จะขอเล่าให้ฟังย่อๆดังนี้ครับ...

รำลึกสองปีเมษา-พฤษภาอำมหิต

“ให้นำคนผิดมาลงโทษ พอเถอะคะ ขอให้จบในยุคของพวกเรา ลูกหลานพวกเราจะได้ไม่ [ถูก] รักแก”

เจียม ทองมาก พูดถึงกรณีการปราบปรามผู้ชุมนุมปี ๒๕๕๓