Skip to main content

คลินิกกฎหมาย ฉบับสมบูรณ์ 41 ตอน พร้อมเชิงอรรถอ้างอิงข้อกฎหมายเป๊ะๆ วางแผงแล้ว
 

หนังสือ “คลินิกกฎหมาย” ที่เขียนขึ้นนี้ ออกแบบมาเพื่อให้ทุกคนที่เคยเจอปัญหาทางกฎหมายแล้วแก้ไม่ได้ตอบไม่ถูก สามารถนำหลักการทางกฎหมายมาปรับใช้แก้ไขวิกฤตชีวิตทั้งหลายที่ท่านอาจพบได้ในชีวิตประจำวัน     

กรณีศึกษาและแนวทางแก้ไขปัญหาที่บอกเล่าในเล่มได้รวบรวมขึ้นจากเรื่องราวในชีวิตจริงที่หลายคนประสบมากับตัวเอง   และผู้เขียนนำมาบอกเล่าโดยคงการเนื้อเรื่องหลักเอาไว้   และได้พยายามจับประเด็นปัญหาไว้เป็นข้อๆ ก่อนที่จะนำหลักกฎหมายมาตอบทุกข้อสงสัย ทั้งยังชี้ช่องทางในการเรียกร้องสิทธิ หรือแก้ปัญหาไว้ด้วย  

หนังสือจึงมิได้จำกัดวงอยู่แต่ในผู้อ่านนักกฎหมาย  !

แต่ด้วยความสมบูรณ์ของเชิงอรรถในหนังสือเล่มนี้ ทำให้มีลักษณะเป็น “คู่มือสำหรับนักกฎหมาย” ในการนำไปใช้งานที่ต้องรับเรื่องราวร้องทุกข์จากประชาชนทั่วไป หรือรับปรึกษาคดีความทั้งหลาย  

เนื่องจากได้ทำการสรุปเรื่องให้เห็นประเด็นทางกฎหมายอย่างชัดเจนว่าข้อขัดแย้งอยู่ในขอบเขตของกฎหมายเรื่องใดบ้าง  เพราะในหลายครั้งนักกฎหมายอาจหลงลืมไปแล้วว่าปัญหามากมายอาจใช้หลักกฎหมายง่ายๆ เข้าไปแก้ไขได้ แต่เรานึกไม่ออกเหมือน “เส้นผมบังภูเขา”   หลักกฎหมายที่นำมาใช้จะมีการอ้างอิงมาตรา บทบัญญัติกฎหมาย ไว้ในเชิงอรรถด้านล่างเพื่อประโยชน์ในการสืบค้นต่อ

แต่ไม่ทำให้คนทั่วไปเกิดความเหนื่อยล้าจากการอ่าน!

กรณีศึกษาที่เลือกมานั้นจะเป็นตัวแทนประเด็นกฎหมายต่างๆให้มีความหลากหลายครอบคลุมปัญหาทางกฎหมายต่างๆที่อาจเกิดขึ้นได้จริง   เพื่อประโยชน์แก่ผู้อ่านซึ่งกำลังแสวงหาทางออกให้กับปัญหาของตน ก็จะพบเรื่องราวที่คล้ายคลึงกับตนหรือมีปัญหาข้อกฎหมายเช่นเดียวกับตน และสามารถเรียนรู้ได้จากกรณีศึกษานั้นๆเป็นบทเรียน โดยอาจใช้ข้อเสนอแนะทางกฎหมายไปปรับใช้แก้ปัญหาจริงของตนได้ทันที

ยิ่งไปกว่านั้นมหาวิทยาลัยและสถานศึกษาจำนวนมากได้เปิดสอนวิชากฎหมายในชีวิตประจำวันเพื่อใช้สอนนักศึกษาจำนวนมาก   ดังนั้นหนังสือฉบับนี้จึงอาจตอบสนองต่อความต้องการดังกล่าวได้

เช่นเดียวกับการเป็นคู่มือให้กับศูนย์ให้คำปรึกษาทางกฎหมายในหน่วยงานต่างๆ และประกอบการเรียนการสอนวิชาคลินิกกฎหมายในหลายๆ มหาวิทยาลัย

ถามหา "คลินิกกฎหมาย" จากสำนักพิมพ์นิติธรรม ที่แผงหนังสือ หรือติดต่อสั่งสำนักพิมพ์ได้แล้วครับ

บล็อกของ ทศพล ทรรศนกุลพันธ์

ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
การพัฒนาสิทธิแรงงานรับจ้างอิสระ (Freelancer) ต้องยึดโยงกับหลักกฎหมายสำคัญเรื่องการประกันสิทธิของแรงงานอันมีสิทธิมนุษยชนเป็นพื้นฐาน (Human Rights-Based Approach – HRBA) ไว้ เพื่อเป็นรากฐานทางกฎหมายในการอ้างสิทธิและเสนอให้ภาครัฐสร้างมาตรการบังคับตามสิทธิอย่างเป็นรูปธรรม ตั้งแต่การประกันรายได้รูปแบบ
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของปัจเจกชนจากการเก็บข้อมูลและประมวลผลโดยบรรษัทเอกชนจำต้องปกป้องคุ้มครองสิทธิของเจ้าของข้อมูลตามมาตรฐานที่กำหนดหน้าที่ของผู้ควบคุมระบบตามกฎหมายด้วย เนื่องจากบุคคลหรือกลุ่มองค์กรเหล่านี้ทำหน้าที่ในการคุ้มครองสิทธิเจ้าของข้อมูลในหลายรูปแบบ อาทิ การให้ความรู้เกี่ยวกับสภาพปั
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
บุคคลแต่ละคนย่อมมีทุนที่แตกต่างกันไปทั้ง ทุนความรู้ ทุนทางเศรษฐกิจ ทำให้การตัดสินใจนั้นตั้งอยู่บนข้อจำกัดของแต่ละคนไม่ว่าจะเป็นการไม่รู้เท่าทันเทคโนโลยี ขาดความรู้ทางการเงิน ไปจนถึงขาดการตระหนักรู้ถึงผลกระทบต่อสุขภาพตนเองและผู้อื่นในระยะยาว ยิ่งไปกว่านั้นรัฐไทยยังมีนโยบายที่มิได้วางอยู่บนพื้นฐานข
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
บทบัญญัติกฎหมายที่ใช้เป็นรากฐานในการอ้างสิทธิในการมีส่วนร่วมของประชาชนเพื่อผลักดันให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนนั้น จะพบว่ารัฐไทยได้วางบรรทัดฐานทางกฎหมายที่รับสิทธิของประชาชนในการรวมกลุ่มกันเพื่อแสดงออกในประเด็นทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยเริ่มต้นจากหลักการพื้นฐานสำคัญที่เชื่อมโยงเรื่องสิทธิม
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
เทคโนโลยีด้านการสื่อสารที่เข้ามามีอิทธิพลแทบจะทุกมิติของชีวิต ส่งผลให้พฤติกรรมด้านการปฏิสัมพันธ์ของประชาชนเปลี่ยนแปลงไปตามความก้าวหน้าของเทคโนโลยี มีประชาชนจำนวนมากที่ใช้เทคโนโลยีในการหา “คู่” หรือแสวง “รัก” ซึ่งเพิ่มความเสี่ยงให้เกิดการกระทำความผิดที่เรียกว่า Romance Scam หรือ “พิศวาสอาชญากรรม”&
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
เมื่อถามนักปกป้องสิทธิมนุษยชนว่าอยากเห็นสังคมไทยเป็นเช่นไรในประเด็นการมีส่วนร่วมต่อการกำหนดนโยบายสาธารณะ หรือมีความคาดหวังให้รัฐไทยปรับปรุงอะไรเพื่อส่งเสริมการพิทักษ์สิทธิมนุษยชนของกลุ่มเสี่ยง   นักปกป้องสิทธิมนุษยชนในไทยได้ฉายภาพความฝัน ออกมาดังต่อไปนี้
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
นักปกป้องสิทธิมนุษยชนผู้คร่ำหวอดอยู่ในสนามมายาวนานได้วิเคราะห์สถานการณ์การคุกคามผ่านประสบการณ์ของตนและเครือข่ายแล้วแสดงทัศนะออกมาในหลากหลายมุมมอง ดังนี้
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
สถานการณ์ในด้านสิทธิมนุษยชนในต่างประเทศนั้น มีความสัมพันธ์กับหลายปัจจัยที่อาจเกิดความเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาการละเมิดต่อนักปกป้องสิทธิมนุษยชนภายในประเทศที่เกิดจากข้อค้นพบจากกรณีศึกษา มีปัจจัยดังต่อไปนี้1. สถานการณ์สิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวข้องกับบริบทภายในประเทศ
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
บทวิเคราะห์ที่ได้จากการถอดบทสัมภาษณ์นักปกป้องสิทธิมนุษยชนมากประสบการณ์ ในหลากหลายภูมิภาคไปจนถึงความแตกต่างของการทำงานกับกลุ่มเสี่ยงที่มีปัญหาสิทธิแตกต่างกันไป   เป็นที่ชัดเจนว่าเขาเหล่านั้นมีชีวิตและอยู่ในวัฒนธรรมแตกต่างไปจากมาตรฐานด้านสิทธิมนุษยชนและนิติรัฐที่ปรากฏในสังคมตะวันตก ซึ่งสะ
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
การคุ้มครองนักปกป้องสิทธิมนุษยชนที่เป็นกลุ่มเสี่ยงได้ถูกรับรองไว้โดยพันธกรณีระหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิมนุษยชนต่าง ๆ ให้ความสำคัญประกอบจนก่อให้เกิดอนุสัญญาเฉพาะสำหรับกลุ่มเสี่ยงนั้น ๆ ประกอบไปด้วย สตรี, เด็ก, เชื้อชาติ และ แรงงานอพยพ รวมถึง ผู้พิการ โดยกลุ่มเสี่ยงมีสิทธิที่ถูกระบุไว้ในปฏิญญาว่าด้วย
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
แนวทางในการสร้างนโยบาย กฎหมาย และกลไกเพื่อคุ้มครองสิทธิประชาชนจากการสอดส่องโดยรัฐมาจาการทบทวนมาตรฐานและแนวทางตามมาตรฐานสากลเพื่อสร้างข้อเสนอแนะเชิงนโยบายครอบคลุม 2 ประเด็นหลัก คือ
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
ต้นปี 2563 หลังจากการอ่านคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญยุบพรรคอนาคตใหม่ บรรยากาศความขัดแย้งทางการเมืองไทยที่ถูกกดไว้มาตั้งแต่หลังการรัฐประหาร 2557 ก็ปะทุขึ้นอีกครั้ง เกิดการเคลื่อนไหวชุมนุมทางการเมืองเพื่อต่อต้านรัฐบาลกระจายไปทั่วทุกจังหวัดในรัฐไทย จุดสำคัญและเป็นเรื่องที่ไม่ปรากฏขึ้นมาก่อนในหน้าประว