Skip to main content

เมื่อกลางเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา ผู้เขียนมีโอกาสได้ไปเยือนกรุงมาดริด สเปน เพื่อเข้าร่วมการประชุมโลกครั้งที่ 5 เพื่อการยกเลิกโทษประหารชีวิต (World Congress Against the Death Penalty) ในฐานะสื่อไทยที่เดียวที่ได้รับเชิญไป งานนี้จัดขึ้นระหว่างวันที่ 12-15 มิ.ย. โดยมีแม่งานหลักคือเอ็นจีโอใหญ่ของฝรั่งเศส Together Against Death Penalty จัดงาน โดยได้รับการสนับสนุนของรัฐบาลสี่ประเทศ คือสเปน สวีเดน นอร์เวย์ และฝรั่งเศส

[รายงานข่าวเกี่ยวกับงานนี้อ่านได้ ที่นี่ และ ที่นี่]

ส่วนใหญ่ในงานจะเป็นการพูดคุยถึงสถานการณ์การใช้โทษประหารชีวิตในทวีปต่างๆ มีการหารือแลกเปลี่ยนถึงยุทธศาสตร์ของแต่ละภาคส่วน เช่นในระดับสากล รัฐ ประชาคมสังคม ในการกดดันให้ประเทศที่ยังใช้โทษประหารชีิวิตให้ยกเลิก รวมถึงการให้ยุทธศาสตร์การรณรงค์ และให้ความช่วยเหลือด้านกฎหมายและด้านอื่นๆ แก่ผู้ที่ถูกตัดสินประหารชีวิต แต่นอกจากวงเสวนาวิชาการแล้ว ยังมีกิจกรรมภาคศิลปวัฒนธรรม เช่น ละคร การแสดงศิลปะ ฉายภาพยนตร์ ให้ผู้เข้าร่วมได้ชมกันด้วย 

เลยเอางานศิลปะที่ชอบและเก๋อยู่มาเก็บตกซักนิดนึง โดยภาพที่ถ่ายมา เป็นโปสเตอร์เพื่อการรณรงค์ของกลุ่ม Poster 4 Tomorrow ซึ่งเป็นโปรเจคที่เอานักออกแบบในวงการศิลปะ มาร่วมกันผลิตงานที่เกี่ยวข้องกับประเด็นสิทธิมนุษยชน เช่น โทษประหารชีวิต เสรีภาพการแสดงออก ความเท่าเทียมทางเพศ สิทธิการเข้าถึงการศึกษา เป็นต้น ภาพที่ถ่ายมาอาจไม่ให้ความยุติธรรมแก่ความสวยงามของงานจริงๆ ซักเท่าไหร่ ต้องขออภัยในฝีมือการถ่ายภาพมา ณ ที่นี้ด้วย แหะๆ

 

 

บล็อกของ สุลักษณ์ หลำอุบล

สุลักษณ์ หลำอุบล
 อบรมเรื่อง Women's Rights, Reproductive Health and Global Development Prioritiesระหว่างวันที่ 11-13 ก.ย.
สุลักษณ์ หลำอุบล
เมื่อกลางเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา ผู้เขียนมีโอกาสได้ไปเยือนกรุงมาดริด สเปน เพื่อเข้าร่วมการประชุมโลกครั้งที่ 5 เพื่อการยกเลิกโทษประหารชีวิต (World Congress Against the Death Penalty) ในฐานะสื่อไทยที่เดียวที่ได้รับเชิญไป งานนี้จัดขึ้นระหว่างวันที่ 12-15 มิ.ย.
สุลักษณ์ หลำอุบล
ทางเว็บไซต์ Free Arabs มีการเผยแพร่คลิปสัมภาษณ์เด็กชายชาวอียิปต์วัย 12 ขวบ ชื่ออาลี อาห์เหม็ด กำลังเรียนอยู่ชั้นป.
สุลักษณ์ หลำอุบล
*หมายเหตุ โพสต์นี้เขียนสืบเนื่องจากการเข้าอบรมเรื่อง Digital Security กับพันธมิตรสื่อเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือ Southeast Asia Press Alliance (SEAPA) เมื่อวันที่ 29-39 สิงหาคม 2555 ที่กรุงเทพฯ  *เครื่องมือทั้งหมดสามารถโหลดไ
สุลักษณ์ หลำอุบล
รู้จักเว็บไซต์ Factcheck.org เว็บไซต์ที่อุทิศเฉพาะการเช็คความถูกต้องของข้อมูล, สถิิติ, ข้อเท็จจริงในข่าว/ เยี่ยมสำนักงานของ Committee to Protect Journalists/ ฟังวงเสวนาเรื่องการทำสื่อพลัดถิ่น (diaspora media) ในอเมริกา 
สุลักษณ์ หลำอุบล
สำหรับโพสต์นี้เรายังอยู่ที่วอชิงตันดีซี ทั้งอยู่ที่ Foreign Press Center ที่ดีซีด้วย และออกไปข้างนอก เยี่ยมสำนักงานของ Center for Democracy and Technology และไปกระทรวงต่างประเทศสหรัฐเพื่อพบกับ Under Secretary for Public Diplomacy และ Ambassador จาก Bureau of Democracy, Human Rights and
สุลักษณ์ หลำอุบล
การมาอเมริกาครั้งนี้ ต้องบอกว่าเป็นเกียรติและยินดีอย่างยิ่งที่ได้มาเป็นหนึ่งในคณะของ Foreign Press Center ซึ่งเป็นศูนย์สื่อมวลชนที่อยู่ภายใต้ State Department หรือกระทรวงต่างประเทศของสหรัฐอเมริกา โดยในปีนี้เขามีธีมที่ชื่อว่า "Press Freedom and Developments in Journalism" และมี