Skip to main content

เคยส่งสัยไหมว่าทำไมหิ่งห้อยชอบอยู่แถวบริเวณต้นลำพู แล้วข้างๆ ต้นลำพูต้องมีต้นโกงกาง มีเรื่องเล่ามายาวนานว่า ต้นลำพูเคยเป็นผู้ชายมาก่อน แล้วไปลงรักนางหิ่งห้อยชวนหนีไปด้วยกัน แต่นางโกงกางก็มีใจให้นายลำพู จึงไม่ยอมให้หนีเลยเอารากตัวเองยึดนายลำพูไว้ นางหิ่งห้อยเลยจำเป็นบินเฝ้าต้นลำพูในยามค่ำคืน       

เมื่อวันที่ 22-25 กรกฎาคม 2551 ที่ผ่านมาทางสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ(สช.) ได้จัดประชุมเชิงปฎิบัติการครั้งที่2 การประเมินผลกระทบด้านสุขภาพระดับชุมชน (CHIA) ณ บ้านทิพย์ สวนทอง จังหวัดสมุทรสงคราม ในการประชุมครั้งนี้ทางสช. ได้จัดวันลงพื้นที่เพื่อเรียนรู้ชุมชนบนวิถีท้องถิ่นแม่กลอง ไปเรียนรู้ 2 ชุมชน ชุมชนแรกเป็นชุมชนแพรกนามแดงซึ่งได้รับผลกระทบจากนโยบายการจัดการน้ำ ชุมชนที่สองเป็นชุมชนบ้านลมทวนได้รับผลกระทบจากการส่งเสริมการท่องเที่ยวดูหิ่งห้อย

จากการลงพื้นที่ชุมชนบ้านลมทวนเชื่อว่าใครหลายๆ คนเคยไปสัมผัสบรรยากาศของหมู่บ้านแห่งนี้ เวลายามเย็นกับการล่องเรือเที่ยวตลาดน้ำ ส่วนยามค่ำคืนนั่งเรือพายชมหิ่งห้อยนับล้านตัว บนวิถีชีวิตแบบเรียบง่าย รักสงบแบบดังเดิมของชาวบ้านสวนริมคลอง บอกตามตรงเป็นบรรยากาศที่น่าถนุถนอมเก็บรักษาสืบทอดเป็นมรดกให้ลูกหลานชาวแม่กลองต่อไป

แต่ในปัจจุบันชาวบ้านชุมชนบ้านลมทวนต้องเจอกับปัญหาอย่างหนักที่มาพร้อมกับการท่องเที่ยว เนื่องจากได้มีผู้ประกอบการใช้เรือหางยาวในการพานักท่องเที่ยวชมหิ่งห้อย จากเดิมในหมู่บ้านมีเรือหางยาววิ่งแค่ 3 ลำ แต่ตอนมีประมาณ 160-170 ลำ มาจากผู้ประกอบการในตัวอำเภออัมพวา ชาวบ้านต้องเจอภาวะเสียงดังในยามค่ำคืนรบกวนเวลาพักผ่อน ปัญหากัดเซาะของชายฝั่งที่เกิดจากลูกคลื่นเวลาเรือหางยาววิ่ง  ชาวบ้านในพื้นที่ยังใช้เรือพายและเรือแจว

จุดนี้เองที่ทำให้ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงกับวิถีชีวิติของทุกชีวิต ไม่ว่าจะเป็นคน สัตว์ และพืช ที่อาศัยอยู่บริเวณริมฝั่งแม่น้ำ ที่เห็นอย่างเจน

1.มลภาวะทางเสียงเครื่องยนต์โดยเฉพาะวันศุกร์ เสาร์ อาทิตย์ ชาวบ้านไม่ต้องหลับนอนกันได้ยินแต่เครื่องยนต์เกิดความรำคาญกับชุมชนในยามวิกา,

2.มลภาวะทางอากาศ ควันพิษจากท่อไอเสียของเครื่องยนต์ทำให้หิ่งห้อยไม่สามารถใช้ชีวิตตามริมฝั่งแม่น้ำได้ ต้องอพยพไปหาแหล่งที่อยู่ใหม่ที่มีสภาพอากาศที่กว่า วงจรชีวิตของหิ่งห้อยในชุมชนต้องสูญหายไปอย่างน่าเสียดาย

3. ผลกระทบที่มากับลูกคลื่นที่เกิดจากเรือยนต์ แรงกะแทกของคลื่นทำให้เกิดการกัดเซาของชายฝั่งอย่างรุแรง ต้นลำพูและต้นไม้ชายฝั่งอยู่ในภาวะเสียหายอย่างหนัก เพราะดินชายฝั่งถูกกระแทก รากของต้นไม้ไม่มีดินสำหรับเกาะยึด ภายในระยะเวลาไม่เกิน 1 ปี ป่าชายเลนที่มีหิ่งห้อยมากที่สุดถูกทำลายอย่างสิ้นเชิง และที่สำคญมากไปกว่านี้ไข่ของหิ่งห้อยก็โดนคลื่นกระแทกออกไป ถ้าเป็นอย่างนี้ต่อไปเชื่อว่าหิ่งห้อยที่หมู่บ้านแห่งนี้จะศูนย์พันธุ์ไปที่ในที่สุด

4. ผลกระทบกับวิถีชีวิตของชุมชน ในอดีคนในชุมชนหมู่ที่ 6, 7, 8 และหมู่ที่ 11 ของตำบลบ้านปรกดำเนินชีวิตด้วยความสงบสุข มีแหล่งอาหารจากป่าชายเลนที่อุดมสมบูรณ์ ยามค่ำคืนสามารถพักผ่อนนอนหลับได้ตามปรกติ แต่ในสภาพปัจจุบันสิ่งเหล่านี้ได้ถูกทำลายลงอย่างรวดเร็วจากการท่องเที่ยวดูหิ่งห้อย 

เราเห็นสิ่งที่เกิดขึ้นในหมู่บ้านเล็กๆ แห่งนี้ เลยอยากบอกส่งสารหิ่งห้อยมาก เพราะว่ามันไม่ได้สร้างความเดือดร้อนให้ใคร แล้วทำไมคนจำนวนมากต้องไปทำลาย และทำร้ายมันด้วย

�ٻ���1

4 เสือ ก่อนลงเรือไปดูหิ่งห้อย

�ٻ���2

จุดหมายเดียวกันเราจะไปหานายลำพูกับนางหิ่งห้อย

�ٻ���3

สวยไมคะ นี้แค่ถ่ายเล่นๆ ยังไม่เอาจริงนะเนี๊ย

�ٻ���4

สิ่งที่ชาวบ้านลมทวนฝากมา

�ٻ���5

คณะท่องเที่ยวจากใต้จ้า

�ٻ���6

กำลังจะไปหาจุดหมายเหมื่อนกัน

หลายๆ คนอาจส่งสัยว่าทำไมไม่มีรูปของนางหิ่งห้อย นางหิ่งห้อยตั้งเสียใจร้องไห้กับนายลำพูมายาวนาน จนถึงทุกวันนี้ สายตาของนางหิ่งห้อยจะรับแสงอย่างอื่นๆไม่ได้เลย นอกจากแสงดวงจันทร์เท่านั้น ถ้าสายตาของนางหิ่งห้อยต้องเจอกับแสงแฟลตส์ของกล้องถ่ายมันก็จะตายในทันที ในส่วนกลางวันมันจะแอบแถวๆ บริเวณเดียวกันกับนายลำพู

 

สถานที่แห่งนี้ตั้งอยู่ตำบลปรก อำเภอเมือ จังหวัดสมุทรสงคราม

ขอขอบคุณชาวบ้านชุมชนลมทวน

บล็อกของ คนไม่มีอะไร

คนไม่มีอะไร
  บ่อน้ำมันทำลายธรรมชาติ ทำลายเกาะสมุย พะงัน เต่า
คนไม่มีอะไร
คนกลาย พูดดังๆ ว่า ไม่เอา...เชฟรอน            วันที่  8 มีนาคม 2553 เวลา 08.30-12.00 น. ณ ลานหน้าองค์การบริหารส่วนตำบลกลาย ทางบริษัทเชฟรอนและบริษัทที่ปรึกษา ได้จัดประชุมรับฟังความคิดเห็นชาวบ้านตำบลกลาย อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช เรื่องการสร้างท่าเรือ และคลังเก็บวัสดุของบริษัทเชฟรอน เนื่องจากเชฟรอนต้องการย้ายฐานปฏิบัติการจาก จังหวัดชลบุรีและสงขลา มาอยู่ที่บ้านบางสาร ตำบลกลาย จังหวัดนครศรีธรรมราช ซึ่งทางบริษัทให้เหตุพลว่า ประหยัดค่าใช้จ่ายเพราะว่าสามารถลดต้นทุนในการขนส่งจากแท่นขุดเจาะมาบนฝั่ง…
คนไม่มีอะไร
ความเงียบได้กลับคืนสูบ้านท่าสูงบนอีกครั้งหลังจากงานสมัชชาประมงพื้นบ้านได้ผ่านไป ก็คงเหมือนลมทะเลที่พัดหอบเอาไอทะเลเข้าสู่ฝั่ง คงเหลือไว้แต่รูปภาพและความทรงจำที่ติดอยู่ในสมองของใครใครหลายคน ผมซึ่งมีโอกาสได้เข้าร่วมงานนี้ตั้งแต่วันที่เตรียมงานจนวันสุดท้าย           ภาพที่เห็นยังคงวนเวียนอยู่ในหัวกับคำถามมากมายที่ตามมาว่า งานนี้มีไว้เพื่อ.......?           มันเป็นคำถามที่ผมสงสัยเรื่อยมาจนคำตอบของคำถามเหล่านั้นค่อยๆ คลายออกมาทีละนิดทีละนิด เริ่มจากภาพของผู้คนที่เตรียมงานกันอย่างแข็งขัน…
คนไม่มีอะไร
  โครงการพัฒนาที่พยายามคืบคลาน…เข้ามา อีกนานมั้ย….??? ที่ประเทศไทยจะรอดพ้นจากโครงการพัฒนาที่ประชาชนต้องเป็นแพะรับบาป ชาวบ้านเป็นผู้รับกรรม เป็นผู้ที่ได้รับผลกระทบ เป็นผู้ต้องสูญเสีย และเป็นผู้เสียสละ พื้นที่ สิ่งแวดล้อมและวิถีชีวิต ความหลากหลายทางชีวภาพ ความหลากหลายทางวัฒนธรรม “เราไม่ต้องการโครงการพัฒนาขนาดใหญ่” “เราไม่ต้องการอุตสาหกรรมปิโตรเคมี” “เราไม่ต้องการโรงไฟฟ้านิวเคลียร์” “เราไม่ต้องการท่าเรือน้ำลึก” “เราไม่ต้องโรงไฟฟ้าถ่านหิน” คำเหล่านี้ประมวลสรุปจากเวทีจังหวัดภาคใต้ที่เราได้ไปจัดมา (ชุมพร นครศรีธรรมราช สงขลา ปัตตานี ยะลา นราธิวาส พัทลุง สตูล ระนอง กระบี่ ภูเก็ต และพังงา)…
คนไม่มีอะไร
เก็บตกจากเวทีโลกร้อน เมื่อ 3-5 ตุลาคม 2552 บรรยากาศการเดินขบวนรณรงค์เวทีโลกร้อน มันน่าจะบอกอะไรบางอย่างให้กับประเทศที่กำลังจะทำสิ่งเหล่านี้ กำลังพลนับหมื่นคน ณ วันนั้น เพื่อเรียกร้องให้ประเทศต่างๆทบทวนนโยบายการพัฒนาที่ผิดทาง คนนครศรีธรรมราชก็มาด้วย เพราะว่ากำลังจะเจอกับแผนพัฒนาที่สวนทางกับวิถีชีวิตชาวบ้าน โรงไฟฟ้าถ่านหิน โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ โรงถลุงเหล็ก อุตสาหกรรมปิโตรเคมี คนนครศรฯ ไม่เอา
คนไม่มีอะไร
  แผนอยู่เย็นเป็นสุข : ภาพรวมการจัดเวทีจังหวัด   วัตถุประสงค์         เพื่อรับฟังข้อเสนอและแนวทางการพัฒนาพื้นที่ภาคใต้เป็นรายจังหวัด เพื่อที่จะเปรียบเทียบกับแผนพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคใต้ของ สศช. การพัฒนาอุตสาหกรรมปิโตรของการนิคมแห่งประเทศประเทศไทย และโครงการขนาดใหญ่ที่จะเกิดในพื้นที่ภาคใต้ รวมทั้งรับฟังความคิดเห็นต่อเอกสารร่างมติข้อเสนอในแผนพัฒนาภาคใต้ที่ยั่งยืน   พื้นที่ดำเนินการ   13    จังหวัดภาคใต้ (ยกเว้นสุราษฎร์ธานี)   กระบวนการจัดเวทีจังหวัด          …
คนไม่มีอะไร
   ภาคใต้ : อุตสาหกรรมเหล็กครบวงจร   ในปัจจุบันปริมาณการใช้เหล็กในประเทศไทยมีแนวโน้มสูงขึ้น เพื่อใช้เป็นวัตถุดิบป้อนให้กับอุตสาหกรรมอื่นๆ เช่น อุตสาหกรรมยานยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น ในแต่ละปีมีความต้องการใช้เหล็กในประเทศสูงถึงประมาณ 12.5 ล้านตัน/ปี และต้องนำเข้าเหล็กจากต่างประเทศโดยเฉพาะเหล็กคุณภาพสูงประมาณ 4.5 ล้านตัน/ปี   ทั้งนี้ เนื่องจากประเทศไทยยังไม่มีอุตสาหกรรมผลิตเหล็กแบบครบวงจร โดยขาดการผลิตเหล็กต้นน้ำซึ่งเป็นการผลิตเหล็กขั้นต้นเพื่อป้อนให้กับอุตสาหกรรมเหล็กขั้นต่อไป จึงไม่สามารถตอบสนองต่อความต้องการใช้เหล็กคุณภาพสูงในประเทศไทยได้…
คนไม่มีอะไร
 ผังเมืองกำลังจะเปลี่ยน "นครศรีธรรมราช"  ที่จังหวัดนครศรีธรรมราช ตอนนี้มีการลงมาจัดทำผังเมืองถึงครึ่งทางแล้ว ไปแอบได้ข้อมูลมา ตอนบริษัท นำเสนอ คณะกรรมการกำกับผังเมืองฯ  และตอนนี้ทางพื้นที่ต้องความคิดเห็นเกี่ยวกับภาพข้างล่างนี้  ความเห็นจากแสนกล้า (นามสมมติ) นี่คือตัวอย่างหนึ่ง  ที่สะท้อนว่าถ้าเราเอาผังนโยบาย ระดับภาค ประเทศมาใช้บังคับตามกฎหมายตามที่กรมโยธาฯกำลังทำร่าง พรบ. ผังเมืองใหม่อยู่  จะเป็นอันตราย เป็นการมัดมือชกในการเอานโยบายมาใส่ในการจัดทำผังเมืองรวมตามกฎหมาย กรณีนี้ ยังเอามาใส่ทั้งๆ ที่ผัง หรือนโยบายระดับภาคยังไม่ใช้บังคับตามกฎหมาย…