Skip to main content
   

ชาวปัตตานีไม่คิดต่อต้าน  "ฮาลาล"  แต่...

เมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2551 ได้ลงไปสัมผัสพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ในสภาวะความขัดแย้งของพื้นที่สามจังหวัด ณ วันนี้ เชื่อว่าหลายๆ คนอาจไม่รู้ว่า "ปัตตานีกำลังจะกลายเป็นครัวอาหารฮาลาลสู่ระดับโลก" ภายใต้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่10 (พ..2550-2554) และภายใต้ยุทธศาสตร์การพัฒนาอุตสาหกรรมฮาลาล จังหวัดชายแดนภาตใต้ ปี 2552-2555 ครัวฮาลาลแห่งนี้จะกินพื้นที่บริเวณอำเภอสายบุหรี่ และพื้นที่อำเภอปะนะเระ พื้นที่ที่จะใช้ก่อสร้างโดยประมาณทั้งหมด 933 ไร่ และจะกลายเป็นนิคมอุตสาหกรรมอาหารฮาลาล

 plannnnn

รูปที่1 เป็นเครือข่ายที่ส่งออกอาหารไปทั่วโลก                                                                            

"ฮาลาล" เป็นสิ่งที่จะเกิดบนพื้นที่ ที่กล่าวมาข้างต้น สำหรับคนมุสลิมในพื้นที่สามจังหวัด หรือมุสลิมทั่วโลกคงไม่มีใครที่จะปฎิเสธคำว่า "ฮาลาล" ออกไปจากชีวิตของเขาได้ เพราะ "ฮาลาล"เป็นสิ่งที่ดี บริสุทธิ์ ถูกต้องตามหลักศาสนาอิสลาม ไม่ว่าจะเป็นทางด้านการผลิต  การให้บริการ หรือการจำนายใดๆ ดังนั้น อาหารฮาลาล  จะต้องเป็นอาหารที่ได้ผ่านกรรมวิธีในการทำ ปรุง ผสม ประกอบ หรือแปรสภาพ ตามศาสนาบัญญัติ เป็นการหลักประกันว่ามุสลิมทั่วโลกบริโภคได้

จากโครงการที่จะเกิดขึ้นนี้ชาวบ้านในพื้นที่ไม่คิดต่อต้านแต่ชาวบ้านกำลังจะเรียนรู้ไปพร้อมๆ กับการนิคมอุตสาหกรรมอาหารฮาลาลแห่งชาติ เรียนรู้ไปพร้อมๆ กับบริษัท ฟาตอนี อินดัสทรีส์ จำกัด  นิคมอุตสาหกรรมฮาลาล ต้องเกิดขึ้นด้วยกระบวนที่ถูกต้องตามหลักศาสนาอิสลาม ไม่ว่าการได้มาซึ่งที่ดินของเขตนิคมฯ การจัดการทางสังคมก็ต้องถูกต้อง

สถานการณ์ในชุมชนหรือคนในพื้นที่โดยส่วนใหญ่ยังไม่รู้ด้วยซ้ำว่าอาคารขนาดใหญ่ที่กำลังก่อสร้างอยู่ในขณะในนี้เป็นสำนักงานของโครงการนี้ ชาวบ้านไม่เคยได้รับทราบข้อมูลเกี่ยวกับโครงการนิคมฯ ชาวไม่เคยรับรู้ว่าโครงการดำเนินการไปถึงไหนแล้ว? ชาวบ้านไม่เคยรับรู้ว่าเขตนิคมอุตสาหกรรมอาหารฮาลาลก่อตั้งบนเนื้อที่กี่ไร่?  ชาวบ้านไม่เคยรับรู้ว่าโครงการดังกล่าวจะส่งผลกระทบอะไรบ้าง?

ความเป็นมาของโครงการ

เมื่อ 29-31 มีนาคม 2545  ณ จังหวัดนราธิวาส  การประชุมคณะรัฐมนตรีอย่างไม่เป็นทางการนอกสถานที่ครั้งที่ 3  ที่ประชุมมีความเห็นว่า  ควรเร่งรัดพัฒนาการแปรรูปสินค้าเกษตร  สำหรับผลิตภัณฑ์อาหารฮาลาล และมอบหมายให้นายวันมูหะหมัดนอร์ มะทา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม (ในขณะนั้น)  รับผิดชอบการทำอุตสาหกรรมอาหารฮาลาล  โดยส่งเสริมให้ภาคใต้เป็นศูนย์กลางของอุตสาหกรรมอาหารฮาลาล  และให้กระทรวงอุตสาหกรรมรับผิดชอบในการจัดทำมาตรการและแผนในการแปรรูปสินค้าเกษตร เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มและการสร้างนิคมอุตสาหกรรมอาหารฮาลาลที่ปัตตานี และ

เมื่อ 24 กันยายน 2545  คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบผลการประชุมคณะอนุกรรมการพัฒนากิจกรรมอาหารฮาลาลครั้งที่ 1/2545  วันที่ 25 เมษายน 2545 (ยุทธศาสตร์การส่งเสริมให้ภาคใต้เป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมอาหารฮาลาล)  มอบหมายให้การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ร่วมกับกรมพัฒนาที่ดินและจังหวัดปัตตานี ศึกษาความเหมาะสมและศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมของการพัฒนานิคม

ในตอนนี้ก็มีชาวบานบางส่วนที่ได้รับข้อมูลข่าวสาร ชาวบ้านเองก็เริ่มไม่แน่ใจในความเป็น อาหารฮาลาล เพราะว่าข้อมูลทางด้านการจัดการสิงแวดล้อม ข้อมูลในการจัดการทรัพยากรท้องถิ้นไม่แน่ชัดและยังไม่ชัดเจน อาชีพในชุมชน และการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของชุมชนจะเดินไปอย่างไร? เมื่อโครงการนี้เกิดขึ้น ซึ่งข้อมูลตรงจุดนี้ก็ยังไม่ชัดเจน ทำให้ชาวบ้านเริ่มที่จะเรียนรู้ความเป็นมาของโครงการนี้ ริเริ่มค้นหาความเป็นฮาลาลและปฎิเสธความไม่เป็นฮาลาลในโครงการดังกล่าว และพร้อมที่จะปกป้องสิทธิชุมชน ตามกฏหมายรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย 2550 ตามมาตราที่ 67 ได้รองรับว่า ถ้ามีโครงการใดที่มีผลกระทบต่อประชาชน หรือชุมชน ประชาชนและชุมชนมีสิทธิ์ที่จะประเมินโครงการนั้นด้วย

123456789

รูป แสดงอาเขตโดยรอบของเขตนิคมอุตสาหกรรมอาหารฮาลาล

tepat kator2

รูป บริเวณการก่อสร้างอาคารสำนักงานของเขตนิคมฯ

tepat kator3

รูป การดำเนินการก่อสร้างอาคารสำนักงานของนิคมอุตสาหกรรมอาหารฮาลาล

wisa 1

รูป อาชีพในชุมชน การต้มปลากะตั๊ก

wisa 4

รูป การตากปลากะตั๊ก

wisa 7

รูป การตากปลาเพื่อทำปลาแห้งแดดเดียว

taley3

รูป แหล่งท่องเที่ยวหาดแฆแฆ ตั้งอยู่ใกล้กับเขตนิคมอุตสาหกรรมอาหารฮาลาล

taley

รูป ชายหาดหน้าถนนบริเวณเขตนิคมอุตสาหกรรมอาหารฮาลาล

tepat makan 2

รูป ความอุดมสมบูรณ์ของป่าพรุในเขตนิคมอุตสาหกรรมอาหารฮาลาล

บล็อกของ คนไม่มีอะไร

คนไม่มีอะไร
  บ่อน้ำมันทำลายธรรมชาติ ทำลายเกาะสมุย พะงัน เต่า
คนไม่มีอะไร
คนกลาย พูดดังๆ ว่า ไม่เอา...เชฟรอน            วันที่  8 มีนาคม 2553 เวลา 08.30-12.00 น. ณ ลานหน้าองค์การบริหารส่วนตำบลกลาย ทางบริษัทเชฟรอนและบริษัทที่ปรึกษา ได้จัดประชุมรับฟังความคิดเห็นชาวบ้านตำบลกลาย อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช เรื่องการสร้างท่าเรือ และคลังเก็บวัสดุของบริษัทเชฟรอน เนื่องจากเชฟรอนต้องการย้ายฐานปฏิบัติการจาก จังหวัดชลบุรีและสงขลา มาอยู่ที่บ้านบางสาร ตำบลกลาย จังหวัดนครศรีธรรมราช ซึ่งทางบริษัทให้เหตุพลว่า ประหยัดค่าใช้จ่ายเพราะว่าสามารถลดต้นทุนในการขนส่งจากแท่นขุดเจาะมาบนฝั่ง…
คนไม่มีอะไร
ความเงียบได้กลับคืนสูบ้านท่าสูงบนอีกครั้งหลังจากงานสมัชชาประมงพื้นบ้านได้ผ่านไป ก็คงเหมือนลมทะเลที่พัดหอบเอาไอทะเลเข้าสู่ฝั่ง คงเหลือไว้แต่รูปภาพและความทรงจำที่ติดอยู่ในสมองของใครใครหลายคน ผมซึ่งมีโอกาสได้เข้าร่วมงานนี้ตั้งแต่วันที่เตรียมงานจนวันสุดท้าย           ภาพที่เห็นยังคงวนเวียนอยู่ในหัวกับคำถามมากมายที่ตามมาว่า งานนี้มีไว้เพื่อ.......?           มันเป็นคำถามที่ผมสงสัยเรื่อยมาจนคำตอบของคำถามเหล่านั้นค่อยๆ คลายออกมาทีละนิดทีละนิด เริ่มจากภาพของผู้คนที่เตรียมงานกันอย่างแข็งขัน…
คนไม่มีอะไร
  โครงการพัฒนาที่พยายามคืบคลาน…เข้ามา อีกนานมั้ย….??? ที่ประเทศไทยจะรอดพ้นจากโครงการพัฒนาที่ประชาชนต้องเป็นแพะรับบาป ชาวบ้านเป็นผู้รับกรรม เป็นผู้ที่ได้รับผลกระทบ เป็นผู้ต้องสูญเสีย และเป็นผู้เสียสละ พื้นที่ สิ่งแวดล้อมและวิถีชีวิต ความหลากหลายทางชีวภาพ ความหลากหลายทางวัฒนธรรม “เราไม่ต้องการโครงการพัฒนาขนาดใหญ่” “เราไม่ต้องการอุตสาหกรรมปิโตรเคมี” “เราไม่ต้องการโรงไฟฟ้านิวเคลียร์” “เราไม่ต้องการท่าเรือน้ำลึก” “เราไม่ต้องโรงไฟฟ้าถ่านหิน” คำเหล่านี้ประมวลสรุปจากเวทีจังหวัดภาคใต้ที่เราได้ไปจัดมา (ชุมพร นครศรีธรรมราช สงขลา ปัตตานี ยะลา นราธิวาส พัทลุง สตูล ระนอง กระบี่ ภูเก็ต และพังงา)…
คนไม่มีอะไร
เก็บตกจากเวทีโลกร้อน เมื่อ 3-5 ตุลาคม 2552 บรรยากาศการเดินขบวนรณรงค์เวทีโลกร้อน มันน่าจะบอกอะไรบางอย่างให้กับประเทศที่กำลังจะทำสิ่งเหล่านี้ กำลังพลนับหมื่นคน ณ วันนั้น เพื่อเรียกร้องให้ประเทศต่างๆทบทวนนโยบายการพัฒนาที่ผิดทาง คนนครศรีธรรมราชก็มาด้วย เพราะว่ากำลังจะเจอกับแผนพัฒนาที่สวนทางกับวิถีชีวิตชาวบ้าน โรงไฟฟ้าถ่านหิน โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ โรงถลุงเหล็ก อุตสาหกรรมปิโตรเคมี คนนครศรฯ ไม่เอา
คนไม่มีอะไร
  แผนอยู่เย็นเป็นสุข : ภาพรวมการจัดเวทีจังหวัด   วัตถุประสงค์         เพื่อรับฟังข้อเสนอและแนวทางการพัฒนาพื้นที่ภาคใต้เป็นรายจังหวัด เพื่อที่จะเปรียบเทียบกับแผนพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคใต้ของ สศช. การพัฒนาอุตสาหกรรมปิโตรของการนิคมแห่งประเทศประเทศไทย และโครงการขนาดใหญ่ที่จะเกิดในพื้นที่ภาคใต้ รวมทั้งรับฟังความคิดเห็นต่อเอกสารร่างมติข้อเสนอในแผนพัฒนาภาคใต้ที่ยั่งยืน   พื้นที่ดำเนินการ   13    จังหวัดภาคใต้ (ยกเว้นสุราษฎร์ธานี)   กระบวนการจัดเวทีจังหวัด          …
คนไม่มีอะไร
   ภาคใต้ : อุตสาหกรรมเหล็กครบวงจร   ในปัจจุบันปริมาณการใช้เหล็กในประเทศไทยมีแนวโน้มสูงขึ้น เพื่อใช้เป็นวัตถุดิบป้อนให้กับอุตสาหกรรมอื่นๆ เช่น อุตสาหกรรมยานยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น ในแต่ละปีมีความต้องการใช้เหล็กในประเทศสูงถึงประมาณ 12.5 ล้านตัน/ปี และต้องนำเข้าเหล็กจากต่างประเทศโดยเฉพาะเหล็กคุณภาพสูงประมาณ 4.5 ล้านตัน/ปี   ทั้งนี้ เนื่องจากประเทศไทยยังไม่มีอุตสาหกรรมผลิตเหล็กแบบครบวงจร โดยขาดการผลิตเหล็กต้นน้ำซึ่งเป็นการผลิตเหล็กขั้นต้นเพื่อป้อนให้กับอุตสาหกรรมเหล็กขั้นต่อไป จึงไม่สามารถตอบสนองต่อความต้องการใช้เหล็กคุณภาพสูงในประเทศไทยได้…
คนไม่มีอะไร
 ผังเมืองกำลังจะเปลี่ยน "นครศรีธรรมราช"  ที่จังหวัดนครศรีธรรมราช ตอนนี้มีการลงมาจัดทำผังเมืองถึงครึ่งทางแล้ว ไปแอบได้ข้อมูลมา ตอนบริษัท นำเสนอ คณะกรรมการกำกับผังเมืองฯ  และตอนนี้ทางพื้นที่ต้องความคิดเห็นเกี่ยวกับภาพข้างล่างนี้  ความเห็นจากแสนกล้า (นามสมมติ) นี่คือตัวอย่างหนึ่ง  ที่สะท้อนว่าถ้าเราเอาผังนโยบาย ระดับภาค ประเทศมาใช้บังคับตามกฎหมายตามที่กรมโยธาฯกำลังทำร่าง พรบ. ผังเมืองใหม่อยู่  จะเป็นอันตราย เป็นการมัดมือชกในการเอานโยบายมาใส่ในการจัดทำผังเมืองรวมตามกฎหมาย กรณีนี้ ยังเอามาใส่ทั้งๆ ที่ผัง หรือนโยบายระดับภาคยังไม่ใช้บังคับตามกฎหมาย…