Skip to main content
 

 แผนพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคใต้ต้องถูกกำหนดโดยคนใต้ 

 

ศยามล  ไกยูรวงศ์

โครงการเสริมสร้างจิตสำนึกนิเวศวิทยา

 

              การโฆษณาประชาสัมพันธ์กระตุ้นเศรษฐกิจให้เกิดการลงทุนดำเนินการโครงการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งภาคใต้มีอย่างต่อเนื่อง จากรัฐบาลนายสมัคร สุนทรเวช และหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง เช่น สำนักงานคณะกรรมการการลงทุน (BOI) และสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.)  ยิ่งไปกว่านั้นยังได้รับการขานรับจากนักเศรษฐศาสตร์กันถ้วนหน้า เช่น ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล   และนักเศรษฐศาสตร์หลายท่าน   

              ประเด็นน่าสนใจว่ามุมมองด้านเดียวเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ สร้างรายได้ประชาชาติประการเดียวนั้น ทำให้ประเทศชาติอยู่รอดได้จริงหรือไม่   เมื่อเปรียบเทียบกับการสูญเสียระบบนิเวศทรัพยากรชายฝั่งทะเลของภาคใต้ทั้งฝั่งอ่าวไทย และฝั่งอันดามัน  การเกิดมลพิษทางทะเล บนบก และอากาศ สร้างภาวะโลกร้อน  รวมถึงอุบัติภัยทั้งหลายที่จะเกิดขึ้นในภาคใต้  การพัฒนาแบบเดียวกับภาคตะวันออกเป็นวิสัยทัศน์การพัฒนาภูมิภาคที่คนใต้พึงปรารถนาหรือไม่  หรือเป็นเพียงความต้องการของนักลงทุนทั้งไทยและต่างประเทศร่วมกับนักการเมือง และข้าราชการประจำที่หวังผลประโยชน์มหาศาลจากการทำลายทรัพยากรธรรมชาติของชาติ  โดยคนไทยได้เพียงเศษเงินเท่านั้น

              เหตุผลสำคัญของการขยายตัวพื้นที่อุตสาหกรรมแห่งใหม่ในภาคใต้ภายใน 3 ปีข้างหน้า สืบเนื่องจากพื้นที่อุตสาหกรรมชายฝั่งทะเลภาคตะวันออกถึงจุดอิ่มตัว  เพราะความหนาแน่นของมลภาวะในอากาศบริเวณชายฝั่งทะเลตะวันออกเพิ่มขึ้นจนมีผลกระทบต่อสุขภาพแล้ว หลังจากการสร้างโรงงานของโครงการปิโตรเคมี เคมีภัณฑ์ และพลังงานที่เป็นโครงการขนาดใหญ่ 11 โครงการ   เป็นเรื่องน่าเศร้าสำหรับความไม่ปลอดภัยและภยันตรายมาถึงคนไทยทุกเวลา  เพราะแม้แต่ปัญหาของภาคตะวันออกซึ่งสร้างรายได้ให้กับคนระยองปีละแปดหมื่นล้านบาท  แต่สุขภาพของคนระยองกลับมีความเสี่ยงต่อสุขภาพสูงสุด   โดยที่ปัจจุบันนี้มาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหามลพิษ สุขภาพของความเสี่ยงในการเป็นมะเร็ง ยังไม่มีคำตอบว่ารัฐบาลและนักลงทุนเจ้าของโครงการจะรับผิดชอบประการใด 

               ความเสี่ยงต่อสุขภาพ สังคม และสิ่งแวดล้อมจากภาคตะวันออก กำลังถูกผลักภาระมาขยายผลที่ภาคใต้  จากการเล็งหาพื้นที่ใหม่ของนักลงทุน ซึ่งแสวงหากำไรและผลประโยชน์อย่างไม่สิ้นสุด  โดยไม่พิจารณาศักยภาพของพื้นที่และระบบนิเวศน์ของภาคใต้รองรับได้มากน้อยเพียงใด   โดยเฉพาะอย่างยิ่งการกำหนดทิศทางการพัฒนามาจากส่วนกลางคือนักลงทุนและรัฐบาลนั้น   มีความชอบธรรมหรือไม่สำหรับคนในท้องถิ่นที่เป็นคนใต้ควรสังวรณ์  

              คำว่า "การพัฒนาที่ยั่งยืน"  ซึ่งเป็นหลักการสำคัญในการกำหนดการพัฒนาระดับโลก และถูกกำหนดไว้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 10  ไม่ได้พิจารณารายได้ทางเศรษฐกิจประการเดียว แต่ต้องอยู่บนฐานของการมีสังคม สิ่งแวดล้อม และคุณภาพชีวิตของคนที่อยู่ร่วมกับธรรมชาติอย่างสมดุลและยั่งยืน    การพิจารณาตัดสินใจอนุมัติโครงการของรัฐบาลจึงจำเป็นต้องศึกษาประเมินผลกระทบทั้งทางเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และสุขภาพทั้งในระดับยุทธศาสตร์เชิงพื้นที่ ต่อการกำหนดทิศทางการพัฒนาระดับภูมิภาคที่มาจากเสียงของคนใต้อย่างแท้จริง  การประเมินผลกระทบรายโครงการที่เชื่อมโยงกับแผนพัฒนาภาคใต้ว่ามีการกระจายรายได้ให้กับคนใต้อย่างเป็นธรรมหรือไม่และมีความยั่งยืนต่อการดำรงชีวิตของคนใต้ และคนไทยทั้งประเทศอย่างไร  โดยเฉพาะอย่างยิ่งการรักษาพื้นที่อาหารและระบบนิเวศน์ที่สมบูรณ์ของภาคใต้ ทั้งพื้นที่บนบก ทรัพยากรชายฝั่งทะเล ที่จะดำรงอยู่ให้กับลูกหลานในวันข้างหน้าอย่างยั่งยืน 

              โครงการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคใต้บริเวณพื้นที่ตอนบน (จ.ประจวบคีรีขันธ์-ระนอง) ตอนกลาง   (อำเภอสิชลและอำเภอขนอม ในจังหวัดนครศรีธรรมราช และนิคมอุตสาหกรรมในจังหวัดสุราษฎร์ธานี ไปถึงทับละมุ จ.พังงา)  และตอนล่าง (อ.จะนะ จ.สงขลา- อ.ละงู จ.สตูล) มีเป้าหมายเพื่อสร้างเส้นทางเศรษฐกิจลำเลียงน้ำมัน และสินค้าต่างๆ เชื่อมระหว่างท่าเรือน้ำลึกสองฝั่ง คือ ฝั่งอ่าวไทย และฝั่งอันดามัน ซึ่งเรียกว่า "Land Bridge"  และยังประกอบด้วยโครงสร้างพื้นฐาน (Logistic) ได้แก่ ถนน รถไฟ และท่อลำเลียงน้ำมันระหว่างท่าเรือน้ำลึกสองฝั่ง    พร้อมกับการสร้างอุตสาหกรรมขนาดใหญ่และขนาดกลางบริเวณพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคใต้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งอุตสาหกรรมปิโตรเคมี อุตสาหกรรมเหล็ก อุตสาหกรรมพลังงาน  บริเวณพื้นที่หลายหมื่นไร่  ในลักษณะเดียวกับการตั้งอุตสาหกรรมภาคตะวันออก   

              แรงจูงใจที่นักลงทุนพูดเสมอต่อประโยชน์ของโครงการ คือ การมีอุตสาหกรรมต้นน้ำแบบอุตสาหกรรมปิโตรเคมี อุตสาหกรรมเหล็ก ซึ่งเป็นพื้นฐานของอุตสาหกรรมกลางน้ำและปลายน้ำ  การมีเส้นทางขนส่งสินค้าทั้งขาเข้าและขาออกของไทย ทำให้ลดต้นทุนการส่งสินค้าได้อย่างมหาศาล  การโฆษณาชวนเชื่อเช่นนี้ยังขาดรายงานการประเมินผลกระทบอย่างรอบด้านดังที่กล่าวข้างต้น   ซึ่งทำให้คนท้องถิ่นหลงเชื่อว่าโครงการลักษณะนี้สร้างรายได้ให้คนท้องถิ่น เหมือนที่คนภาคตะวันออกถูกหลอกมาแล้ว  แต่ผลประโยชน์อยู่ที่ใครกันแน่  และผลกระทบตกอยู่กับใคร เป็นประเด็นที่คนใต้ต้องตั้งคำถาม และเรียนรู้บทเรียนจากภาคตะวันออก

                

จากการวิเคราะห์จุดอ่อน จุดแข็งของ สศช. (๒๕๕๑) ต่อศักยภาพของพื้นที่ภาคใต้ มุ่งเน้นความเป็นไปได้ของการพัฒนาเศรษฐกิจจากจุดแข็งของฐานทรัพยากรและทางกายภาพของพื้นที่ภาคใต้  ซึ่งสามารถเปิดประตูสู่ทะเลทั้งฝั่งอ่าวไทยและทะเลอันดามันมีพื้นที่ ๔๔.๒ ล้านไร่ โดยวิเคราะห์ว่าขนาดเศรษฐกิจของภาคใต้ค่อนข้างเล็กและมีฐานการผลิตแคบ จากผลิตภัณฑ์มวลรวมของพื้นที่ คือประมาณร้อยละ ๙ ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) และมีอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจเฉลี่ยร้อยละ 4.4 ต่อปี  ในขณะที่การวิเคราะห์ด้านสังคมนำเสนอว่ากำลังแรงงานนอกพื้นที่ภาคการเกษตรสูงขึ้น  เหตุการณ์ความไม่สงบใน ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นความเสี่ยงต่อความมั่นคงของประเทศ สำหรับด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมปรากฏความเป็นจริงว่า พื้นที่ป่าบกและป่าชายเลนเพิ่มขึ้น แต่ยังต่ำกว่าระดับเฉลี่ยของประเทศ  ทรัพยากรสัตว์น้ำลดลง  ปัญหาการกัดเซาะเป็นแนวยาวทั้งฝั่งอันดามันและอ่าวไทย  ปัญหาการกำจัดขยะมูลฝอยและบำบัดน้ำเสียรุนแรงขึ้นในเมืองใหญ่   

              จากการวิเคราะห์ฐานข้อมูลของ สศช. แสดงให้เห็นว่า ปัญหาสังคมและสิ่งแวดล้อมก็มาจากผลพวงของการพัฒนาที่ผ่านมา  แต่ สศช.ได้นำฐานข้อมูลมาวิเคราะห์โน้มเอียงให้เห็นว่าการพัฒนาเศรษฐกิจจะแก้ไขปัญหาความไม่มั่นคง และความยากจนของสังคม  และกำหนดมาตรการป้องกันและบรรเทาปัญหาสังคมและสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากการพัฒนา ซึ่งจะทำให้ประชาชนมีสุขภาวะที่ดีได้   โดยที่การวิเคราะห์ดังกล่าวมาจากฐานข้อมูลเชิงมหภาคเท่านั้น  ไม่ได้เชื่อมโยงจากฐานข้อมูลระดับจุลภาคที่เป็นข้อมูลของชุมชน ซึ่งมีกลุ่มคนที่มีบทบาทในสังคม และเป็นปัจจัยเงื่อนไขต่อสร้างภูมิคุ้มกันของสังคม และสิ่งแวดล้อม อันเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ทรัพยากรป่าบกและป่าชายเลนเพิ่มขึ้น      

              เมื่อวันที่ ๒๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๐  คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้ สศช. ดำเนินการศึกษาความเหมาะสมของพื้นที่อุตสาหกรรมในอนาคต   เพื่อศึกษารายละเอียดพิจารณาพื้นที่ใหม่สำหรับรองรับการพัฒนาอุตสาหกรรมปิโตรเคมีและพลังงานในอนาคตให้สอดคล้องกับศักยภาพและภูมิสังคมของพื้นที่     และให้สร้างกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนและชุมชนตั้งแต่ขั้นเริ่มต้นเพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจและเกิดการยอมรับจากประชาชนก่อนดำเนินการพัฒนาอุตสาหกรรมในพื้นที่ใหม่  และเน้นการดูแลสุขภาวะของประชาชนเป็นสำคัญ   

              จากมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าวสะท้อนให้เห็นถึงความเป็นไปได้ยากที่จะให้ประชาชนในพื้นที่มีส่วนร่วมในการกำหนดแผนพัฒนาเชิงพื้นที่  เนื่องจากได้ถูกกำหนดโดย สศช.และรัฐบาลแล้ว   การมีส่วนร่วมคือการสร้างการยอมรับต่อการพัฒนาโครงการ  และไม่ให้เกิดปัญหาความขัดแย้ง  การแก้ไขปัญหาคือการเยียวยาความเสียหายและการฟื้นฟูสุขภาวะจากการได้รับผลกระทบจากการพัฒนา    การจัดทำแผนพัฒนายุทธศาสตร์เชิงพื้นที่ (Strategic Environmental Assessment/SEA) โดยภาครัฐคือการว่าจ้างที่ปรึกษาทางเทคนิคในการดำเนินการโครงการ เพื่อป้องกันและบรรเทาปัญหา ภายในกรอบของกฎหมายและแผนพัฒนาดังกล่าว   การมีส่วนร่วมในการกำหนดวิสัยทัศน์การพัฒนา  และการตัดสินใจว่าพื้นที่ของชุมชนควรถูกพัฒนาในทิศทางใดไม่ใช่ประเด็นของการจัดทำ SEA 

              เมื่อเป็นเช่นนี้การมีส่วนร่วมของประชาชนและชุมชนต้องเริ่มต้นวันนี้ด้วยการกำหนดด้วยตนเองว่าชุมชนของตนเองจะไปทิศทางใด วิสัยทัศน์การพัฒนาในอีก ๕๐ ปีข้างหน้าต้องการแบบไหน  มิใช่ปล่อยให้ผู้กำหนดนโยบายเช่นรัฐบาล และสภาพัฒน์ฯเท่านั้นที่เป็นผู้กำหนด   และอ้างว่าให้ประชาชนมีส่วนร่วม   การมีส่วนร่วมของประชาชนและชุมชนเป็นแบบใด คนใต้ควรปฏิบัติการด้วยตนเองจากการร่วมกำหนดว่าแผนพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคใต้ควรเป็นอย่างไร

บล็อกของ คนไม่มีอะไร

คนไม่มีอะไร
  บ่อน้ำมันทำลายธรรมชาติ ทำลายเกาะสมุย พะงัน เต่า
คนไม่มีอะไร
คนกลาย พูดดังๆ ว่า ไม่เอา...เชฟรอน            วันที่  8 มีนาคม 2553 เวลา 08.30-12.00 น. ณ ลานหน้าองค์การบริหารส่วนตำบลกลาย ทางบริษัทเชฟรอนและบริษัทที่ปรึกษา ได้จัดประชุมรับฟังความคิดเห็นชาวบ้านตำบลกลาย อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช เรื่องการสร้างท่าเรือ และคลังเก็บวัสดุของบริษัทเชฟรอน เนื่องจากเชฟรอนต้องการย้ายฐานปฏิบัติการจาก จังหวัดชลบุรีและสงขลา มาอยู่ที่บ้านบางสาร ตำบลกลาย จังหวัดนครศรีธรรมราช ซึ่งทางบริษัทให้เหตุพลว่า ประหยัดค่าใช้จ่ายเพราะว่าสามารถลดต้นทุนในการขนส่งจากแท่นขุดเจาะมาบนฝั่ง…
คนไม่มีอะไร
ความเงียบได้กลับคืนสูบ้านท่าสูงบนอีกครั้งหลังจากงานสมัชชาประมงพื้นบ้านได้ผ่านไป ก็คงเหมือนลมทะเลที่พัดหอบเอาไอทะเลเข้าสู่ฝั่ง คงเหลือไว้แต่รูปภาพและความทรงจำที่ติดอยู่ในสมองของใครใครหลายคน ผมซึ่งมีโอกาสได้เข้าร่วมงานนี้ตั้งแต่วันที่เตรียมงานจนวันสุดท้าย           ภาพที่เห็นยังคงวนเวียนอยู่ในหัวกับคำถามมากมายที่ตามมาว่า งานนี้มีไว้เพื่อ.......?           มันเป็นคำถามที่ผมสงสัยเรื่อยมาจนคำตอบของคำถามเหล่านั้นค่อยๆ คลายออกมาทีละนิดทีละนิด เริ่มจากภาพของผู้คนที่เตรียมงานกันอย่างแข็งขัน…
คนไม่มีอะไร
  โครงการพัฒนาที่พยายามคืบคลาน…เข้ามา อีกนานมั้ย….??? ที่ประเทศไทยจะรอดพ้นจากโครงการพัฒนาที่ประชาชนต้องเป็นแพะรับบาป ชาวบ้านเป็นผู้รับกรรม เป็นผู้ที่ได้รับผลกระทบ เป็นผู้ต้องสูญเสีย และเป็นผู้เสียสละ พื้นที่ สิ่งแวดล้อมและวิถีชีวิต ความหลากหลายทางชีวภาพ ความหลากหลายทางวัฒนธรรม “เราไม่ต้องการโครงการพัฒนาขนาดใหญ่” “เราไม่ต้องการอุตสาหกรรมปิโตรเคมี” “เราไม่ต้องการโรงไฟฟ้านิวเคลียร์” “เราไม่ต้องการท่าเรือน้ำลึก” “เราไม่ต้องโรงไฟฟ้าถ่านหิน” คำเหล่านี้ประมวลสรุปจากเวทีจังหวัดภาคใต้ที่เราได้ไปจัดมา (ชุมพร นครศรีธรรมราช สงขลา ปัตตานี ยะลา นราธิวาส พัทลุง สตูล ระนอง กระบี่ ภูเก็ต และพังงา)…
คนไม่มีอะไร
เก็บตกจากเวทีโลกร้อน เมื่อ 3-5 ตุลาคม 2552 บรรยากาศการเดินขบวนรณรงค์เวทีโลกร้อน มันน่าจะบอกอะไรบางอย่างให้กับประเทศที่กำลังจะทำสิ่งเหล่านี้ กำลังพลนับหมื่นคน ณ วันนั้น เพื่อเรียกร้องให้ประเทศต่างๆทบทวนนโยบายการพัฒนาที่ผิดทาง คนนครศรีธรรมราชก็มาด้วย เพราะว่ากำลังจะเจอกับแผนพัฒนาที่สวนทางกับวิถีชีวิตชาวบ้าน โรงไฟฟ้าถ่านหิน โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ โรงถลุงเหล็ก อุตสาหกรรมปิโตรเคมี คนนครศรฯ ไม่เอา
คนไม่มีอะไร
  แผนอยู่เย็นเป็นสุข : ภาพรวมการจัดเวทีจังหวัด   วัตถุประสงค์         เพื่อรับฟังข้อเสนอและแนวทางการพัฒนาพื้นที่ภาคใต้เป็นรายจังหวัด เพื่อที่จะเปรียบเทียบกับแผนพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคใต้ของ สศช. การพัฒนาอุตสาหกรรมปิโตรของการนิคมแห่งประเทศประเทศไทย และโครงการขนาดใหญ่ที่จะเกิดในพื้นที่ภาคใต้ รวมทั้งรับฟังความคิดเห็นต่อเอกสารร่างมติข้อเสนอในแผนพัฒนาภาคใต้ที่ยั่งยืน   พื้นที่ดำเนินการ   13    จังหวัดภาคใต้ (ยกเว้นสุราษฎร์ธานี)   กระบวนการจัดเวทีจังหวัด          …
คนไม่มีอะไร
   ภาคใต้ : อุตสาหกรรมเหล็กครบวงจร   ในปัจจุบันปริมาณการใช้เหล็กในประเทศไทยมีแนวโน้มสูงขึ้น เพื่อใช้เป็นวัตถุดิบป้อนให้กับอุตสาหกรรมอื่นๆ เช่น อุตสาหกรรมยานยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น ในแต่ละปีมีความต้องการใช้เหล็กในประเทศสูงถึงประมาณ 12.5 ล้านตัน/ปี และต้องนำเข้าเหล็กจากต่างประเทศโดยเฉพาะเหล็กคุณภาพสูงประมาณ 4.5 ล้านตัน/ปี   ทั้งนี้ เนื่องจากประเทศไทยยังไม่มีอุตสาหกรรมผลิตเหล็กแบบครบวงจร โดยขาดการผลิตเหล็กต้นน้ำซึ่งเป็นการผลิตเหล็กขั้นต้นเพื่อป้อนให้กับอุตสาหกรรมเหล็กขั้นต่อไป จึงไม่สามารถตอบสนองต่อความต้องการใช้เหล็กคุณภาพสูงในประเทศไทยได้…
คนไม่มีอะไร
 ผังเมืองกำลังจะเปลี่ยน "นครศรีธรรมราช"  ที่จังหวัดนครศรีธรรมราช ตอนนี้มีการลงมาจัดทำผังเมืองถึงครึ่งทางแล้ว ไปแอบได้ข้อมูลมา ตอนบริษัท นำเสนอ คณะกรรมการกำกับผังเมืองฯ  และตอนนี้ทางพื้นที่ต้องความคิดเห็นเกี่ยวกับภาพข้างล่างนี้  ความเห็นจากแสนกล้า (นามสมมติ) นี่คือตัวอย่างหนึ่ง  ที่สะท้อนว่าถ้าเราเอาผังนโยบาย ระดับภาค ประเทศมาใช้บังคับตามกฎหมายตามที่กรมโยธาฯกำลังทำร่าง พรบ. ผังเมืองใหม่อยู่  จะเป็นอันตราย เป็นการมัดมือชกในการเอานโยบายมาใส่ในการจัดทำผังเมืองรวมตามกฎหมาย กรณีนี้ ยังเอามาใส่ทั้งๆ ที่ผัง หรือนโยบายระดับภาคยังไม่ใช้บังคับตามกฎหมาย…