Skip to main content

การนำพลเมืองขึ้นศาลทหาร ขัดกับรัฐธรรมนูญชั่วคราว 2557 ของ คสช. เอง ก่อให้เกิดความซ้ำซ้อน เหลือศาลเดียวไม่เปิดโอกาสให้แก้มือ และที่สำคัญเป็นการนำคู่กรณีมาเป็นคนตัดสิน ขาดความเป็นอิสระ ทำลายหลักประกันความยุติธรรม

วันก่อนรองเจ้ากรมพระธรรมนูญ หัวหน้าสำนักตุลาการทหาร ออกมาบอกว่า "กระบวนการยุติธรรมของศาลทหารกับศาลพลเรือน ไม่มีความแตกต่างกัน"

1.     ซ้ำซ้อน

นี่ถ้าเถียงแบบคอมมอนเซนส์ ก็คงตอบว่า ถ้ามันไม่ต่างกันแล้วจะเอาไปขึ้นไปศาลทหารทำไม ไม่เท่ากับว่ามันซ้ำซ้อนกันหรอ? ต่อไปก็ยุบศาลทหาร เหลือแต่ศาลยุติธรรมเท่านั้นก็ได้ เพราะมัน “ไม่มีความแตกต่างกัน”

และในความเป็นจริงแล้วมีความแตกต่างสำคัญที่ไม่สามารถสร้างความยุติธรรมได้ ดังนี้

2.     เป็นการนำคู่กรณีมาเป็นคนตัดสิน ขาดความเป็นอิสระ

ตุลาการศาลทหารขึ้นต่อกองทัพโดยตรง ตาม พ.ร.บ.ธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ. 2498 มาตรา 5 ระบุศาลทหารให้สังกัดอยู่ในกระทรวงกลาโหม ม.30  ระบุด้วยว่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เป็นผู้มีอํานาจแต่งตั้งตุลาการศาลทหารกรุงเทพ

หากดูผู้บังคับบัญชาของตุลาการศาลทหารก็คือกองทัพและฝ่ายบริหาร ซึ่งขณะนี้คือฝ่ายรัฐประหารโดยทั้งหมด ดังนั้นเมื่อมีการดำเนินคดีกับผู้ออกมาคัดค้านการรัฐประหารในศาลทหารจึงเป็น การดำเนินคดีโดยคู่ขัดแย้ง และการพิพากษาโดยคู่ขัดแย้งโดยตรง ขาดความเป็นอิสระ

ถ้าเรายอมรับความยุติธรรมในการดำเนินคดีแบบนี้ได้ ต่อไปเราก็ต้องยอมรับว่าสามารถนำคนของพรรครัฐบาลมาเป็นผู้พิพากษาตัดสินความผิดของฝ่ายค้านได้ด้วยเช่นกัน

3.     เหลือศาลเดียวไม่เปิดโอกาสให้แก้มือ

ตามประกาศของ คสช. ขณะนี้ เท่ากับเป็นศาลทหารในภาวะไม่ปกติทำให้เหลือศาลเดียว ไม่สามารถอุทธรณ์และฏีกาได้ ทำให้คู่กรณีไม่สามารถแก้มือได้

4.     ขัดกับรัฐธรรมนูญชั่วคราว 2557 ของ คสช. เอง

มาตรา 4 ของ รธน.ชั่วคราว 57 ก็ระบุว่า "ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิ เสรีภาพและความเสมอภาค บรรดาที่ชนชาวไทยเคยได้รับการคุ้มครองตามประเพณีการปกครองประเทศไทยในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขและตามพันธกรณีระหว่างประเทศที่ประเทศไทยมีอยู่แล้ว ย่อมได้รับการคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญนี้"

ดังนั้นการชุมนุมโดยสงบปราศจากอาวุธที่ถูกดำเนินคดีขณะนี้ ย่อมเป็นสิ่งที่ได้รับการคุ้มครองตามมาตรา 4 เท่ากับการดำเนินคดีเป็นการขัดรัฐธรรมนูญเช่นกัน

รวมทั้ง กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง ข้อ 14 (5) ซึ่งระบุว่า “บุคคลทุกคนที่ถูกลงโทษในความผิดอาญา ย่อมมีสิทธิที่จะอุทธรณ์การลงโทษ และคำพิพากษาต่อศาลสูงให้พิจารณาทบทวนอีกครั้งตามกฎหมาย” ดังนั้นตาม ม.4 ของ รธน.ชั่วคราว ประชาชนก็ต้องขึ้นศาลยุติธรรมที่สามารถอุทธรณ์ ฎีกา ได้

แม้รัฐธรรมนูญชั่คราว ฉบับนี้จะเป็นการออกมาโดยอำนาจที่มีประชาชนจำนวนมากไม่ยอมรับ แต่การดำเนินคดีพลเมืองในศาลทหารที่เป็นการขัดรัฐธรรมนูญนี้ คำถามคือยังเหลือความชอบธรรมอะไร นอกเสียจากการใช้อำนาจตามอำเภอใจหรือไม่?

 

บล็อกของ เทวฤทธิ์ มณีฉาย

เทวฤทธิ์ มณีฉาย
รายการมีเรื่องมาเล่าตอนนี้ เสนอตอน เปิด 5 ศพ ทหารเกณฑ์ถูกซ้อมตาย  เนื่องจากช่วงนี้เป็นฤดูเกณฑ์ทหาร ซึ่งปีนี้ มีความต้องการทหารกองประจำการ 103,097 นาย ความต้องการนี้เพิ่มขึ้นทุกปี  โดย สิ่งที่มาพร้อมกับการเกณฑ์ทหาร นอกจากสีสันการลุ้นใบดำใบแดง ภาพชายหนุ่มสวยๆ ต่างๆที่ต้องไปเข้าเกณฑ์ทหารแล้ว คือรายชื่อพลทหารที่ถูกซ้อมจนตายหรือบาดเจ็บสาหัส โดยมีเรื่องมาเล่าฯ ตอนนี้จะยกตัวอย่าง พลทหารที่ถูกซ้อมจนตายเท่าที่ปรากฏเป็นข่าวอย่างน้อย 5 ราย ประกอบด้วย พลทหารยุทธกินันท์ บุญเนียม พลทหารวิเชียร เผือกสม พลทหารทรงธรรม หมุดหมัด  พลทหารอภินพ เครือสุข  และ พลทหารสมชาย ศรีเอื้องดอย เป็นต้น
เทวฤทธิ์ มณีฉาย
ข้อถกเถียงว่าด้วยเรื่องของประเด็น 1. สู้หรือซ้อม 2. ชัยภูมิ ไม่ใช่รายแรก เดือนที่แล้วก็มีเหตุวิสามัญแบบนี้ 3. เงินจากขายยาบ้าหรือกาแฟ 4. ขนยาหรือโดนยัด 5. กล้องวงจรปิดดทำไมไม่เปิด 6. ลาหู่ และผลกระทบในช่วงสงครามยาเสพติด-โดนคุกคามหนักถึงชีวิต และ 7. ชาวบ้านกับ จนท. ทะเลาะกันบ่อยจนไม่ไว้วางใจ ตั้งแต่เรื่องที่ทำกินยันโพสต์คลิปในเฟซบุ๊ก
เทวฤทธิ์ มณีฉาย
เปิดข้อมูลอีกด้านก่อนจะปลื้มไปกับ พล.อ.ประยุทธ์ ที่โชว์ว่าไทยมีระดับความทุกข์ยากต่ำที่สุดในโลก หรือมีความสุขที่สุด 3 ปีซื้อ ขณะที่ปัจจัยที่ใช้วัด อย่าง อัตราการว่างงาน ไทยมีปัญหาในการนับ เพราะทำงานอะไรก็ได้แค่ 1 ชม./สัปดาห์ รวมทั้งเศรษฐกิจนอกระบบเราใหญ่มาก รวมทั้งอัตราเงินเฟ้อที่ต่ำ กลับเป็นการสะท้อนปัญหาที่จะเป็นเงินฝืด
เทวฤทธิ์ มณีฉาย
มีเรื่องมาเล่า ตอน สนช.โดนประชุมประจำ หรือไม่ควรเข้าประชุมตั้งแต่ต้นด้วยซ้ำ สื่บเนื่องจากเมื่อต้นเดือนที่ผ่านมา โครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน หรือ ไอลอว์ ได้เปิดเผยผลสำรวจ เกี่ยวกับการเข้าประชุมของสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ระยะเวลา 2 รอบ (180 วัน) ของปี 2559  พบว่า สมาชิกอย่างน้อย 7 คน ที่ทำการสำรวจ มาลงมติไม่เกินกว่าหนึ่งในสามของการลงมติในแต่ละรอบ 
เทวฤทธิ์ มณีฉาย
หลังจากเมื่อเดือนที่ผ่านมาประเด็น 'แพะ' หรือความผิดพลาดของกระบวนการยุติธรรมจนนำมาสู่การตัดสินลงโทษผู้บริสุทธิ์ เป็นประเด็นวิพากษ์วิจารณ์กันในสังคม รายการ 'มีเรื่อง มาเล่า' ตอนนี้ นำเสนอ '5 ประเด็นคุมกำเนิดคดีแพะ' โดยรวบรวมข้อเสนอเกี่ยวกับการปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมเพื่อลดความผิดพลาดของระบบ มาเล่า ได้แก่ การพิจารณาคดีให้ครบองค์คณะ การบันทึกเป็นภาพและเสียงแทนตัวอักษร ปัญหาของระบบกล่าวหาทำจำเลยตกเป็นเบี้ยล่างตั้งแต่ต้น การนำนิติวิทยาศาสตร์มาใช้ควบคู่ และความคืบหน้าของร่าง พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการทรมานและการบังคับบุคคลให้สูญหาย พ.ศ. ... ที่ถูกนำเข้าสู่สภา 
เทวฤทธิ์ มณีฉาย
รายการ 'มีเรื่อง มาเล่า' ตอน ไทยความเหลื่อมล้ำ อันดับ 3 ของโลก คนรวยสุด 10% ครองทรัพย์สิน 79% ของประเทศ และข้อเสนอของ นิธิ คำตอบอยู่ที่การเมือง
เทวฤทธิ์ มณีฉาย
รายการ 'มีเรื่อง มาเล่า' ตอนนี้ นำเสนอ เมื่อดัชนีคอร์รัปชั่นรัฐบาลปราบโกงหล่นฮวบ กับข้อเสนอของ ที่ ศ.ดร.ผาสุก พงษ์ไพจิตร ผู้ศึกษาเรื่องคอรัปชั่นมากว่า 20 ปี มานำเสนอบางช่วงบางตอน ซึ่งศ.ดร.ผาสุได้พูดถึงประเด็นการแก้ปัญหาคอรัปชั่นกับระชาธิปไตยไว้อย่างน่าสนใจ 
เทวฤทธิ์ มณีฉาย
คลิปจากรายการ 'มีเรื่อง มาเล่า' ตอนนี้ เสนอ 6 อันดับ รัฐประหารที่ขอเวลานานทีสุด 
เทวฤทธิ์ มณีฉาย
1. เพื่อไม่ให้เป็นการลงโทษผู้บริสุทธิ์ (ผู้ต้องหายังไม่ถูกพิพากษาถือเป็นผู้บริสุทธิ์) 2. ปิดช่องกลั่นแกล้งโดยผู้มีอำนาจรัฐหรือฝ่ายบริหาร  3. รักษาหลักประกันความยุติธรรม   และ 4. ยังยั้งการบีบให้ผู้ต้องหาเลือกที่จะสารภาพ
เทวฤทธิ์ มณีฉาย
เก็บตกจากงานเสวนา 'เราควรตีความเสียง No vote อย่างไร' อ่านรายละเอียด http://prachatai.org/journal/2016/08/67197