Skip to main content

 


ภาพ มาลานชา โดย Tou Paycheck

 
บางครั้ง
หรืออาจจะบ่อยครั้ง ที่เราต้องพบตัวเองตกอยู่ในสภาพที่อ่อนแอ หมดเรี่ยวหมดแรง ไม่มีกะจิตกะใจลุกขึ้นทำอะไร นอกเรื่องที่จำเป็นจริงๆที่ทำให้เราต้องพยายามฝืนใจซังกะตายลุกขึ้นมา ดังอาการที่เกิดขึ้นกับผมในอาทิตย์ที่ผ่านมา เนื่องมาจากหลายสิ่งหลายอย่างที่เรียกกันว่า ปัญหาชีวิต (อะไรก็ช่างเถอะ) มันเข้ามารุมกินโต๊ะผม จนผมทรุดลงนั่นแหละ
 
ตอนนี้
อาการของผมค่อยๆดีขึ้นจนเกือบเข้าสู่ความเป็นปกติแล้ว ที่ดีขึ้นนั้นมิใช่เป็นเพราะว่า ผมได้แก้ปัญหาจบสิ้นไปแล้ว ปัญหาต่างๆยังคงมีอยู่
 
 แต่เป็นเพราะว่า ผมได้ทำใจยอมรับความอ่อนแอที่เกิดขึ้นแก่ชีวิตจิตใจ และเฝ้ามองดูมัน (ความอ่อนแอ) แทนที่จะคิดผลักไสมันให้ออกไปจากจิตใจ เหมือนอย่างที่ผมเคยทำ เพราะหลงเชื่อตามคำผู้ใหญ่รวมทั้งสังคมที่บอกเรามาทุกยุคทุกสมัยว่า ความอ่อนแอเป็นสิ่งที่เลวร้าย เราจะต้องขับไล่มันออกไป หรือต้องไม่ยอมให้มันเกิดขึ้นแก่ตัวเองอย่างเด็ดขาด และเราจะต้องเป็นมนุษย์ที่เข้มแข็งเท่านั้น
 
ซึ่งเป็นวาทกรรมที่ผิดหลักความจริง ผิดหลักธรรมชาติของชีวิต ทำให้เราไม่รู้จักยอมรับความอ่อนแอเมื่อถึงคราวที่เราต้องอ่อนแอ (คนที่เกิดมาแล้ว ไม่เคยรู้จักความอ่อนแอ ไม่ต้องอ่านเรื่องนี้) และนั่นยิ่งทำให้เราเก็บกดและเป็นทุกข์ซับซ้อน ไม่รู้แล้วรู้จบมากยิ่งขึ้น ซึ่งเป็นเรื่องความเชื่อ และค่านิยมที่ผิดๆ
 
ความจริงแล้ว
เมื่อตั้งสติเฝ้ามองดูความอ่อนแอ เหมือนนักปฏิบัติธรรม เฝ้ามองดูอารมณ์ความรู้สึกนึกคิดต่างๆทั้งด้านลบและบวกของตัวเองที่เกิดขึ้นแต่ละขณะโดยไม่วิพากษ์วิจารณ์ และนิยาม ผิด ถูก ดี เลว ไม่ผลักไสมันออกไป (เพราะไม่ชอบ) ไม่เหนี่ยวรั้งมันเอาไว้ (เพราะชอบ) เฝ้าดูมันจนมันคลายจางจากไป
 
ผมพบว่า
ความอ่อนแอ ก็คืออารมณ์ความรู้สึกนึกคิดด้านลบชุดหนึ่ง เช่นเดียวกับความโกรธ ความเกลียด ความโลภ ความอิจฉาริษยา ถ้าเรามีสติเฝ้ามองดูมัน แทนที่จะยอมตกเป็นเหยื่อของมัน มันก็จะค่อยๆจางหายไป เมื่อเหตุปัจจัยของมัน ซึ่งก็คือความคิดในเรื่องที่ทำให้เราเกิดอารมณ์ความรู้สึกชนิดนี้...คลายออกไปจากจิตใจ (เป็นความจริงอย่างที่หลวงพ่อดูลย์กล่าวว่า “คนสมัยนี้เขาเป็นทุกข์เพราะความคิด”)
 
เหตุที่ผมมีความรู้สึกอ่อนแอดังกล่าวมาเนิ่นนานเป็นอาทิตย์ ก็เป็นเพราะว่า ผมเป็นคนประเภทย้ำคิดย้ำทำ นั่นเอง ว่ากันว่า คนประเภทผมนี่แหละที่มักจะฆ่าตัวตายกันได้ง่ายๆ เพราะเวลามีเรื่องอะไรร้ายๆเข้ามาในชีวิต มักจะเก็บมาย้ำคิดแล้ว...ย้ำคิดอีก ไม่รู้จักปล่อยวาง จนตัวเองทนไม่ไหว แล้วชีวิตจะเหลืออะไร
 
แต่กับตัวผมในเวลานี้คงยาก เพราะผมยอมรับมัน มองเห็นใบหน้าของมัน และเข้าใจมันเสียแล้ว ที่สำคัญก็คือผมถือว่ามันเป็นความจริงประการหนึ่งของชีวิต และเป็นธรรมชาติของชีวิต ที่เราจะต้องยอมรับมันเมื่อถึงเวลาที่เราจะต้องอ่อนแอ เหมือนเรายอมรับกลางวันและกลางคืน ยอมรับฤดูกาลต่างๆที่ผ่านเข้ามาในชีวิต ซึ่งทำให้เราเติบโตและแข็งแกร่งขึ้น เพราะชีวิตได้ถูกบ่มเพาะจากความมืด จากแสงสว่าง และจากความต่างในอุณหภูมิของฤดูกาล นั่นเอง
 
6 กุมภาพันธ์ 2554
กระท่อมทุ่งเสี้ยว เชียงใหม่ 

 

 

 

บล็อกของ ถนอม ไชยวงษ์แก้ว

ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
    เมื่อยังมีชีวิต จงหายใจเข้าไว้ หายใจแรงๆ และหายใจอย่างสดชื่น เพราะภาระหน้าที่ของชีวิตคือการมีชีวิต ชีวิตที่กระปรี้กระเปร่า และถ้าเป็นไปได้ควรต้องรื่นรมย์กับชีวิต บาปอันยิ่งใหญ่ของมนุษย์ (บางทีสำหรับสิ่งมีชีวิตทั้งปวง) คือการปฏิเสธชีวิต   การมีชีวิต
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
    ฉันเป็นเท่าที่ฉันเป็น ฉันทำเท่าที่ฉันหวัง ฉันหวังเท่าที่ฉันเห็น ฉันง่ายฉันงามฉันแจ่มชัด ฉันเชื่อหนึ่งมากกว่าร้อย ฉันเชื่อคนมากกว่าลัทธิ ฉันเชื่อดินมากกว่าฟ้า ฉันเชื่อต้นหญ้ามากกว่าขุนเขา ฉันเชื่อสวนหลังบ้านมากกว่าป่าหิมพานต์ ฉันเชื่อวันนี้มากกว่าวันวาน ฉันง่ายฉันงามฉันแจ่มชัด ฉันไม่เชื่ออำนาจรัฐจากกระบอกปืน   ฉันเป็นเท่าที่ฉันเป็น.  
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
  อิสรภาพ   ฉันต้องการอิสรภาพ ที่จะได้เห็น ที่จะได้ยิน ในสิ่งที่กำลังเกิดขึ้น
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
  เป็นที่ทราบกันดีว่า กฎหมายอาญามาตรา 112 เป็นกฎหมายที่สร้างความทุกข์สาหัสให้แก่ผู้ที่ถูกกล่าวหาว่า “หมิ่นสถาบัน” มามากมายหลายคน เพราะกฎหมายนี้ถูกตราขึ้นมาอย่างกว้างๆไม่ระบุขอบข่ายความผิดให้ชัดเจน รวมทั้งกระบวนการจับกุม สอบสวน ดำเนินคดี ก็มิได้เป็นไปตามปกติทั่วไป มิหนำซ้ำการตีความบังคับใช้มาตรานี้ ว่ากันว่า เจ้าหน้าที่สามารถตีความใช้ได้อย่างกว้างขวาง และนักการเมืองมักจะใช้เป็นเครื่องมือในการทำลายฝ่ายตรงกันข้ามอยู่เสมอ และผู้ต้องคดีนี้นอกจากจะติดคุกติดตะรางแล้ว ยังถูกซ้ำเติมจากสังคมที่จงรักภักดีต่อสถาบันอย่างรุนแรง    
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
    คือแม่น้ำและขุนเขาอันขรึมขลัง คือพลังคีตกานท์อันหวานไหว คือหนึ่งจิตวิญญาณล้านนาไทย คือดอกไม้สวยสะคราญบานนิรันดร์  
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
  ย้อนกลับไปทบทวนดู คำประกาศหลังจากรับพระราชทานโปรดเกล้าฯของคุณยิ่งลักษณ์ตอนหนึ่งที่กล่าวว่า “อุปสรรคข้างหน้ายังรอเราอยู่มาก ทั้งที่ควบคุมได้และควบคุมไม่ได้ แต่ทั้งหมดมิใช่อุปสรรคขวางกั้นมิให้ทำงาน พร้อมที่จะอุทิศตัวด้วยความทุ่มเท เสียสละอดทน ทำงานแข่งกับเวลา ไม่เกรงต่อความลำบากใดๆ”
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
    แล้ว ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ส.ส.บัญชีรายชื่อพรรคเพื่อไทย หมายเลข 1 ก็ได้เป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 28 และ เป็นนายกหญิงคนแรกในประวัติศาสตร์การเมืองของเมืองไทย และเป็นคนที่ 52 ของโลก อย่างสมบูรณ์ โดยได้รับการโหวตเสียงจากที่ประชุมสภาฯ เมื่อวันที่ 5 สิงหาคม 2554 ด้วยคะแนนเสียงเห็นด้วย 296 เสียง ไม่เห็นด้วย 3 เสียง และงดออกเสียง 197 เสียง ก่อนจะได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ในวันที่ 8 สิงหาคม 2554 เวลา 18.40 น. ณ บริเวณตึกชั้น 7 ที่ทำงานพรรคเพื่อไทย ท่ามกลางความยินดีของคนจำนวนมากมาย ที่สนับสนุนคุณยิ่งลักษณ์และพรรคเพื่อไทย  
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
    คราวที่แล้ว ผมนำเรื่อง “คนดีของคนเมือง และ คนดีของชนบท” ที่แตกต่างกัน จากบทสัมภาษณ์ที่ชื่อว่า “ความคาดหวังและความจริงของประชาธิปไตยแบบไทยๆ” ของ ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ ซึ่งให้สัมภาษณ์ลงนิตยสารสารคดี ฉบับเดือนตุลาคม 2543 ผมคิดว่าจะหยุดเพียงแค่นั้น แต่ก็หยุดไม่ได้ เพราะพบว่ายังมีประเด็นที่ผมคิดว่าน่าจะเป็นประโยชน์แก่ท่านผู้อ่านอีกสองประเด็น ที่ยังเป็นเรื่องราวที่ยังดำรงอยู่ในปี 2544 และต่อไปอีกนานเท่าไหร่ ก็คงไม่มีใครรู้ เพราะมันเป็นรื่องของอนาคต  
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
      ผมมักจะได้ยิน ผู้คนและสื่อต่างๆเกี่ยวกับการเมือง มักจะพูดกันให้ได้ยินอยู่เสมอว่า “คนชนบทเป็นคนเลือกตั้งรัฐบาล คนเมืองเป็นคนล้ม” ซึ่งดูเหมือนจะเป็นความจริงมาโดยตลอด แต่ก็ไม่มีใครให้คำอธิบายที่ฟังดู สมเหตุสมผลและชอบธรรม ให้ฟัง ว่าทำไมคนเมืองที่หมายถึงคนชั้นกลาง จึงไม่ชอบรัฐบาลที่ได้มาจากเสียงส่วนใหญ่ที่เป็นคนชนบทในประเทศ และช่วยกันล้มรัฐบาลที่เขาเลือกตามกติกา 
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
      ถึงแม้ คุณยิ่งลักษณ์ ชินวัตร จะได้รับการรับรองจาก กกต. ให้หลุดพ้นจากข้อหาไปช่วยขบวนแห่ที่เชียงราย ให้พ้นจากข่ายความผิดด้วยมติ 5 ต่อ 0 ท่ามกลางความโล่งอกของใครต่อใครมากมายหลายคน ที่ว่ากันว่า เป็นเพราะโพลเสียงจากประชาชน 80 เปอร์เซ็นต์ ต้องการคุณยิ่งลักษณ์นายกฯ (รวมทั้ง นปช.) เป็นกระแสกดดัน กกต. หรือเพราะเหตุใดก็ช่างเถิด แต่เราก็สามารถฟันธงกันได้เลยว่า อีกไม่นาน เราจะต้องได้นายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกของประเทศอย่างแน่นอน 
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
      ผมไม่แน่ใจว่า ก่อนที่คุณยิ่งลักษณ์ ว่าที่นายกฯ ยิ่งลักษณ์ คนสวย และกลุ่มมันสมองของพรรคเพื่อไทยจะชูนโยบายประชานิยม เพิ่มค่าแรงงานขั้นต่ำให้กรรมกรผู้ใช้แรงงานจาก 221 บาท เป็น 300 บาท และเพิ่มเงินเดือนให้แก่ผู้จบปริญญาตรีที่เริ่มเข้าบรรจุงานจาก 11,028 บาท เป็น 15,000 บาท
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
ผมกำลังจะชวนใครต่อใคร เข้ามาคุยเรื่องปัญหาที่รัฐบาลใหม่จะต้องเข้ามาสะสางและแก้ไข จากข้อมูลของนักวิเคราะห์การเมืองท่านหนึ่งที่รวบรวมและชี้แนะเอาไว้ล่วงหน้าแก่รัฐบาลของคุณยิ่งลักษณ์เอาไว้