Skip to main content

 

เสียงปี่ผสมเสียงซึงดังขึ้น 
รับกับเสียงผู้ขับซอ   เสียงปีและซึงผสมกลมกลืนมีทั้งหวานแหลมและนุ่มนวล   ก่อเกิดบรรยากาศความเป็นชาวเหนือขึ้นมาทันที   ผู้ขับซอชายนั่งขัดสมาธิ มือถือไมโครโฟนไร้สาย ผู้หญิงนั่งพับเพียบเคียงกัน หันหน้าอวดผู้ชม   ยามผู้ชายขับซอ   ผู้หญิงเอียงตัวไปมา มือไม้ขยับรับเสียงดนตรี   ทำนองดนตรีนั้นเนาวรัตน์ฟังไม่ออก เป็นเพลงอะไร สมัยเด็กๆเขาเข้าใจว่า คนเป่าปี่และคนดีดซึง คงเล่นเพลงเดียวตลอดงาน เพราะฟังทีไรก็เหมือนเดิมทุกที วันนี้เนาวรัตน์ได้ชมการขับซอเป็นครั้งแรกด้วยวัยที่สูงขึ้น เนื้อหาการขับซอ คล้ายเป็นคำพูดภาษาเหนือที่ใส่ทำนองเข้าไป มีคำคล้องจองสัมผัสกัน กล่าวถึงความดีของการบวช พูดถึงวัฒนธรรม ประเพณี เรื่องเพศ ที่น่าสังเกตผู้ขับซอหญิง เสียงจะแหลมสูงมาก   คำร้องชัดเจน เสียงไม่มีตก 

เอ่ยถึงเรื่องนี้ ทำให้เนาวรัตน์อดนึกถึงการเดินทาง ไปพูดคุยกับผู้ขับซออาวุโส ผู้เป็นต้นแบบการขับซอพื้นเมือง ชื่อคุณแม่จันทร์สม สายธารา เมื่อวันจันทร์ที่ 12 กรกฎาคม 2553  ที่บ้านเลขที่ 99 หมู่ 2 ตำบลดอนแก้ว อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ การพูดคุยเริ่มขึ้นหลังจากเนาวรัตน์ยกมือไหว้และแนะนำตัว ตอนแรกเขาจะนั่งที่เสื่อ
   ส่วนแม่จันทร์สมนั่งบนเก้าอี้นวม   มีพัดลมชนิดตั้งวางพื้นเป่าระบายความร้อน   ท่านไม่ยอมบอกให้ขึ้นมานั่งด้วยกัน ทั้งสองพูดคุยกันที่หน้าบ้านนั่นเอง ส่วนภรรยาเนาวรัตน์นั่งพับเพียบที่เสื่อตรงพื้นหน้าบ้าน หน้าแม่จันทร์สม ก็เหมาะสมดีสำหรับผู้หญิง

“ แม่ครับ   ผมสนใจเรื่องซอพื้นเมือง อยากมาหาความรู้กับแม่ แม่เป็นศิลปินแห่งชาติ ปี พ.ศ. 2539 ใช่ไหมครับ ?
“ ใช่ !   แม่ได้ศิลปินแห่งชาติ ปี 2539   ได้หลังครูคำผาย นุปิง
“ ผมค้นจากอินเตอร์เน็ต ทราบว่า พ่อครูคำผาย นุปิง ได้ศิลปินแห่งชาติ ปี พ.ศ. 2538 ก่อนแม่ครูจันทร์สมปีหนึ่ง ใช่ไหมครับ ?”
“ ใช่ๆ !   พ่อครูคำผายบอกแม่ว่า เปิ้นได้ศิลปินแห่งชาติก่อน ต่อไปแม่ก็จะได้ศิลปินแห่งชาติ ประเภทเพลงพื้นบ้าน-ขับซอ เพราะเปิ้นจะให้เป็นคู่   เรา 2 คนเป็น “คู่ถ้อง”กัน

“ เอ่อ ! แม่ครับ “คู่ถ้อง” เป็นยังไงครับ ?”
“ หมายถึง   เราซอคู่กัน โต้ตอบกันไปมา ระหว่างแม่กับพ่อครูคำผาย...ศิลปินแห่งชาติประเภทขับซอ   เขาจะให้รางวัลทั้งสองคน ถ้าไม่มีคู่ถ้องที่เล่นด้วยกันนานๆ จะไม่ได้รับรางวัลนี้
“ ขอโทษครับแม่ ปัจจุบันแม่อายุเท่าไรครับ ?”
“ แม่อายุได้ 78 ปีแล้ว   เกิดวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2475  แม่เป็นคนเชียงใหม่โดยกำเนิด.”
“ เดี๋ยวนี้   แม่รับใครเป็นลูกศิษย์ สอนการขับซอให้บ้างครับ ?
“ เดี๋ยวนี้ แม่เลิกสอนแล้ว กรรมการที่ตัดสินศิลปินแห่งชาติบอกแม่ว่า   พักผ่อนได้แล้ว ใครอยากเรียนซอ   ให้ไปเรียนกับลูกศิษย์แม่ก็แล้วกัน.
“ หมายความว่า   แม่มีลูกศิษย์หลายรุ่น   หลายคน   ทั้งหมดสักกี่คนครับ ?
“ มีหลายรุ่น   มีทั้งหมด 30 กว่าคน   มีชื่อเสียงกันหมดแล้ว เช่น   ไอ้เก๋า   อีต่อม.
“ สองคนหลังนี้ดังนะครับแม่ ผมได้ยินชื่อเสมอมา…เอ้อ ! แม่ครับ ในความเห็นของแม่ แม่จะให้ลูกหลานรุ่นต่อไป ได้สืบสานอนุรักษ์การขับซอ ให้อยู่คู่คนเหนืออย่างไร?
“ แม่จัดรายการวิทยุ “มรดกเมืองเมืองเหนือ” ที่สถานีวิทยุ สื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ทุกวันพุธ เป็นการอนุรักษ์ศิลปะพื้นบ้าน อย่างซอพื้นเมืองไว้.
 
 

บล็อกของ ถนอมรัก เดือนเต็มดวง

ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
    นอสตราดามุส (ค.ศ. 1502-1566) เป็นชาวฝรั่งเศสเชื้อสายยิว เรียนจบปริญญาตรีคะแนนดีเยี่ยม จึงโดดเรียนปริญญาเอกจนจบสาขาแพทย์ ได้ทำนายไว้ว่า  “ ...วันเวลาแห่งความศักดิ์สิทธิ์ของการสิ้นยุคเก่าและการมาถึงของยุคใหม่...กำลังจะเข้ามาปรากฏแก่สังคมโลกมนุษย์อยู่แล้ว ซึ่งคาดตามตรรกะจะเกิดขึ้นในช่วงระหว่าง 23 ปีข้างหน้านี้ คือระหว่างปี ค.ศ. 2000 ถึง ค.ศ.2023...” (หนังสือนอสตราดามุส โดย ศ.เจริญ วรรธนะสิน หน้า 363)  
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
    ผมปลดกระเป๋าหนังสะพายบ่า เปิดกระเป๋าหยิบเอกสารปึกใหญ่ออกมา ซึ่งเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับแผ่นดินไหว ดูท่านยิ้มเหมือนพึงพอใจ ชี้ไปที่เอกสารฉบับหนึ่งแล้วบอกว่า นั่นเป็นชื่อของท่านที่เขียนเรื่องนั้น ผมหัวเราะแก้เขินที่จุดไต้ตำตอ ถือโอกาสย้ำถาม “ ท่านชื่อคุณอดิศร ฟุ้งขจรหรือครับ ? ขอโทษผมไม่ทราบจริงๆครับ.” เราทั้งคู่หัวเราะและยิ้มให้กัน เราเริ่มคุ้นเคยกันในเวลาอันสั้น คงจะจริงนะ ที่ว่าการพบกันครั้งแรกเป็นเรื่องสำคัญยิ่ง หากอัธยาศัยต้องกัน หรือที่พูดกันว่า ถูกชะตากัน ยิ่งคุยยิ่งสนุก มิตรภาพงอกงามรวดเร็ว…
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
  24 พฤษภาคม 2554
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
  เพลงที่ 11 ลืมไม่ได้เด็ดขาด ชื่อเพลง “ศรัทธา” ขับร้องโดยคุณโป่ง ปฐมพงษ์ สมบัติพิบูลย์ นักร้องนำวง หิน เหล็ก ไฟ ก่อนเปลี่ยนเป็นวง The Son ทราบว่าเพลงของวงนี้ เขาแต่งเนื้อร้องทำนองเองหมด คุณโป่งเป็นนักร้องร็อคระดับต้นแบบ หรือ Idol ของใครอีกมากมายที่เดินตามในถนนสายดนตรี เสียงมีพลัง มีความหนักแน่น เป็นเพลงประเภทให้กำลังใจต่อสู้ ให้มุมมองชีวิต ให้ความคิด เนื้อเพลงบางท่อนกลายเป็นวลีฮิตติดปากไปแล้ว เนื้อเพลงบางตอน              …
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
 
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
      ผมฟังคุณศิริพรกล่าวเนื่องในวันเกิด ของผู้ชราหลายคนในวันนี้ ฟังแล้วจับใจไม่น้อย “ ...ถึงแม้บ้านวัยทองนิเวศน์ จะมีอาหารการกิน มีเครื่องนุ่งห่ม เครื่องใช้สอย แต่ที่ขาดเป็นด้านจิตใจ แม้จะไม่สามารถทดแทนครอบครัวเดิมของท่านได้ก็ตาม จะพยายามเติมเต็มส่วนที่ขาด ตามที่สามารถทำได้...” เมื่อพิธีกรงานวันเกิดกล่าวต่อจนจบแล้ว 
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
ใกล้เที่ยงในโรงอาหารมีคนพลุกพล่าน พินิจดูเป็นเด็กหนุ่มสาว อาจเป็นระดับอาชีวะ หรือมหาวิทยาลัยราวปี 1 , 2 มีโต๊ะยาววางถ้วยจานแก้วน้ำ หน้าโรงอาหาร มีเจ้าหน้าที่บริการ 2 คน ผมเดินไม่รู้ไม่ชี้มองหาเจ้าหน้าที่บ้านวัยทองนิเวศน์
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
ผมเดินออกจากสำนักงาน
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
  ผมบอกให้ลูกจอดรถ ที่ถนนทอดสู่ตัวอาคารสำนักงาน บอกให้แกพาแม่ไปเยี่ยมยายที่บ้านปง ที่อยู่ห่างจากที่นี่ราว 3 กิโลเมตรเศษ ประมาณ 11 โมงให้กลับมารับพ่อ ผมเดินเข้าไปหาเจ้าหน้าที่ในตัวอาคาร พบเจ้าหน้าที่หญิง เป็นคนที่เคยรู้จักกันมาก่อน เธอยกมือไหว้เมื่อเห็นหน้าผม เธอมีบ้านพักอาศัยอยู่ในหมู่บ้านสันมหาพน หมู่บ้านนี้อยู่ตรงข้ามกับโรงเรียนสันมหาพนวิทยา ซึ่งเป็นโรงเรียนที่ตั้งอยู่ฟากถนนทิศตะวันตก โรงเรียนนี้อยู่ห่างที่ว่าอำเภอไปทางทิศใต้ไม่ถึง 100 เมตร ผมเคยสอนโรงเรียนนี้นาน 12 ปี ผมบอกเธอว่า …
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
  วันนี้ขับรถกระบะสีเขียว รุ่น พ.ศ. 2537 ออกจากบ้านทุ่งแป้ง อำเภอสันป่าตองราว 8.00 น.เศษ มีจุดหมายปลายทางที่บ้านวัยทองนิเวศน์ อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ คนนั่งซ้ายมือเป็นขาประจำ มีหน้าที่นั่งคุยเป็นเพื่อนไม่ให้คนขับรถง่วง บางเวลาก็นั่งเฝ้ารถกรณีผมเข้าห้องสมุดที่ต่างๆ คอยซื้ออาหารกลางวัน เครื่องดื่มบำรุงคนขับรถ เป็นฝ่ายสวัสดิการ บางทีทำเกินหน้าที่ กลายเป็นฝ่ายก่อความสงบภายในรถ สร้างความเครียดแก่คนขับแทนการผ่อนคลาย สาเหตุจากให้เฝ้ารถนานๆ เมื่อผมกลับจากค้นคว้าในห้องสมุดมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ …
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
  ปีนี้ พ.ศ.2554 จะยังมีกิจกรรมดำหัวผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่หรือไม่ ? หนังสือพิมพ์ท้องถิ่น “ไทยนิวส์” ฉบับวันศุกร์ที่ 1 เมษายน 2554 ได้ลงข่าวหน้า 1 ว่า “ จัดดำหัวผู้ว่าฯสานประเพณี เปลี่ยนชื่องานใหม่ สระเกล้าฯป้อเมือง .” โดยมีเนื้อหาข่าวบางตอนดังนี้ครับ “เมื่อ 30 มีนาคม 2554 นายวรการ ยศยิ่ง รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่เผยว่า เพื่อให้การจัดกิจกรรมนี้เป็นการแสดงออกถึงความเป็นวัฒนธรรมประเพณีปีใหม่เมืองล้านนาของจังหวัดเชียงใหม่ จึงได้มีการปรับเปลี่ยนชื่อกิจกรรมเป็นงาน สระเกล้าดำหัวป้อเมืองเจียงใหม่ …