Skip to main content

 

เร่งวันคืน
ให้เดินไปสู่วันที่ 13 กรกฎาคม 2555โดยเร็ว อยากฟังคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ เครียดนะ ยิ่งเราค้นหาแนวทางคำตอบที่จะออกมาจากอินเทอร์เน็ต หาข้อเท็จจริง อ่านข้อคิดเห็นของผู้รู้ทางกฎหมาย เปิดรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2555 เล่มหน้าปกสีเหลือง ดูมาตรา 68 , 291 ที่มีการถกเถียงอย่างกว้างขวาง ปวดหัว ยาพาราฯ 2 เม็ดไหลลงคอ หลับตานอนนิ่งๆ หลังพิงพนักเก้าอี้ดีที่สุดยามนี้ ตื่นมาอาการดีขึ้น แต่ยังสลัดเรื่องการวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญไม่หลุด

วันที่ 13 กรกฎาคม 2555
มาถึงจนได้ ศาลรัฐธรรมนูญจะอ่านคำวินิจฉัยประมาณ 14.00 น. ใช้เวลาอ่านราว 1 ชั่วโมงเศษ เมื่อถึงเวลา 15.00 น.เศษคงรู้ผลคำวินิจฉัย ขอยกประเด็นและคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่ปรากฏผลแล้วว่า ประเด็นที่ 1 ศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจรับคำร้องไว้พิจารณาวินิจฉัยหรือไม่(คำวินิจฉัยว่า มีอำนาจรับคำร้อง ผู้ทราบการกระทำที่ฝ่าฝืนมาตรา 68 สามารถ 1.เสนอเรื่องให้อัยการสูงสุดตรวจสอบข้อเท็จจริง และยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ 2. สามารถยื่นขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยสั่งการให้เลิกการกระทำดังกล่าว) ประเด็นที่ 2 ศาลรัฐธรรมนูญจะวินิจฉัยว่า การแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 291 สามารถแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญทั้งฉบับได้หรือไม่(คำวินิจฉัยว่า ควรให้ประชาชนได้ลงประชามติเสียก่อน) ประเด็นที่ 3 การกระทำของผู้ถูกร้องเป็นการล้มล้างการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระ มหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข หรือเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจปกครองประเทศ ซึ่งไม่ได้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญตามมาตรา 68 วรรค 1 หรือไม่(คำวินิจฉัยว่า ไม่เป็น...) ประเด็นที่ 4 หากมีการกระทำตามประเด็นที่ 3 จะมีผลถึงการยุบพรรคหรือไม่ และเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งหัวหน้าพรรค และกรรมการบริหารพรรคหรือไม่(คำวินิจฉัยว่า ยกคำร้อง)

ประเด็นที่ 1
มีผู้รู้หลายคนไม่เห็นด้วยในคำวินิจฉัยนี้ บ้างว่า ไม่อยู่ในอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญที่จะรับคำร้องนี้ได้ และยังขยายความไปถึงประเด็นอื่นคือ ๆไม่เห็นด้วยที่การแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้งฉบับต้องทำประชามติ ส่วนคำวินิจฉัยในประเด็นที่ 3 , 4 มีผู้เห็นด้วย ในเรื่องนี้มีผู้แสดงความเห็นที่แหลมคมน่าสนใจยิ่งจำนวน 3 คนได้แก่ อาจารย์ธิดา ถาวรเศรษฐ ประธานแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ(นปช.) อาจารย์วรเจตน์ ภาคีรัตน์ แกนนำกลุ่มนิติราษฎร์ และคุณจาตุรนต์ ฉายแสง อดีตรักษาการหัวหน้าพรรคไทยรักไทยทั้งสามคนกล่าวว่าอย่างไร หาอ่านได้ตามหนังสือพิมพ์ซิครับ ถึงอย่างไรก็ตาม ศาลรัฐธรรมนูญมีไว้เพื่อหาข้อยุติ เพื่อให้เกิดสภาวะอยู่ร่วมกันได้ในสังคม ไม่ถึงขั้นต้องพังไปข้างหนึ่ง มันเป็นกฎ กติกาของสังคม เราต้องยอมรับแม้ไม่เห็นด้วยในบางมุมมอง

ก้าวต่อไป
น่าสนใจยิ่ง กลยุทธในการเดินหน้าแก้ไขรัฐธรรมนูญ 2555 จะทำอย่างไร แน่นอน รัฐบาลคงต้องอาศัยมันสมองฝ่ายกฏหมายระดับเซียนของพรรค รวมทั้งหารือกฤษฎีกา หาทางออกเพื่อก้าวเดินต่อไป ฝ่ายไม่ให้แก้คงงัดอะไรๆออกมาขวางทางไปเรื่อยๆ ระหว่างจุดเริ่มเดินไปสู่ปลายทางคือการแก้รัฐธรรมนูญ เป็นระหว่างทางที่ก้าวเดินยากยิ่ง มีความเข้มข้น น่าระทึก กลัวมากก็ไม่ดี ไม่กลัวก็เกรงจะพลาดได้ ใจถึงหรือไม่ วัดกันที่ใจจริงๆ ถนนสายนี้กำลังจะเกิดจุดสูงสุดของเรื่อง เป็นจุดไคลแมค จากนั้นเส้นกราฟจะโค้งลงต่ำ เพื่อสู่จุดจบชั่วคราวอีกครั้งหนึ่ง.

..............................................................
 

บล็อกของ ถนอมรัก เดือนเต็มดวง