thanormrak's picture

<font color="#ff6600"><strong>ถนอมรัก เดือนเต็มดวง</strong><br /><br />เป็นนามปากกาข้าราชการบำนาญปี 2549 <br />จบปริญญาโท สาขานิเทศและพัฒนาหลักสูตร คณะคุรุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย <br /><br />ปัจจุบันใช้ชีวิตสมถะกับภรรยา อยู่ที่ชนบทบ้านทุ่งแป้ง ริมฝั่งแม่น้ำขาน ต.ท่าวังพร้าว อ.สันป่าตอง จ.เชียงใหม่ <br />ใช้เวลาว่าง อ่านหนังสือ เขียนหนังสือ ค้นคว้าหาความรู้ รับทราบข้อมูลข่าวสาร <br />สนทนากับผู้รู้ คิด วิเคราะห์ กำหนดเป้าหมายชีวิต แล้วเดินไปหา ในเวลาที่เหลืออยู่...</font>

บล็อกของ thanormrak

ของดีจากป่า

ผมกับธาตรีสนิทสนมกันมากขึ้น

ผมเป็นหนุ่มใหญ่มีครอบครัวแล้วมาจากในเมืองเชียงใหม่ ธาตรีหนุ่มโสดผิวสีกาแฟลืมใส่นมวัยยี่สิบเศษมาจากกรุงเทพฯ เราทั้งคู่สูงต่ำพอกัน เวลาผ่านไปได้สองสัปดาห์ ผมชวนธาตรีเดินเตร่หาบ้านเช่าหลังใหม่ ได้บ้านไม้สองชั้นหลังใหญ่อยู่ติดถนนริมทุ่งนา มีบ่อน้ำใสอยู่ข้างบ้าน ตกลงราคากันเรียบร้อย ผมชวนธาตรีมาอยู่ด้วยกัน เขาทำท่าอิดออด...

 

ผมจึงโน้มน้าวว่า เราอยู่กันสามคนกับหัวหน้า การทำอะไรก็เกรงใจท่าน เราต้องสำรวมพอสมควรจะร้องเพลงเต้นแร้งเต้นกาก็ทำไม่สะดวก เห็นผู้หญิงสวยๆ ขาวๆ เดินผ่านหน้าบ้าน จะพูดจาทักทายเย้าแหย่ทำไม่ได้เต็มที่ ค่าเช่าบ้านไม่ต้องห่วง ผมเบิกได้ อาหารเราไม่ต้องทำให้เหนื่อย กินข้าวเดือนร้านเจ๊อี๊ดก็ได้ ผมชำเลืองดูท่าทีของธาตรีสีหน้าเขาดีขึ้นปรากฏรอยยิ้ม...ที่สุดเราทั้งคู่ย้ายมาอยู่บ้านเช่าหลังใหม่ใกล้ที่ทำงานกว่าบ้านหลังเก่า ผมบอกให้ธาตรีเลือกนอนห้องใดชั้นใดก็ได้ ธาตรียิ้มชอบใจบอกขอห้องใหญ่ชั้นบน ผมบอกว่าเอาไปเลยหนุ่มโสดจะได้แต่งห้องให้เต็มที่

เป่าเขาควายขายของ

จำได้ว่า

วันแรกที่ผมเดินทางมาถึงห้องทำงานที่ว่าการอำเภอเวียงแหง เป็นเดือนพฤศจิกายน2528 หัวหน้าหน่วยงานแนะนำให้รู้จักเจ้าหน้าที่งานต่างๆ ดูหน้าตาใครอาวุโสกว่าผม ผมยกมือไหว้ก่อนแล้วทักทาย


ใครหนุ่มกว่าก็ทักทายเพียงวาจา ทุกคนอัธยาศัยดี เป็นกันเอง เด็กหนุ่มผิวเข้มคนหนึ่งทราบภายหลังว่าเป็นชาวกรุงเทพฯ ชื่อ ธาตรี ตำแหน่งเจ้าหน้าที่ธุรการ ยกมือไหว้ผม และกล่าวคำว่า “สวัสดีครับ” ผมรับไหว้กล่าวคำสวัสดีเช่นกัน

ฝุ่น ฝน ถนนรูปงู

เปิดอัลบั้มเห็นภาพตนเอง
ยืนคู่กับผู้บริหารโรงเรียน กอดอกวางมาดเท่ หน้าที่ว่าการอำเภอเวียงแหง สวมหมวกไหมพรมเสื้อกันหนาว ถุงมือ กางเกงสีทึมทึบและรองเท้าผ้าใบ ถ่ายนานหลายปี ภาพๆ เดียวทำให้เกิดภาพชีวิตจริงในอดีตปี 2530 ทยอยเคลื่อนมาสู่มโนคติมากมาย มันตื่นเต้นระทึก เข็ดขยาด น่าจดจำ

ภาพรถติดโคลนยาวเหยียดบนดอย ภาพจอดรถจักรยานยนต์ ยืนกินข้าวเหนียวกับไส้อั่วกลางฝนกลางป่า ดื่มน้ำฝนที่ไหลผ่านหน้าผาก จมูก ผ่านปากกลั้วคอ ภาพบ่างโฉบจากต้นไม้ ภาพเป่าเขา ควาย เพิงขายของริมทาง ภาพนั่งเฮลิคอปเตอร์เลียบเลาะผ่านหุบเหว เหตุการณ์บนรถยนต์กลางดอยยามดาวสาดแสง ยุงกัดตลอดคืน ฝูงหิ่งห้อยบินส่องแสงวิบ ๆ กลางป่ามืด ริมน้ำแตะ ภาพรถยนต์กระโจนลงสู่น้ำแตะ เร่งเครื่องสุดแรงสู่ริมฝั่งให้ได้ ถ้าแรงส่งไม่พอ รถหยุดกึ่งกลางน้ำ ผู้โดยสารจบการเดินทางแค่นั้น ต้องเดินต่อน่องโป่งแน่นอน

บ้านหาย

ดวงอาทิตย์

คล้อยต่ำใกล้ลับขอบดอย บอกการอำลาท้องฟ้าไปทุกขณะ ช่างเหมือนข้าราชการเกษียณ ที่ต้องอำลาชีวิตราชการในวันนี้ ทุกอย่างมีเริ่มและสิ้นสุด ผู้คนเริ่มทยอยเข้าร้าน “เงาจันทร์” ทุกคนนั่งประจำที่ เครื่องดื่มถูกลำเลียงบริการ ข้าราชการเกษียณนั่งเรียงกันครบ 12 คน อีกด้านหนึ่งของโต๊ะ ผู้บริหารนั่งกระจายไป หัวหน้าการนั่งประจำหัวโต๊ะ ท่าทางผึ่งผายแย้มยิ้มสำรวม นักร้องครูชายหญิงที่เสียงเพราะพริ้งที่สุด สับเปลี่ยนกันเกริ่นกล่อมบรรยากาศ เสียงหัวเราะหยอกเย้า เสียงชนแก้วเริ่มคึกคัก

 

ชิดชัย

ผู้อำนวยการโรงเรียนหนุ่ม จอดรถจักรยานยนต์ไว้หน้าร้าน โดยหันหน้าขึ้นในตำแหน่งทิศเหนือ ซึ่งบ้านของตนตั้งอยู่ วางแผนว่า วันนี้จะกินเหล้าให้หนำใจ ฉลองให้ผู้บริหารโรงเรียนรุ่นพี่ที่เคารพนับถือกัน

ชิดชัยไม่ค่อยได้กินเหล้าบ่อย นานๆ มีงานสำคัญจะกินสักครั้ง หากเมาได้ที่แล้ว มักคิดอะไรไม่ค่อยออก

ตอนเวลากลับ ติดเครื่องรถได้ขึ้นคร่อม วิ่งไปเรื่อยๆ ตาก็มองดูบ้านทางซ้ายมือ เมาอย่างไรก็ต้องจำบ้านได้

ถึงบ้านแน่นอน ชิดชัยบอกกับตนเอง ชิดชัยกลับเข้าร้าน นั่งประจำที่ใกล้กับกนกศักดิ์และรพีพัตร ผู้บริหารเพื่อนสนิท ดื่มได้สักพัก กนกศักดิ์สะกิดรพีพัตร

พัตร...ไปส่งกันไปห้องน้ำหน่อย ร้านนี้ไม่เคยมา ไปไม่ถูกวะ”

ชัย...กันไปห้องน้ำกับเจ้าโหนกศักดิ์ก่อนนะ...เดี๋ยวมา” รพีพัตรพูดกลั้วหัวเราะกับชิดชัย ที่ได้แหย่เพื่อนว่า “ เจ้าโหนกศักดิ์” เชิงส่องงาสองง่าม

อ้ายโหนก...เร็วๆ หน่อย กันอยากฟังแกร้องเพลงแล้ว” ชิดชัยส่งเสียงตามหลังเพื่อนทั้งคู่

เด็กเกรด 4

เมื่อผมย้าย

มาอยู่ที่สามหลัง ได้รู้จักกับครอบครัวหนึ่ง บ้านใกล้กัน สามีภรรยาอยู่ในวัยทำงาน ขยันทั้งคู่ เขามีบุตรชาย

คนหนึ่งเป็นเด็กที่น่าสนใจ น่าเรียนรู้ ผลการเรียนเกรด 4 ทุกวิชา ตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6
...
อยู่ในครรภ์มารดา 7 เดือนเศษก็คลอด หลังคลอดต้องนอนห้องไอซียู อีก 1 เดือน เพราะร่างกายไม่แข็งแรง ปอดไม่ปรกติ หมอต้องเจาะรักษา จากนั้นมานอนพักฟื้นที่ห้องพิเศษอีก 7 วัน จึงกลับบ้านได้
ขณะเรียนหนังสือ เวลาว่างชอบอ่านหนังสือเสมอ ปั่นจักรยานเล่นในหมู่บ้าน มือถือหนังสือ ท่อนแขนกดแฮนด์รถไว้

อ่านหนังสือไปด้วย จนคนในครอบครัวต้องว่ากล่าว เกรงจะได้รับอันตราย
ในด้านสัมมาคารวะ ระเบียบวินัย มักมีปัญหาเสมอๆ เช่น ปิดสวิตช์ไฟข้ามศีรษะผู้ใหญ่ ดึงหนังสือจากมือผู้ใหญ่โดยไม่ขออนุญาต ตักอาหารในช้อนผู้ใหญ่อย่างน่าตาเฉย จนคนในวงอาหารส่งเสียงต่อว่าและสั่งสอน เด็กคนนี้ชื่อ “กุ๊กไก่”

เพราะเราเพื่อนกัน

คำว่า “เพื่อน”

มีความหมายมากมาย เป็นคนที่ไปเที่ยวด้วยกัน ช่วยเหลือกัน กินด้วยกัน มีอะไรในใจพูดได้ทุกอย่างพูดแล้วสบายใจ เป็นที่ปรึกษาปัญหาสารพัด ยืมเงินได้แต่ต้องใช้ตรงเวลา บางคนรักเพื่อนมาก เพื่อนทำผิดยังปกป้อง ก็ต้องพิจารณารักเพื่อนมากไปไหม

 

เพื่อนผม

คนหนึ่ง พ่อแม่เลิกกัน แม่แยกมาอยู่กับน้องสาว น้องสาวมีครอบครัว สามีน้องสาวคงไม่เต็มใจต้อนรับนัก เพื่อนผมมักมีเรื่องโต้เถียงกับสามีพี่แม่ ผมได้ยินครั้งหนึ่ง ทั้งคู่พูดกูมึง ซึ่งนับว่ารุนแรง แม่ผมคงรู้เรื่องนี้ดี

และรู้จักคุ้นเคยกับแม่เพื่อน แม่ขี้สงสาร เห็นอกเห็นใจคน จึงบอกให้เพื่อนผมว่า

หากไม่สบายใจ..มาอยู่กับสันทัดก็ได้ มานอนที่บ้านแม่ เวลากินก็กลับไปกินที่บ้าน มาเถอะ แม่ถือเป็นลูกคนหนึ่ง”

สันทัด เป็นชื่อผม แม่บอกผมชวนเพื่อนด้วย ผมบอกว่า

มาอยู่ด้วยกันซิ นอนในห้องนอนกันนั่นแหละ แบ่งกันคนละครึ่ง...แต่ห้ามล้ำเขตนะโว้ย”

ผมตบท้ายให้ตลก เพื่อนจะได้ไม่คิดมาก

 

เพื่อนผม

คนนี้ชื่อ “บุญมา” ก็มาอยู่บ้านผม นอนอีกข้างหนึ่งของห้อง ผมจำได้ว่า เป็นเดือนเมษายน โรงเรียนปิดภาคเรียนใหญ่ ผมเป็นข้าราชการครู ได้ปิดพักผ่อนยาวทีเดียว เพื่อนผมเป็นลูกจ้างร้านรถยนต์

ไม่อยากได้เหรียญทอง

วันนี้

เป็นวันแรกของการเป็นครู ผมเตรียมตัวสอนมาเต็มที่ สอนหลายวิชา
บอกก่อนว่าเป็นโรงเรียนเอกชนอยู่ใกล้สถานีรถไฟเชียงใหม่ เปิดสอนเด็กเล็กจนถึงมัธยมปีที่สาม ครูที่สอนส่วนใหญ่อยู่ในวัยหนุ่มสาว

มีคนแก่คนหนึ่งเป็นฝ่ายการเงิน ครูใหญ่เป็นผู้หญิง เป็นเจ้าของโรงเรียน ไม่สอนแต่อยู่ฝ่ายขายอาหารของโรงเรียน ผมสอน 29 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ ว่างเพียง 1 ชั่วโมง ปรกติครูท่านอื่นสอน 24-25 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ นั่นคือผมสอนมากกว่าท่านอื่น 5 ชั่วโมง ก็ช่วยสอนวิชาเบาๆ ให้พี่ๆ ที่สอนประจำชั้น เช่น พลศึกษาวาดเขียน ร้องเพลง...เป็นมุมหนึ่งในหลายมุมของชีวิตครูเอกชน

วันแรก

ผมสอน 6 ชั่วโมงเต็ม เป็นหนุ่มร่างกายแข็งแรง สอนใหม่ยังไม่ชำนาญ บรรยาย อธิบายตลอด ตอนเย็นกลับบ้านหมดแรง เสียงหายไปหมด พูดไม่มีเสียง เหนื่อยจนกินอะไรไม่ลง ต้องนอนนิ่งๆ บนที่นอน ทำได้เพียงกลอกลูกตาไปมา เท่านั้นจริงๆ...พอนานไปค่อยปรับตัว สอนแบบนักเรียนได้ร่วมกิจกรรมมากขึ้น ครูคอยควบคุม เช่น นักเรียนทำงานเป็นกลุ่ม นักเรียนทดลอง นักเรียนร้องเพลงเกี่ยวกับบทเรียน เล่นเกม ก็ดีขึ้น

ภารโรงวัด

คืนนี้

ขึ้น 15 ค่ำ ยังหัวค่ำ พระจันทร์เต็มดวงสาดแสงนวลอ่อนโยนกระจ่างทั่วทุ่ง แสงเย็นตายังครอบคลุมวิหารวัดทุ่งลมเย็นบรรยากาศในวัดช่างสงบ สงัด ลมทุ่งพัดกระทบต้นไม้ในวัด ใบของมันสะบัดตัวรับดังซู่ซ่าเป็นพักๆ  ความวุ่นวายสับสนเร่าร้อนทั้งมวลของคนเหมือนหมดสิ้นยามย่างเท้าเข้าวัดสถานที่อันศักดิ์สิทธิ์  พระสงฆ์องค์เจ้าคงจำวัดกันหมดทั้งสามรูป แต่ยังมีอีกคนหนึ่ง จิตใจยังเร่าร้อนเคร่งเครียดแม้จะเหนื่อยจากงานสลากภัตของวัด ก็ไม่อาจข่มตาให้หลับได้  ใครๆเรียกเขาว่า "ลุงคำ" แกเฝ้านึกถึงเหตุการณ์เมื่อเช้านี้

วัดทุ่งลมเย็น
มีพระ 2 รูป เณร 1 รูปเวลาพระรับนิมนต์ไม่มีใครดูแลวัดเกรงขโมยจะมาลักทรัพย์สิน โดยเฉพาะพระพุทธรูปเก่าแก่ของวัด  ผู้ใหญ่บ้านกรรมการวัดและชาวบ้านมีความเห็นตรงกันว่า น่าจะมีคนเฝ้าวัดยามพระรับนิมนต์ จึงตกลงกันจ้างลุงคำอายุ 70 กว่าปีเป็นผู้ดูแลวัดโดยให้ค่าจ้าง 600 บาทต่อเดือน
เงินค่าจ้างได้จากการเก็บชาวบ้านหลังละ 5 บาททั้งหมดมี 99 หลังก็ได้เงินราว 500 บาทที่ขาดไปทางวัดจะออกเพิ่มจนครบ 600 บาท

หม้อน้ำหน้าบ้าน

คนเหนือ

หรือชาวเหนือเรียกตนเองว่า “คนเมือง” เรียกคนกรุงเทพฯซึ่งพูดภาษากลางว่า “คนไทย” ในกลุ่ม “คนเมือง” มักมีวจีที่เกี่ยวโยงการเป็นคนท้องถิ่นเดียวกันว่า “หมู่เฮาคนเมือง” ย้อนหลังไปราว50ปี แม้หนังสือพิมพ์ท้องถิ่นฉบับหนึ่งยังแสดงความเป็นตัวตนโดยใช้ชื่อว่าหนังสือพิมพ์ “คนเมือง” สอดคล้องกับข้อความในหนังสือ “ฅนเมืองอู้คำเมือง” ในหน้าที่ 1โดยคุณบุญคิดวัชรศาสตร์ได้เขียนเอาไว้ว่า


...
ในอดีตอาณาจักรล้านนามีการปกครองตนเองมีภาษาพูด และภาษาหนังสือใช้เป็นของตนเองมาก่อนและนิยมชมชอบเรียกตนเองว่า “คนเมือง” เรียกภาษาพูดว่า “คำเมือง” และเรียกภาษาหนังสือว่า “ตัวหนังสือเมือง” และล้านนาประกอบด้วย จังหวัดเชียงราย แม่ฮ่องสอน ลำพูน ลำปาง เชียงใหม่ แพร่ น่าน ตาก...

เกิดเป็นหมา

แม่เกิดลูก

ออกมาหลายตัว ขนสีต่างๆ กัน ส่วนใหญ่ตัวอ้วนขนฟู แม่นอนตะแคงในกรง ลูกตัวอื่นคลานต้วมเตี้ยมเข้าไปกินนมแม่เร็วกว่า เจ้าตัวผอมเล็ก ลำตัวมันยังไม่นิ่งนัก เพราะขายังไหวขณะเดิน ด้วยยังไม่แข็งแรงพอ เจ้าตัวผอมเล็กต้องรอให้บางตัวอิ่ม แล้วคลานออกมา มันจึงคลานเข้าไปกินได้ นมแม่อุ่นหวาน เต้านมนุ่มตึงเต็มปากของมัน มันถูกแม่อุ้มด้วยปากมากินนมบ่อยๆ ลูกตัวใดคลานไปไกล แม่หมาจะใช้ปากคาบเบาๆ ตรงหนังบริเวณคอ นำมาไว้ในกรงเสมอ ทุกวันเมื่อบรรดาลูกๆกินนมอิ่ม มันก็นอนกอดก่ายกันหลับไปมองดูเหมือนเด็กเล็กๆ น่าเอ็นดู

เจ้าของกรง

และบ้านเป็นสามีภรรยาคู่หนึ่ง ตอนเช้า เวลานายผู้ชายเดินลงบันได แม่หมาจะวิ่งกระดิกหางไปรับ เขาก็เดินผ่านไปเฉยๆ แต่ถ้ามีเสียงทะเลาะกัน เสียงโครมครามขว้างปาสิ่งของ แม่ของมันจะยื่นอยู่ห่างๆแสดงอาการหูลีบและหางตกแนบก้นอย่างหวาดกลัว เมื่อบรรดาลูกหมาตื่นขึ้นมา จะเห็นนายผู้หญิงนำอาหารใส่จาน ให้แม่ของมัน

บางวันก็อิ่ม บางวันก็พอประทั่งหิว กินเสร็จมันก็วิ่งมานอนข้างลูกเล็กๆ แลบลิ้นเลียปากทำความสะอาดแผล็บๆ

Pages

Subscribe to RSS - บล็อกของ thanormrak