Skip to main content

ปิดเทอมนี้อดพานักอ่านตัวยงคนหนึ่งที่บ้านไปงานสัปดาห์หนังสือ เพราะเธอขาแพลง เจ็บถึงขั้นเข้าเฝือกและใช้ไม้เท้าเดิน เธอบอก "เอาไว้มีงานอีกครั้งลุงต้องพาหนูไปนะ" วันนี้ก็เลยขอเขียนอวยนักเขียนสักหน่อย (คนเราไม่ต้องคอยหาทางวิจารณ์ข้อด้อยคนอื่นกันทุกเมื่อเชื่อวันก็คงสามารถจรรโลงสังคมให้น่าอยู่ได้เช่นกันกระมังครับ)

ค่ำวันหนึ่งผมมีโอกาสได้นั่งสนทนากับเพื่อนนักเขียนคนหนึ่ง ผมบังอาจเปรียบตัวเองเป็นนักบวช ที่ต้องกินอยู่แบบสมถะ แต่พอพูดออกไปต่อหน้านักเขียนแล้วก็เกิดละอายแก่ใจขึ้นมา เพราะถึงผมจะได้เงินเดือนไม่กี่สตางค์จากการสอนหนังสือและทำวิจัยก็จริง แต่อย่างน้อยที่สุดผมก็มีเงินเดือนรัฐกิน มีสวัสดิการของรัฐเป็นหลักประกัน

แต่ประเทศนี้มีใครสักกี่คนกันที่ได้เงินเดือนและสวัสดิการรัฐจากการเขียนหนังสือเป็นอาชีพ บางคนที่ได้มาก็ไม่ได้ดีเด่นไปกว่าคนที่ไม่ได้สิทธิพิเศษนั้นอีกตั้งมากมาย ถ้าอาชีพสอนหนังสือไส้แห้ง ไส้นักเขียนมิยิ่งหดหายไปจนเหลือแต่ผนังหน้าท้องที่แบนติดกระดูกสันหลังกันเชียวหรอกหรือ 

หรือถ้านักเขียนไม่มีครอบครัวค้ำจุน แล้วจะมี "a room of one's own" ไว้ให้นั่งอ่านเขียนคิดค้นคว้าอะไรของตนเองได้อย่างไร แถมบางคนยังเป็นนักเดินทาง ซึ่งก็ไม่ต่างอะไรกันนักกับการทำวิจัย จะมีทุนที่ไหนให้กับการวิจัยแบบนักเขียนบ้างเล่า ถ้ามี ก็จะมีใครกันสักกี่คนที่ได้ จะมีให้นักเขียนหน้าใหม่บ้างหรอกหรือ (หรือว่ามีทุนแบบนั้นจริง แต่ผมไม่ทราบเอง)

ดังนั้น นักเขียนต่างหากที่ควรจะเรียกได้ว่าเป็น "นักบวช" แห่งยุคของการอ่านและเขียนในสมัยทุนนิยมของการพิมพ์ (ถึงใครจะหาว่าผมชอบใช้ศัพท์ล้นๆ แบบไร้ตรรก ผมก็จะใช้ แต่นี่ก็ไม่ใช่ที่ที่จะมาอธิบายอะไรยืดยาว อย่างน้อย "เพื่อนๆ" ผมคงเข้าใจสถานะของข้อเขียนนี้ดี)

แต่อาชีพนักเขียนก็คงมีมนต์เสน่ห์ประหลาด และคงก็จะไม่มีอะไรบ่มเพาะการเป็นนักเขียนได้ดีไปกว่าการเป็นนักอ่านมาก่อน ตัวอย่างหนึ่งคือนักอ่านตัวยงที่พลาดงานสัปดาห์หนังสือคราวนี้คนหนึ่งนั่นแหละ 

"มาวมาว" เธออ่านหนังสือที่มีแต่ตัวหนังสือตั้งแต่อายุ 8-9 ขวบ แต่วันนี้มาวฯ อายุสิบเอ็ดปี ถ้าเธอว่างเธอจะอ่านหนังสือนิยายผจญภัย นิยายแฟนตาซีตลกๆ ได้วันละสองเล่มสบายๆ นอกจากนิยาย เธอเปลี่ยนจากการอ่านเรื่องราวเทพปกรณัมฮินดูและเรื่องไดโนเสาร์เมื่อสองปีก่อน มาสู่เทพปกรณัมกรีก-โรมันและฟิสิคส์สำหรับเด็กในปีนี้ 

เวลาไปงานสัปดาห์หนังสือ มาวฯ เดินแทบทุกซอกซอย เธอจะเลือกซื้อหนังสือเองด้วยเงินของย่าหรือพ่อแม่เธอ เวลาลุงกับป้าเลือกหนังสือให้ มาวฯ บอก "ก็ได้ แต่หนูไม่ออกเงินหนูนะ แล้วหนูจะช่วยอ่านเล่มที่ลุงกับป้าซื้อให้" แล้วเธอก็ "ช่วยอ่าน" มันจบอย่างรวดเร็ว 

มีวันหนึ่ง มาวฯ เอาบันทึกมาให้ป้าอ่าน มาวฯ เขียนตอนหนึ่งว่า 

"เด็กทุกคนล้วนมีความฝัน ต่างคนต่างไปพบเจออะไรมากมาย และบางอย่างอาจจะกลายเป็นแรงบันดาลใจของคนคนนั้นไป.. 

"ฉันใฝ่ฝันว่าอยากเป็นนักเขียนตั้งแต่อายุ10 ขวบ ผ่านมาหนึ่งปีแล้วฉันยังรักษาความฝันนั้นอยู่ ฉันเริ่มต้นเขียน แต่ก็ยังไม่เคยได้ให้ใครอ่านสักที ด้วยความเป็นคนที่ไม่ค่อยกล้านัก ทำให้ไม่มีใครเคยอ่านเลยสักครั้ง แต่จะเล่าให้เพื่อนฟังแทน และทุกครั้งที่่เล่าก็ไม่สามารถเขียนหรือบรรยายออกมาได้ จนเหมือนกับว่าฉันไม่สามารถทำทั้งสองสิ่งนั้นได้เลย.. 

"สิ่งหนึ่งที่ฉันไม่แน่ใจว่ามันจะใช่แรงบันดาลใจหรือเปล่า สำหรับคนอื่นอาจจะเป็นเรื่องราวที่ผ่านมาและผ่านไปเท่านั้น นั่นก็คือเรื่องที่คนในครอบครัวพูดคุยกัน.. 

"ฉันไม่แน่ใจว่างานเขียนของฉันสนุกหรือเปล่า แต่ฉันรู้เสมอว่างานทุกงานฉันใช้ความรู้สึกเขียน" (คัดจากสเตตัสของ Kusra Mukdawijitra

ทุกวันนี้มาวฯ เปิด weblog ส่วนตัว เธอเริ่มต้นเขียนนิยายไปพร้อมๆ กับเล่นเฟซบุก 

ในทัศนะผม อย่างเลวที่สุด การอ่านก็ทำให้นักอ่านกลายเป็นนักเล่าหนังสือหน้าชั้นเรียนแบบผม แต่อย่างดีที่สุด การอ่านก็จะสร้างนักเขียนขึ้นมาอีกอย่างน้อยหนึ่งคนแบบมาวมาว

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
ปาฐกถาในเวทีเสวนา “50 ปี 14 ตุลาฯ ยังตามหารัฐธรรมนูญใหม่” จัดโดยสมัชชาคนจน วันที่ 14 ตุลาคม 2566
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อ 24 กค. 65 ผู้จัดการแสดง #ฮิญาบ2022  ชวนผมไปดูการแสดงของคุณฟารีดา จิราพันธ์ ที่กาลิเลโอเอซิส แล้วผู้จัดจะชวนผมสนทนาหลังละคร
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ในฐานะเพื่อนร่วมวิชาชีพวิชาการ ในฐานะผู้ปกครองนักศึกษาคณะวิจิตรศิลป์ และในฐานะคนรักศิลปะ ผมเขียนจดหมายนี้เพื่อตั้งคำถามต่อการที่ผู้บริหารคณะวิจิตรศิลป์จะตรวจสอบผลงานก่อการอนุญาตให้จัดแสดงผลงานของนักศึกษาภาควิชาสื่อศิลปะและการออกแบบสื่อ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เห็นคนพูดถึงตัวละครในซีรีย์เกาหลีเอ่ยถึงจอร์จ บาไตล์ ในรูปนั่นน่ะครับ เป็นคอลเล็กชันจอร์จ บาไตล์บนชั้นหนังสือผมแบบเบาๆ ผมเก็บไว้ร่วม 20 ปีแล้ว
ยุกติ มุกดาวิจิตร
หลายคนคงรู้ว่าวันนี้เป็นวันชาติเวียดนาม แต่น้อยคนคงรู้ว่าเกิดอะไรขึ้นในวันนี้กันแน่ แล้ววันนี้ในอดีตถูกกำหนดเป็นวันขาติจากเหตุการณ์ปีใด 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
จนถึงวันนี้ การต่อสู้ของประชาชนในขบวนการ “คณะราษฎร 63” ได้แสดงให้เห็นแล้วว่า พลังของแสงดาวได้สร้างสรรค์สังคมไทยอย่างไร 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
การที่อธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญาได้ออกมาแสดงความเห็นว่ามีการสร้างกระแสกดดันศาลต่างๆ นานา (ดู https://www.thairath.co.th/news/local/bangkok/2081366) มองในแง่ดี ผมคิดว่านี่คือการออกมาอธิบายกับสังคมอีกครั้งของผู้มีอำนาจในกระบวนการยุติธรรมอย่างชัดแจ้ง หลังจากที่มีการชี้แจงถึงเหตุผลการไม่ปล่อยตัวผู้ต้องหาคดีการเมืองโดยโฆษกศาลและโฆษกกระทรวงยุติธรรมก่อนหน้านี้ 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
อะไรที่ทำให้ดนตรีมีสถานะในการทำร้ายกันได้บ้าง ผมว่าอย่างน้อยที่สุดต้องเข้าใจก่อนว่า ดนตรีไม่ใช่แค่เสียง
ยุกติ มุกดาวิจิตร
พอดีนั่งฟังเพื่อนนักวิชาการอ่านหนังสือ "กบฏชาวนา" ของรานาจิต คูฮา (1982) มาคุยให้ฟัง (แปลโดย ปรีดี หงษ์สต้น) ในเพจของสำนักพิมพ์ Illumination Editions เลยคิดถึงบันทึกที่เคยเขียนถึงหนังสือของ ดิเพช จักรบาร์ตี เรื่อง Provincializing Europe (2000)
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เรื่อง ถามถึงมโนธรรมสำนึกในความเป็นครูบาอาจารย์ของอาจารย์เอนก เหล่าธรรมทัศน์
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ทัศนะล่าสุดของอาจารย์ชัยวัฒน์ สถาอานันท์ต่อการชุมนุม 16 ตค. 63 ย้อนแย้งกับสมัยที่อาจารย์ให้ความเห็นต่อการชุมนุม กปปส. ในขณะนั้นอาจารย์อธิบายยืดยาวว่าการชุมนุมของ กปปส. ใช้สันติวิธี
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ขอให้อาจารย์หยุดใช้ถ้อยคำสร้างความเกลียดชังในสังคม