Skip to main content
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
แนวทางในการส่งเสริมสิทธิคนทำงานในยุคดิจิทัลประกอบไปด้วย 2 แนวทางหลัก คือ1. การระงับข้อพิพาทที่เกิดขึ้นภายในความสัมพันธ์ระหว่าง แพลตฟอร์ม กับ คนทำงาน2. การพัฒนารัฐให้รองรับสิทธิคนทำงานอย่างถ้วนหน้า
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
เนื่องจากการทำงานของคนในแพลตฟอร์มดิจิทัลในช่วงก่อนหน้าสถานการณ์วิกฤตโรคระบาดนั้นยังอยู่ในช่วงเริ่มต้นทำให้ปริมาณคนที่เข้ามาทำงานมีไม่มากนัก และเป็นช่วงทำการตลาดของเหล่าแพลตฟอร์มต่าง ๆ ในการดึงคนเข้ามาร่วมงานกับแพลตฟอร์มตนยังผลให้สิทธิประโยชน์เกิดขึ้นมากมายเป็นที่พึงพอใจของผู้เข้าร่วมทำงานกับแพลตฟ
โชเนน
โลกสอนมนุษย์ว่าทุกสิ่งต้องมีการเปลี่ยนแปลง แต่โลกก็กลับสอนให้มนุษย์ผูกพัน  โดยพระมหาสมปอง ตาลปุตฺโต อาตมาอ่านเจอกลอนในหนังสือพิมพ์ฉบับหนึ่งที่ผู้เขียนระบายไว้ได้สาแก่ใจมากเลย เร็ว ก็หาว่าล้ำหน้า ช้า ก็หาว่าอืดอาด โง่ ก็ถูกตวาด พอฉลาด ก็ถูกระแวง ทำก่อน บอกไม่ได้สั่ง ทำทีหลัง บอกไม่มีหัวคิด เฮ้อ นี่แหละชีวิตคนทำงาน ข้างต้น น่าจะเป็นกลอนที่โดนใจบรรดาคนทำงานหลายๆ คน เพราะสะท้อนความรู้สึกกดดันอย่างชัดเจน ซึ่งจากการได้พูดคุยกับโยมที่เข้ามาปรึกษาหารือถึงสาเหตุที่ทำงานกันอย่างไม่มีความสุขก็มีปัจจัยมากมาย เช่น ทำงานที่ตัวเองไม่ถนัด ทำงานที่ไม่ชอบ โดนหัวหน้างานกดขี่ หรือรู้สึกว่าหน้าที่ที่ตัวเองได้รับมอบหมายนั้นต่ำต้อย ฯลฯ โดยจะว่าไปแล้ว บริษัทก็เหมือนกับบ้านหลังที่สองของเรา บางคนใช้ชีวิตในบริษัทมากกว่าที่บ้านซะอีก เพราะต้องตื่นขึ้นมาทำงานตั้งแต่ตี ๔ ตี ๕ กลับถึงบ้านก็ ๒-๓ ทุ่ม วันหนึ่งมี ๒๔ ชั่วโมง หากต้องใช้ชีวิตในการทำงาน (รวมนั่งรถไป-กลับ) วันละ ๑๐ กว่าชั่วโมงแล้ว ถ้าโยมไม่มีความสุขกับงานที่ทำ จึงเป็นเรื่องที่น่าเห็นใจมากๆ อาตมาชอบใจคุณยามที่บริษัทแห่งหนึ่งมาก เคยถามเขาว่า ไม่เบื่อเหรอ เปิดประตูทั้งวัน เขาตอบกลับอย่างฉะฉานว่า ' ไม่เบื่อหรอกครับท่าน เพราะคนจะเข้าไปที่นี่ได้หรือไม่ได้ มันอยู่ที่ผม ถ้าผมไม่เปิดประตู ไม่อนุญาตหรือบอกไม่ให้เข้า เขาก็ไม่ได้เข้านะ อย่างพระอาจารย์มาบรรยายที่นี่ ผมไม่ให้เข้าก็ได้ ... แต่ผมให้เข้าครับ' ( แล้วไป) อาตมาจึงไม่แปลกใจเลย เวลาไปทำธุระที่บริษัทนี้ทีไร มักเห็นเจ้าหมอนี่ ทำหน้าที่ตัวเองอย่างกระตือรือร้น ก็เพราะเขามีทัศนคติที่ดีต่อหน้าที่ เห็นความสำคัญของตัวเอง จึงทำให้เขาทำงานได้อย่างมีความสุข (แถมมีมุขอำกลับอาตมาอีกต่างหาก) ดังนั้นอาตมาจึงอยากจะหนุนใจญาติโยมที่กำลังรู้สึกย่ำแย่กับงานของตัวเองว่า ถ้าเราทำงานจนเมื่อยมือเหลือเกิน ก็จงดีใจเถอะ ที่มีมือให้เมื่อย ถ้าเราเดินไปเดินมาจนปวดขาเหลือเกิน ก็จงดีใจเถอะ ที่มีขาให้ปวด ถ้าเราเห็นหัวหน้า แล้วเซ็งเหลือเกิน ก็จงดีใจเถอะ ที่มีหัวหน้าให้เซ็ง ถ้าเราเห็นงาน แล้วเราเบื่องานเหลือเกิน ก็จงดีใจเถอะ ที่มีงานให้เบื่อ เพราะหลายคนพอไม่มีงานให้ทำ ก็จะประท้วงกัน อยากทำงาน ! อยากทำงาน ! ดังนั้นเมื่อคุณโยมมีโอกาสทำแล้ว ก็จงทำให้ดีที่สุด เริ่มต้นด้วยการเปลี่ยนทัศนคติต่องานที่ทำก่อน เห็นความสำคัญของหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายให้ได้ ทำมันอย่างเต็มที่และดีที่สุด เหมือนดั่งคุณยามที่อาตมายกมาเป็นตัวอย่างข้างต้น อาตมาเคยอ่านเจอคำแนะนำของท่านพระธรรมปิฎก (ป.อ.ประยุตฺโต) ในหนังสือเล่มหนึ่ง ท่านเขียนชี้แนะไว้ว่า งานมีผลตอบแทนสองชั้นด้วยกัน ผลตอบแทนชั้นที่ ๑ คือ ตอนเงินเดือนออก นี่คือความสุขชั้นที่หนึ่ง ซึ่งหลายๆ คนมีความสุขในการทำงานแค่วันนั้นวันเดียว แต่ถ้าเราสามารถพัฒนาตัวเองไปพร้อมกับงานได้ มันก็จะก้าวไปสู่อีกระดับ อันนำมาซึ่งผลตอบแทนหรือความสุขชั้นที่ ๒ นั่นเอง หนึ่งเดือน คุณโยมอยากมีความสุขเพียง ๑ ชั้น หรือ ๒ ชั้น ก็เลือกเอาตามใจชอบเลย เจริญพร... ขอขอบพระคุณคุณบทความดีๆจากพระอาจารย์สมปอง ที่ผู้เขียนบล๊อค อยากนำมาเสนอและแบ่งปันให้ทุกๆคนได้อ่านกัน....