ชุมชน/สิ่งแวดล้อม

น้ำท่วมใหญ่ สัญญาณเตือนภัยจากธรรมชาติ (1)

 


 

ผมย้อนกลับมาดูน้ำท่วม
ที่บ้านเกิดจังหวัดเชียงใหม่ ผมมีเวลามากพอเนื่องจากเกษียณอายุราชการ อ่านหนังสือบ้าง เขียนบ้าง ลองค้นหาข้อมูลน้ำท่วมจังหวัดเชียงใหม่ โดยค้นจากอินเทอร์เน็ต หนังสือพิมพ์ท้องถิ่น ได้พบข้อมูลน่าสนใจ ปีนี้ (29 กันยายน พ.ศ.2554) ระดับน้ำที่ P 1  ณ สะพานนวรัฐอยู่ที่ 4.94 เมตร เป็นสถิติสูงสุด สูงกว่าปี พ.ศ. 2548 ที่สูง 4.93 เมตร ในปี 2548 นั้น น้ำท่วมเชียงใหม่ครั้งแรกเมื่อ 13 สิงหาคม 2548 และท่วมอีก 3 ครั้ง ในเดือนกันยายน กลางเดือนกันยายน และต้นตุลาคม มีข้อมูลระบุว่าเป็นอุทกภัยร้ายแรงในรอบ 50 ปีของเมืองเชียงใหม่ 

ในปี 2553 ทางจังหวัดได้ประเมินความเสียหายของบริษัทห้างร้าน โอกาสทางธุรกิจ รวมทั้งความเสียหายของทรัพย์สินประชาชนและทรัพย์สินสาธารณะมากกว่า 1,000 ล้านบาท สถิตินี้ถูกทำลายลงในปี 2554 ที่มีความเสียหายกว่า 2,000 ล้านบาท ไม่ทราบว่าข้อมูลที่ถูกทำลายลง เราควรจะดีใจหรือเสียใจ น้ำท่วมเชียงใหม่ในบริเวณ ไนท์บาซาร์ ถนนเชียงใหม่-ลำพูน ถนนช้างคลาน สะพานตำรวจภูธรภาค 5 ถนนเจริญ-ประเทศ โรงเรียนพระหฤทัย หมู่บ้านเวียงทอง ถนนมหิดล ถนนเจริญเมือง สถานีรถไฟ หมู่บ้านหนองประทีป

 

น้ำท่วม น้ำตา น้ำใจ (2)


 

หากวิเคราะห์เรื่องน้ำท่วม
ปีหนึ่งหากท่วม 1 ครั้งต่อปี ประชาชนเดือนร้อนก็ช่วยเหลือกันไป มอบถุงยังชีพมอบอาหาร ให้ค่าชดเชยหลัง 5, 000 บาท พอพ้นฤดูน้ำท่วมปัญหาหมดไปลืมกันไป ปีหน้าว่ากันอีกที ไม่ทราบว่ามีแผนป้องกันระดับประเทศไหมหนอ มีหน่วยงานใดเป็นเจ้าของเรื่องป้องกันน้ำท่วมระดับประเทศ แม้จะมีพระราชบัญญัติป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ 2550 และคณะกรรมการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ แต่ยังขาดการทำงานที่เป็นระบบ คือสอดคล้องสัมพันธ์กันทุกขั้นตอนการทำงาน ยังขาดเอกภาพ ขาดความร่วมมือ  ที่ผ่านมาไทยต้องสูญเสียงบประมาณปีละ 2 หมื่นล้านบาท แต่เป็นงบช่วยเหลือมากกว่างบป้องกัน ทำนองแก้ปัญหาเฉพาะหน้า ไม่ได้ป้องกันก่อนเกิดปัญหา แต่น่ายินดีนะครับ ได้ฟังข่าวโทรทัศน์เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2554 รัฐบาลชุดนี้ คิดเร็วทำเร็ว   ได้ยินว่าจะมีสำนักงานที่รับผิดชอบเรื่องน้ำท่วมระดับประเทศโดยตรง ว่าด้วยเรื่องน้ำท่วมอย่างเดียว ถูกใจมาก ผมจะตรวจสอบความถูกต้องของข่าวและติดตามต่อไป
 

คนกับป่าไม้ (4)


 

กรณีกลุ่มชาวบ้านอำเภอวังน้ำเขียว
จังหวัดนครราชสีมา อ้างว่าได้รับผลกระทบจากการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ป่าไม้ และเตรียมยื่นรัฐบาลชุดใหม่แก้กฎหมายจำนวน 3 ฉบับ รวมทั้งมีการต่อต้านและกล่าวโจมตีเจ้าหน้าที่นั้น ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมชี้แจงว่า ไม่น่ามีปัญหาเพราะได้ชี้แจงทำความเข้าใจแล้วว่า จุดมุ่งหมายของทั้งกรมป่าไม้และกรมอุทยานแห่งชาติฯ ไม่ได้ดำเนินคดีกับชาวบ้าน แต่ดำเนินคดีกับกลุ่มทุนคนรวยคนมีเงิน ที่ไปบุกรุกเพื่อตัดวงจรการบุกรุกป่า ซึ่งผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา ให้ชื่อมาแล้วว่ามีใครอยู่เบื้องหลังชาวบ้านในการบุกรุกป่าวังน้ำเขียว และออกมาต่อต้านกรมป่าไม้และกรมอุทยานฯ
 

คนกับป่าไม้ (3)

 


 

อธิบดีกรมป่าไม้กล่าวอย่างน่าสนใจ
คดีบุกรุกป่าไม้ ใช้เวลาในการสอบคดีนาน 1-10 ปี กรณีบุกรุกอุทยานทับลาน ใช้เวลานานมาก กว่าคดีจะสิ้นสุดและมีผลบังคับใช้ให้รื้อถอนออกไป แต่ยังไม่ยอมรื้อ กรมป่าไม้จะใช้วังน้ำเขียวเป็นโมเดล ในการจัดการปัญหาการรุกป่า ให้เป็นตัวอย่างกับพื้นที่อื่นอย่างถึงที่สุด
 

คนกับป่าไม้ (2)

 

หน่วยงานต่างๆ
เช่น กรมป่าไม้ สำนักงานการปฏิรูปที่เดินเพื่อเกษตรกรรม (ส.ป.ก.) สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ(ป.ป.ท.) ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา เข้ามาร่วมกันดำเนินการทางกฎหมายกับกลุ่มข้าราชการ รวมทั้งหน่วยงานราชการที่ทำผิดกฎหมาย เช่น เอกสารที่ไม่ชอบให้กับเอกชนบุกรุกที่ดินป่าสงวนแห่งชาติ พื้นที่อุทยานแห่งชาติ และ สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อการเกษตร(ส.ป.ก.)
 

คนกับป่าไม้ (1)

 

คนบางคนเสียชีวิตแล้ว
ยังมีคนคิดถึง นึกถึงผลงานความดีที่ได้ทำ ยิ่งเสียชีวิตเพื่อปกป้องสิ่งอันเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวมและผู้อื่น คนยิ่งไม่ลืมเลือน น่าเสียดาย คนทั่วไปมักยกย่องชื่นชม สืบสานเจตนารมณ์ เมื่อเขาหมดสิ้นลมหายใจ ยามมีลมหายใจเข้าออก มีกำลังทำงาน กลับไม่มีใครตระหนัก ให้การสนับสนุน ให้พลังใจ ไม่มีเลยจริงๆ คนหนึ่งนั้นคือ คุณสืบ นาคะเสถียร
 

“คดีโลกร้อน” กับ “เทวดาท่าจะบ๊องส์”

 

 

“คดีโลกร้อน”
เป็นชื่อที่ใช้เรียกคดีที่กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช เป็นโจทก์ฟ้องผู้บุกรุกป่า ผู้บุกรุกต้องชดใช้ค่าเสียหาย 

ที่ผ่านมามีเกษตรกรถูกฟ้องดำเนินคดีไปแล้วหลายสิบรายทั่วประเทศ ในช่วงปี 2549-52 ในจังหวัดตรังและพัทลุงมีราษฎรถูกดำเนินคดีไปแล้ว 13 ราย ศาลชั้นต้นพิพากษาแล้ว 7 ราย และอยู่ระหว่างดำเนินคดี 6 ราย กรมอุทยานฯ ได้เรียกค่าเสียหาย 20.306 ล้านบาท แต่ศาลพิพากษาให้จ่าย 14.76 ล้านบาทพร้อมดอกเบี้ย 7.5% ต่อปี

ใช้ไฟฟ้าอย่างไร จึงได้ประโยชน์จากรัฐบาล “ประชานิยม”

22 December, 2010 - 12:08 -- prasart
 
 
ขณะนี้รัฐบาลกำลังคิดค้นโครงการประชานิยมหลายอย่าง คาดว่าจะประกาศรายละเอียดภายในต้นปี 2554   ทั้งนี้เพื่อรองรับการเลือกตั้งใหญ่ที่จะเกิดขึ้นในช่วงปลายปี

ทำไปทำมานโยบายประชานิยมที่เริ่มต้นอย่างประปรายตั้งแต่รัฐบาลคึกฤทธิ์ ปราโมช (2518) และเริ่มเข้มข้นมากขึ้นในรัฐบาลทักษิณ ชินวัตร จะเป็นสิ่งที่มิอาจหลีกเลี่ยงได้เสียแล้ว

บทความนี้จะกล่าวถึงนโยบายประชานิยมในเรื่องค่าไฟฟ้าสำหรับผู้อยู่อาศัยที่ใช้ไฟฟ้ารายย่อยไม่เกิน 90 หน่วยต่อเดือน โครงการนี้เกิดในสมัยรัฐบาลสมัคร สุนทรเวช (2551) และใช้ต่อกันมาจนถึงรัฐบาลปัจจุบันและในอนาคตด้วย

ผมได้มีโอกาสคุยกับผู้ใช้ไฟฟ้ารายย่อยในชนบท สองราย พบว่าแต่ละรายใช้ไฟฟ้าเกิน 90 หน่วยไปเพียงเล็กน้อย  เมื่อเป็นดังนี้ ผู้ใช้ต้องจ่ายทั้งหมด เช่น ใช้ไป 112 หน่วย ก็ต้องจ่ายทั้งหมด 112 หน่วย ไม่ใช่เฉพาะส่วนที่เกินจาก 90 หน่วยเท่านั้น

ค่าไฟฟ้าสำหรับ 112 หน่วย คิดเป็นเงิน 350 บาท (ในจำนวนนี้เป็นค่าเอฟทีหน่วยละ 92 สตางค์หรือ 103.04 บาท และภาษีมูลค่าเพิ่ม 22.89 บาท หมายเหตุ ในเดือนตุลาคม 2550 ค่าเอฟทีหน่วยละ 66 สตางค์) ผู้ใช้ไฟฟ้าทั้งสองต่างบ่นเป็นเสียงเดียวกันว่า “เงิน 350 บาทนี้ไม่น้อยเลยเมื่อเทียบกับเงินสงเคราะห์ผู้สูงอายุคนละ 500 บาทต่อเดือน”

จากการพูดคุยดังกล่าวจึงเกิดเป็นโจทย์ให้ต้องขบคิดว่า “จะต้องใช้ไฟฟ้าอย่างไร จึงไม่เกิน 90 หน่วย” เราจึงเริ่มต้นด้วยการสำรวจเครื่องใช้ไฟฟ้าและกำลังของแต่ละชนิด        

เครื่องใช้ไฟฟ้าที่จำเป็น ได้แก่ หลอดไฟฟ้า (หลอดละ

18 วัตต์) หม้อหุงข้าว (750 วัตต์) โทรทัศน์สี (120 วัตต์) พัดลมตั้งโต๊ะ (50 วัตต์) ตู้เย็น (125 วัตต์ ขนาด 7 คิว ใช้ไฟฟ้าเดือนละ 37 หน่วย) เครื่องซักผ้า (330 วัตต์) เตารีดผ้า (1,200 วัตต์) กระติกต้มน้ำ (750 วัตต์) และเครื่องบดเครื่องแกง (140 วัตต์)

Pages

Subscribe to ชุมชน/สิ่งแวดล้อม